ขอยกตัวอย่างที่รู้จักกันดีสักสองสามอภินิหารนะครับ
1. พรรคประชาธิปัตย์ ใช้เงินอุดหนุนพรรคการเมืองที่ กกต. จัดสรรให้ จำนวน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์
อันเป็นการกระทำอันผิดกฎหมายพรรคการเมือง มีความผิดถึงขั้นโดนยุบพรรค
มีการยื่นเรื่องต่อ กกต. และ กกต. มีมติยุบพรรค ปชป. ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง
ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหลังจากนายทะเบียนทราบเรื่องการกระทำผิดช้าเกิดกำหนด 15 วัน
ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า เป็นการส่งเรื่องผิดขึ้นตอน ยกคำร้อง ส่วนประเด็นอื่น ๆ ไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยต่อไป
ทั้งที่หากจะยึดเรื่อง 15 วันเป็นตัวกำหนด
15 วัน ตามกฎหมายแล้ว ก็เป็นแค่ "บทเร่งรัด" ไม่ใช่ "บทบังคับ"
บทเร่งรัด หากไม่ทำตาม ไม่มีผลทางกฎหมาย ต่างกับบทบังคับ ที่หากไม่ทำตามจะมีความผิด
ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองส่งเรื่องช้าเกินกว่า 15 วัน
แต่นายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีความผิดใด ๆ ทั้งสิ้น
2. พรรคประชาธิปัตย์ รับเงินบริจาค จากบริษัมทีพีไอที่บริจาคผ่านบริษัทเมซไซอะ จำนวน 258 ล้านบาท
ซึ่งตามกฎหมายพรรคการเมือง พรรคประชาธิปัตย์ ต้องรายงานการรับเงินบริจาคให้ กกต. ทราบ
แต่พรรค ปชป. ไม่ได้รายงานต่อ กกต. ผิดกฎหมายพรรคการเมือง โทษยุบพรรค
มีการยื่นคำร้องต่อ กกต. ให้ตรวจสอบ
กกต. ตรวจสอบแล้ว มีมติยุบพรรค ปชป. ส่งเรื่องต่อให้ศาล รธน.วินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การยื่นเรื่องให้ศาล รธน.วินิจฉัยข้ามขั้นตอน
เพราะนายทะเบียนพรรคการเมืองส่งเรื่องให้ที่ประชุมคณะกรรมการ กกต. พิจารณาคำร้อง
กกต. 3 คน มีมติยุบพรรคประชาธิปัตย์ แล้วนายทะเบียนพรรคการเมืองก็ส่งเรื่องต่อให้ศาล รธน.
ซึ่งเป็นการข้ามขั้นตอน เพราะตามขั้นตอน นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องเป็นผู้ยืนยันมติก่อนส่งเรื่องต่อศาล รธน.
จึงวินิจฉัย ยกคำร้อง
ส่วนประเด็นอื่น ๆ เมื่อการยื่นเรื่องข้ามขั้นตอน ก็ไม่มีเหตุต้องวินิจฉัย
เป็นไงครับ อภินิหารไหม
3. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หนีทหาร เข้ารับราชการโดยมิชอบ ใช้เอกสารเท็จขึ้นทะเบียนเป็นนายร้อยเก๊
ปรากฎเอกสารหลักฐานชัดเจนต่อสาธารณะ ไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ อีก
ก็ถึงขนาดนายอภิสิทธิ์ไม่สามารถแสดงหลักฐานว่าไม่ได้หนีทหารอย่างที่นายจตุพรว่าต่อศาลอาญาได้
จนศาลอาญาต้องยกฟ้องเรื่องนายอภิสิทธิ์ฟ้องหมิ่นประมาทนายจตุพรในเรื่องนี้ไป
แต่จนถึงวันนี้ ผ่านมาหลายปี ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับนายอภิสิทธฺิ์
ยังเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังลอยหน้าลอยตาพูดเรื่องธรรมาภิบาล เรื่องจริยธรรมอยู่ประจำ
ยังนั่งทับคำพูดของตัวเองที่ว่า ความรับผิดชอบทางการเมือง ย่อมอยู่เหนือความรับผิดชอบทางกฎหมายอยู่อย่างสบายตูด
ยังจะลงสมัคร ส.ส. ได้อย่างไม่ขาดคุณสมบัติ
นี่ไม่แค่อภินิหารครับ มีอิทธิฤทธิ์ด้วย
แถมอีกสักเรื่อง
นายภักดิ โพธิศิริ อดีตกรรมการ ป.ป.ช.
ได้รับการแต่งตั้งตาก คมช. ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อปลายเดือนกันยายน 2549
ซึ่งตามกฎหมาย ป.ป.ช. นายภักดี ต้องลาออกจากการเป็นกรรมการในบริษัทองค์การเภสัชกรรมภายใน 15 วัน
มิเช่นนั้น ถือว่าไม่ได้เป็นกรรมการ ป.ป.ช. มาตั้งแต่ต้น
นายภักดี ไม่ได้ลาออกภายใน 15 วัน ตามกฎหมาย
แต่ลาออกเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2549
มีการยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบคุณสมบัตินายภักดี แต่ ป.ป.ช. อ้าง ไม่มีอำนาจตรวจสอบตัวเอง
และอ้างว่าวุฒิสภาเคยมีมติไม่ถอดถอนนายภักดีไปแล้ว ทั้งที่เป็นเรื่องทำผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องคุณสมบัติการเป็น ป.ป.ช.
จะยื่นต่อวุฒิสภาอีก วุฒิสภาก็บอกว่าเคยมีมติไม่ถอดถอนไปแล้ว ไม่รับเรื่องซ้ำ
จึงมีผู้ยื่นฟ้องต่อศาล ว่านายภักดีเป็น ป.ป.ช. เก๊
ศาลพิพากษาว่า เมื่อไม่มีองค์กรใดชี้ว่านายภักดีขาดคุณสมบัติการเป็น ป.ป.ช.
จึงถือว่านายภักดี เป็น ป.ป.ช. ไม่เก๊ ยกฟ้อง
(ซึ่งน่าคิดว่า หากมีองค์กรใด ชี้ว่านายภักดีขาดคุณสมบัติ จะจำเป็นต้องมาฟ้องต่อศาลทำไม)
แล้วนายภักดีก็เป็นกรรมการ ป.ป.ช. จำครบวาระ
มีตำแหน่ง รับเงินเดือน ใช้สวัสดิการแบบขัดและขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย ป.ป.ช. เองนั่นแหละ
เรียกได้ว่า อภินิหาร + อิทธิฤทธิ์ + ปาฏิหาริย์
ฉะนั้น เรื่องพาสงพาสี ที่เกิดอภินิหารทางกฎหมาย นั้น
แค่เรื่องจิ๊บ ๆ ครับ
อภินิหารทางกฎหมาย
1. พรรคประชาธิปัตย์ ใช้เงินอุดหนุนพรรคการเมืองที่ กกต. จัดสรรให้ จำนวน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์
อันเป็นการกระทำอันผิดกฎหมายพรรคการเมือง มีความผิดถึงขั้นโดนยุบพรรค
มีการยื่นเรื่องต่อ กกต. และ กกต. มีมติยุบพรรค ปชป. ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง
ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหลังจากนายทะเบียนทราบเรื่องการกระทำผิดช้าเกิดกำหนด 15 วัน
ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า เป็นการส่งเรื่องผิดขึ้นตอน ยกคำร้อง ส่วนประเด็นอื่น ๆ ไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยต่อไป
ทั้งที่หากจะยึดเรื่อง 15 วันเป็นตัวกำหนด
15 วัน ตามกฎหมายแล้ว ก็เป็นแค่ "บทเร่งรัด" ไม่ใช่ "บทบังคับ"
บทเร่งรัด หากไม่ทำตาม ไม่มีผลทางกฎหมาย ต่างกับบทบังคับ ที่หากไม่ทำตามจะมีความผิด
ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองส่งเรื่องช้าเกินกว่า 15 วัน
แต่นายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีความผิดใด ๆ ทั้งสิ้น
2. พรรคประชาธิปัตย์ รับเงินบริจาค จากบริษัมทีพีไอที่บริจาคผ่านบริษัทเมซไซอะ จำนวน 258 ล้านบาท
ซึ่งตามกฎหมายพรรคการเมือง พรรคประชาธิปัตย์ ต้องรายงานการรับเงินบริจาคให้ กกต. ทราบ
แต่พรรค ปชป. ไม่ได้รายงานต่อ กกต. ผิดกฎหมายพรรคการเมือง โทษยุบพรรค
มีการยื่นคำร้องต่อ กกต. ให้ตรวจสอบ
กกต. ตรวจสอบแล้ว มีมติยุบพรรค ปชป. ส่งเรื่องต่อให้ศาล รธน.วินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การยื่นเรื่องให้ศาล รธน.วินิจฉัยข้ามขั้นตอน
เพราะนายทะเบียนพรรคการเมืองส่งเรื่องให้ที่ประชุมคณะกรรมการ กกต. พิจารณาคำร้อง
กกต. 3 คน มีมติยุบพรรคประชาธิปัตย์ แล้วนายทะเบียนพรรคการเมืองก็ส่งเรื่องต่อให้ศาล รธน.
ซึ่งเป็นการข้ามขั้นตอน เพราะตามขั้นตอน นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องเป็นผู้ยืนยันมติก่อนส่งเรื่องต่อศาล รธน.
จึงวินิจฉัย ยกคำร้อง
ส่วนประเด็นอื่น ๆ เมื่อการยื่นเรื่องข้ามขั้นตอน ก็ไม่มีเหตุต้องวินิจฉัย
เป็นไงครับ อภินิหารไหม
3. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หนีทหาร เข้ารับราชการโดยมิชอบ ใช้เอกสารเท็จขึ้นทะเบียนเป็นนายร้อยเก๊
ปรากฎเอกสารหลักฐานชัดเจนต่อสาธารณะ ไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ อีก
ก็ถึงขนาดนายอภิสิทธิ์ไม่สามารถแสดงหลักฐานว่าไม่ได้หนีทหารอย่างที่นายจตุพรว่าต่อศาลอาญาได้
จนศาลอาญาต้องยกฟ้องเรื่องนายอภิสิทธิ์ฟ้องหมิ่นประมาทนายจตุพรในเรื่องนี้ไป
แต่จนถึงวันนี้ ผ่านมาหลายปี ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับนายอภิสิทธฺิ์
ยังเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังลอยหน้าลอยตาพูดเรื่องธรรมาภิบาล เรื่องจริยธรรมอยู่ประจำ
ยังนั่งทับคำพูดของตัวเองที่ว่า ความรับผิดชอบทางการเมือง ย่อมอยู่เหนือความรับผิดชอบทางกฎหมายอยู่อย่างสบายตูด
ยังจะลงสมัคร ส.ส. ได้อย่างไม่ขาดคุณสมบัติ
นี่ไม่แค่อภินิหารครับ มีอิทธิฤทธิ์ด้วย
แถมอีกสักเรื่อง
นายภักดิ โพธิศิริ อดีตกรรมการ ป.ป.ช.
ได้รับการแต่งตั้งตาก คมช. ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อปลายเดือนกันยายน 2549
ซึ่งตามกฎหมาย ป.ป.ช. นายภักดี ต้องลาออกจากการเป็นกรรมการในบริษัทองค์การเภสัชกรรมภายใน 15 วัน
มิเช่นนั้น ถือว่าไม่ได้เป็นกรรมการ ป.ป.ช. มาตั้งแต่ต้น
นายภักดี ไม่ได้ลาออกภายใน 15 วัน ตามกฎหมาย
แต่ลาออกเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2549
มีการยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบคุณสมบัตินายภักดี แต่ ป.ป.ช. อ้าง ไม่มีอำนาจตรวจสอบตัวเอง
และอ้างว่าวุฒิสภาเคยมีมติไม่ถอดถอนนายภักดีไปแล้ว ทั้งที่เป็นเรื่องทำผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องคุณสมบัติการเป็น ป.ป.ช.
จะยื่นต่อวุฒิสภาอีก วุฒิสภาก็บอกว่าเคยมีมติไม่ถอดถอนไปแล้ว ไม่รับเรื่องซ้ำ
จึงมีผู้ยื่นฟ้องต่อศาล ว่านายภักดีเป็น ป.ป.ช. เก๊
ศาลพิพากษาว่า เมื่อไม่มีองค์กรใดชี้ว่านายภักดีขาดคุณสมบัติการเป็น ป.ป.ช.
จึงถือว่านายภักดี เป็น ป.ป.ช. ไม่เก๊ ยกฟ้อง
(ซึ่งน่าคิดว่า หากมีองค์กรใด ชี้ว่านายภักดีขาดคุณสมบัติ จะจำเป็นต้องมาฟ้องต่อศาลทำไม)
แล้วนายภักดีก็เป็นกรรมการ ป.ป.ช. จำครบวาระ
มีตำแหน่ง รับเงินเดือน ใช้สวัสดิการแบบขัดและขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย ป.ป.ช. เองนั่นแหละ
เรียกได้ว่า อภินิหาร + อิทธิฤทธิ์ + ปาฏิหาริย์
ฉะนั้น เรื่องพาสงพาสี ที่เกิดอภินิหารทางกฎหมาย นั้น
แค่เรื่องจิ๊บ ๆ ครับ