ในอริยสัจ ๔ ได้กล่าวไว้ว่า การเกิดเป็นทุกข์ ซึ่งเมื่อเราเข้าใจแล้วว่า ความทุกข์ในอริยสัจ ๔ นั้นคือ ความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน ไม่ได้หมายถึงความทุกข์ทางกาย ดังนั้นการเกิดในอริยสัจ ๔ จึงหมายถึง การเกิดทางจิตใจ ไม่ได้หมายถึงการเกิดทางร่างกาย
การเกิดนั้น มี ๒ อย่าง คือ การเกิดทางร่างกาย และ การเกิดทางจิตใจ ซึ่งการเกิดทางร่างกายนั้นก็คือการที่ร่างกายคลอดออกมาจากท้องแม่นั่นเอง โดยเหตุของการเกิดร่างกายก็คือพ่อกับแม่ ส่วนการเกิดทางจิตใจนั้นก็คือการเกิดความยึดว่ามีตัวตนขึ้นมาภายในจิตใจโดยมีอวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตนเอง) เป็นต้นเหตุ
การเกิดร่างกายขึ้นมานั้น มันก็มีความทุกข์อยู่แล้วตามธรรมชาติ คือต้องมาพบกับความร้อน ความหนาว ความหิว ความกระหาย แรงดึง แรงกดดัน แรงตี และโรคต่างๆ เป็นต้น ที่ทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกเจ็บ ปวด หรือทรมาน ที่เรียกว่า ความทุกข์กาย ซึ่งความทุกข์กายนี้ไม่มีใครจะหนีพ้นได้ จะทำได้ก็เพียงบรรเทาให้เบาบางลงเท่านั้น
ส่วนความทุกข์ทางใจนั้นเป็นความไม่พอใจ (ที่เรียกว่ากิเลส) หรือ ไม่อยากได้ (ที่เรียกว่า ตัณหา) ในความทุกข์ทางกายอีกมีหนึ่ง ซึ่งกิเลสหรือตัณหานี้เกิดมาจากการปรุงแต่งของจิตใจจิตใต้สำนึก (ที่บังคับไม่ได้) ที่เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติจากโดยมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ คือเรียกว่าความทุกข์ทางใจนี้เป็นความรู้สึกทุกข์ที่เกิดซ้อนขึ้นมาอีกทีนั่นเอง
ความทุกข์ทางกายนั้นเหมือนลูกดอกเล็กๆดอกแรกที่มาปักที่ร่างกายเรา ซึ่งไม่ทำให้เราเจ็บปวดมากมายนัก ส่วนความทุกข์ทางใจนั้นเหมือนลูกดอกใหญ่ที่มียาพิษเคลือบอยู่ที่มาปักซ้ำต่อจากดอกแรกอีกที ซึ่งทำให้เราเจ็บปวดได้อย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น เมื่อร่างกาบของเราเกิดความเจ็บปวด แล้วจิตใจของเราก็เกิดความเกลียดชังหรือไม่พอใจ หรือไม่อยากได้ขึ้นมาอย่างรุนแรง ก็จะทำให้จิตใจของเราเกิดความทุกข์ที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีกที เป็นต้น
แต่ถ้าเรามีปัญญา (ความรอบรู้ว่าแท้จริงมันไม่มีตัวเราอยู่จริง) ศีล (จิตปกติ) และสมาธิ (จิตที่บริสุทธิ ตั้งมั่น อ่อนโยน) พร้อม ถึงแม้ร่างกายขิงเราจะเกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรงก็ตาม จิตใจของเราก็จะไม่เกิดความไม่พอใจหรือไม่อยากได้ขึ้นมา ซึ่งก็จะทำให้จิตใจของเราไม่เกิดความทุกข์ที่รุนแรงซ้อนขึ้นมา จะมีก็เพียงความทุกข์ทางกายเท่านั้น ส่วนจิตใจส่วนลึกก็จะสงบเย็น (นิพพาน) ซึ่งนี่ก็คือการสรุปหลักการปฏิบัติอริยมรรคของอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้านั่นเอง
ส่วนคนที่เชื่อว่าการเกิดร่างกายคือความทุกข์นั้น ก็จะไม่ยอมรับเรื่องการเกิดทางจิตใจนี้ จึงทำให้ไม่สามารถดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้ เพราะเขาเชื่อว่าทำไม่ได้ คือเขาจะเชื่อว่าการดับทุกช์นั้นก็ต้องปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการเกิดร่างกายขึ้นมาเท่านั้นจึงจะดับได้ (คือเข้าใจผิดว่านิพพานคือการตายแล้วไม่กลับมาเกิดอีก) ดังนั้นเขาจึงต้องทนทุกข์ทางจิตใจต่อไปจนตายด้วยความเชื่อที่ผิดๆของเขาเอง
การเกิดเป็นทุกข์
การเกิดนั้น มี ๒ อย่าง คือ การเกิดทางร่างกาย และ การเกิดทางจิตใจ ซึ่งการเกิดทางร่างกายนั้นก็คือการที่ร่างกายคลอดออกมาจากท้องแม่นั่นเอง โดยเหตุของการเกิดร่างกายก็คือพ่อกับแม่ ส่วนการเกิดทางจิตใจนั้นก็คือการเกิดความยึดว่ามีตัวตนขึ้นมาภายในจิตใจโดยมีอวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตนเอง) เป็นต้นเหตุ
การเกิดร่างกายขึ้นมานั้น มันก็มีความทุกข์อยู่แล้วตามธรรมชาติ คือต้องมาพบกับความร้อน ความหนาว ความหิว ความกระหาย แรงดึง แรงกดดัน แรงตี และโรคต่างๆ เป็นต้น ที่ทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกเจ็บ ปวด หรือทรมาน ที่เรียกว่า ความทุกข์กาย ซึ่งความทุกข์กายนี้ไม่มีใครจะหนีพ้นได้ จะทำได้ก็เพียงบรรเทาให้เบาบางลงเท่านั้น
ส่วนความทุกข์ทางใจนั้นเป็นความไม่พอใจ (ที่เรียกว่ากิเลส) หรือ ไม่อยากได้ (ที่เรียกว่า ตัณหา) ในความทุกข์ทางกายอีกมีหนึ่ง ซึ่งกิเลสหรือตัณหานี้เกิดมาจากการปรุงแต่งของจิตใจจิตใต้สำนึก (ที่บังคับไม่ได้) ที่เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติจากโดยมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ คือเรียกว่าความทุกข์ทางใจนี้เป็นความรู้สึกทุกข์ที่เกิดซ้อนขึ้นมาอีกทีนั่นเอง
ความทุกข์ทางกายนั้นเหมือนลูกดอกเล็กๆดอกแรกที่มาปักที่ร่างกายเรา ซึ่งไม่ทำให้เราเจ็บปวดมากมายนัก ส่วนความทุกข์ทางใจนั้นเหมือนลูกดอกใหญ่ที่มียาพิษเคลือบอยู่ที่มาปักซ้ำต่อจากดอกแรกอีกที ซึ่งทำให้เราเจ็บปวดได้อย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น เมื่อร่างกาบของเราเกิดความเจ็บปวด แล้วจิตใจของเราก็เกิดความเกลียดชังหรือไม่พอใจ หรือไม่อยากได้ขึ้นมาอย่างรุนแรง ก็จะทำให้จิตใจของเราเกิดความทุกข์ที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีกที เป็นต้น
แต่ถ้าเรามีปัญญา (ความรอบรู้ว่าแท้จริงมันไม่มีตัวเราอยู่จริง) ศีล (จิตปกติ) และสมาธิ (จิตที่บริสุทธิ ตั้งมั่น อ่อนโยน) พร้อม ถึงแม้ร่างกายขิงเราจะเกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรงก็ตาม จิตใจของเราก็จะไม่เกิดความไม่พอใจหรือไม่อยากได้ขึ้นมา ซึ่งก็จะทำให้จิตใจของเราไม่เกิดความทุกข์ที่รุนแรงซ้อนขึ้นมา จะมีก็เพียงความทุกข์ทางกายเท่านั้น ส่วนจิตใจส่วนลึกก็จะสงบเย็น (นิพพาน) ซึ่งนี่ก็คือการสรุปหลักการปฏิบัติอริยมรรคของอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้านั่นเอง
ส่วนคนที่เชื่อว่าการเกิดร่างกายคือความทุกข์นั้น ก็จะไม่ยอมรับเรื่องการเกิดทางจิตใจนี้ จึงทำให้ไม่สามารถดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้ เพราะเขาเชื่อว่าทำไม่ได้ คือเขาจะเชื่อว่าการดับทุกช์นั้นก็ต้องปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการเกิดร่างกายขึ้นมาเท่านั้นจึงจะดับได้ (คือเข้าใจผิดว่านิพพานคือการตายแล้วไม่กลับมาเกิดอีก) ดังนั้นเขาจึงต้องทนทุกข์ทางจิตใจต่อไปจนตายด้วยความเชื่อที่ผิดๆของเขาเอง