พระราชวังมัณฑะเลย์ แห่งพม่า (ข้อมูล) โดย นศ.สถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย

MODEL/MODEL SECTION โดย นศ.สถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย วิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม

ตามหัวกระทู้เลยคะ ข้อมูลพระราชวังมัณฑะเลย์ แห่งพม่า ด้วยความที่หาข้อมูลยากมาก ก็เลยจะมาแบ่งปันข้อมูลที่รวบรวมมาได้ เพื่อทำรายงานและ MODEL เผื่อจะเป็นประโยชน์กับใครหลายๆคนคะ

       พระราชวังมัณฑะเลย์
      ประวัติและความเป็นมา

       เป็นพระราชวังในประเทศพม่า และเป็นพระราชวังสุดท้ายแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพม่าถูกก่อสร้างขึ้นมาโดยพระเจ้ามินดง เพื่อหนีทหารของจักรวรรดิอังกฤษระหว่างสงครามพม่า-อังกฤษตามความเชื่อ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2400 – 2403 ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในปี พ.ศ.2428 ในสมัยของพระเจ้าสีป่อ หรือ ธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าหลังจากเสียเมืองให้อังกฤษได้ 60 ปี พระราชวังมัณฑะเลย์ก็ได้ถูกระเบิดและทำลายลงจากชาวอังกฤษเพราะคิดว่าพระราชวังแห่งนี้เป็นที่ตั้งของกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 ทำให้พระราชวังแห่งนี้มีอายุถึง 88 ปีก่อนที่จะถูกทำลายลง
    ภาพแสดงพระราชวังมัณฑะเลย์ก่อนถูกทำลาย
ที่มา : https://ppantip.com/topic/31679614 สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

ภาพ แสดงพระราชวังมัณฑะเลย์หลังถูกทำลายโดยการทิ้งระเบิดของอังกฤษในสมัยสงครามโลกครั้งที่2
ที่มา : https://ppantip.com/topic/31679614 สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

      จากนั้นอีก 50 ปีต่อมา พระราชวังมัณฑะเลย์ได้ถูกเนรมิตขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2538  โดยจำลองขึ้นจากภาพถ่ายเก่าและแบบจำลองของพระราชวังที่อังกฤษได้ทำไว้โดยเฉพาะตำหนักสำคัญเท่านั้นที่สร้างเท่าขนาดเดิมนอกนั้นจะเป็นการย่อส่วนลงมารวมถึงการย่นพื้นที่ตำหนักปัจจุบันมีเพียงกำแพงวังและซุ้มประตูปราสาทเท่านั้นที่เป็นของเดิม พระราชวังตั้งอยู่บนเขาและบนฝั่งแม่น้ำอิรวดีที่มีต้นน้ำร่วมกับแม่น้ำโขงและมีคูน้ำล้อมรอบพระราชวัง

โครงสร้างและการรับน้ำหนักอาคาร
พระราชวังมัณฑะเลย์มีพระมหาปราสาทเป็นศูนย์กลางเรียกว่า “มะเยนานดอว์” ตั้งอยู่ตรงแนวประตูใหญ่ด้านตะวันออก “มะเยนานดอว์” ประกอบด้วยอาคาร 2 ชนิดคือ 1.ท้องพระโรงใหญ่ 2.พระมหาปราสาทและสีหาสนะบัลลังก์ โดยพระราชวังเดิมจะใช้การก่อสร้างแบบโบราณเต็มที่ ทั้งวางรากฐานด้วยท่อนซุง งานก่อสร้างอาคารด้วยปูนแบบโบราณ ที่ใช้เปลือกหอยทะเลบ่นและผสานด้วยน้ำอ้อยการก่อสร้างเครื่องยอดเป็นไม้เต็มไปด้วยการสลักเสลาภาพเขียนผาผนังลวดลายวิจิตรสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังและลงปิดทองทั้งพระราชวัง
ภาพแสดงผังท้องพระโรงใหญ่และพระมหาปราสาทและสีหาสนะบัลลังก์
ที่มา : http://oknation.nationtv.tv สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

ภาพแสดงท้องพระโรงใหญ่และพระมหาปราสาทและสีหาสนะบัลลังก์
ที่มา : http://oknation.nationtv.tv สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

1.ท้องพระโรงใหญ่
จะประกอบไปด้วย มะยะนานส่วนกลางและมะยะนานซ้ายและขวาท้องพระโรงจะมีลักษณะเป็นโถงใหญ่ใช้ประกอบพิธีต่างๆเช่นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พิธีถวายความจงรักภักดี (พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา) และวันเข้าพรรษา เป็นต้น โดยมีระยะ 77.10 เมตรจากท้องพระโรงทางด้านซ้ายถึงด้านขวา
รูปแบบผังเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้าและสี่เหลี่ยมจัตุรัส โครงสร้างท้องพระโรง

ฐาน
เป็นโครงสร้างไม้ในการรับน้ำหนักและใช้ปูพื้นโดยจะตีเว้นร่องเพื่อระบายน้ำฝนและการขยายตัวของไม้ ผนังก่ออิฐ (ปะหยั่น)รอบฐานเผื่อปิดส่วนใต้ถุนและด้านบนทำเป็นราวกันตกของท้องพระโรงมีความสูงจากดินถึงชาน 2.60 เมตร ส่วนท้องพระโรงยกพื้นขึ้น 0.20 เมตรเป็นขอบกันน้ำในตัวท้องพระโรงปัจจุบันจะเป็นพื้นปูนขัดมัน


ภาพแสดงส่วนชานของท้องพระโรงใหญ่และลักษณะการก่อผนังอิฐ
ที่มา : http://2g.ppantip.com/cafe/blueplanet/topic/E12758523/E12758523.html สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

เสา

โครงสร้างของพระราชวังเดิมใช้ไม้สักเป็นเสาท้องพระโรงมีรูปร่างกลมสูงใหญ่เพื่อรับน้ำหนักของของหลังคาและพื้น เสาจะตกแต่งด้วยลวดลายกรกลายดอกเสลาเป็นลายเส้นสีดำที่เรียกว่า ตะจองสแวแย ส่วนหัวเสาจะตกแต่งด้วยงานกลึงไม้ (ปางปุ๊ต) เป็นทรงพานดอกไม้และตกแต่งด้วยการปิดทองให้ทั่วเสา

ภาพแสดงลักษณะการตกแต่งเสาในอดีตและปัจจุบัน
ที่มา : https://www.panoramio.com/user/5871637?with_photo_id=88418243 สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560


หลังคา
       จะเป็นโครงสร้างไม้จะต่อจากเสาของอาคารมีลักษณะแบบโครงสร้างเสาและคานลักษณะหลังคาจะเป็นโครงสร้างที่คล้ายกับของล้านนา(ม้าต่างไหม) และมีส่วนปีกนกยื่นออกมารับชายคาของหลังคาจะมีฝ้าเพดานปกปิดโครงสร้างหลังคาด้านบน หลังคาท้องพระโรงจะเป็นลักษณะหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นแรกมีลักษณะเป็นหลังคาปั้นหยา ชั้นบนลักษณะของหลังคาจั่วโดยมีส่วนฝาสองคอเชื่อมต่อทั้งสองชั้นแหละหลังคาจะตกแต่งด้วยไม้แกะสลักลวดลายต่างๆในแบบพม่า โครงสร้างหลักทั้งหมดจะเป็นไม้ทั้งหมด กระเบื้องหลังคาเป็นกระเบื้องลอน


    
ภาพแสดงลักษณะการตกแต่งระแนงไม้ใต้ชายคา
ที่มา : https://www.panoramio.com/user/5871637?with_photo_id=88418243 สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560


      ภาพแสดงกระเบื้องหลังคา,ลักษณะของการหลังคาซ้อน2ชั้น,ปีกนกรับส่วนชายคา
ที่มา : http://2g.ppantip.com/cafe/blueplanet/topic/E12758523/E12758523.html สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560


ส่วนประกอบของท้องพระโรงใหญ่


ภาพแสดงรูปด้านท้องพระโรงใหญ่มะเยนานดอว์ซ้ายและขวา
ที่มา : http://www.lib.washington.edu  สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

อัฐวาส (ช่อฟ้า)
ช่อฟ้าเป็นส่วนส่วนประดับอยู่บนส่วนยอดบ่นสุดของปลายสันหลังคา
องค์ประกอบของช่อฟ้า
-ส่วนปลายยอดหรือหงอน
-ส่วนปาก
-ส่วนท้อง เรียกว่าอกสุบรรณ

       ภาพแสดงรูปอัฐวาส (ช่อฟ้า)
ที่มา : https://www.google.co.th สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560


              ภาพแสดงรูปอัฐวาส (ช่อฟ้า)
ที่มา : http://www.lib.washington.edu  สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

หลังคาปยาทาด
ปยาทาด คือ หลังคาที่มีการซ้อนทับกันเปนชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป ซึ่งโดยทั่วไปจะมีตั่งแต่ 3,5 หรือ 7 ชั้น จะมีลักษณะที่เด่นชัดคือ สีของหลังคาจะเป็นสีแดง ลักษณะของหลังคาจะเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่าค่อยๆลดหลั่งลงไปและทุกด้านจะประดับซุ้มจั่ว    


          ภาพแสดงกระเบื้องหลังคา,ลักษณะของการหลังคาซ้อน2ชั้น,ปีกนกรับส่วนชายคา หลังคาปยาทาด
ที่มา : http://2g.ppantip.com สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560


มาย่า (เสา)
องค์ประกอบของโครงสร้างที่มีการรับน้ำหนักต่าง ๆ ในอาคารโดยจะมีการถ่ายลงเสาด้วยเสาจะทำหน้าที่รับน้ำหนักในแนวดิ่งและในบางกรณีก็ต้องรับโมเมนต์ดัดได้ด้วยเสาจะมีรูปแบบและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของเสา


   
    ภาพแสดงมาย่า (เสา)
ที่มา : https://www.google.co.th สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560



ฐานเขียง (ฐาน)
ฐานเขียง หรือ ฐาน ฐานเขียง ฐานชั้นล่างสุด ยกพื้นให้สูงกว่าพื้นดิน



ภาพแสดงฐานเขียง (ฐาน)
ที่มา : http://www.lib.washington.edu  สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

ภาพแสดงฐานเขียง (ฐาน)
ที่มา : https://www.google.co.th/maps  สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

ตระยาอิม (โถง)
ตระยาอิม หรือ โถง คืนส่วนที่เปิดโล่งมีหลังหาคลุม และโดยรอบข้างจะไม่มีผนังก่อขึ้นมาหรือมีอะไรกั้นไว้ท้งสิ้น


ภาพแสดงตระยาอิม (โถง)
ที่มา : https://www.google.co.th/search  สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560



ภาพลักษณะของ ปานซอยปานถ่องกะหลุ่งต่อง
ที่มา:http://www.photoontour.com สืบค้น : วันที่ 25 เมษายน 2560

ปานถ่อง
      เป็นส่วนที่ประดับอยู่เหนือยหลังคา เป็นส่วนที่ตั้งอยู่บ่น ปานซอย (ปดเชิงชาย) จะมีสวดลายที่สวยงาม ทำให้ตัวอาคารดูดเด่น

ปานซอย
       ปานซอยใช้เป็นส่วนประดับที่เป็นเชิงชายของอาคารและซุ่ม ปานซอยจะมีโครงสร้างและลวดลายที่ติดกันสามส่วนคือ กระหลุ่งต่อง, พองและปาน มีคุณสมบัติเป็นตัวลดน้ำหนักทางสายตา ทำให้ส่วนที่ถูกประดับนั้นดูโดดเด่นลอยตัว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่