เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#1 เดินดูปูนปั้นช่างเมืองเพชรบุรี ถนนคนเดิน ราชดำเนินยามเย็น
https://ppantip.com/topic/37347821
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#2 วัดมหาธาตุ ปรางค์ 5 ยอดโดดเด่น เห็นแต่ไกล ปูนปั้นล้อเลียน
https://ppantip.com/topic/37347873
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#3 วัดไผ่ล้อม ลายปูนปั้นเต็มผนังองค์ประกอบต่อเนื่องแห่งเดียวในประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/37347906
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#4 วัดกำแพงแลง ปราสาทเขมรที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/37354440
งานพระนครคีรี ครั้งที่ ๓๐#5 วัดใหญ่สุวรรณารามพระตำหนักพระเจ้าเสือ,พระพุทธรูป 6 นิ้ว,ฉัตรพระประธานร.๕, เลข๕กลับด้าน
https://ppantip.com/topic/37354455
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#6 หัดถ่ายพลุพระนครคีรี ที่วัดวิหารโบสถ์ และจุดพิกัดอื่นๆ
https://ppantip.com/topic/37354473
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#7 วัดพระนอน(ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในไทย) พระยืน, พระนั่ง, พระยิ้ม
https://ppantip.com/topic/37363145/comment1
วัดกำแพงแลง
พิกัด gps
N13.104891 E99.955917
ข้อมูลดีจาก
https://goo.gl/nRWT5S
จากวัดไผ่ล้อมเดินตามทางไปเรื่อยๆ ระยะทางประมาณ 600 กว่าเมตร ก็จะมีถึงวัดกำแพงแลง
วัดกำแพงแลง
วัดกำแพงแลง หรือ วัดเทพปราสาทศิลาแลง ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี อยู่ห่างแม่น้ำเพชรบุรีมาทางตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อดั้งเดิมไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด สำหรับชื่อที่เรียกกันว่า “กำแพงแลง” นั้นคงเป็นชื่อที่ผู้คนในสมัยหลังเรียกกันตามลักษณะที่พบเห็น เนื่องจากภายในวัดมีปราสาทเขมรก่อด้วยศิลาแลงและมีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ จากลักษณะดังกล่าวจึงเป็นที่มาของชื่อวัดนี้ว่า "กำแพงแลง" หมายถึงกำแพงวัดที่ก่อด้วยศิลาแลงนั่นเอง
เปิด-ปิด 6:00-18:30 น.
ลักษณะทางกายภาพวัดแห่งนี้แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และพื้นที่สำหรับการทำสังฆกรรมโดยทั่วไป ส่วนของโบราณสถานจะอยู่ในพื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีเขตของกำแพงศิลาแลงกั้น ส่วนพื้นที่ทำสังฆกรรมอยู่นอกเขตกำแพงศิลาแลง
ประวัติ
วัดกำแพงแลง
แต่เดิมวัดกำแพงแลงเป็นวัดร้าง มีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่โดยเช่าที่ดินจากกรมการศาสนาเพื่อใช้ทำสวน ต่อมาเมื่อตั้งเป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษาผู้ที่อาศัยอยู่จึงอพยพออกไป และพระภิกษุในวัดได้ทำหน้าที่ดูแลรักษาวัดและโบราณสถาน ซึ่งต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 หน้า 3692 วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2478[1] ภายหลังวัดกำแพงแลงได้ตั้งเป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อ พ.ศ. 2497 และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดเทพปราสาทศิลาแลง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม[แก้]
แผนผัง
ปราสาทวัดกำแพงแลงมีผังพื้นล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในกำแพงศิลาแลงเป็นที่ตั้งของปราสาทศิลาแลงแบบศิลปะเขมรทั้งหมด 4 องค์ ปราสาท 3 องค์ทางด้านหน้าวางตัวเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ โดยปราสาทประธานมีขนาดสูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์ ส่วนปราสาทองค์ที่ 4 ตั้งอยู่ด้านหลังของปราสาทประธานด้านทิศตะวันออก และมีโคปุระ (ซุ้มประตูทางเข้า) 1 หลังที่มียอดเป็นปราสาท ภายในกำแพงศิลาแลงยังพบสระน้ำอยู่ชิดขอบกำแพงทางทิศตะวันออกด้วย[[1]]
โคปุระ
โคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้าก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ลักษณะเป็นปราสาทเขมร ศิขระหรือส่วนยอดยังคงสภาพของแต่ละส่วนไว้อย่างสมบูรณ์ ตัวเรือนธาตุของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีมุขยื่นออกมาจากเรือนธาตุทั้ง 4 ด้านเป็นจตุรมุขลดหลั่นกัน 2 ชั้น สันหลังคามุขประดับด้วยบราลี มุขแต่ละด้านมีหน้าต่างหลอกเป็นลูกกรงมะหวดที่ผนังด้านข้างด้านละ 1 แห่ง ประตูทางเข้ามีเพียงทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเท่านั้นที่สามารถเดินเข้าไปได้ ส่วนประตูทางด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นประตูหลอกปิดทึบ รอบโคปุระพบบัวเชิงผนัง ส่วนฐานโคปุระ มีผังเป็นรูปกากบาทตัดกัน เนื่องจากเป็นซุ้มประตูทางเข้าจึงทำเป็นฐานทรงเตี้ยสำหรับเดินเข้าได้อย่างสะดวก ปัจจุบันที่โคปุระไม่พบลวดลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่แล้ว คงเหลือแต่ร่องรอยของปูนที่ฉาบอยู่ด้านนอกเท่านั้น[[2]]
---------------------------------------------------
ปราสาทประธาน
ก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่บนฐานที่ซ้อนกันอย่างน้อย 2 ชั้น ศิขระหรือส่วนยอดของปราสาทได้หักพังลงมาแล้ว
แต่ยังคงเหลือชั้นรัดประคดและชั้นอัสดงอยู่ รวมทั้งมีนาคปักและกลีบขนุนตามอยู่ตามส่วนยอดอยู่บ้าง
เรือนธาตุของปราสาทประธานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ทิศ ซุ้มหน้าบันเหนือประตูทางเข้าด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของปราสาทยังมีลวดลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่เช่นเดียวกับบริเวณฐาน[[3]]
ภายในปรางค์ประธาน ประดิษฐาน หลวงพ่อเพชร
หลวงพ่อเพชรวัดกำแพงแลง ภายในปรางค์ประธานที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปหินทรายแเดงสมัยอยุธยา ซึ่งอันเชิญมาจากวัดกุฎีทอง อำเภอเมืองเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2498 ส่วนปรางค์ทิศใต้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธรูปอื่นๆ
https://www.touronthai.com/article/147
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปราสาททิศเหนือ
ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทประธาน ปัจจุบันหักพังลงเหลือเพียงส่วนด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเท่านั้น
ลักษณะคงเป็นเช่นเดียวกับปราสาทประธานแต่มีขนาดเล็กกว่า มีประตูทางเข้าทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอกสลักปิดทึบไว้ 2 ชั้น[[4]]
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ปราสาททิศใต้
ก่อด้วยศิลาแลง อยู่ทางทิศใต้ของปราสาทประธาน มีลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทองค์อื่นและคงมีขนาดสูงใหญ่เช่นเดียวกับปราสาททิศเหนือ
โดยยังคงไว้ซึ่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของส่วนยอดหรือศิขระ ได้ค่อนข้างสมบูรณ์
ส่วนเรือนธาตุและฐานบางส่วนได้รับการบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยหลัง มีประตูเข้าทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอกปิดทึบ
ที่สันของประตูหลอกปั้นปูนเป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัยทั้งสองด้าน ปัจจุบันชำรุดไปมากเหลือเพียงส่วนโกลนของศิลาแลง
แต่เดิมมีรูปเคารพ พระโพธิสัตย์อวโลกิเตศวร แสดงถึงความเมตตากรุณา ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์(พระนอน) เป็นรูปเคารพ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปราสาททิศตะวันตก
ปรางค์ทิศตะวันตก ตั้งอยู่ด้านหลังปรางค์ประธานในแนวเดียวกับปรางค์ทิศตะวันออก ขณะนี้เหลือเฉพาะส่วนฐานและเรือนธาตุบางส่วน แต่เดิมคงมีรูปทรงแผนผังเช่นเดียวกับปรางค์ทิศเหนือและใต้ จากการขุดแต่งโดยกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2530 พบประติมากรรมรูปเคารพหินทรายได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี (พบเฉพาะส่วนเศียรเนื้อหินทรายสีเขียวอ่อน) พระชัยพุทธมหานาถ (พระพุทธรูปนาคปรก) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปัจจุบันเก็บรักษาไใที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรีและนางปรัชญาปารมิตาลักษณะศิลปะแบบบายน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18
[CR] เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#4 วัดกำแพงแลง ปราสาทเขมรที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/37347821
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#2 วัดมหาธาตุ ปรางค์ 5 ยอดโดดเด่น เห็นแต่ไกล ปูนปั้นล้อเลียน
https://ppantip.com/topic/37347873
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#3 วัดไผ่ล้อม ลายปูนปั้นเต็มผนังองค์ประกอบต่อเนื่องแห่งเดียวในประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/37347906
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#4 วัดกำแพงแลง ปราสาทเขมรที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/37354440
งานพระนครคีรี ครั้งที่ ๓๐#5 วัดใหญ่สุวรรณารามพระตำหนักพระเจ้าเสือ,พระพุทธรูป 6 นิ้ว,ฉัตรพระประธานร.๕, เลข๕กลับด้าน
https://ppantip.com/topic/37354455
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#6 หัดถ่ายพลุพระนครคีรี ที่วัดวิหารโบสถ์ และจุดพิกัดอื่นๆ
https://ppantip.com/topic/37354473
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#7 วัดพระนอน(ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในไทย) พระยืน, พระนั่ง, พระยิ้ม
https://ppantip.com/topic/37363145/comment1
วัดกำแพงแลง
พิกัด gps
N13.104891 E99.955917
ข้อมูลดีจาก https://goo.gl/nRWT5S
จากวัดไผ่ล้อมเดินตามทางไปเรื่อยๆ ระยะทางประมาณ 600 กว่าเมตร ก็จะมีถึงวัดกำแพงแลง
วัดกำแพงแลง
วัดกำแพงแลง หรือ วัดเทพปราสาทศิลาแลง ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี อยู่ห่างแม่น้ำเพชรบุรีมาทางตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อดั้งเดิมไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด สำหรับชื่อที่เรียกกันว่า “กำแพงแลง” นั้นคงเป็นชื่อที่ผู้คนในสมัยหลังเรียกกันตามลักษณะที่พบเห็น เนื่องจากภายในวัดมีปราสาทเขมรก่อด้วยศิลาแลงและมีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ จากลักษณะดังกล่าวจึงเป็นที่มาของชื่อวัดนี้ว่า "กำแพงแลง" หมายถึงกำแพงวัดที่ก่อด้วยศิลาแลงนั่นเอง
เปิด-ปิด 6:00-18:30 น.
ลักษณะทางกายภาพวัดแห่งนี้แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และพื้นที่สำหรับการทำสังฆกรรมโดยทั่วไป ส่วนของโบราณสถานจะอยู่ในพื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีเขตของกำแพงศิลาแลงกั้น ส่วนพื้นที่ทำสังฆกรรมอยู่นอกเขตกำแพงศิลาแลง
ประวัติ
วัดกำแพงแลง
แต่เดิมวัดกำแพงแลงเป็นวัดร้าง มีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่โดยเช่าที่ดินจากกรมการศาสนาเพื่อใช้ทำสวน ต่อมาเมื่อตั้งเป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษาผู้ที่อาศัยอยู่จึงอพยพออกไป และพระภิกษุในวัดได้ทำหน้าที่ดูแลรักษาวัดและโบราณสถาน ซึ่งต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 หน้า 3692 วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2478[1] ภายหลังวัดกำแพงแลงได้ตั้งเป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อ พ.ศ. 2497 และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดเทพปราสาทศิลาแลง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม[แก้]
แผนผัง
ปราสาทวัดกำแพงแลงมีผังพื้นล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในกำแพงศิลาแลงเป็นที่ตั้งของปราสาทศิลาแลงแบบศิลปะเขมรทั้งหมด 4 องค์ ปราสาท 3 องค์ทางด้านหน้าวางตัวเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ โดยปราสาทประธานมีขนาดสูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์ ส่วนปราสาทองค์ที่ 4 ตั้งอยู่ด้านหลังของปราสาทประธานด้านทิศตะวันออก และมีโคปุระ (ซุ้มประตูทางเข้า) 1 หลังที่มียอดเป็นปราสาท ภายในกำแพงศิลาแลงยังพบสระน้ำอยู่ชิดขอบกำแพงทางทิศตะวันออกด้วย[[1]]
โคปุระ
โคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้าก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ลักษณะเป็นปราสาทเขมร ศิขระหรือส่วนยอดยังคงสภาพของแต่ละส่วนไว้อย่างสมบูรณ์ ตัวเรือนธาตุของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีมุขยื่นออกมาจากเรือนธาตุทั้ง 4 ด้านเป็นจตุรมุขลดหลั่นกัน 2 ชั้น สันหลังคามุขประดับด้วยบราลี มุขแต่ละด้านมีหน้าต่างหลอกเป็นลูกกรงมะหวดที่ผนังด้านข้างด้านละ 1 แห่ง ประตูทางเข้ามีเพียงทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเท่านั้นที่สามารถเดินเข้าไปได้ ส่วนประตูทางด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นประตูหลอกปิดทึบ รอบโคปุระพบบัวเชิงผนัง ส่วนฐานโคปุระ มีผังเป็นรูปกากบาทตัดกัน เนื่องจากเป็นซุ้มประตูทางเข้าจึงทำเป็นฐานทรงเตี้ยสำหรับเดินเข้าได้อย่างสะดวก ปัจจุบันที่โคปุระไม่พบลวดลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่แล้ว คงเหลือแต่ร่องรอยของปูนที่ฉาบอยู่ด้านนอกเท่านั้น[[2]]
---------------------------------------------------
ปราสาทประธาน
ก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่บนฐานที่ซ้อนกันอย่างน้อย 2 ชั้น ศิขระหรือส่วนยอดของปราสาทได้หักพังลงมาแล้ว
แต่ยังคงเหลือชั้นรัดประคดและชั้นอัสดงอยู่ รวมทั้งมีนาคปักและกลีบขนุนตามอยู่ตามส่วนยอดอยู่บ้าง
เรือนธาตุของปราสาทประธานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ทิศ ซุ้มหน้าบันเหนือประตูทางเข้าด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของปราสาทยังมีลวดลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่เช่นเดียวกับบริเวณฐาน[[3]]
ภายในปรางค์ประธาน ประดิษฐาน หลวงพ่อเพชร
หลวงพ่อเพชรวัดกำแพงแลง ภายในปรางค์ประธานที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปหินทรายแเดงสมัยอยุธยา ซึ่งอันเชิญมาจากวัดกุฎีทอง อำเภอเมืองเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2498 ส่วนปรางค์ทิศใต้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธรูปอื่นๆ
https://www.touronthai.com/article/147
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปราสาททิศเหนือ
ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทประธาน ปัจจุบันหักพังลงเหลือเพียงส่วนด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเท่านั้น
ลักษณะคงเป็นเช่นเดียวกับปราสาทประธานแต่มีขนาดเล็กกว่า มีประตูทางเข้าทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอกสลักปิดทึบไว้ 2 ชั้น[[4]]
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ปราสาททิศใต้
ก่อด้วยศิลาแลง อยู่ทางทิศใต้ของปราสาทประธาน มีลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทองค์อื่นและคงมีขนาดสูงใหญ่เช่นเดียวกับปราสาททิศเหนือ
โดยยังคงไว้ซึ่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของส่วนยอดหรือศิขระ ได้ค่อนข้างสมบูรณ์
ส่วนเรือนธาตุและฐานบางส่วนได้รับการบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยหลัง มีประตูเข้าทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอกปิดทึบ
ที่สันของประตูหลอกปั้นปูนเป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัยทั้งสองด้าน ปัจจุบันชำรุดไปมากเหลือเพียงส่วนโกลนของศิลาแลง
แต่เดิมมีรูปเคารพ พระโพธิสัตย์อวโลกิเตศวร แสดงถึงความเมตตากรุณา ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์(พระนอน) เป็นรูปเคารพ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปราสาททิศตะวันตก
ปรางค์ทิศตะวันตก ตั้งอยู่ด้านหลังปรางค์ประธานในแนวเดียวกับปรางค์ทิศตะวันออก ขณะนี้เหลือเฉพาะส่วนฐานและเรือนธาตุบางส่วน แต่เดิมคงมีรูปทรงแผนผังเช่นเดียวกับปรางค์ทิศเหนือและใต้ จากการขุดแต่งโดยกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2530 พบประติมากรรมรูปเคารพหินทรายได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี (พบเฉพาะส่วนเศียรเนื้อหินทรายสีเขียวอ่อน) พระชัยพุทธมหานาถ (พระพุทธรูปนาคปรก) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปัจจุบันเก็บรักษาไใที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรีและนางปรัชญาปารมิตาลักษณะศิลปะแบบบายน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น