"ตะโกน้อย" ชวนฝอย อร่อยกับ แกงเทโพ

สวัสดีครับ ลุงป้าน้าอา พี่ๆน้องๆ และสมาชิกทุกๆท่าน
ช่วงนี้ เป็นช่วง ที่ยามหัวค่ำ พระจันทร์จะส่องสว่าง เกือบเต็มดวง ซึ่งนั่นหมายความว่า ใกล้จะเข้าเดือนหงายเต็มตัว
ช่วงดือนหงายเป็นช่วงที่ชาวประมงหยุดออกหาปลาและวางอวน จึงมีเวลาพอที่จะทำเมนูนี้ครับ

ปลาสละได้มาเมื่อต้นน้ำที่แล้ว ทำแห้งเก็บไว้กินตอนเรือหยุดหงาย
ปลาสละ เป็นปลาด้อยค่า ผู้คนไม่ค่อยชอบ เพราะเนื้อปลาชนิดนี้ค่อนข้างแข็ง
แต่ด้วยภูมิปัญญา ของคนแก่เฒ่า ในสมัยก่อน รู้จักค้นคิดดัดแปลง ให้เนื้อปลาชนิดนี้อร่อยเหมาะกับแกง

ปลาสละ จะมีรุปร่างใหญ่กว่า ปลาสีเสียด มีลำตัวที่หนากว่า เนื้อแยะกว่า
ส่วนปลาสีเสียด นิยมนำมาทำเค็มกินกับข้าวต้ม บ้างก็เรียกปลาสีเสียดว่า ปลาเลี๊ยบ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่ ฉะเลียบ
ปลาทั้ง2-3 ชนิดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ต่างที่รูปร่าง มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือรวมกลุ่มเป็นฝูง
ออกหากินในช่วงน้ำขึ้นใหม่ๆหรือน้ำเริ่มเดิน เป็นปลานักล่า จู่โจมลูกปลาน้อยใหญ่ได้คล่องแคล่ว
นักตกปลา พรือพรานเบ็ด ชื่นชอบในเวลาที่ตกได้ ปลาจะกระโจนขึ้นผิวน้ำ โชว์ลำตัวให้เห็น
เช่นเดียวกับกลุ่มปลาโทงแทง และโต้มอญ

ปลาสละตัวนี้ได้มาก็รีบ ผ่าหลัง แบะเนื้อออก แล้วชโลมเกลือ อัตราส่วน3% ของน้ำหนักตัว
ปลาตัวนี้น้ำหนักร่วม8 โล จึงใช้เกลือร่วมๆ3 ขีด การใช้เกลือมากเกินไป หรือ ระยะเวลาที่หมัก
นานเกินไป จะส่งผลให้เนื้อปลามีความเค็มมาก กินไม่อร่อย ต้องกะเวลาและปริมาณเกลือให้พอดี
หลังจากทาเกลือแล้ว ก็นำใส่ถุงใบใหญ่ หมักไว้ค้างคืน รุ่งเช้าจึงล้างเกลือออกแล้วตากแดดจนแห้ง
ก็จะได้ปลาสละเค็มเก็บไว้กินตลอดทั้งปี
บางหัวเมืองชายทะเล ที่ขายอาหารทะเลแห้ง มักจะมีปลาชนิดนี้ ใส่ถุงแขวนขายรอนักท่องเที่ยว
แต่กรรมวิธี อาจแตกต่างกันในแต่ละท้องที่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่