วิหารจตุรมุข วัดปงสนุก อ.เมือง ลำปาง


เป็นวัดเดียวของไทยที่ได้ Award of Merit จาก UNESCO ในปี 2008 (พ.ศ. 2551)
มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม-สถาปัตยกรรมเก่าแก่  ด้วยความร่วมมือของชุมชน-วัด




ในราว พ.ศ.1200 พระสุเทวฤษี อาศัยอยู่ที่ดอยสุเทพ
ได้เชิญชวนให้พระสุกทันตฤษีแห่งละโว้ มาช่วยกันสร้างเมืองนครหริภุญชัย ( ลำพูน )
เมื่อสร้างเสร็จจึงไปทูลขอผู้ปกครองจากพระเจ้านพราชกษัตริย์แห่งละโว้ (ลพบุรี)
ซึ่งได้ประทานพระนางจามเทวี ราชธิดาให้มาเป็นผู้ปกครอง ขณะนั้นพระนางทรงครรภ์
เมื่อมาถึงหริภุญชัยได้ราว 3 เดือน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝด
ผู้พี่ทรงพระนามว่า "เจ้ามหันตยศกุมาร"
ผู้น้องทรงพระนามว่า "เจ้าอนันตยศกุมาร"

เมื่อพระนางจามเทวีทรงชราภาพ
ได้ราชาภิเษก ให้เจ้ามหันตยศกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองหริภุญชัย
ฝ่ายเจ้าอนันตยศกุมารก็ปรารถนาอยากไปครองเมืองแห่งใหม่
จึงหาชัยภูมิลุ่มแม่น้ำวังโดยความช่วยเหลือของ พรานเขลางค์  ได้สร้างเมืองเขลางค์นคร ราวปี พ.ศ. 1223
ทรงราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้าอินทรเกิงการ"
... เมืองเก่ายุคแรกของนครลำปาง จึงเป็นรูปหอยสังข์แบบเมืองลำพูน ...




เขลางค์นครเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับหริภุญไชยมาตลอด
จนถึงสมัยพญายีบาครองเมืองหริภุญชัย พญาเบิกโอรสครองเมืองเขลางค์นคร
พญาเม็งรายใช้ตีอุบายตีหริภุญไชย และเขลางค์ได้
เขลางค์นครจึงเข้าสู่ยุคที่สอง ที่ถูกปกครองโดยราชวงศ์เม็งราย มีเป็นวัดปงสนุกเป็นศูนย์กลางของเมือง
จนบุเรงนองได้ครอบครอง ลำปากจากการได้ชัยชนะเหนืออาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. 2101

จากตำราโบราณ เช่น จากใบลาน ฯลฯ เดิมวัดปงสนุกมีชื่อเรียกถึง 4 ชื่อ
ได้แก่วัดศรีจอมไคล-วัดเชียงภูมิ-วัดดอนแก้ว–วัดพะยาว  

ในต้นราชวงค์จักรี
เจ้ากาวิละได้รวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือออกจากการเป็นเมืองขึ้นของพม่า แต่ผู้คนก็อพยพหนีภัยสงครามไปมาก  
ช่วงปี พ.ศ.2346 ที่เจ้ากาวิละได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่นของพม่า
ได้กวาดต้อนชาวเชียงแสน บ้านปงสนุก มาตั้งถิ่นฐานที่ลำปาง
พร้อมกับมีการอพยพของคนเมืองพะยาวที่หนีศึกพม่าลงมายังลำปาง
ชาวปงสนุกเชียงแสน และชาวพะยาว จึงได้ ตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นหมู่บ้าน ... ยุคที่สาม

ราว พ.ศ.2386 เจ้าหลวงมหาวงศ์ได้ไปฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ ครูบาอินทจักรได้ชักชวนชาวพะยาว ให้อพยพกลับ
บ้างที่ไม่ยอมกลับก็ตั้งรกรากอยู่กับชาวบ้านปงสนุก
แต่นั้นมาชื่อวัดและหมู่บ้านจึงเหลือเพียง ปงสนุก เพียงชื่อเดียว

ปี พ.ศ. 2400 ใน สมัยเจ้าวรญาณรังษี ได้มีการสร้างเสาหลักเมืองขึ้นที่วัดปงสนุก
ภายหลังถูกย้ายไปยังศาลหลักเมือง จึงได้จำลองเสาหลักเมืองขึ้น ณ ที่ตั้งเดิม




ปี พ.ศ. 2429 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปงสนุกครั้งใหญ่
โดยทำการ ซ่อมพระเจดีย์ สร้างฉัตร ก่อซุ้มประตูโขง วิหารพระเจ้าพันองค์

คนเก่าแก่ในชุมชนเล่าว่า
วัดปงสนุกตั้งอยู่ติดกำแพงเมืองเขลางค์ ด้านในเป็นแนวคันดินและมีคูล้อมรอบอีกชั้น
ชาวบ้านมีธรรมเนียมในการขุดดินไปถมที่วัดบนที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์ ด้วยเชื่อว่าหากไม่ขุดดินไปให้วัดบนน้ำจะท่วมบ้าน

ในการขุดค้นทางโบราณคดีบนม่อนดอยในปี พ.ศ. 2551
พบชั้นของทรายที่นำมาจากแม่น้ำ อยู่ใต้พื้นซีเมนต์บนลานพระธาตุลึกราว 30 เซนติเมตร
ลึกลงไปกว่านั้นเป็นชั้นของอิฐที่เรียงสลับกันลงไปกว่า 7 เมตร เป็นการสร้างม่อนดอยด้วยอิฐ เปรียบเสมือนการจำลองเขาพระสุเมรุ




บันไดมกรคายนาคด้านหน้า





ซุ้มประตูโขงของกำแพงแก้ว ... กินรี และ สัตว์ในหิมพานต์




บันไดมกรคายด้านวัดปงสนุกใต้




หน้าบันซุ้มบันได




บันไดมกรคายนาตด้านวัดปงสนุกเหนือ ... เขามกรเป็นเขากวางจริง
(ขอบพระคุณท่านที่บรรยายให้ฟังด้วยค่ะ)




หน้าบันซุ้มบันได




เสาหงส์ ... มอญ




วิหารพระนอน
เขียนไว้ว่า พ.ศ. 2414 ได้บูรณะปฏิสังขรก่อสร้างวิหารพระนอน ... แสดงว่าพระนอนมีอยู่แล้ว แล้วสร้างวิหารครอบ ?




นกหัสดีลิงค์




เฟื้อง













เจดีย์ศรีจอมไคล




วิหาร

มีชื่อเรียกหลายชื่อได้แก่
วิหารพระเจ้าพันองค์ เพราะมีพระพิมพ์ 1080 องค์ อยู่ใต้ชายคา
หรือวิหาร 12 ราศี เพราะ มีรูปปูนปั้น 12 ราศรี ที่ฐานพระประธาน
หรือวิหารสะเดาะเคราะห์ เพราะคนจะมาเสะเดาะเคราะห์ ในตำแหน่งราศรีของตน
โครงสร้างของวิหารมีลักษณะเป็นมณฑปเปิดโล่ง
ตรงกลางประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์ พระพักตร์แต่ละองค์ก็หันออกไปยังทิศทั้งสี่ ปางสมาธิหนึ่งองค์ และ ปางมารวิชัย 3 องค์







หรือเรียกวิหารมียอด ... ศิลปะพม่า
บนยอดหลังคา เมื่อรื้อลงมาเพื่อบูรณะพบว่ามีคาถาป้องกันฟ้าผ่า

20


หน้าบัน ทางด้านหน้า




หน้าบัน ด้านทิศเหนือ




วิหารหลังเดิมก่อนการบูรณะใหญ่ ปี พ.ศ. 2429 นั้น
ให้เสาวางอยู่บนหิน ... เสายองหิน (ยอง แปลว่า วาง) เป็นการรักษาวิหารให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว
เมื่อมีเปลี่ยนตำแหน่งเสาเพื่อรับหลังคาวิหารและเทพื้นวิหาร
จึงได้ทำเครื่องหมายไว้ ณ ตำแหน่งของเสาเดิม เป็นรูปดอก ... ทำด้วยตะกั่ว ที่พื้นวิหาร




มีตำแหน่งหนึ่งที่เปิดออกดูหินแลง ... ศิลาแลง ที่ใช้ ยอง ... วางเสา




เสาลายคำ ... เขียนด้วยลายทอง  เสาดั้งเดิม




กาบเสาชิ้นเดิม




เครื่องเดิมที่ผุพัง







ที่วัดปงสนุกยังมีพิพิธภัณฑ์ที่น่าชมอย่างยิ่ง
















แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่