เห็นกระทู้นี้แล้ว ถึงวันนี้ผมยังคาใจเรื่องยุบพรรค ปชป. คาใจจนหมดความเชื่อถือต่อศาลรัฐธรรมนูญ สมรู้ร่วมคิดกันอย่างไม่อาย

กระทู้คำถาม
จากทู้  http://ppantip.com/topic/33229474   ของคุณ  เมย์กะเมฆ



ทำให้ผมนึกถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์  
กรณีเรื่องเงินบริจาคจากบริษัททีพีไอ 258 ล้าน  และเงินอุดหนุนพรรคการเมือง 29 ล้าน
ที่พรรค ปชป. ทำผิดกฎหมายพรรคการเมือง   มีโทษถึงยุบพรรค

เรื่องนี้  หลักฐานแน่นหนามาก  มีหมด  
ทั้งเชคจ่ายเงินเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ (ไม่เกินสองล้านบาท) ว่าไปเข้าบัญชีใคร
หลักฐานการว่าจ้างปลอม  หลักฐานใบเสร็จปลอม

แน่นหนาชนิดที่ว่า  ไม่มีทางเลย  ที่ ปชป. จะรอดจากการยุบพรรค

แต่ ปชป. กลับลอยนวล  และอ้างตีกินจนถึงทุกวันนี้ว่า  ศาลตัดสินแล้วว่าไม่ได้ทำผิด

ก็ขนาดนายชวน  หลีกภัย  เอาไปพูดอวดอ้างกลางสภาฯ นั่นแหละครับว่า  พวกผมไม่ได้ทำผิด ศาลจึงยกคำร้อง

มันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันบิดเบือน  ฉ้อฉล  โกงความยุติธรรมอย่างหน้าด้าน ๆ



เมื่อมีผู้ร้องต่อ กกต. ให้ยุบพรรค ปชป. ข้อหาทำผิดกฎหมายพรรคการเมือง (กกต.ชุดก่อน ที่นายอภิชาติ  สุขัคคานนท์ เป็นประธาน)
กกต. ก็ดองเรื่อง   ไต่สวนสอบสวนไม่ถึงไหนสักที   เงียบกริบ
ร้องไปตั้งสองสามปีแล้ว  แต่เงียบกริบ

มีคนทวงที  ก็บอกว่า  ใกล้จะเสร็จที  แล้วก็เงียบไปอีก  (เหมือนเรื่อง 99 ศพ ที่ ป.ป.ช. เลื่อนแล้วเลื่อนอีกอยู่ตอนนี้แหละครับ)

เมษายน 2553  
อริสมันต์  พงษ์เรืองรอง  เลยนำคนเสื้อแดงชุมนุมหน้าสำนักงาน กกต. เพื่อกดดัน
จนนายอภิชาติ  ยอมรับปากว่า  จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ

วันต่อมา  กกต. ประชมุกันทันที   มีมติให้ยุบพรรค ปชป. ตามคำร้อง  ด้วยเสียง 4:1
คือ 4 คนเห็นควรยุบ  แต่ 1 คนที่ค้าน  ก็คือนายอภิชาติ  สุขัคคานนท์  ประธาน กกต. นั่นแหละครับ

แล้วก็ส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญ

แล้วก็ตามมาด้วยการสมรู้ร่วมคิด  ระหว่างประธาน กกต.  ปชป. และศาล รธน.   หารูลอดให้ ปชป. รอดยุบพรรค



ปลายปี 2553  ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยกคำร้องยุบพรรค ปชป. ทั้งสองเรื่อง
คือทั้งเรื่องเงิน 258 ล้าน  และเงิน 29 ล้าน

ด้วยข้ออ้าง   นายทะเบียนพรรคการเมือง (ประธาน กกต. นายอภิชาติ  สุขัคคานนท์)  ส่งคำร้องเกิน 15 วัน
จึงยกคำร้อง    เรื่องอื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกต่อไป

สรุป  คือ  นาายทะเบียนส่งคำร้องยุบพรรคช้า    ปชป.ยกเรื่องนี้ขึ้นต่อสู้    ศาล รธน.เห็นด้วย   ยกคำร้อง

ส่วนประเด็นข้อเท็จจริง  ว่าทำผิดกฎหมายพรรคการเมืองจริงไหม  ศาลไม่วินิจฉัย
เพราะถือว่ายื่นคำร้องช้า  หมดอายุความ  ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

มันสมรู้ร่วมคิดกันชัด ๆ ครับ

แบบไม่มีทางออก  ไม่รู้จะออกยังไง  เพราะหลักฐานมันชัด
ดองเรื่องตั้งนาน  จนดองไม่ไหว   กกต.คนอื่นก็ไม่เล่นด้วย  เห็นควรยุบ
สุดท้าย  ก็หารูลอดด้วยเรื่อง 15 วัน

ลอดง่าย ๆ   และรอดอย่างหน้ามึน ๆ



ทีนี้  มาดูข้อกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญยกมาอ้างเพื่อช่วยให้ ปชป. รอดยุบพรรคครับ

พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550  มาตรา 93

มาตรา 93 ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง แต่พรรคการเมืองนั้นยังมีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่
หรือในกรณีที่พรรคการเมืองใดไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 42 วรรคสอง หรือมาตรา 82 ให้ยุบพรรคการเมืองนั้น

เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน
ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา




นี่แหละครับ   ที่ศาลรัฐธรรมนูญเอามาอ้างยกคำร้อง   อ้างว่านายทะเบียนยื่นคำร้องเกินกว่า 15 วัน
ยกคำร้อง

คือศาล รธน. วินิจฉัยว่า  นายอภิชาติ  สุขัคคานนท์  ประธาน กกต. ฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง
รู้ว่า ปชป. ทำผิดกฎหมายพรรคการเมือง  รู้แล้วก็ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ

แต่ส่งช้าเกินกว่า 15 วันหลังจากที่รู้    ยกคำร้อง !!!

ศาล รธน. วินิจฉัยว่า  นายทะเบียนรู้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552  แต่เพิ่งส่งเรื่องถึง กกต. เมื่อเมษายน 2553
จึงเกินกำหนด 15 วัน



ประเด็นคือ

คำว่า 15 วัน  ตามมาตรา 93 กฎหมายพรรคการเมืองนี้   เป็น บทบังคับ   หรือ  บทเร่งรัด

บทเร่งรัด  คือ  ให้รีบกระทำ  กระทำภายในเท่านั้นเท่านี้วัน

แล้วหากไม่ทำภายในเวลาที่กำหนดล่ะ  มีผลอะไรไหม   คำตอบคือ  ไม่มีผลใด ๆ ทั้งสิ้น

อย่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า  เมื่อมีศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ให้มีประมวลวิธีพิจารณาความของศาลรัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี
กรอบ 1 ปี นี่  เป็น บทเร่งรัด ครับ   เพราะบอกแค่ว่าภายใน 1 ปี เท่านั้น  ไม่มีเงื่อนไขใดตามมา

และทุกวันนี้  ผ่านมาไม่รู้กี่ปีแล้ว  ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังไม่มีประมวลวิธีพิจารณาความเป็นของตนเอง
ยังใช้แค่ข้อบังคับและประกาศของศาล รธน. ใช้ในการวินิจฉัยคดีต่าง ๆ ตลอดมา



ส่วน บทบังคับ นั้น

ต้องกระทำภายในเวลาที่กำหนดครับ   หากไม่ทำ  กฎหมายจะระบุเงื่อนไขไว้
เช่น  ในกฎหมายอาญา  หรือกฎหมายแพ่ง

หากไม่ทำภายในเวลาที่กำหนด  ถือว่าหมดอายุความ  ก็จะฟ้องค่าเสียหายไม่ได้  ก็จะมีผลนั่นส่งผลนี่ตามมา



เมื่อดูมาตรา 93   จะเห็นชัดครับ  ว่าเป็น บทเร่งรัด ไม่ใช่  บทบังคับ

จึงไม่มีทางเลย  ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะนำมาอ้างยกคำร้องยุบพรรค ปชป. ได้

นี่คือการบิดเบือน  ฉ้อฉล  ตีความข้อกฎหมายแบบไร้ยางอาย

สมรู้ร่วมคิดกัน    ทำลายฝ่ายหนึ่ง  แต่โอบอุ้มฝ่ายหนึ่ง



นี่คือ 1  ในหลายเรื่องหลายคดี   ที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่อย่าง..........................

เติมกันเอาเองครับ

ผมไม่อยากเติม   เด๋วเสียหล่อ
หัวเราะผมจะไม่ยุ่ง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่