ปราสาทแบบพม่าโดยเฉพาะ หรืออาจเรียกในภาษาพม่า ว่า ปยาทาด / เปี๊ยเที๊ยด (Pyathat) แล้วแต่สำเนียง คำว่า ปยาทาดนี้ ตรงกับคำว่า prãsãda ในภาษาสันสกฤต อันหมายถึง ปราสาท เป็นอาคารก่อสร้างด้วยไม้ มีหลังคาซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป ซึ่งโดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ 3, 5 หรือ 7 ชั้น
ปยาทาดมีลักษณะเป็น “เรือนฐานันดรสูง” ซึ่งมีความหมายเจาะจงถึงความเป็นปราสาท ซึ่งแบ่งเป็นสองลักษณะสำคัญ คือ ปราสาทที่แบบ “เรือนชั้น” กับแบบ “เรือนยอด” เรือนฐานันดรแบบหลังนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถ์ถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า อีกชื่อเรียกหนึ่ง เรียกว่า “กุฎาคาร” โดยคำว่า กูฏ หมายถึง ยอด และคำว่า อาคาร หมายถึง เรือน เมื่อรวมกันก็หมายถึง เรือนยอด อันหมายถึง อาคารหรือเรือนที่มีหลังคาเป็นยอดแหลม โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ประทานคำจำกัดความไว้ 2 ประการว่า
- ถือว่าเป็นของสูง (ด้วยศักดิ์)
- ทำต่อยอดจากหลังคาขึ้นไป
ซึ่งสร้างสำหรับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ หรือตามพระบรมราชโองการเท่านั้น
อนึ่ง เนื่องด้วยปยาทาดมีลักษณะเป็น “เรือนฐานันดรสูง” ซึ่งมีความหมายเจาะจงถึงความเป็นปราสาท ซึ่งมีตัวอย่างที่พบเก่าที่สุดในสมัยพุกามที่วิหารอานันทเจดีย์ รัชสมัยพระเจ้าจันสิถา ราวปี พ.ศ. 1634 ซึ่งปรากฏอยู่บนแผ่นหินสลัก ภาพพุทธประวัติ ในครั้งที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่ภายใต้เรือนชั้นซ้อนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปยาทาด ด้วยปยาทาดมีลักษณะเป็นอาคาร ที่มีหลังคาซ้อนชั้นสูงชะลูด อีกทั้งยังใช้ระบบตัวเรือนสลับกับฝาคอสองที่บางครั้งมีการประดับหน้าต่างหลอกด้วย เป็นการสื่อถึงปราสาท ซึ่งเชื่อว่าเป็นเรือนฐานันดรสูง เป็นที่ประทับของเทพเจ้า หรือกษัตริย์ มีแนวความคิดในการก่อสร้างเช่นเดียวกับปราสาท และเรือนยอดแบบไทย กล่าวคือ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายให้แก่ พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระโพธิสัตว์ หรือแม้แต่การสร้างเพื่อที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน อันแสดงให้เห็นถึงชั้นบรรดาศักดิ์ของผู้สร้าง เนื่องจากในระเบียบการช่างของพม่ามีข้อกำหนดที่เคร่งครัด เพียงแต่ปยาทาดในศิลปะพม่านั้นมีรูปแบบที่แตกต่างออกไป
องค์ประกอบของปยาทาดหรือปราสาทแบบพม่าโดยเฉพาะ
ปยาทาด จัดว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่งที่พบ และถือเป็นลักษณ์อันโดดเด่นของศิลปะพม่า ด้วยปยาทาดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยเครื่องไม้ จึงมีอายุการใช้งานไม่นานนัก
องค์ประกอบปยาทาดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. ส่วนที่เป็นเรือน มักนิยมทำเป็นอาคารโถง ก่อสร้างโดยตั้งเสาแกนกลางขึ้นมาก่อน มีมุขแยก คล้ายกับอาคารทรงจัตุรมุขในศิลปะไทย
2. ชั้นหลังคาที่มีโครงสร้างภายในง่าย และไม่ซับซ้อน โดยประกอบโครงไม้ให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในกรอบไม้สี่เหลี่ยมแต่ละอันซึ่งใช้เป็นกรอบหลังคาในแต่ละชั้นนั้นจะนำไม้ 2 อันไขว้กันเป็นเส้นทแยงมุม จากนั้นจึงนำกรอบหลังคาแต่ละอันไปประกอบรับกับเสาที่เป็นเสาแกนกลางซึ่งยาวจนไปถึงส่วนยอดซึ่งเป็นส่วนที่ 3 และสิ้นสุดที่ฉัตร โดยมี ฝาคอสอง เป็นส่วนที่กั้นระหว่างชั้นหลังคาในแต่ละชั้นทั้ง 4 ด้าน มีลักษณะไม่สูงมากนัก ทำให้หน้าจั่วที่ติดอยู่เหนือชั้นหลังคาในแต่ละด้านนั้น บดบังตรงบริเวณส่วนกลางของฝาคอสอง และมีการทำลวดลายประดับตรงฝาคอสอง
3. ส่วนยอด จะประกอบไปด้วย ปลี ที่ต่อมาจากชั้นหลังคา และส่วนที่เป็นฉัตรซึ่งสวม
คลุมอยู่ที่ยอดปลี โดยมีลักษณะคล้ายกับฉัตรที่สวมบนยอดของเจดีย์ที่พบในศิลปะพม่า
ภาพตัวอย่างแสดงโครงสร้างภายในของปยาทาด
นอกจากนี้ ก็ยังมีการแกะไม้ สลักลวดลายบนกรอบของชั้นหลังคา ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของปยาทาด อันได้แก่ ปานซอย คือส่วนที่เป็นไม้แกะสลักที่ประดับอยู่ใต้ชายคา ปานถ่อง คือส่วนที่เป็นลายแกะสลักที่ประดับอยู่เหนือชายคา และกะหลุ่งต่อง คือส่วนไม้แกะสลักที่ประดับมุมชายคาทั้งสองมาบรรจบกัน ซึ่งจะทำเป็นลักษณะคล้ายปกประกบ
ภาพตัวอย่างการสลักลวดลายประดับ
ภาพถ่ายเก่าพระราชวังมัณฑะเลย์
ปราสาทแบบพม่าโดยเฉพาะ ตอนที่ 1
ปยาทาดมีลักษณะเป็น “เรือนฐานันดรสูง” ซึ่งมีความหมายเจาะจงถึงความเป็นปราสาท ซึ่งแบ่งเป็นสองลักษณะสำคัญ คือ ปราสาทที่แบบ “เรือนชั้น” กับแบบ “เรือนยอด” เรือนฐานันดรแบบหลังนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถ์ถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า อีกชื่อเรียกหนึ่ง เรียกว่า “กุฎาคาร” โดยคำว่า กูฏ หมายถึง ยอด และคำว่า อาคาร หมายถึง เรือน เมื่อรวมกันก็หมายถึง เรือนยอด อันหมายถึง อาคารหรือเรือนที่มีหลังคาเป็นยอดแหลม โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ประทานคำจำกัดความไว้ 2 ประการว่า
- ถือว่าเป็นของสูง (ด้วยศักดิ์)
- ทำต่อยอดจากหลังคาขึ้นไป
ซึ่งสร้างสำหรับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ หรือตามพระบรมราชโองการเท่านั้น
อนึ่ง เนื่องด้วยปยาทาดมีลักษณะเป็น “เรือนฐานันดรสูง” ซึ่งมีความหมายเจาะจงถึงความเป็นปราสาท ซึ่งมีตัวอย่างที่พบเก่าที่สุดในสมัยพุกามที่วิหารอานันทเจดีย์ รัชสมัยพระเจ้าจันสิถา ราวปี พ.ศ. 1634 ซึ่งปรากฏอยู่บนแผ่นหินสลัก ภาพพุทธประวัติ ในครั้งที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่ภายใต้เรือนชั้นซ้อนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปยาทาด ด้วยปยาทาดมีลักษณะเป็นอาคาร ที่มีหลังคาซ้อนชั้นสูงชะลูด อีกทั้งยังใช้ระบบตัวเรือนสลับกับฝาคอสองที่บางครั้งมีการประดับหน้าต่างหลอกด้วย เป็นการสื่อถึงปราสาท ซึ่งเชื่อว่าเป็นเรือนฐานันดรสูง เป็นที่ประทับของเทพเจ้า หรือกษัตริย์ มีแนวความคิดในการก่อสร้างเช่นเดียวกับปราสาท และเรือนยอดแบบไทย กล่าวคือ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายให้แก่ พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระโพธิสัตว์ หรือแม้แต่การสร้างเพื่อที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน อันแสดงให้เห็นถึงชั้นบรรดาศักดิ์ของผู้สร้าง เนื่องจากในระเบียบการช่างของพม่ามีข้อกำหนดที่เคร่งครัด เพียงแต่ปยาทาดในศิลปะพม่านั้นมีรูปแบบที่แตกต่างออกไป
องค์ประกอบของปยาทาดหรือปราสาทแบบพม่าโดยเฉพาะ
ปยาทาด จัดว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่งที่พบ และถือเป็นลักษณ์อันโดดเด่นของศิลปะพม่า ด้วยปยาทาดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยเครื่องไม้ จึงมีอายุการใช้งานไม่นานนัก
องค์ประกอบปยาทาดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. ส่วนที่เป็นเรือน มักนิยมทำเป็นอาคารโถง ก่อสร้างโดยตั้งเสาแกนกลางขึ้นมาก่อน มีมุขแยก คล้ายกับอาคารทรงจัตุรมุขในศิลปะไทย
2. ชั้นหลังคาที่มีโครงสร้างภายในง่าย และไม่ซับซ้อน โดยประกอบโครงไม้ให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในกรอบไม้สี่เหลี่ยมแต่ละอันซึ่งใช้เป็นกรอบหลังคาในแต่ละชั้นนั้นจะนำไม้ 2 อันไขว้กันเป็นเส้นทแยงมุม จากนั้นจึงนำกรอบหลังคาแต่ละอันไปประกอบรับกับเสาที่เป็นเสาแกนกลางซึ่งยาวจนไปถึงส่วนยอดซึ่งเป็นส่วนที่ 3 และสิ้นสุดที่ฉัตร โดยมี ฝาคอสอง เป็นส่วนที่กั้นระหว่างชั้นหลังคาในแต่ละชั้นทั้ง 4 ด้าน มีลักษณะไม่สูงมากนัก ทำให้หน้าจั่วที่ติดอยู่เหนือชั้นหลังคาในแต่ละด้านนั้น บดบังตรงบริเวณส่วนกลางของฝาคอสอง และมีการทำลวดลายประดับตรงฝาคอสอง
3. ส่วนยอด จะประกอบไปด้วย ปลี ที่ต่อมาจากชั้นหลังคา และส่วนที่เป็นฉัตรซึ่งสวม
คลุมอยู่ที่ยอดปลี โดยมีลักษณะคล้ายกับฉัตรที่สวมบนยอดของเจดีย์ที่พบในศิลปะพม่า
ภาพตัวอย่างแสดงโครงสร้างภายในของปยาทาด
นอกจากนี้ ก็ยังมีการแกะไม้ สลักลวดลายบนกรอบของชั้นหลังคา ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของปยาทาด อันได้แก่ ปานซอย คือส่วนที่เป็นไม้แกะสลักที่ประดับอยู่ใต้ชายคา ปานถ่อง คือส่วนที่เป็นลายแกะสลักที่ประดับอยู่เหนือชายคา และกะหลุ่งต่อง คือส่วนไม้แกะสลักที่ประดับมุมชายคาทั้งสองมาบรรจบกัน ซึ่งจะทำเป็นลักษณะคล้ายปกประกบ
ภาพตัวอย่างการสลักลวดลายประดับ
ภาพถ่ายเก่าพระราชวังมัณฑะเลย์