จากโคราชถึงวัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก อ่างทอง

ต้องเดินทางไปราชบุรี ได้มีโอกาสแวะเที่ยวโบราณสถานตามรายทาง
เบื่อขับบนถนนมิตรภาพเพราะรถเยอะ ใช้เส้นทาง โคราช - อ.ด่านขุนทด

ถนนวงแหวนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโคราช ที่อำเภอขามทะเลสอ

รถปี๊กอั๊บ บรรทุกเวอร์มาก

ลงเขาน้อย

แม่น้ำป่าสัก บริเวณทะเลสาบเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โรงงานไกล ๆ คือโรงงานน้ำตาลทีเอ็น ที่ท่าหลวง

ทะเลสาบเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เมื่อปลายพฤศจิกายน 2561

มาหิวที่ลพบุรีพอดี อากู๋แนะนำก๋วยเตี๋ยวป้าเรณู
มาจากถนนสายสระบุรีหล่มสัก เลี้ยวขวาเข้าลพบุรี ทล.3017 เลี้ยวขวาเข้าขอยข้างโลตัสก่อนถึงวัดรัตนคีรี (วัดเข้าแก้ว)

จากหน้าร้านจะมองเห็นวัดถ้าช้าง

 
เข้าอ่างทอง แล้วไปตามป้ายบอกทางไปถึงวัดป่าโมกวรวิหาร
ด้านหลังเป็นกุฏิท่านเจ้าอาวาสกำลังซ่อม ท่านจึงต้องไปอยู่ในวิหารเขียน ก็เลยอดเข้าวิหารเขียน

ทางเดินเข้าไปสู่วิหารพระนอน

 
หน้าบันวิหารเขียน ลายพรรณพฤกษา

เจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ที่เล่าถึงลักษณะของเจดีย์ได้ชัดเจน ดังนี้คือ
จากล่างขึ้นบน

ฐานเขียงกลม ยกเจดีย์ให้สูงกว่าพื้นดิน
ฐานปัทม์ หรือ ฐานบัว กลมเป็นรูปบังคว่ำ บัวหงาย แสดงถึงดอกบัวที่รองรับพระพุทธเจ้าในทุกอิริยาบถ
บัวถลา เป็นลักษณะที่รับมาจากลังกา โดยเอาชั้นบัวหงายออกจากฐานปัทม์ ... เหลือเป็นบัวคว่ำ มี 3 ชั้น
บัวปากระฆัง เป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายถัดขึ้นไปรับองค์ระฆัง
องค์ระฆัง หรือเรียกว่าเรือนธาตุ เป็นที่บรรจุพระพุทธรูป ธาตุ
บัลลังก์ แสดงถึงวรรณกษัตริย์
เสาหานเป็นเสาเล็กตั้งอยู่เหนือบัลลังก์ รายเป็นวงล้อมก้านฉัตรไว้
บัวฝาละมี บัวคว่ำด้านบน แถบเหนือเสาหานชั้นเดียว
ปล้องไฉน เปรียบเสมือนฉัตร
ปลียอด ชี้ขึ้นฟ้า หมายถึงเส้นทางสู่พระนิพพาน
หยาดน้ำค้าง หมายถึงรัตนะ

วิหารพระนอน

 
ก่อนพระนเรศวรมหาราชจะยกทัพไปรบพระมหาอุปราชได้มาถวายสักการะบูชาพระนอนองค์นี้

 
 
 
ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระน้ำเซาะตลิ่งพังเข้ามาจะถึงวิหาร จึงได้ชลอยังวิหารในปัจจุบัน

 
ในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) อุปราชมณฑล กรุงเก่า

 
ได้พบหนังสือคำโคลงกล่าวถึงการชะลอ พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก จำนวน 69 บท
และในบทที่ 69 ระบุว่า ผู้แต่งคือสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ขณะดำรงพระยศเป็นพระราชวังบวร
จึงนำขึ้นถวายสมเด็จในกรมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2449

พ.ศ. 2460 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ทรงนำศิลาจารึกโครงชลอพระพุทธไสยาสน์ จำนวน 69 บท
ไปประดิษฐานไว้ ณ เบื้องหลังพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

 
ปิดท้ายด้วยริมน้ำเจ้าพระยาหน้าวัดป่าโมกวรวิหาร

 
 
 
 
 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่