ผมมีโอกาสมาอำเภอหาดใหญ่ หลายรอบมาก ทั้งมาเที่ยว และใช้หาดใหญ่เป็นจุดเดินทางต่อไปยังจุดหมายอื่น ๆ จนหลายครั้งเผลอคิดไปว่า อำเภอหาดใหญ่ มีฐานะเป็นจังหวัดแทนสงขลาไปเสียแล้ว เอาจริง ๆ ถึงแม้ผมจะเดินทางมาที่หาดใหญ่บ่อยครั้ง แต่น้อยครั้งมากที่ย่างกรายไปเที่ยวในอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดสงขลา แต่ครั้งนี้ผมได้หาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา ก็ทำให้ผมได้เปิดโลกทัศน์มากขึ้น ได้รู้ว่าในสงขลามีอะไรดี ๆ ซ่อนตัวอยู่อีกมาก และที่สำคัญในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ ระโนด สทิงพระ สิงหนคร และอำเภอเมือง เป็นแหล่งรวมเมืองโบราณหลายแห่ง ถึงขนาดที่กำลังเตรียมเสนอให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา ภายใต้ชื่อ Songkhla and its Associated Lagoon Settlements เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลก โดยเป็นการรวบรวมแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม 4 พื้นที่ ได้แก่
1. เมืองโบราณพังยาง เมืองโบราณพะโคะ และเมืองโบราณสีหยัง
2. เมืองโบราณสทิงพระ
3. เมืองป้อมค่ายซิงกอร่า ณ เขาแดง และแหลมสน
4. เมืองเก่าสงขลา บ่อยาง
โดยพื้นที่ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอารยธรรมอื่น ๆ ตามเส้นทางการค้าทางทะเลเลียบแนวชายฝั่ง หลักฐานทางโบราณคดีชองชุมชนในอดีต เป็นพื้นที่ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการความรู้และวิทยาการในการเดินเรือในยุครุ่งเรืองของการค้าทางทะเลในสมัยต่าง ๆ รวมถึงเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐานที่มีวิวัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติครับ
ทริปนี้ผมจึงวางแผนตะเวนขับรถชมสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับเมืองเก่าในเขต 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา โดยเริ่มที่อำเภอสทิงพระเป็นอำเภอแรกครับ
วัดพะโคะ หรือวัดราชประดิษฐาน (พิกัด
https://maps.app.goo.gl/mhcMb5UFBwhyQd4VA ) มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนเขาพะโคะหรือเขาพัทธสิงค์ ถือเป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสำคัญยิ่งวัดหนึ่งในคาบสมุทรสทิงพระ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีศาสนา เป็นที่ประดิษฐานพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ สูง 1 เส้น 5 วา ภายในยอดองค์เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ รูปแบบเจดีย์เป็นศิลปกรรมทางใต้ สมัยอยุธยาแบบลังกา จากหลักฐานที่ปรากฏทำให้ทราบว่าเจดีย์สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2057 ตรงกับสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ช่วงสมัยอยุธยาตอนต้นและได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148- พ.ศ.2153) และได้รับการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา ลักษณะขององค์เจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆัง รองรับด้วยลานประทักษิณ 3 ชั้น ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ 3 ชั้น มุงกระเบื้องเกล็ดเต่า บัลลังก์รูปแปดเหลี่ยม เหนือบัลลังก์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งอยู่ภายในซุ้ม ปล้องไฉน (ฉัตรวลี) หนาและสั้นรองรับปลียอดที่มีรูปร่างเพรียวยาว เจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะเมื่อปี 2525 โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบบางประการ และเสริมความมั่นคงของเจดีย์โดยการฉาบผิวเจดีย์ด้วยปูนซีเมนต์ ตั้งแต่ปลียอดลงถึงลานประทักษิณชั้น 1
พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทั้งพุทธศาสนานิกายหินยานและนิกายมหายาน โดยพระเจดีย์เป็นทรงกรวยซ้อนกันบนฐานสี่เหลี่ยม เป็นการผสมผสานกันโดยนำเอาสถาปัตยกรรมแบบมณฑปมาสร้างเป็นฐานแล้วเอาเจดีย์สร้างซ้อนอยู่บน ซึ่งเจดีย์ลักษณะนี้ปรากฏมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย (พ.ศ.1200 – พ.ศ.1800) รูปทรงสัณฐานขององค์เจดีย์ทรงแบบนี้ฐานเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม มีฐานเป็นระเบียงรับตัวเจดีย์ที่ทำเป็นแบบมณฑป มีมุขสี่ด้านเรียกว่า “จัตุรมุข” ในมุขทำเป็นซุ้มหน้าบันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำทุกด้าน ส่วนหลังคามณฑปจะก่อเป็นเจดีย์ทรงกลมมีฐานเชิงบาตรขึ้นรองรับตัวเจดีย์และยอดแบบต่าง ๆ ตรงมุมหลังคาเจดีย์แต่ละมุมนิยมสร้างเจดีย์จำลองขนาดเล็กที่เรียกว่า “เจดีย์บริวาร” หรือเจดีย์น้อย ไว้แต่ละมุมประดับองค์เจดีย์ทั้ง 4 ด้านและเป็นลักษณะเจดีย์ห้ายอด เป็นอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัย ซึ่งรับเอาคติธรรมทางพุทธศาสนามหายาน ส่วนรูปทรงองค์เจดีย์ในสมัยอยุธยาที่สร้างในคาบสมุทรสทิงพระ นิยมสร้างเจดีย์ทรงลังกาหรือแบบกรวยกลม ซึ่งจะมีรูปทรงสัณฐานเป็นระฆังคว่ำ หรือกระทะคว่ำอยู่บนฐานเขียงและฐานเชิงบาตรที่ซ้อนกัน 2-3 ชั้น และบนคอระฆังที่เป็นกระทะคว่ำก็จะทำเป็นปล้องกลม ๆ ติดต่อกันไปเป็นแนวตั้งเป็นส่วนยอดเรียกว่า “ปล้องไฉน” หรือ "ฉัตรวลี"
ผมเดินขึ้นมาด้านบนของพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ (ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขึ้นด้านบน) มองออกไปจะเห็นเจดีย์เก่า ทรงระฆังฐานย่อมุมไม้สิบสอง องค์เล็ก ๆ ประดิษฐานอยู่ด้านหลังของวิหารพระพุทธไสยาสน์ โดยองค์เจดีย์เริ่มจะเอียงไปตามกาลเวลาครับ
พระอุโบสถหลังปัจจุบัน ถูกสร้างเป็นทรงไทย มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ทางขึ้นพระอุโบสถมีรูปปั้นของท้าวเวสสุวรรณ ตั้งอยู่ตรงบันได หลังคาพระอุโบสถลดชั้นไต่ระดับสองชั้น มีพาไลหน้าหลัง สำหรับตัวอาคารพระอุโบสถมีขนาดไม่ใหญ่มาก บันไดและระเบียงประดับด้วยหินแกรนิตหลากสี เสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง หน้าบันปูนปั้นปิดทองเป็นรูปพระอาทิตย์ชักรถเทียมสิงห์ ซึ่งจะแตกต่างจากอุโบสถอื่นที่พระอาทิตย์เทียมม้า ซุ้มประตูพระอุโบสถเป็นรูปมงกุฎซึ่งบานประตูด้านหนึ่งแกะสลักเป็นยักษ์แบกทวารบาลที่เป็นยักษ์ อีกด้านเป็นวานร (ลิง) แบกทวารบาลที่เป็นเทวดา สำหรับฝาผนังพระอุโบสถทำเป็นลายนูนต่ำพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ บานหน้าต่างไม้แกะสลักปิดทองเป็นรูปทวารบาลแบบต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน มีคันทวยที่หัวเสาทุกต้น
ในวันที่ผมไป มีการบรรพชาพระใหม่อยู่พอดี เลยได้ชื่นชมความงดงามของพระอุโบสถอยู่เพียงด้านนอกเท่านั้น
วัดพะโคะเคยเป็นที่จำพรรษาของสมเด็จพะโคะหรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เมื่อประมาณ 400 กว่าปีมาแล้ว จึงมีการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดมาให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาพร้อมนำเสนอประวัติความเป็นมาของหลวงปู่ทวดด้วยครับ
มีรอยพระพุทธบาทด้วยครับ แต่เดิมเชื่อกันว่าเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า แต่ในสมัยต่อมากล่าวกันว่าเป็นรอยเท้าของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดครับ
การมาวัดพะโคะของผมในครั้งนี้ ผมพลาดชมจุดสำคัญ 2 จุด คือพระพุทธไสยาสน์ (พระโคตรมะหรือพะโคะ) พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้ปางปรินิพพาน ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ และอีกหนึ่งสิ่งคือ ลูกแก้วคู่บารมีของหลวงปู่ทวด ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ครับ
วัดพะโคะมีบทบาทสำคัญมากในสมัยอยุธยาเพราะเป็นศูนย์กลางการปกครองของคณะสงฆ์ บริเวณฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลา อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่ใช้ดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองพัทลุงในสมัยก่อนด้วยครับ
[CR] Unseen สงขลา ไม่มา..ถือว่าพลาด
1. เมืองโบราณพังยาง เมืองโบราณพะโคะ และเมืองโบราณสีหยัง
2. เมืองโบราณสทิงพระ
3. เมืองป้อมค่ายซิงกอร่า ณ เขาแดง และแหลมสน
4. เมืองเก่าสงขลา บ่อยาง
โดยพื้นที่ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอารยธรรมอื่น ๆ ตามเส้นทางการค้าทางทะเลเลียบแนวชายฝั่ง หลักฐานทางโบราณคดีชองชุมชนในอดีต เป็นพื้นที่ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการความรู้และวิทยาการในการเดินเรือในยุครุ่งเรืองของการค้าทางทะเลในสมัยต่าง ๆ รวมถึงเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐานที่มีวิวัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติครับ
ทริปนี้ผมจึงวางแผนตะเวนขับรถชมสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับเมืองเก่าในเขต 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา โดยเริ่มที่อำเภอสทิงพระเป็นอำเภอแรกครับ
วัดพะโคะ หรือวัดราชประดิษฐาน (พิกัด https://maps.app.goo.gl/mhcMb5UFBwhyQd4VA ) มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนเขาพะโคะหรือเขาพัทธสิงค์ ถือเป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสำคัญยิ่งวัดหนึ่งในคาบสมุทรสทิงพระ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีศาสนา เป็นที่ประดิษฐานพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ สูง 1 เส้น 5 วา ภายในยอดองค์เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ รูปแบบเจดีย์เป็นศิลปกรรมทางใต้ สมัยอยุธยาแบบลังกา จากหลักฐานที่ปรากฏทำให้ทราบว่าเจดีย์สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2057 ตรงกับสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ช่วงสมัยอยุธยาตอนต้นและได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148- พ.ศ.2153) และได้รับการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา ลักษณะขององค์เจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆัง รองรับด้วยลานประทักษิณ 3 ชั้น ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ 3 ชั้น มุงกระเบื้องเกล็ดเต่า บัลลังก์รูปแปดเหลี่ยม เหนือบัลลังก์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งอยู่ภายในซุ้ม ปล้องไฉน (ฉัตรวลี) หนาและสั้นรองรับปลียอดที่มีรูปร่างเพรียวยาว เจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะเมื่อปี 2525 โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบบางประการ และเสริมความมั่นคงของเจดีย์โดยการฉาบผิวเจดีย์ด้วยปูนซีเมนต์ ตั้งแต่ปลียอดลงถึงลานประทักษิณชั้น 1
วัดพะโคะเคยเป็นที่จำพรรษาของสมเด็จพะโคะหรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เมื่อประมาณ 400 กว่าปีมาแล้ว จึงมีการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดมาให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาพร้อมนำเสนอประวัติความเป็นมาของหลวงปู่ทวดด้วยครับ
วัดพะโคะมีบทบาทสำคัญมากในสมัยอยุธยาเพราะเป็นศูนย์กลางการปกครองของคณะสงฆ์ บริเวณฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลา อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่ใช้ดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองพัทลุงในสมัยก่อนด้วยครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้