ไม่ได้บอกว่า ขันธ์ ๕ คือตัวทุกข์ ถ้าขันธ์ ๕ คือความทุกข์แล้ว ก็เท่ากับว่าต้องตายแล้วไม่กลับมาเกิดอีกจึงจะพ้นทุกข์ได้ แล้วก็ทำให้เข้าใจผิดไปว่า นิพพานคือการตายแล้วไม่กลับมาเกิดอีกนั่นเอง
ขันธ์ ๕ นี้มันก็มีธรรมชาติที่มีความทุกข์อยู่แล้ว แต่เป็นความทุกข์ตามธรรมชาติที่ไม่มีความรุนแรง เช่น ความเจ็บ ความปวด จากความแก่ ความป่วยไข้ และความตาย ของร่างกาย เป็นต้น ถ้าจิตของเราไปยึดมั่นว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นของเราเข้า จิตที่ยึดมั่นนี่เองที่จะเกิดความเศร้าโศก (เสียใจ) ความคับแค้นใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น ขึ้นมาทันที
แต่ถึงแม้ขันธ์ ๕ นี้จะมีความทุกข์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้าจิตของเราไม่ไปยึดถือว่าความทุกข์ของขันธ์ ๕ นี้เป็นของเรา จิตมันก็ไม่เป็นทุกข์อย่างรุนแรงซ้อนขึ้นมาอีก
สรุปได้ว่า ความทุกข์ในอริยสัจ ๔ นั้นก็คือความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ไม่ใช่แค่เพียงขันธ์ ๕ เท่านั้นจะเป็นความทุกข์ แต่เป็นเพราะความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ต่างหากที่ทำให้จิตความทุกข์ ถ้าไม่ยึดมั่นในขันธ์ ๕ จิตมันก็ไม่เป็นทุกข์ซ้อนขึ้นมา
พระพุทธเจ้าสรุปความทุกข์ในอริยสัจ ๔ ไว้ว่า ความยึดมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ นั้นคือตัวทุกข์
ขันธ์ ๕ นี้มันก็มีธรรมชาติที่มีความทุกข์อยู่แล้ว แต่เป็นความทุกข์ตามธรรมชาติที่ไม่มีความรุนแรง เช่น ความเจ็บ ความปวด จากความแก่ ความป่วยไข้ และความตาย ของร่างกาย เป็นต้น ถ้าจิตของเราไปยึดมั่นว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นของเราเข้า จิตที่ยึดมั่นนี่เองที่จะเกิดความเศร้าโศก (เสียใจ) ความคับแค้นใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น ขึ้นมาทันที
แต่ถึงแม้ขันธ์ ๕ นี้จะมีความทุกข์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้าจิตของเราไม่ไปยึดถือว่าความทุกข์ของขันธ์ ๕ นี้เป็นของเรา จิตมันก็ไม่เป็นทุกข์อย่างรุนแรงซ้อนขึ้นมาอีก
สรุปได้ว่า ความทุกข์ในอริยสัจ ๔ นั้นก็คือความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ไม่ใช่แค่เพียงขันธ์ ๕ เท่านั้นจะเป็นความทุกข์ แต่เป็นเพราะความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ต่างหากที่ทำให้จิตความทุกข์ ถ้าไม่ยึดมั่นในขันธ์ ๕ จิตมันก็ไม่เป็นทุกข์ซ้อนขึ้นมา