เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว

พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมที่ลึกซึ้ง
ผู้อื่นรู้ตามได้ยาก
ยิ้ม
*****************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑

[๗] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จจากควงไม้
ราชายตนะ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ. ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ
นั้น และพระองค์เสด็จไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ธรรม
ที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่ง
ลงสู่ความตรึก ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ส่วนหมู่สัตว์นี้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีใน
อาลัย ชื่นชมในอาลัย ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้ เป็นสภาพอาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้นนี้ อันหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัยเห็นได้ยาก แม้
ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้น
กำหนัด เป็นที่ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้นี้ ก็แสนยากที่จะเห็นได้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดง
ธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า
แก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา.
อนึ่ง อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ ที่ไม่เคยได้สดับในกาลก่อน ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค
ว่าดังนี้:-

อนัจฉริยคาถา :

บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก
เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะ
ครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว
ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด
ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์
ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน.

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย
ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๘๗-๒๐๘ หน้าที่ ๙.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=187&Z=208&pagebreak=0

----------

**************
พระพรหมทูลขอให้พิจารณาอีกครั้ง
ยิ้ม
**************
------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑
พรหมยาจนกถา

[๘] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ
ของตนแล้วเกิดความปริวิตกว่า ชาวเราผู้เจริญ โลกจักฉินหายหนอ โลกจักวินาศหนอ เพราะ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อม
พระทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม.

ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้หายไปในพรหมโลก มาปรากฏ ณ เบื้องพระพักตร์
ของพระผู้มีพระภาค ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ครั้นแล้วห่มผ้า
อุตราสงค์เฉวียงบ่า คุกชาณุมณฑลเบื้องขวาลงบนแผ่นดิน ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค
แล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดทรงแสดงธรรม
ขอพระสุคตได้โปรดทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะ
ไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.

ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเป็นประพันธคาถาต่อไปว่า
เมื่อก่อนธรรมไม่บริสุทธิ์อันคนมีมลทินทั้งหลาย
คิดแล้วได้ปรากฏในมคธชนบท ขอพระองค์ได้
โปรดทรงเปิดประตูแห่งอมตธรรมนี้ ขอสัตว์ทั้ง
หลายจงฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หมด
มลทินตรัสรู้แล้วตามลำดับ เปรียบเหมือนบุรุษ
มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขา ซึ่งล้วนแล้วด้วยศิลา
พึงเห็นชุมชนได้โดยรอบฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้มี
ปัญญาดี มีพระปัญญาจักษุรอบคอบ ขอพระองค์
ผู้ปราศจากความโศกจงเสด็จขึ้นสู่ปราสาท อัน
สำเร็จด้วยธรรม แล้วทรงพิจารณาชุมชน ผู้
เกลื่อนกล่นด้วยความโศก ผู้อันชาติและชรา
ครอบงำแล้ว มีอุปมัยฉันนั้นเถิด ข้าแต่
พระองค์ผู้มีความเพียร ทรงชนะสงคราม ผู้นำหมู่
หาหนี้มิได้ ขอพระองค์จงทรงอุตสาหะเที่ยวไป
ในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม
เพราะสัตว์รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.

[๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์
แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.

มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก
ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวก
มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย
บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น
เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-

********

เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว
สัตว์เหล่าใดจะฟัง
จงปล่อยศรัทธามาเถิด
ดูกรพรหม เพราะเรา
มีความสำคัญในความลำบาก
จึงไม่แสดงธรรม
ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์.

********

ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรม
แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.

พรหมยาจนกถา จบ
-----------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๒๐๙ - ๒๕๘. หน้าที่ ๙ - ๑๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=209&Z=258&pagebreak=0

ยิ้ม
----------------------------------------------------------------------
คำถาม :

1. "เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด"
หมายความว่า การบรรลุธรรม จะสามารถเป็นอมตะ?
2. "เพราะเรามีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรม ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์"
หมายความว่า ธรรมที่ยาก ประณีต ท่านแสดงในหมู่เทวดา?

ยิ้ม

---------------------------
1.วิธีเป็นอมตะคือเจริญสติ
https://m.ppantip.com/topic/37487612?
2.กลไกการหลุดพ้น
https://m.ppantip.com/topic/37823238?ภ

######

อมตสูตร

ว่าด้วยจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน

[๘๑๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในสติ
ปัฏฐาน ๔ อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย

สติปัฏฐาน ๔
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้
อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๘๗๔-๔๘๘๔ หน้าที่ ๒๐๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=4874&Z=4884&pagebreak=0
ยิ้ม
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
1. "เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด"
    หมายความว่า การบรรลุธรรม จะสามารถเป็นอมตะ?
ตอบ - ความเป็นอมตะ หมายถึงไม่ต้องเกิด ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตายอีกต่อไปแล้ว


2. "เพราะเรามีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรม ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์"
    หมายความว่า ธรรมที่ยาก ประณีต ท่านแสดงในหมู่เทวดา?
ตอบ - เทวดาต่างกับมนุษย์ตรงที่ สัตว์ที่มีจิตใจสูงกว่ามนุษย์ เทวดาคือผู้มีหิริ โอตตัปปะ
การแสดงธรรมที่ยากและปราณีตให้แก่ผู้มีกิเลสมาก อินทรีย์อ่อน ดั่งเช่นมนุษย์ จึงเป็นเรื่องยาก


"ผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
หากกายหยาบยังไม่แตกยังไม่สิ้นอายุขัย
ก็ชื่อว่า มนุสสะเทโว คือมีร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเทวดา"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่