[CR] เที่ยว กัมพูชา Part 2 กันครับ

ก่อนอื่นทุกคนอาจสงสัยว่า ทำไมกะทู้ถึงมีซ้อนๆกัน คือยังงัยดีล่ะ ผมเพิ่งเคยตั้งกะทู้แล้วทีงี้ทำไม่เป็นครับ พยายามลบกะทู้แล้ว แต่ทำไม่ได้ครับ
เอาเป็นว่ามาต่อเรยละกันครับ

ปราสาทถัดไปคือ ปราสาทนาคพัน

ปราสาทนาคพันธ์ ( Neak Pean / Neak Poan)

เป็นปราสาทขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานกลมที่มีลักษณะซ้อนลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้น ๆ ชั้นสุดท้ายเป็นรูปพญานาค 7 เศียร 2 ตัว โอบล้อมฐานของปราสาทโดยหันส่วนหัวไปทางทิศตะวันออก และส่วนหาง วนอ้อมฐานมาบรรจบกันทางทิศตะวันตก ที่ฐานของปราสาทจำหลักรูปดอกบัวรองรับตัวปราสาท และมีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประดิษฐานอยู่ที่ปราสาททั้ง 4 ทิศ

ปราสาทนาคพันธ์ สร้างอยู่กลางสระสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำขนาดเล็กตั้งอยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศ แต่ละบ่อมีส่วนที่เชื่อมต่อกับสระใหญ่ตรงกลางเพื่อให้น้ำจากสระใหญ่สามารถไหลไปสู่บ่อเล็กได้ การก่อสร้างปราสาทนาคพันธ์น่าจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนา ผังของปราสาทเป็นลักษณะการจำลองของสระอโนดาต สระอโนดาตเป็นสระน้ำบนสวรรค์มีน้ำที่ใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า น้ำในสระอโนดาตจะไหลออกตามช่องภูเขาที่ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของสระ ซึ่งปากช่องของภูเขาแต่ละลูกจะเป็นรูปหน้าของสัตว์ 4 ชนิด คือ สิงห์ ช้าง ม้า และวัว 

ใน "ย้อนรอยอารยะเมืองพระนคร" ซึ่งเขียนโดย ชากส์ คูมาร์เชย์ และแปลโดยอาจารย์วีระ ธีรภัทร ได้กล่าวถึงรูปจำหลักในทิศทั้ง 4 ของปราสาทนาคพันธ์ว่า ที่สระน้ำทางทิศตะวันตกมีหินสลักเป็นรูปหัวมนุษย์ สระน้ำทางทิศเหนือมีหินสลักเป็นรูปหัวช้าง สระน้ำทางทิศตะวันออกมีหินสลักเป็นรูปหัวม้า และสระน้ำทางทิศใต้มีหินสลักเป็นรูปหัวสิงห์  จะเห็นว่าช่างขอมจำหลักรูปหน้าสัตว์ประจำทิศในแต่ละทิศตามคติความเชื่อเรื่องสระอโนดาต แต่ในทิศตะวันตกกลับจำหลักรูปหน้าคนแทนหน้าวัว

คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทนาคพันธ์มีทั้งความเชื่อทางพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูปะปนกัน ตัวปราสาทกลางสระสร้างตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ แต่ไม่ปรากฏรูปพระพุทธเจ้ากลับมีรูปสลักของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแทน 



ปราสาทแม่บอนตะวันออก




ปราสาทตาสม   (Tasom Castle Siem Reap) 

ปราสาทตาสม เป็นปราสาทขนาดเล็กหากเทียบกับ ปราสาทตาพรม หรือ ปราสาทบันทายกเดย ปราสาทแห่งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนเล็กๆ คือ โคปุระด้านนอก และกำแพงล้อมรอบ โคปุระด้านใน และปรางค์ประธาน พร้อมกับระเบียงคตทั้งสี่ด้าน มีบรรณาลัยอยู่ภายในระเบียงคต กำแพงด้านนอก กว้าง 200 เมตร ยาว 240 เมตร ทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก เข้าสูโคปุระด้านในจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ระเบียงคตรอบปรางค์ประธานมีความยาว 30 เมตร กว้าง 20 เมตร บรรณาลัยอยู่ทางทิศเหนือ และใต้ด้านหลัง เนื่องจากถนนตัดผ่านด้านหลังปราสาท


ปราสาทตาสม สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1724-1763) รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และทำการขยายเพิ่มเติมในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ปราสาทตาสม เป็นปราสาทขนาดเล็กหากเปรียบเทียบกับปราสาทตาพรหมหรือปราสาทบันทายกเดย ปราสาทแห่งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
 
โคปุระด้านนอกและกำแพงล้อมรอบ โคปุระด้านในและปรางค์ประธานพร้อมกับระเบียงคตทั้งสี่ด้าน มีบรรณาลัยอยู่ในระเบียงคต กำแพงด้านนอกมีความกว้าง 200 เมตร ยาว 240 เมตร เส้นทางเข้าสู่ทิศตะวันออกเข้าสู่โคปุระด้านในจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ระเบียงคตรอบปรางค์ประธานมีความยาว 30 เมตร กว้าง 20 เมตร บรรณาลัยอยู่ทางทิศเหนือและใต้ด้านละหลัง เนื่องจากถนนจะตัดผ่านด้านหลังปราสาททางด้านทิศตะวันตก นักท่องเที่ยวจึงนิยมเข้าสู่ปราสาททางทิศตะวันตก

 
นางอัปสร-เสากรอบประตู รูปแบบของปราสาทตาสม อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคต้นๆ ของศิลปะแบบบายน โดยสังเกตได้จากลักษณะของนางอัปสร และลักษณะของเสากรอบประตูที่เป็นแปดเหลี่ยมและมีลายสลักลักษณะเป็นดอกไม้และใบไม้อยู่โดบรอบ คล้ายคลึงกับปราสาทบายนมาก
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ลักษณะเด่นของปราสาทตาสมอีกอย่างก็คือ พระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งอยู่บนยอดของปรางค์ประธานและโคปุระที่กำแพงด้านนอก มีพระพักตร์ทั้งสี่ทิศรูปแบบลักษณะเช่นนี้เหมือนกับปราสาทบายน





ปราสาทแปรรูป

           ปราสาทแปรรูปจัดเป็นปราสาทหลวงในรัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปพระนครพระเจ้าเซนทรวรมันที่ 2 ทรงเลือกบริเวณทิศใต้เพื่อตั้งเป็นเมืองหลวงและปราสาทแปรรูปแห่งนี้  จึงได้โปรดให้สร้างปราสาทแปรรูปขึ้น โดยสร้างปราสาทอิฐ 5 หลัง ตั้งบนฐาน 3 ชั้น และยังมีปราสาทบริวารขนาดเล็กรายล้อมอยู่บนฐานชั้น 1  เพื่ออุทิศถวายให้แก่พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม 
         คำว่า"แปรรูป"มาจากความหมายที่ว่าการเปลี่ยนแปลงของร่างกายสันนิษฐานจากลักษณะของหีบ ซึ่งทำจากหินทราย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ก่อนขึ้นไปสู่ปรางค์ประธาน หีบหินทรายนี้ กล่าวกันว่าใช้สำหรับบรรจุพระอิฐของพระมหากษัตริย์

 
           ปราสาทแปรรูป เป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นที่มีปราสาทยอดสร้างด้วยอิฐเช่นเดียวกับปราสาทอื่นๆในศิลปะสมัยพระนครตอนต้น  มีการพัฒนาการใหม่ที่สามารถสังเกตได้ก็คือ ปราสาทประธานได้เพิ่มจำนวนเป็น 5 หลังเป็นครั้งแรกและปราสาทเริ่มปรากฏ “อาคารยาวๆ” โดยรอบซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับระเบียงคดในระยะต่อมา อาคารยาวๆเหล่านี้คงใช้เป็นที่เก็บของหรือเป็นที่พัก ด้านหน้าปราสาทปรากฏแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งคงเป็นที่ประดิษฐานโคนนทิมาก่อน ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว




ปราสาทบันทายกเดย 

หมายถึง "ห้องโถงของป้อมปราการ" หรือ "ป้อมปราการกุฏิพระ" เป็นวัดในเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทตาพรหมและทางตะวันออกของนครธม สร้างขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ผู้มีตำแหน่งหลังสวรรคตว่า "มหาบรมสุคตะปะดะ" มีรูปแบบสถาปัตยกรรมบายน ซึ่งคล้ายกับแบบของปราสาทตาพรหมและปราสาทพระขรรค์ แต่ซับซ้อนน้อยกว่าและเล็กกว่า โครงสร้างมีผนังกั้นต่อเนื่องสองอัน และทางเดินมีหลังคาที่มีศูนย์กลางร่วมกันสองอันที่รวมกันที่หอคอย แล้วมีวิหารคดทางตะวันออก

ชื่อสินค้า:   ท่องเที่ยว backpack
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่