มาวิ่งแล้ว พลาดไม่ได้ต้องมาไหว้พระด้วยครับ
วัดมหาธาตุ จ. อยุธยา เป็นหนึ่งในวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตอุทยานประวัติศาสตร์
วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร
และเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีอีกด้วย
เป็นปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลของปรางค์ขอมปนอยู่
ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลงแต่ที่เสริมใหม่ตอนบนเป็นอิฐถือปูน
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่โดยเสริมให้สูงกว่าเดิม
นักท่องเที่ยวต่างชาติเยอะเลยครับ
มากับไกด์ เราก็เดินตามเค้าไป พร้อมฟังคำอธิบายจากไกด์
มีร่มให้ยืม แต่เราพร้อมมากพกร่มไปเองครับ
ไม่รอช้าไปซื้อตั๋ว ชาวไทย 10 บาท ส่วนลูกชายผม (เด็ก) ฟรี ครับ
พร้อมเรียนรู้ครับ หรือจะตามรอยลิซ่าก็จัดไปครับ
การทำเที่ยวเพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์แต่ละจุดมีป้ายอธิบาย
พร้อมต้องเคารพกฏของสถานที่ด้วยนะครับ
เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นต่อไป
สิ่งที่น่าสนใจในวัดอีกอย่าง คือเศียรพระพุทธรูปหินทราย
ซึ่งมีรากไม้ปกคลุมเศียรพระพุทธรูปนี้หล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ในสมัยเสียกรุง
จนรากไม้ขึ้นปกคลุม มีความงดงามแปลกตาไปอีกแบบ
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดมหาธาตุ
พระปรางค์ขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันพังทลายลงมาหมดแล้ว แต่ราชทูตลังกาที่ได้เคยมาเยี่ยมชมวัดมหาธาตุ
ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไว้ว่า ที่ฐานของพระปรางค์ มีรูปราชสีห์ หมี หงส์ นกยูง กินนร โค สุนัขป่า กระบือ มังกร เรียงรายอยู่โดยรอบ รูปเหล่านี้อาจหมายถึงสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่รายล้อมอยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล
เจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ลดหลั่นกัน 4 ชั้น 8 เหลี่ยม ชั้นบนสุดประดิษฐานปรางค์ขนาดเล็ก
ซึ่งเจดีย์องค์นี้จัดว่าเป็นเจดีย์ที่แปลกตา พบเพียงองค์เดียวในอยุธยา
วิหารที่ฐานชุกชี ของพระประธานในวิหาร กรมศิลปากรพบว่ามีผู้ลักลอบขุดลงไปลึกถึง 2 เมตร
จึงดำเนิน การขุดต่อไปอีก 2 เมตร พบภาชนะดินเผาขนาดเล็ก 5 ใบ บรรจุแผ่นทองเบาๆ รูปต่างๆ
พระปรางค์ขนาดกลาง ภายในพระปรางค์ มีภาพจิตรกรรม เรือนแก้วซึ่งเป็นตอนหนึ่งในพุทธประวัติ
ตำหนักพระสังฆราช บริเวณพื้นที่ว่างทางด้านทิศตะวันตก เป็นสถานที่ที่เป็นที่ตั้งพระตำหนักพระสังฆราช
ราชทูตลังกาได้บอกไวว่า เป็นตำหนักที่สลักลวดลายปิดทอง มีม่านปักทอง พื้นปูพรม มีขวดปักดอกไม้เรียงราย
เป็นแถวเพดานแขวนอัจกลับ (โคม) มีบังลังก์ 2 แห่ง
เศียรพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งมีรากไม้ต้นโพธิ์ปกคลุมอยู่ โดยเศียรพระพุทธรูปนี้
เป็นพระพุทธรูปหินทรายเหลือแค่ส่วนเศียร สำหรับองค์พระนั้นหายไป
และเป็นเศียรพระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา วางอยู่ในรากโพธิ์ข้างวิหาร คาดว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ ในสมัยเสียกรุง
จนรากไม้ขึ้นปกคลุมทำให้มีความงดงามแปลกตา
จนเลื่องลือกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกสิ่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของวัดมหาธาตุ โด่งดังไปทั่วโลก (ข้อมูลจากwww)
บรรยากาศภายในวัดประมาณนี้ครับ
ดอกไม้สีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ลมพัดสบายๆ แม้แดดจะแรง
จุดนี้ตามรอยลิซ่าครับ บนพื้นจะมีรอยเท้าแปะไว้ให้ยืนถ่ายรูป
ลาด้วยภาพนี้ครับ ต้องไปชมด้วยตัวเอง
ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมครับ / Tin
วัดมหาธาตุ จังหวัดอยุธยา
วัดมหาธาตุ จ. อยุธยา เป็นหนึ่งในวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตอุทยานประวัติศาสตร์
วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร
และเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีอีกด้วย
พระปรางค์ขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันพังทลายลงมาหมดแล้ว แต่ราชทูตลังกาที่ได้เคยมาเยี่ยมชมวัดมหาธาตุ
ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไว้ว่า ที่ฐานของพระปรางค์ มีรูปราชสีห์ หมี หงส์ นกยูง กินนร โค สุนัขป่า กระบือ มังกร เรียงรายอยู่โดยรอบ รูปเหล่านี้อาจหมายถึงสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่รายล้อมอยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล
เจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ลดหลั่นกัน 4 ชั้น 8 เหลี่ยม ชั้นบนสุดประดิษฐานปรางค์ขนาดเล็ก
ซึ่งเจดีย์องค์นี้จัดว่าเป็นเจดีย์ที่แปลกตา พบเพียงองค์เดียวในอยุธยา
วิหารที่ฐานชุกชี ของพระประธานในวิหาร กรมศิลปากรพบว่ามีผู้ลักลอบขุดลงไปลึกถึง 2 เมตร
จึงดำเนิน การขุดต่อไปอีก 2 เมตร พบภาชนะดินเผาขนาดเล็ก 5 ใบ บรรจุแผ่นทองเบาๆ รูปต่างๆ
พระปรางค์ขนาดกลาง ภายในพระปรางค์ มีภาพจิตรกรรม เรือนแก้วซึ่งเป็นตอนหนึ่งในพุทธประวัติ
ตำหนักพระสังฆราช บริเวณพื้นที่ว่างทางด้านทิศตะวันตก เป็นสถานที่ที่เป็นที่ตั้งพระตำหนักพระสังฆราช
ราชทูตลังกาได้บอกไวว่า เป็นตำหนักที่สลักลวดลายปิดทอง มีม่านปักทอง พื้นปูพรม มีขวดปักดอกไม้เรียงราย
เป็นแถวเพดานแขวนอัจกลับ (โคม) มีบังลังก์ 2 แห่ง
เศียรพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งมีรากไม้ต้นโพธิ์ปกคลุมอยู่ โดยเศียรพระพุทธรูปนี้
เป็นพระพุทธรูปหินทรายเหลือแค่ส่วนเศียร สำหรับองค์พระนั้นหายไป
และเป็นเศียรพระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา วางอยู่ในรากโพธิ์ข้างวิหาร คาดว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ ในสมัยเสียกรุง
จนรากไม้ขึ้นปกคลุมทำให้มีความงดงามแปลกตา
จนเลื่องลือกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกสิ่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของวัดมหาธาตุ โด่งดังไปทั่วโลก (ข้อมูลจากwww)