ทุกข์กาย คือ ความรู้สึกทรมานของร่างกาย เช่น ความเจ็บ ความปวด ความเหนื่อย เป็นต้น ที่เป็นความรู้สึกที่ทนได้ยากที่เกิดขึ้นจากร่างกายตามธรรมชาติแต่ก็มีจิตมารับรู้
ส่วนทุกข์ใจ คือ ความรู้สึกทรมานของจิตใจโดยตรง เช่น ความเศร้าโศก (ความเสียใจ) ความคับแค้นใจ ความแห้งเหี่ยวใจ ความเสียใจ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นมาจากความยินร้าย (ไม่พึงพอใจ ไม่อยากได้ โกรธ เกลียด กลัว เบื่อ ชัง เป็นต้น) ต่อความทุกข์ของร่างกายอีกทีหนึ่ง
เราต้องแยกทุกข์กายกับทุกข์ใจนี้ให้ออกจากกันให้ได้ก่อน ไม่อย่างนั้นก็จะไม่รู้จักความทุกข์ในอริสัจ ๔ ได้อย่างถูกต้อง เพราะความทุกข์ในอริยสัจ ๔ นั้นคือทุกข์ใจ ไม่ใช่ทุกข์กาย ถ้าเข้าใจว่าเป็นทุกข์กายก็จะทำให้รู้จักความทุกข์ในอริยสัจ ๔ ผิด เมื่อรู้จักทุกข์ผิดก็จะทำให้รู้จักสาเหตุของทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ผิดตามไปด้วยทันที
ความทุกข์กายนั้นไม่มีใครจะหลีกหนีพ้นได้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่สอนเรื่องการแก้ไขทุกข์กาย เพราะทุกข์กายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อเรามีความเชื่อผิดๆว่าทุกข์กายเป็นทุกข์ในอริยสัจ ๔ ก็จะทำให้เราเข้าใจผิดไปว่าการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ นั้นก็คือการปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการเกิดร่างกายขึ้นมาอีก รวมทั้งยังทำให้เชื่อว่าการปฏิบัตเพื่อดับทุกข์ใจนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีกด้วย
ดังนั้นเราจะต้องแยกทุกข์กายกับทุกข์ใจออกจากกันให้ได้ก่อน แล้วมาศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ใจเท่านั้น เมื่อดับทุกข์ใจได้แล้วทุกข์กายที่แม้จะยังมีอยู่ ก็จะไม่มีความหมายหรือสำคัญแก่จิตใจเลย แต่ถ้าดับทุกข์ใจไม่ได้ ก็จะทำให้ทุกข์กายมีความหมายขึ้นมาทันที คือทำให้จิตใจเกิดความทุกข์รุนแรงมากขึ้น
ต้องแยกทุกข์กายกับทุกข์ใจออกจากกันให้ได้ก่อน จึงจะรู้จักอริยสัจ ๔ ได้ถูกต้อง
ส่วนทุกข์ใจ คือ ความรู้สึกทรมานของจิตใจโดยตรง เช่น ความเศร้าโศก (ความเสียใจ) ความคับแค้นใจ ความแห้งเหี่ยวใจ ความเสียใจ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นมาจากความยินร้าย (ไม่พึงพอใจ ไม่อยากได้ โกรธ เกลียด กลัว เบื่อ ชัง เป็นต้น) ต่อความทุกข์ของร่างกายอีกทีหนึ่ง
เราต้องแยกทุกข์กายกับทุกข์ใจนี้ให้ออกจากกันให้ได้ก่อน ไม่อย่างนั้นก็จะไม่รู้จักความทุกข์ในอริสัจ ๔ ได้อย่างถูกต้อง เพราะความทุกข์ในอริยสัจ ๔ นั้นคือทุกข์ใจ ไม่ใช่ทุกข์กาย ถ้าเข้าใจว่าเป็นทุกข์กายก็จะทำให้รู้จักความทุกข์ในอริยสัจ ๔ ผิด เมื่อรู้จักทุกข์ผิดก็จะทำให้รู้จักสาเหตุของทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ผิดตามไปด้วยทันที
ความทุกข์กายนั้นไม่มีใครจะหลีกหนีพ้นได้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่สอนเรื่องการแก้ไขทุกข์กาย เพราะทุกข์กายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อเรามีความเชื่อผิดๆว่าทุกข์กายเป็นทุกข์ในอริยสัจ ๔ ก็จะทำให้เราเข้าใจผิดไปว่าการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ นั้นก็คือการปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการเกิดร่างกายขึ้นมาอีก รวมทั้งยังทำให้เชื่อว่าการปฏิบัตเพื่อดับทุกข์ใจนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีกด้วย
ดังนั้นเราจะต้องแยกทุกข์กายกับทุกข์ใจออกจากกันให้ได้ก่อน แล้วมาศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ใจเท่านั้น เมื่อดับทุกข์ใจได้แล้วทุกข์กายที่แม้จะยังมีอยู่ ก็จะไม่มีความหมายหรือสำคัญแก่จิตใจเลย แต่ถ้าดับทุกข์ใจไม่ได้ ก็จะทำให้ทุกข์กายมีความหมายขึ้นมาทันที คือทำให้จิตใจเกิดความทุกข์รุนแรงมากขึ้น