หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
[CR] เที่ยวเชียงใหม่ 2019
กระทู้รีวิว
เที่ยววัด
กลางปี 2019 มีโอกาสไปเที่ยวเมืองเชียงใหม่ พักที่ อีสทิน ตัน โฮเต็ล เชียงใหม่ ใกล้ห้าง MAYA
เชียงใหม่ (คำเมือง: เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากรราว 1.76 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมืองราว 960,000 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐชาน ประเทศพม่า จังหวัดเชียงใหม่มีเขตเมืองที่จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทยรองจากกรุงเทพมหานคร มีประชากรในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน (พ.ศ. 2553) จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก
บรรยากาศรอบข้างของโรงแรม มีถนนคนเดินเล็กๆ
บรรยากาศตอนเช้า
บริเวณที่ทานเข้าเช้า พิ้นที่ของ Eastin tan hotel
หน้าห้างเมยาช่วงกลางคืน
ปล.เดินระๆวัง แถวนั้นรถยนต์
วัน นิมมาน (One Nimman) แลนด์มาร์คใหม่ล่าสุด ที่ตั้งอยู่ในย่านนิมมานเหมินท์ ย่านที่ชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวรู้จักในฐานะแหล่งช้อปปิ้งสินค้าไลฟ์สไตล์และงานออกแบบ แหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารดีไซน์เก๋ ด้วยโครงสร้างอาคารที่ก่อด้วยอิฐดินเผา มีซุ้มประตูโค้ง ได้กลิ่นอายล้านนาผสมสถาปัตยกรรมยุโรป
กับคุณเสี่ยเล้งและเสี่ยมะเหมี่ยว
รอบคูเมือง
วัดเจดีย์หลวง
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร หรือ วัดโชติการาม เป็นสถานที่ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นพระอารามหลวงเก่าแก่ของเชียงใหม่ ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ที่ถนนพระปกเกล้า มีบริเวณกว้างขวาง ที่สำคัญเพราะวัดนี้เป็นวัดที่ชาวเชียงใหม่ศรัทธากันมากๆ และเป็นที่ตั้งศาลหลักเมืองของเชียงใหม่ หรือเรียกกันว่า หออินทขิล อยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ และมีความสำคัญต่อชาวเชียงใหม่เป็นอย่างมาก
คูเมืองเชียงใหม่
“คูเมืองเชียงใหม่” สร้างในรัชสมัยพระญามังราย เมื่อปีพ.ศ.1839 ตามคติความเชือของการสร้างความมั่นคง แห่งราชธานี แบบเดียวกับกรุงสุโขทัย และทำหน้าที่เป็นปราการปกป้องเมือง จากการรุกรานของอริราชศัตรู ประวัติศาตร์บันทึกไว้ว่า กว้าง 900 วา ยาว 1 พันวา เป็นสี่เหลี่ยมล้อมรอบเขตเมืองชั้นในด้านละประมาณ 1.8 กม.
ปัจจุบันมีความกว้างราวๆ 13 เมตร จากเดิม 25 เมตร ลึกโดยเฉลี่ย 3-4 เมตร ระหว่างคูเมืองแต่ละทิศ มี 5 ประตูทางเข้าเมือง เป็นทางขวางคูเมือง โดยมีท่อลอดเชื่อมระบบไหลเวียนของน้ำ ได้รับการบูรณะในรัชสมัยพญาเมืองแก้ว สมัยล้านนา และสมัยพระยากาวิละในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันมีการขุดลอก ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง อยู่ในความดูแลของ ทน.เชียงใหม่ ในอดีตภาพของคูเมืองที่โดดเด่นคือ ทำหน้าที่ แหล่งเล่นน้ำช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเป็นพื้นที่แก้มลิงรับน้ำจากดอยสุเทพ ทางระบายน้ำที่ไหลมาจามทางราบลุ่ม ท่วมขังรอการระบายในแต่ละจุด จะมี คูเมืองช่วยรับลดปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝน
หอศิลป์
เหนื่อยแล้ว
วัดพันอ้น เป็นวัดที่เก่าแก คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาช้านาน ตามประวัติแล้ว วัดพันอ้นสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2044 ใน รัชสมัยของพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว) กษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 13 ในสมัยที่ล้านนาไทยยังเป็นอิสระอยู่ในราชวงค์มังรายมหาราช
“พันอ้น” สันนิษฐานได้ว่าเป็นชื่อผู้สร้างวัดที่ถวายไว้กับพระพุทธศาสนาผู้สร้างเป็น ทหารหรือขุนนางที่มีบรรศักดิ์เป็น “พัน” เพราะคนในสมัยนั้นเมื่อตนเองประสบความสำเร็จในชีวิตมักจะสร้างวัดไว้เป็น อนุสรณ์ และนำชื่อของตนเองเป็นชื่อวัดที่ตนเองสร้างขึ้นด้วย และท่านคงมีนามว่า “อ้น” เมื่อสร้างวัดแห่งนี้เสร็จจึงให้นามว่า “วัดพันอ้น” ตามบรรดาศักดิ์และชื่อของท่าน ซึ่งปรากฏมีวัดจำนวนมากในตัวเมืองเชียงใหม่ที่นิยมใช้ชื่อผู้สร้างวัดเป็น ชื่อของวัดอยู่ด้วย
ประตูท่าแพ
หรือชื่อเดิม ประตูเชียงเรือก เป็นประตูทางทิศตะวันออก และเป็น 1 ใน 5 ประตูเมืองชั้นในของเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียวที่มีบานประตู ประตูท่าแพซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากรได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประกอบกับภาพถ่ายประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง ซึ่งถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2422
ประตูท่าแพที่ถูกเรียกกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงมีนามว่า "ประตูเชียงเรือก" เพราะอยู่ใกล้หมู่บ้านเชียงเรือก สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพญามังราย เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ส่วนประตูท่าแพของจริงนั้นเดิมเคยตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวัดแสนฝาง ซึ่งเป็นประตูของแนวกำแพงเมืองชั้นนอก ต่อมาเมื่อมีการรื้อแนวกำแพงชั้นนอกออกจึงเหลือแต่ประตูเชียงเรือกที่เป็นประตูชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกประตูเชียงเรือกนี้ว่าประตูท่าแพแทน
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (คำเมือง: ) พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"
อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านหน้าศาลากลางหลังเก่า ถนนพระปกเกล้า และเป็นสถานที่ที่ชาวเชียงใหม่หรือนักท่องเที่ยวต่างมาสักการะบูชา อนุสาวรีย์สามกษัตริย์แห่งนี้ หากเราหันหน้าเข้าหาอนุสาวรีย์จะพบว่า องค์กลาง คือ พญามังราย องค์ขวาคือ พญาร่วง ส่วนองค์ซ้ายคือ พญางำเมือง กษัตริย์ทั้งสามพระองค์นี้ถือได้ว่าเป็นผู้สร้างอาณาจักรล้านนา และนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมากว่า 700 ปี นับว่าเป็นองค์อนุสาวรีย์ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ ด้านหลังอนุสาวรีย์ ตอนนี้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
วัดอินทขิลสะดือเมือง หรือ วัดสะดือเมือง เป็นวัดโบราณที่ตั้งอยู่ใกล้กับ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางหลังเก่า) และอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ แต่เดิมวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง และเคยเป็นที่ตั้งของเสาอินทขิล(เสาหลักเมือง) ของเมืองเชียงใหม่ ดังนั้นทางวัดจึงตั้งชื่อว่า วัดอินทขิลสะดือเมือง แต่ปัจจุบัน ภายในวัดอินทขิลไม่มีเสาอินทขิลดั้งเดิมแล้ว เพราะได้ย้ายไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวงแทน
ข้ามไปลำพูน
วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร เดิมทีเป็นพระราชวังของพระเจ้าอทิตยราชกษัตริย์ผู้ครอง
นครหริภุญชัย องค์ที่ ๓๓ ต่อจาก พระนางจามเทวี ปฐมบรมกษัตริย์ของเมืองหริภุญชัย บริเวณกำแพงพระราชวังของพระเจ้าอาทิตยราชได้แบ่งออกเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นนอกและชั้นใน ในกาลต่อมาภายหลังพระเจ้าอาทิตยราช ได้ถวายราชวังของพระองค์ให้เป็นสังฆารามไว้กับทางพระพุทธศาสนาเมื่อถวายเป็นสังฆารามแล้ว ได้รื้อกำแพงชั้นนอกออกแล้วปั้นสิงห์คู่หนึ่งไว้ที่ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก เป็นสิงห์ขนาดใหญ่ประดับเครื่องทรงยืนอ้าปากประดิษฐานไว้แทน ตามคติโบราณทางเหนือซึ่งนิยมสร้างสิงห์เฝ้าวัด วัดพระธาตุหริภุญชัย จึงมีกำแพงสองชั้นตามรูปลักษณ์ของพระราชวังเดิมของพระเจ้าอาทิตยราช คือ รอบบริเวณวัดชั้นนอกชั้นหนึ่ง และก่อกำแพงเป็นศาลาบาตรรอบองค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นกำแพงชั้นในอีกชั้นหนึ่ง
( เคยได้ยินตอนเรียน ไม่คิดว่าจะมีโอกสสได้มา )
เดี๋ยวมาต่อ
ชื่อสินค้า:
เที่ยวเชียงใหม่ 2019
คะแนน:
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้
- จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
- ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
สงกรานต์เชียงใหม่ 2563 พักแถวไหนดี
ปีนี้มีแพลนจะเล่นสงกรานต์ที่เชียงใหม่ อยากทราบที่พักทีสามารถเดินทางไปเล่นสงกรานต์ได้สะดวก อาทิเช่น คูเมือง ประตูท่าแพ วัดพระสิงห์ ไปเล่นสงกรานต์ได้สะดวก จะเดินหรือนั่งรถแดงก็ได้ ราคาที่พัก&nbs
Chogun26
เชียงใหม่-ลำพูน ตอน 1 ย่ำค่ำที่ลำพูน วัดพระธาตุหริภุญชัยและเทศกาลโคมแสนดวง
วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร5 ตุลาคม 2563.หัวใจที่สุดของลำพูนก็คือพระธาตุหริภุญชัย องค์พระธาตุปิดทองเหลืองอร่ามงามตา อายุราวหนึ่งพันปี ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารหลวง โดยทั้งหมดตั้ง
คุณหมูยอ
วัดที่สร้างในสมัยพญาแสนภู ... วัดแสนฝาง
เมื่อพญามังรายทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ทรงประทับที่เชียงใหม่ โปรดให้ ขุนครามราชบุตรไปครองเมืองเชียงราย ... เชียงรายเป็นเมืองลูกหลวง เมื่อพญามังรายต้องอสนีบาต สวรรคต ขุนครามได้ขึ้นปกครองอาณาจักรล้านนา
tuk-tuk@korat
วัดที่สร้างในสมัยพญามังราย ... วัดเชียงมั่น
นักภาษาศาสตร์ได้วิเคราะห์ว่าคำว่า เชียง นี้เป็นคำเดียวกันกับภาษาจีนกลางว่า เฉิง แปลว่า กำแพงเมืองตรงกับคำว่า เจง ในภาษาไทลื้อ, ไทเขิน, ไทใหญ่มั่น แปลว่า มั่นคง แน่นเชียงมั่น หมายถึง กำแพงที่มั่นคง อ
tuk-tuk@korat
วัดเล็กที่น่าสนใจในคูเวียงเชียงใหม่
วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ห่างจากวัดดวงดีไปทางตะวันออกเกือบ 100 เมตร จะเป็นประตูทางเข้าด้านหลังของ วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ซึ่งข้อมูลจาก http://www.tripchiangmai.com ระบุว่า วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ตั้งอย
สมาชิกหมายเลข 872005
วัดเล็กที่น่าสนใจในคูเวียงเชียงใหม่
วัดป้านปิง เดินออกทางด้านหน้าวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ข้ามถนนไปทางซ้ายมือเล็กน้อย จะเห็นป้าย วัดป้านปิง อยู่เหนือกำแพงวัด จากข้อมูลของ http://www.chiangmaitouring.com ทำให้ทราบว่า วัดป้านปิง ตั้งอยู่ที
สมาชิกหมายเลข 872005
วัดพระธาตุหริภุญไชย วรมหาวิหาร เมืองลำพูน
วัดพระธาตุหริภุญไชย เป็นวัดประจำปีเกิดของปี่ระกา มีลักษณะเป็นรูป"ไก่" สิงห์ใหญ่ยืนเป็นสง่าอยู่หน้าซุ้มประตู 2 ตัว ดอกไม้ที่ตั้งอยู่บนซุ้มประตูทั้ง2ด้าน ซุ้มประตู ก่อนที่จะเข้าไปในบริ
DtaaBong (Sagittarius)
เมื่อหมอกควันผ่านไป เชียงใหม่ก็กลับมาสวยเหมือนเดิม...by x-file
ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน คนเชียงใหม่ต่างต้องตกอยู่ในสภาวะ ขออากาศดีๆหายใจกันบ้าง จากสภาวะหมอกควันจากการเผาป่า เผาไร่ กลางวันเหมือนกลางคืน พระอาทิตย์ไม่สามารถฝ่าหมอกควัน ส่องแสงลงมาถึงพื้
x-file Happy Makers
หาหอพักรายเดือน แถว ประตูสวนดอก หรือใกล้คูเมือง
พอดีจะไปเรียนซัมเมอร์ที่เชียงใหม่ ที่ครูคลับ ใกล้ ประตูสวนดอก วัดพระสิงห์ อยากได้หอที่สภาพดีๆ ราคาไม่เกิน6000
สมาชิกหมายเลข 3577754
แจ่งกู๋เฮือง
สถานที่ท่องเที่ยวแจ่งกู๋เฮืองในจังหวัดเชียงใหม่ สวนบวกหาดการเข้าชม เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 21.00 น. ช่วงเวลาเที่ยว :
สมาชิกหมายเลข 5884893
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
เที่ยววัด
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ :
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
[CR] เที่ยวเชียงใหม่ 2019
เชียงใหม่ (คำเมือง: เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากรราว 1.76 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมืองราว 960,000 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐชาน ประเทศพม่า จังหวัดเชียงใหม่มีเขตเมืองที่จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทยรองจากกรุงเทพมหานคร มีประชากรในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน (พ.ศ. 2553) จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก
บรรยากาศรอบข้างของโรงแรม มีถนนคนเดินเล็กๆ
บรรยากาศตอนเช้า
บริเวณที่ทานเข้าเช้า พิ้นที่ของ Eastin tan hotel
หน้าห้างเมยาช่วงกลางคืน
ปล.เดินระๆวัง แถวนั้นรถยนต์
วัน นิมมาน (One Nimman) แลนด์มาร์คใหม่ล่าสุด ที่ตั้งอยู่ในย่านนิมมานเหมินท์ ย่านที่ชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวรู้จักในฐานะแหล่งช้อปปิ้งสินค้าไลฟ์สไตล์และงานออกแบบ แหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารดีไซน์เก๋ ด้วยโครงสร้างอาคารที่ก่อด้วยอิฐดินเผา มีซุ้มประตูโค้ง ได้กลิ่นอายล้านนาผสมสถาปัตยกรรมยุโรป
กับคุณเสี่ยเล้งและเสี่ยมะเหมี่ยว
รอบคูเมือง
วัดเจดีย์หลวง
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร หรือ วัดโชติการาม เป็นสถานที่ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นพระอารามหลวงเก่าแก่ของเชียงใหม่ ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ที่ถนนพระปกเกล้า มีบริเวณกว้างขวาง ที่สำคัญเพราะวัดนี้เป็นวัดที่ชาวเชียงใหม่ศรัทธากันมากๆ และเป็นที่ตั้งศาลหลักเมืองของเชียงใหม่ หรือเรียกกันว่า หออินทขิล อยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ และมีความสำคัญต่อชาวเชียงใหม่เป็นอย่างมาก
คูเมืองเชียงใหม่
“คูเมืองเชียงใหม่” สร้างในรัชสมัยพระญามังราย เมื่อปีพ.ศ.1839 ตามคติความเชือของการสร้างความมั่นคง แห่งราชธานี แบบเดียวกับกรุงสุโขทัย และทำหน้าที่เป็นปราการปกป้องเมือง จากการรุกรานของอริราชศัตรู ประวัติศาตร์บันทึกไว้ว่า กว้าง 900 วา ยาว 1 พันวา เป็นสี่เหลี่ยมล้อมรอบเขตเมืองชั้นในด้านละประมาณ 1.8 กม.
ปัจจุบันมีความกว้างราวๆ 13 เมตร จากเดิม 25 เมตร ลึกโดยเฉลี่ย 3-4 เมตร ระหว่างคูเมืองแต่ละทิศ มี 5 ประตูทางเข้าเมือง เป็นทางขวางคูเมือง โดยมีท่อลอดเชื่อมระบบไหลเวียนของน้ำ ได้รับการบูรณะในรัชสมัยพญาเมืองแก้ว สมัยล้านนา และสมัยพระยากาวิละในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันมีการขุดลอก ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง อยู่ในความดูแลของ ทน.เชียงใหม่ ในอดีตภาพของคูเมืองที่โดดเด่นคือ ทำหน้าที่ แหล่งเล่นน้ำช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเป็นพื้นที่แก้มลิงรับน้ำจากดอยสุเทพ ทางระบายน้ำที่ไหลมาจามทางราบลุ่ม ท่วมขังรอการระบายในแต่ละจุด จะมี คูเมืองช่วยรับลดปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝน
หอศิลป์
เหนื่อยแล้ว
วัดพันอ้น เป็นวัดที่เก่าแก คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาช้านาน ตามประวัติแล้ว วัดพันอ้นสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2044 ใน รัชสมัยของพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว) กษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 13 ในสมัยที่ล้านนาไทยยังเป็นอิสระอยู่ในราชวงค์มังรายมหาราช
“พันอ้น” สันนิษฐานได้ว่าเป็นชื่อผู้สร้างวัดที่ถวายไว้กับพระพุทธศาสนาผู้สร้างเป็น ทหารหรือขุนนางที่มีบรรศักดิ์เป็น “พัน” เพราะคนในสมัยนั้นเมื่อตนเองประสบความสำเร็จในชีวิตมักจะสร้างวัดไว้เป็น อนุสรณ์ และนำชื่อของตนเองเป็นชื่อวัดที่ตนเองสร้างขึ้นด้วย และท่านคงมีนามว่า “อ้น” เมื่อสร้างวัดแห่งนี้เสร็จจึงให้นามว่า “วัดพันอ้น” ตามบรรดาศักดิ์และชื่อของท่าน ซึ่งปรากฏมีวัดจำนวนมากในตัวเมืองเชียงใหม่ที่นิยมใช้ชื่อผู้สร้างวัดเป็น ชื่อของวัดอยู่ด้วย
ประตูท่าแพ
หรือชื่อเดิม ประตูเชียงเรือก เป็นประตูทางทิศตะวันออก และเป็น 1 ใน 5 ประตูเมืองชั้นในของเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียวที่มีบานประตู ประตูท่าแพซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากรได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประกอบกับภาพถ่ายประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง ซึ่งถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2422
ประตูท่าแพที่ถูกเรียกกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงมีนามว่า "ประตูเชียงเรือก" เพราะอยู่ใกล้หมู่บ้านเชียงเรือก สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพญามังราย เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ส่วนประตูท่าแพของจริงนั้นเดิมเคยตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวัดแสนฝาง ซึ่งเป็นประตูของแนวกำแพงเมืองชั้นนอก ต่อมาเมื่อมีการรื้อแนวกำแพงชั้นนอกออกจึงเหลือแต่ประตูเชียงเรือกที่เป็นประตูชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกประตูเชียงเรือกนี้ว่าประตูท่าแพแทน
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (คำเมือง: ) พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"
อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านหน้าศาลากลางหลังเก่า ถนนพระปกเกล้า และเป็นสถานที่ที่ชาวเชียงใหม่หรือนักท่องเที่ยวต่างมาสักการะบูชา อนุสาวรีย์สามกษัตริย์แห่งนี้ หากเราหันหน้าเข้าหาอนุสาวรีย์จะพบว่า องค์กลาง คือ พญามังราย องค์ขวาคือ พญาร่วง ส่วนองค์ซ้ายคือ พญางำเมือง กษัตริย์ทั้งสามพระองค์นี้ถือได้ว่าเป็นผู้สร้างอาณาจักรล้านนา และนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมากว่า 700 ปี นับว่าเป็นองค์อนุสาวรีย์ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ ด้านหลังอนุสาวรีย์ ตอนนี้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
วัดอินทขิลสะดือเมือง หรือ วัดสะดือเมือง เป็นวัดโบราณที่ตั้งอยู่ใกล้กับ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางหลังเก่า) และอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ แต่เดิมวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง และเคยเป็นที่ตั้งของเสาอินทขิล(เสาหลักเมือง) ของเมืองเชียงใหม่ ดังนั้นทางวัดจึงตั้งชื่อว่า วัดอินทขิลสะดือเมือง แต่ปัจจุบัน ภายในวัดอินทขิลไม่มีเสาอินทขิลดั้งเดิมแล้ว เพราะได้ย้ายไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวงแทน
ข้ามไปลำพูน
วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร เดิมทีเป็นพระราชวังของพระเจ้าอทิตยราชกษัตริย์ผู้ครอง
นครหริภุญชัย องค์ที่ ๓๓ ต่อจาก พระนางจามเทวี ปฐมบรมกษัตริย์ของเมืองหริภุญชัย บริเวณกำแพงพระราชวังของพระเจ้าอาทิตยราชได้แบ่งออกเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นนอกและชั้นใน ในกาลต่อมาภายหลังพระเจ้าอาทิตยราช ได้ถวายราชวังของพระองค์ให้เป็นสังฆารามไว้กับทางพระพุทธศาสนาเมื่อถวายเป็นสังฆารามแล้ว ได้รื้อกำแพงชั้นนอกออกแล้วปั้นสิงห์คู่หนึ่งไว้ที่ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก เป็นสิงห์ขนาดใหญ่ประดับเครื่องทรงยืนอ้าปากประดิษฐานไว้แทน ตามคติโบราณทางเหนือซึ่งนิยมสร้างสิงห์เฝ้าวัด วัดพระธาตุหริภุญชัย จึงมีกำแพงสองชั้นตามรูปลักษณ์ของพระราชวังเดิมของพระเจ้าอาทิตยราช คือ รอบบริเวณวัดชั้นนอกชั้นหนึ่ง และก่อกำแพงเป็นศาลาบาตรรอบองค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นกำแพงชั้นในอีกชั้นหนึ่ง
( เคยได้ยินตอนเรียน ไม่คิดว่าจะมีโอกสสได้มา )
เดี๋ยวมาต่อ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้