ศรี หรือ สลี ในภาษาล้านนา อ่านว่า สะหลี หมายถึงต้นโพธิ์
วัดศรีเกิดไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อไร และ ใครเป็นผู้สร้าง
จากหนังสือ โคลงนิราศหริภุญชัย โดย ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร สอบกับต้นฉบับฉบับเชียงใหม่
เพื่อเป็นระลึกงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประจำปีพุทธศักราช 2546 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2546
บทที่ 1
(ฉบับเชียงใหม่)
กัชชํกรแต่งตั้ง สิรสา
นบพระธรรมสังฆา ผ่านเผ้า
สนำสลูเบิกนามมา ขอมเรียก รักเอ่
ไทยตำบลเมิงเป้า ปล่านไว้วิวรณ์อรรถ
ถอดความว่า
กชกร-มือต่างดอกบัว กระพุ่มมือ สิรสา-ศีรษะ
ผ่านเผ้า-พระเจ้าแผ่นดิน
สนำสลู-ปีฉลู สนำ คือ ฉนำ-ปี เบิก-นำมา
ไทด่ำบล-ไทยตำบล-หนไทย คือ วิธีนับปีแบบไทยเดิม เมิงเป๊า - บอกเวลาที่แต่ง ปล่านไว้-หว่านไหว้ วิวรณ์-การแสดง อรรถ-ข้อความ
การนับปีแบบไทยเดิม
รอบละ 60 ปี
เอกศก หรือเลขท้ายปีจุลศักราชเป็น ๑- กัด ๒-กด ๓-รวง ๔-เต่า ๕-กา ๖-กาบ ๗-ดับ ๘-ระวาย ๙-เมิง ๐-เบิก
ปีนักกษัตริย์
ไจ้ (ชวด) เป๊า (ฉลู) ยี (ขาล) เม้า (เถาะ) สี (มะโรง) ไส้ (มะเส็ง) ซง้า (มะเมีย) เม็ด (มะแม) สัน (วอก) เล้า (ระกา) เสด (จอ) ไก๊ (กุน)
เมิงเป๊า = เมิง ปีที่ลงท้ายด้วย ๙ , เป๊า เป็นปีฉลู => ปีฉลูลงท้ายด้วย 9
เทียบกับจุลศักราช ตรงกับ จ.ศ. 879 คือ พ.ศ. 2060 (879+1181)
พ.ศ. 2060 เป็นปีที่โคลงนิราศหริภุญชัย ถูกเขียนขึ้น ตรงกับสมัยพญาแก้ว พ.ศ. 2038 - 2068
บทที่ 12
(ฉบับเชียงใหม่)
ทุงยูศรีเกิดใกล้ ปราเกียร
สามสี่อาวาเจียน จิ่มไหว้
กุศลพี่ทำเพียร นพราช เดียวเอ่
มิใช่จงห้องใต้ แต่พื้นรสาดล
ถอดความว่า
ทุงยู-ชื่อวัด ศรีเกิด-ชื่อวัด ปราเกียร-ชื่อวัด (วัดชัยพระเกียรติ) : ทุงยู ศรีเกิด ใกล้ชัยพระเกียรติ
สามสี่ อาวา-อาวาส-วัด เจียน-จาก จิ่ม-ด้วย : จึงไหว้สามสี่วัดนี้ด้วย
ราช-แสดงว่านางศรีทิพมีเชื้อเจ้า จง-ประสงค์จงใจ พื้น-ชั้น รสาดล-ชั้นบาดาล : พี่พากเพียรทำกุศล เพื่อให้ได้พบน้องคนเดียวเท่านั้น
ไม่ประสงค์ที่จะไปเกิดในโลกหรือสวรรค์อื่นใด
ตอนที่ไหว้พระวัดต่าง ๆ วัดศรีเกิดมีอยู่แล้ว
เจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆังล้านนา ห้ายอด
มีลักษณะสำคัญคือ
มีปราสาท - ประดิษฐานพระพุทธรูป
ด้านบน - ยอดเป็นเจดีย์
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม ฐานบัวสองชั้น ลดขนาดลง สองชุด
ฐานบัวยืดสูงเป็นเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูป - ทรงปราสาท
ถัดไปเป็นหลังคามุมหลังคามีหม้อดอกปกฉัตร
บัวถลาแปดเหลี่ยม - นิยมตั้งแต่สมัยพญาแก้ว
องค์ระฆังกลม
บัลลังก์ยกเก็จ - ล้านนา : ลังกาจะเป็นสี่เหลี่ยมเท่านั้นไม่ยกเก็จ
ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
ด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นต้นโพธิ์
ที่ฐานมีซุ้มพระเจ้าทั้งสี่ด้าน
อุโบสถ
วิหาร
อยู่ด้านหน้าของต้นโพธิ์และเจดีย์ เป็นวิหารแบบมาตรฐานของประเทศไทย - ไม่ยกเก็ดผนัง
ด้านหลังวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร - พระกรขวายื่นไปด้านหน้าและหงายฝ่าพระหัตถ์ลง
ด้านหน้าวิหารมีพระแม่ธรณีบีบมวยผม
บันไดมกรคายนาค
หน้าบันลายพรรณพฤกษาแบบที่นิยมในล้านนา
ด้านใน
ธรรมมาสล้านนา
พานขาสามเหลี่ยม คือ ขันแก้วทั้งสาม พานใส่ดอกไม้ของชาวล้านนาเพื่อบูชาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
สัตตภัณฑ์ คือ เชิงเทียน 7 ชั้นตั้งอยู่หน้าแท่นแก้ว
พระประธานด้านหลัง พระสิงห์สาม ปางมารวิชัย
ด้านหน้าพระประธาน พระเจ้าแข้งคม
จากชินกาลมาลีปกรณ์ - วรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาบาลี แต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระ พระสังฆราชาในรัชสมัยของพญาแก้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้จากชินกาลมาลีปกรณ์ ว่า
... ต่อจากนั้นมา ปีเถาะ จุลศักราช 845 (พ.ศ.2027) วันพุธขึ้น 3 ค่ำเดือน 8 จันทร์เสวยสตภิสฤกษ์
พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลกราชาธิราช (พระเจ้าติโลก)
ทรงมอบให้สีหโคตรเสนาบดีและอาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์
หล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ทองหนักประมาณสามสิบสามแสน
ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ
หล่อที่วัดป่าตาลมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราชธานีเชียงใหม่
ครั้นหล่อเสร็จแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประมาณ 500 องค์
กับพระพุทธรูปแก้วทองและเงินจากห่อพระธาตุส่วนพระองค์
มาบรรจุไว้ในพระเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์ใหญ่
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระมหาเถรในอารามนั้นชื่อ ธรรมทินนะ
ได้เป็นเจ้าคณะและเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย
ฝ่ายพระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลกราชาธิราช ครองราชย์สมบัติได้ 45 ปี
สวรรคตในปีมะแม และพระองค์มีพระชนม์พรรษาได้ 78 ปี...
บอกว่า
พระเจ้าติโลกโปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์
แบบลวปุระ - ละโว้คือขอม ที่วัดป่าตาลมหาวิหาร
มีพระมหาเถรชื่อ ธรรมทินนะ ผู้เป็นเจ้าคณะและพระอุปชฌาย์
(ท่านเป็นประธาน การสังคายนาชำระพระไตรปิฎก ณ โพธารามวิหาร หรือวัดเจ็ยอดด้วย)
พระพุทธรูปแบบลวปุระ มีลักษณะ
ประทับสมาธิราบ ปางมารวิชัย
ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี
พระพักตร์เหลี่ยม พระวรกายเหลี่ยม แข้งคมเป็นสัน
เทียบได้กับ พระพุทธรูปอู่ทองรุ่น 2
จากจารึกวัดศรีเกิด พ.ศ. 2352
ด้านแรก
กล่าวถึงการจัดพิธีฉลองพระพุทธรูปแข้งคม วัดป่าตาล
โดยมีพระมหาสมเด็จปวัตตหลวงโพธิรุกขาพิชาราม หรือ นนทาวิริยวังโส เป็นประธานในพิธี
และสาธุเจ้ากาวีรปัญโญชติลวังโสเป็นศาสนูปถัมภก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้รุกข - ต้นไม้ที่มีเทวดามาอาศัยอยู่
พิช - ผู้มีความรู้
พระมหาสมเด็จปวัตตหลวงโพธิรุกขาพิชาราม
เดาว่าน่าจะเป็นสมณศักดิ์ของพระนนทาวิริยวังโส
วังโส - วงศ์
ชติล - ?
ปัญโญ - ปัญญา
เจ้ากาวีรปัญโญชติลวังโส เดาว่า น่าจะแต่งเป็นสร้อยนามของเจ้ากาวิละ
ด้านที่สอง
กล่าวถึง
การอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นสู่วิหาร
๛คําติดพระแข้งคมเจ้าชีวิ๓๑ - ติดชื่อพระพุทธรูปว่าพระเจ้าแข้งคม
แรงบันดาลใจให้ค้นเรื่องราวของวัดศรีเกิดและพระเจ้าแข้งคมก็เกิดขึ้น เมื่อวันหนึ่งไปตีกอล์ฟที่สนามกอล์ฟพิมานทิพย์
พบป้ายบอกว่าวัดป่าตาล หรือวัดป่าตาลมหาวิหาร หรือวัดป่าตาลน้อย เคยอยู่ที่ตรงนี้
ตรงข้างแฟร์เวย์หลุม 7
ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ หรือ ด้านแจ่งกู่เฮือง
ขอบคุณภาพจากกูเกิลแมป
.
.
.
วัดศรีเกิด ... วัดบนถนนคนเดินท่าแพ - เชียงใหม่
จากหนังสือ โคลงนิราศหริภุญชัย โดย ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร สอบกับต้นฉบับฉบับเชียงใหม่
เพื่อเป็นระลึกงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประจำปีพุทธศักราช 2546 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2546
บทที่ 1
(ฉบับเชียงใหม่)
กัชชํกรแต่งตั้ง สิรสา
นบพระธรรมสังฆา ผ่านเผ้า
สนำสลูเบิกนามมา ขอมเรียก รักเอ่
ไทยตำบลเมิงเป้า ปล่านไว้วิวรณ์อรรถ
ถอดความว่า
กชกร-มือต่างดอกบัว กระพุ่มมือ สิรสา-ศีรษะ
ผ่านเผ้า-พระเจ้าแผ่นดิน
สนำสลู-ปีฉลู สนำ คือ ฉนำ-ปี เบิก-นำมา
ไทด่ำบล-ไทยตำบล-หนไทย คือ วิธีนับปีแบบไทยเดิม เมิงเป๊า - บอกเวลาที่แต่ง ปล่านไว้-หว่านไหว้ วิวรณ์-การแสดง อรรถ-ข้อความ
การนับปีแบบไทยเดิม
รอบละ 60 ปี
เอกศก หรือเลขท้ายปีจุลศักราชเป็น ๑- กัด ๒-กด ๓-รวง ๔-เต่า ๕-กา ๖-กาบ ๗-ดับ ๘-ระวาย ๙-เมิง ๐-เบิก
ปีนักกษัตริย์
ไจ้ (ชวด) เป๊า (ฉลู) ยี (ขาล) เม้า (เถาะ) สี (มะโรง) ไส้ (มะเส็ง) ซง้า (มะเมีย) เม็ด (มะแม) สัน (วอก) เล้า (ระกา) เสด (จอ) ไก๊ (กุน)
เมิงเป๊า = เมิง ปีที่ลงท้ายด้วย ๙ , เป๊า เป็นปีฉลู => ปีฉลูลงท้ายด้วย 9
เทียบกับจุลศักราช ตรงกับ จ.ศ. 879 คือ พ.ศ. 2060 (879+1181)
พ.ศ. 2060 เป็นปีที่โคลงนิราศหริภุญชัย ถูกเขียนขึ้น ตรงกับสมัยพญาแก้ว พ.ศ. 2038 - 2068
บทที่ 12
(ฉบับเชียงใหม่)
ทุงยูศรีเกิดใกล้ ปราเกียร
สามสี่อาวาเจียน จิ่มไหว้
กุศลพี่ทำเพียร นพราช เดียวเอ่
มิใช่จงห้องใต้ แต่พื้นรสาดล
ถอดความว่า
ทุงยู-ชื่อวัด ศรีเกิด-ชื่อวัด ปราเกียร-ชื่อวัด (วัดชัยพระเกียรติ) : ทุงยู ศรีเกิด ใกล้ชัยพระเกียรติ
สามสี่ อาวา-อาวาส-วัด เจียน-จาก จิ่ม-ด้วย : จึงไหว้สามสี่วัดนี้ด้วย
ราช-แสดงว่านางศรีทิพมีเชื้อเจ้า จง-ประสงค์จงใจ พื้น-ชั้น รสาดล-ชั้นบาดาล : พี่พากเพียรทำกุศล เพื่อให้ได้พบน้องคนเดียวเท่านั้น
ไม่ประสงค์ที่จะไปเกิดในโลกหรือสวรรค์อื่นใด
ตอนที่ไหว้พระวัดต่าง ๆ วัดศรีเกิดมีอยู่แล้ว
เจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆังล้านนา ห้ายอด
มีลักษณะสำคัญคือ
มีปราสาท - ประดิษฐานพระพุทธรูป
ด้านบน - ยอดเป็นเจดีย์
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม ฐานบัวสองชั้น ลดขนาดลง สองชุด
ฐานบัวยืดสูงเป็นเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูป - ทรงปราสาท
ถัดไปเป็นหลังคามุมหลังคามีหม้อดอกปกฉัตร
บัวถลาแปดเหลี่ยม - นิยมตั้งแต่สมัยพญาแก้ว
องค์ระฆังกลม
บัลลังก์ยกเก็จ - ล้านนา : ลังกาจะเป็นสี่เหลี่ยมเท่านั้นไม่ยกเก็จ
ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
ด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นต้นโพธิ์
ที่ฐานมีซุ้มพระเจ้าทั้งสี่ด้าน
อุโบสถ
วิหาร
อยู่ด้านหน้าของต้นโพธิ์และเจดีย์ เป็นวิหารแบบมาตรฐานของประเทศไทย - ไม่ยกเก็ดผนัง
ด้านหลังวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร - พระกรขวายื่นไปด้านหน้าและหงายฝ่าพระหัตถ์ลง
บันไดมกรคายนาค
หน้าบันลายพรรณพฤกษาแบบที่นิยมในล้านนา
ด้านใน
สัตตภัณฑ์ คือ เชิงเทียน 7 ชั้นตั้งอยู่หน้าแท่นแก้ว
พระประธานด้านหลัง พระสิงห์สาม ปางมารวิชัย
ด้านหน้าพระประธาน พระเจ้าแข้งคม
จากชินกาลมาลีปกรณ์ - วรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาบาลี แต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระ พระสังฆราชาในรัชสมัยของพญาแก้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
บอกว่า
พระเจ้าติโลกโปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์
แบบลวปุระ - ละโว้คือขอม ที่วัดป่าตาลมหาวิหาร
มีพระมหาเถรชื่อ ธรรมทินนะ ผู้เป็นเจ้าคณะและพระอุปชฌาย์
(ท่านเป็นประธาน การสังคายนาชำระพระไตรปิฎก ณ โพธารามวิหาร หรือวัดเจ็ยอดด้วย)
พระพุทธรูปแบบลวปุระ มีลักษณะ
ประทับสมาธิราบ ปางมารวิชัย
ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี
พระพักตร์เหลี่ยม พระวรกายเหลี่ยม แข้งคมเป็นสัน
เทียบได้กับ พระพุทธรูปอู่ทองรุ่น 2
จากจารึกวัดศรีเกิด พ.ศ. 2352
ด้านแรก
กล่าวถึงการจัดพิธีฉลองพระพุทธรูปแข้งคม วัดป่าตาล
โดยมีพระมหาสมเด็จปวัตตหลวงโพธิรุกขาพิชาราม หรือ นนทาวิริยวังโส เป็นประธานในพิธี
และสาธุเจ้ากาวีรปัญโญชติลวังโสเป็นศาสนูปถัมภก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ด้านที่สอง
กล่าวถึง
การอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นสู่วิหาร
๛คําติดพระแข้งคมเจ้าชีวิ๓๑ - ติดชื่อพระพุทธรูปว่าพระเจ้าแข้งคม
พบป้ายบอกว่าวัดป่าตาล หรือวัดป่าตาลมหาวิหาร หรือวัดป่าตาลน้อย เคยอยู่ที่ตรงนี้
ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ หรือ ด้านแจ่งกู่เฮือง