[CR] เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#7 วัดพระนอน(ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในไทย) พระยืน, พระนั่ง, พระยิ้ม

เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#1 เดินดูปูนปั้นช่างเมืองเพชรบุรี ถนนคนเดิน ราชดำเนินยามเย็น
https://ppantip.com/topic/37347821
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#2 วัดมหาธาตุ ปรางค์ 5 ยอดโดดเด่น เห็นแต่ไกล ปูนปั้นล้อเลียน
https://ppantip.com/topic/37347873
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#3 วัดไผ่ล้อม ลายปูนปั้นเต็มผนังองค์ประกอบต่อเนื่องแห่งเดียวในประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/37347906
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#4 วัดกำแพงแลง ปราสาทเขมรที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/37354440
งานพระนครคีรี ครั้งที่ ๓๐#5 วัดใหญ่สุวรรณารามพระตำหนักพระเจ้าเสือ,พระพุทธรูป 6 นิ้ว,ฉัตรพระประธานร.๕, เลข๕กลับด้าน
https://ppantip.com/topic/37354455
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#6 หัดถ่ายพลุพระนครคีรี ที่วัดวิหารโบสถ์ และจุดพิกัดอื่นๆ
https://ppantip.com/topic/37354473
เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#7 วัดพระนอน(ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในไทย) พระยืน, พระนั่ง, พระยิ้ม
https://ppantip.com/topic/37363145/comment1

เที่ยวเพชรบุรี ย้อนรอยงานพระนครคีรี 2559#7 วัดพระนอน(ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในไทย) พระยืน, พระนั่ง, พระยิ้ม

ดูพลุเสร็จ ก็กลับบ้านน้องเตียง เป็นบ้านสวน หน้าบ้านมีห้องเช่าด้านหลังก็เป็นสวน มีทั้งต้นหมาก มะม่วง ฯลฯ




ตอนเช้าแม่ก็ทำกับข้าวให้กิน แถมปอกมะม่วงสุกให้ผมกินกับข้าวด้วย เพราะคุยกันผมบอกว่าผมชอบกินมะม่วงสุขกับข้าว แม่เลยปอกให้ 3 ลูกเลย 555 ทำกับข้าวอย่างอื่นอีก ทอดหมูยอที่ผมเอามาฝากจากอุบลด้วย









สายๆ แม่ก็มาทำมะม่วงแผ่นไว้ขาย และว่างๆ ก็ปอกหมากขายมีคนมารับ











เป็นบ้านที่ดูอบอุ่น ไม่ต้องการอะไรมากมาย

บ้านน้องเตียงอยู่ตรงข้ามร้านแม่กินไล้ สาย 1 เพราะมีสาขาอื่นด้วย สาย 1 คือสายน้ำชลประทาน ที่มาจากเขื่อนแก่งกระจาน ถ้านั่งรถตู้ลงใต้ ก็จะผ่า่นหน้า
บ้านพอดี





----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลในการเขียนจาก
https://travel.mthai.com/blog/62760.html
https://www.touronthai.com/article/153
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=morkmek&month=07-2016&date=13&group=3&gblog=327
https://www.keepitthai.com/node/2004

ไปเที่ยวต่อที่วัดพระนอนหรือวัดพระพุทธไสยาสน์ ที่มีพระนอนใหญ่เป็นอันดับ 4 ของไทย และยังมี พระนั่ง พระยืน พระยิ้ม ด้วย
จัดเป็นพระนอนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในประเทศไทย

1. องค์พระนอนศักดิ์สิทธิ์
2. สถูปหลวงพ่อกุน เจ้าอาวาสรูปแรก ที่สร้างตะกรุดไมยราพสะกดทัพที่แพง และดังที่สุด
3. นมัสการขอพระหลวงพ่อยิ้ม ในโบสถ์มหาอุตม์
4. ชมพระนั่งสมัยสุโขทัย เก่ามาก
5. ชมภาพเขียนสี พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ งดงามมาก
6. นมัสการพระพิฆเนศ ปู่ชีวก บนวิหารพระนอน
7. ขอพรเจ้าแม่ตะเคียนทอง ไหว้พระราหู
8. สักการะบูชารูปเหมือน เกจิอาจารย์ หน้าโบสถ์มหาอุตม์
9. ลอดท้องช้าง ถวายโคคู่ เป็นการเสริมดวง สะเดาะเคราะหฺ์

วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) ตั้งอยู่ถนนคีรีรัถยา ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง เพชรบุรี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาวัง (พระนครคีรี) เป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาพระพุทธไสยาสน์ อายุกว่า 400 กว่าปีนั้น ก่ออิฐถือปูน ยาว 43 เมตร ความสูงจากพระเศียรถึงฐานบรรทม 15 เมตร (ยาว 21 วา 1 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว) เดิมสร้างไว้กลางแจ้ง ต่อมาสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลังคาคลุมไว้ พร้อมทำผนังรอบองค์พระ เป็นลักษณะวิหารพระพุทธไสยาสน์ ดังที่เห็นอยู่ปัจจุบันที่ทีมงานเราเข้าไปได้สนทนานกับพระสงฆ์รูปหนึ่ง พอท่านรู้ว่าจะมีการนำภาพมาทำเว็บ ท่านจึงได้บอกว่า หากประชาสัมพันธ์ให้พุทธสาสนิกชนได้เข้าชมวัดกันมากๆ ก็จะได้มีงบประมาณในการทำนุบำรุง เนื่องจากวัดแห่งนี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งที่มีพระพุทธรูปที่งดงามมากประดิษฐานอยู่



วัดพระนอนจะติดกับเขาวังด้านข้าง


เปิด 8:00 ปิด 17:00


เดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้เวลาเพียงไม่นานเราก็เดินทางมาถึงวัด ทางมายังวัดแห่งนี้หาไม่ยากนัก เมื่อถึงตัวเมืองเพชรบุรีแล้วจะเลือกได้ 2 ทาง ที่สะดวกๆ หน่อยนะครับ ใกล้ตัวเมืองเพชรบุรีจะมีทางแยกไปประจวบคีรีขันธุ์กับเข้าเมือง ตรงนี้ชิดซ้ายไว้เข้าเมืองไปถึงทางแยกให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปเรื่อยๆ ตามถนนคีรีรัฐยา วัดอยู่ขวามือ อีกเส้นทางหนึ่งคือใกล้ถึงแยกเข้าเมืองเพชรบุรี ให้โค้งตามทางไปประจวบแล้วเลี้ยวซ้ายถนนบันไดอิฐถึงสี่แยกเลี้ยวซ้าย (คือถนนคีรีรัฐยานั่นเิอง) วัดอยู่ท้างซ้ายมือครับ ในบริเวณวัดมีลานจอดรถกว้างขวาง หาที่จอดได้ไม่ลำบากนัก หลังจากนั้นจะเดินขึ้นบันไดไปยังวิหารพระนอนอยู่อีกด้านหนึ่งของพระอุโบสถ


ทางขึ้นวิหารพระนอน เป็นบันไดที่ไม่สูงมากจนเกินไปนัก ค่อยเดินขึ้น ด้านบนจะมี วิหารใหญ่ และวิหารเล็กอีกสองหลัง

พาแวะชมวิวหารหลังใหญ่ก่อนซึ่งเป็นวิหารพระนอน


พระนอน ” วัดพระพุทธไสยาสน์ เพชรบุรี เดิมสร้างไว้กลางแจ้ง โดยชาวรามัญที่มีจิตศรัทธาช่วยกันสร้างขึ้นมาในสมัยนั้น ต่อมาหลังจากสิ้นสุดสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดแห่งนี้จึงถูกปล่อยทิ้งร้างไว้เป็นเวลานาน จนกระทั่ง รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จประพาสยังพระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี พระองค์ทรงทอดพระเนตร องค์พระนอน แล้วเห็นชํารุดทรุดโทรมมาก ถูกปล่อยให้ทิ้งไว้ ผ่านแดดลมฝนมาตลอด จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลังคาสังกะสีคลุมไว้ ต่อมา รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลังคาคลุมองค์พระนอนใหม่ โดยเปลี่ยนจากหลังคาสังกะสีเป็นหลังคากระเบื้อง พร้อมทำผนังรอบองค์พระ เป็นลักษณะวิหารพระพุทธไสยาสน์ ดังที่เห็นอยู่ปัจจุบัน



สังกะสีเก่า สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นผู้พระราชทานให้มุ่งหลังคาวิหารพระนอน ยังเก็บไว้




------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยังมีภาพหลวงพ่อกุน เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดพระนอน

ปะวัติ หลวงพ่อกุน วัดพระนอน (เพชรบุรี)
"พระครูสุชาตเมธาจารย์" (หลวงพ่อกุน) ท่านถือกำเนิดเมื่อ ปีวอก พ.ศ.๒๔๐๓ ที่บ้านหนองกาทอง ตำบลโรงเข้ จังหวัดเพชรบุรี (ไม่ทราบนามบิดา) โยมมารดาชื่อม่วง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน เป็นผู้ชายทั้งหมด

ในวัยเยาว์ท่านมีนิสัยโน้มเอียงไปทางสมณะ กล่าวคือชอบนั่งบนจอมปลวกแล้ว เทศน์ให้เพื่อนฟังและในเวลาต่อมาท่านก็ได้มาอยู่ (วัดวังบัว) ซึ่งอยู่ห่างจากบ้าน ประมาณ ๓ กิโลเมตร ต่อมาท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่ (วัดวังบัว)

ถึงปีพ.ศ.๒๔๒๓ เมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่ (วัดวังบัว)
(ไม่ทราบนามพระอุปัชฌาย์) ในขณะที่บวชเป็นพระใหม่ ท่านมีความอุตสาหะเป็นอย่างมาก ได้เดินทางไปศึกษาวิชากับ (อาจารย์แจ้ง) ทางวัดดอนไก่เตี้ย และได้ศึกษาวิชาการที่ (วัดข่อย) ศึกษาทางช่างศิลป์กับ ท่าน (อาจารย์มุ่ย) วัดใหญ่สุวรรณาราม และคุณพ่อฤทธิ์ (หนังใหญ่) วัดพลับพลาชัย

ในขณะนั้นท่านบวชอยู่ ๓ พรรษา ก็ได้ย้ายมาอยู่ วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) สมัย "พระครูสุวรรณมุนี" เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาได้เป็นสมุห์และเมื่อพระครูสุวรรณมุนี
มรณะภาพลง ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)

ต่อมาได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูสุชาตเมธาจารย์"
ทุกพรรษาท่านจะขึ้นไปนั่งบำเพ็ญกัมฏฐานในถ้ำ ในวิหารเล็กประมาณ ๗ วัน ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังว่า ครั้งหนึ่งก่อนจะนั่งเข้าที่ พระปลัดเทพ (พระครูสมณกิจพิศาล) เอาน้ำชามาถวายท่านรับไว้ พอเริ่มจะเข้าที่ ปรากฏเห็นเช่นนั้นอีก ท่านว่าเหมือนของจริงทุกอย่าง พอเอื้อมมือจะรับนึกขึ้นได้ว่าเพิ่งมาถวายเมื่อ
สักครู่นี้ จึงไม่รับท่านว่าเกือบเสียท่า

นอกจากนี้ท่านยังได้นำพระภิกษุในวัดออกธุดงค์ปีละหลายๆองค์ และออกอยู่หลายปี พระภิกษุที่ออกธุดงค์กับท่านจะไปด้วยความมั่นใจ ไม่ว่าท่านจะไปทางเหนือหรือทางใต้ เป็นต้องมีพระภิกษุสมัครไปด้วยเสมอ

หลวงพ่อกุนท่านยังได้สร้างตะกรุดแจกแก่ชาวบ้านและศิษย์อีกด้วย ตะกรุดของหลวงพ่อกุนนั้น กล่าวขานกันว่า ตำหรับทำตะกรุดนี้ จารึกไว้ในสมุดจีน ใบปกเขียว รูปที่เขียนเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานถวายแหวน ขั้นตอนการทำนั้น ก็พิถีพิถันมากหลวงพ่อท่านใช้ฤกษ์ เสาร์ห้า เป็นฤกษ์ในการลงอักขระเลยยันต์และปลุกเสก สถานที่ปลุกเสกท่านก็ไปปลุกเสกในป่าช้า เจ็ดป่าช้า มีป่าช้า วัดพลับ, วัดแก่นเหล็ก, และวัดพระนอน เป็นต้น

หลังจากนั้นเมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลวงพ่อท่านก็จะใช้ลูกสบ้ามอญ ลบถูรอยเหล็กจารที่ท่านได้จารไว้ออก และพอถึงฤกษ์ เสาร์ห้า ก็กลับไปจารที่ป่าช้าอีก ท่านทำเช่นนั้นจนครบ ๓ รอบ ท่านถึงจะนำออกมาแจกจ่ายแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา พุทธคุณนั้นเหล่าเรื่องมหาเสน่ห์ก็ไม่แพ้พระขุนแผนสำนักไหนเลย

ด้านตะกรุดโทน มงกุฎพระเจ้ายันต์ที่ท่านลงและปลุกเสกในตะกรุด เรื่องมหาอุด อยู่ยงคงกระพันก็เยี่ยม แต่สิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อท่านสั่งทุกคนที่ได้ของท่านไปว่า ขออย่างเดียวอย่าไปขโมยของเขา ถ้าไปขโมยของเขาก็จะใช้ไม่ขึ้น

ในอดีตถ้ากล่าวถึงตะกรุดที่มีราคาแพงที่สุด คงหนีไม่พ้นตะกรุดของหลวงพ่อกุน วัดพระนอน ซึ่งเป็นตะกรุดสุดเข้มขลัง ตะกรุดมหาระงับ นารายณ์สะกดทัพ และอื่นๆ
อีกมากมายเรียกได้ว่านักเลงในสมัยก่อนยังนำตะกรุดของหลวงพ่อ ไปลองแขวนไว้ที่เสาบ้านใคร เป็นได้หลับไม่ตื่นกันทั้งบ้าน จะทำเสียงดังอย่างไรก็ไม่ตื่นกันเลย นั่นเพราะตะกรุดที่ท่านได้สร้าง ได้ลงอักขระไว้สะกดให้ทุกคนในบ้านหลับไม่ตื่นนั้นเอง เรื่องเสน่ห์ก็เป็นเยี่ยม

สมัยก่อนของดีของหลวงพ่อกุนเลื่องลือมาก สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ปลัดเมืองเพชรบุรี ยังเคยมาขอของท่าน เพื่อไปคุ้มครองตัวเอง แต่ของดีของหลวงพ่อนั้นมีน้อยมาก เพราะกว่าท่านจะทำออกมาแต่ละอย่างใช้เวลามากขั้นตอนเยอะ และซับซ้อน ปัจจุบันนี้วัตถุมงคลของหลวงพ่อหาชมได้ยากมาก

หลวงพ่อกุน ท่านถึงแก่มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ สิริอายุ ๖๐ ปี ๔๐ พรรษา

ข้อมูลจาก
http://prakejidansiam.blogspot.com/2016/03/blog-post_34.html

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อสินค้า:   เพชรบุรี,วัดพระนอน
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่