เดี๋ยวนี้ยังมีใครส่ง สคส ให้กันอยู่บ้างมั้ยครับ
เมื่อก่อนเวลาใกล้สิ้นปี ขึ้นปีใหม่
หลายคน หลายองค์กร มักจะมีการส่ง สคส ให้กัน
เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว ถึงมีคงน้อยมาก
ตัวอย่าง ส.ค.ส. สมัยก่อน (ภาพจากหนังสือ "สิ่งพิมพ์สยาม" รวบรวมโดย เอนก นาวิกมูล)
การส่ง “ส.ค.ส.” หรือ ส่งความสุข เริ่มครั้งแรกในประเทศไทย คือรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์คัดลอกเพื่อที่จะพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และชาวต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน โดยมีการค้นพบ ส.ค.ส. ที่เก่าแก่ที่สุดคือฉบับปี พ.ศ. 2409
ผู้ที่ค้นพบ ส.ค.ส. ฉบับที่เก่าแก่ที่สุดคือ คุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช ซึ่งค้นพบที่ประเทศอังกฤษ เป็นฉบับที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่ กัปตันจอห์น บุช หรือหลวงวิสูตรสาครดิษฐ ที่ดูแลกรมเจ้าท่าในขณะนั้น
คุณธวัชชัย ได้อธิบายลักษณะเกี่ยวกับ ส.ค.ส. ฉบับนี้ในบทความ ส.ค.ส.ฉบับแรกของสยาม ว่า “ส.ค.ส. ฉบับนี้ไม่เป็นรูปแบบบัตรอวยพรพร้อมลวดลายวิจิตรอย่างเช่นในปัจจุบัน แต่เป็นกระดาษสมุดฝรั่งสีครีมพับครึ่ง ไม่ต่างจากกระดาษจดหมายทั่วไป ส.ค.ส. ฉบับนี้ เมื่อคลี่ออกมาจะมีขนาดความกว้าง 18 เซนติเมตร ยาว 23 เซนติเมตร ซองมีขนาดความกว้าง 8.1 เซนติเมตร ยาว 13.9 เซนติเมตร พระราชสาสน์อวยพรมีความยาวทั้งสิ้น 4 หน้า และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลายเซ็นพระนามลงบน ส.ค.ส. ฉบับนี้ด้วย”
แสดงให้เห็นว่า ส.ค.ส. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น กว่าศตวรรษแล้ว เป็นที่น่าเสียดายถ้าปัจจุบัน การส่งความสุขผ่าน ส.ค.ส. เริ่มหายไปจากเมืองไทย อาจเป็นเพราะความเจริญด้านเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตาม ส.ค.ส. ยังคงมีคุณค่าในตัวเอง เพราะว่าผู้ส่งมีความพิถีพิถันในการเขียนและประดับตกแต่งให้ดูสวยงามก่อนส่งให้คนที่รัก...
https://www.silpa-mag.com/culture/article_14070
กำเนิด ส.ค.ส. การ์ดอวยพรปีใหม่ ในเมืองไทยเริ่มสมัยรัชกาลที่ 4
เมื่อก่อนเวลาใกล้สิ้นปี ขึ้นปีใหม่
หลายคน หลายองค์กร มักจะมีการส่ง สคส ให้กัน
เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว ถึงมีคงน้อยมาก
ตัวอย่าง ส.ค.ส. สมัยก่อน (ภาพจากหนังสือ "สิ่งพิมพ์สยาม" รวบรวมโดย เอนก นาวิกมูล)
การส่ง “ส.ค.ส.” หรือ ส่งความสุข เริ่มครั้งแรกในประเทศไทย คือรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์คัดลอกเพื่อที่จะพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และชาวต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน โดยมีการค้นพบ ส.ค.ส. ที่เก่าแก่ที่สุดคือฉบับปี พ.ศ. 2409
ผู้ที่ค้นพบ ส.ค.ส. ฉบับที่เก่าแก่ที่สุดคือ คุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช ซึ่งค้นพบที่ประเทศอังกฤษ เป็นฉบับที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่ กัปตันจอห์น บุช หรือหลวงวิสูตรสาครดิษฐ ที่ดูแลกรมเจ้าท่าในขณะนั้น
คุณธวัชชัย ได้อธิบายลักษณะเกี่ยวกับ ส.ค.ส. ฉบับนี้ในบทความ ส.ค.ส.ฉบับแรกของสยาม ว่า “ส.ค.ส. ฉบับนี้ไม่เป็นรูปแบบบัตรอวยพรพร้อมลวดลายวิจิตรอย่างเช่นในปัจจุบัน แต่เป็นกระดาษสมุดฝรั่งสีครีมพับครึ่ง ไม่ต่างจากกระดาษจดหมายทั่วไป ส.ค.ส. ฉบับนี้ เมื่อคลี่ออกมาจะมีขนาดความกว้าง 18 เซนติเมตร ยาว 23 เซนติเมตร ซองมีขนาดความกว้าง 8.1 เซนติเมตร ยาว 13.9 เซนติเมตร พระราชสาสน์อวยพรมีความยาวทั้งสิ้น 4 หน้า และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลายเซ็นพระนามลงบน ส.ค.ส. ฉบับนี้ด้วย”
แสดงให้เห็นว่า ส.ค.ส. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น กว่าศตวรรษแล้ว เป็นที่น่าเสียดายถ้าปัจจุบัน การส่งความสุขผ่าน ส.ค.ส. เริ่มหายไปจากเมืองไทย อาจเป็นเพราะความเจริญด้านเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตาม ส.ค.ส. ยังคงมีคุณค่าในตัวเอง เพราะว่าผู้ส่งมีความพิถีพิถันในการเขียนและประดับตกแต่งให้ดูสวยงามก่อนส่งให้คนที่รัก...
https://www.silpa-mag.com/culture/article_14070