มหาตัณหาสังขยสูตร ๒ วิญญาณเกิดเพราะอาศัยปัจจัย, อ.สุภีร์ ทุมทอง-บ้านพุทธธรรมสวนหลวง-๒๐
https://www.youtube.com/watch?v=Mv1P1YKM5eE
------
--คราวนี้ก็มาเรียนพระสูตรต่อคราวที่แล้วนะครับ สำหรับพระสูตรที่เรียนกันอยู่ในช่วงนี้ ชื่อว่ามหาตัณหาสังขยสูตรจากคัมภีร์มัชธิมนิกายมูลปัณณาสก์
--พระไตรปิฎกเล่มที่ 12
--สำหรับ มหาตัณหาสังขยสูตร ก็เป็นพระสูตรที่แสดงเกี่ยวกับภาวะอันเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาซึ่งเป็นพระสูตรขนาดยาวมีเนื้อหาโดยละเอียด
--คำว่า มหา แปลว่า ยาวหรือว่าละเอียด หรือ ครอบคลุม สมบูรณ์นั่นเอง
--ครอบคลุมทั้งด้านโดยสภาวะ แล้วก็โดยการปฏิบัติเพื่อให้ถึงภาวะนั้น
--ตัณหาสังขย ก็คือ ภาวะอันเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา ก็คือ พระนิพพาน นั่นเอง -- สังขย แปลว่า สิ้นไป หมดสิ้นไป
--ตัณหา ก็เป็นชื่อของกิเลสอันเป็นเหตุของทุกข์นั่นเองนะ
--ความสิ้นของตัณหา ตัณหาไม่มี ตัณหาไม่เกิดก็คือ หรือ ทุกข์ไม่เกิดนั่นเอง
--ทุกข์ไม่มี ทุกข์ไม่เกิด ความไม่เป็นไปของทุกข์ และความไม่เป็นไปของเหตุเกิดทุกข์ ก็คือ พระนิพพาน
--เป็นภาวะอันเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา หรือจะเรียกว่าเป็นภาวะอันเป็นที่สิ้นทุกข์ ทุกขนิโรธะ ยังงี้ก็ได้
--พูดแบบอริยสัจจะ ก็คือ เป็นทุกขะนิโรธะ
--แต่ทีนี้ทุกข์มันเกิดเพราะเหตุคือ ตัณหา
--การที่ทุกข์จะไม่มี ตัณหาก็ต้องไม่มี
--ทีนี้ตัณหานี้ มันก็เกิดจากอวิชชา ตัณหาจะไม่มีจะไม่เกิดก็ต้องหมดอวิชชา คือมีวิชชา ขั้นมา
--อวิชชา ก็คือ ความไม่รู้อริยสัจจ์ 4
--คนที่จะหมดตัณหาก็คือคนที่มีวิชชา คือ รู้สัจจะ 4 จะรู้สัจจะ 4 เต็มที่สมบูรณ์ก็จะทำให้ตัณหาไม่มีตัณหาไม่เกิด
--ทีนี้การที่จะรู้อริยสัจจะ 4 อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากว่าความไม่รู้อริยสัจจะ 4 คือ อวิชชา เนี่ย การจะรู้อย่างสมบูรณ์ก็ต้องรู้ให้ถึงอวิชชา ก็คือ รู้ถึงเหตุของอวิชชาด้วย ก็คือให้รู้ถึง อาสวะ อีกต่อนึง อย่างนี้ทำนองนี้ ก็เลยหลายชั้นอยู่
--ซึ่งผู้ที่สามารถแสดงได้ลึกซึ้งขนาดนี้ก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้าของเรานั่นเองนะครับ
--แต่ว่าพระสูตรนี้จะแสดงภาวะอันเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา ก็คือ พระนิพพาน แต่ว่าแสดงทั้งโดยสภาวะให้เรารู้จัก เริ่มต้นจากให้รู้จักขันธ์ 5 รู้จักขันธ์ 5 เป็นไปตามเงื่อนไขปัจจัย เงื่อนไขอะไรทำให้ขันธ์ 5 เป็นไป เงื่อนไขอะไรทำให้ขันธ์ 5 หมดไป แล้วก็บอกข้อปฏิบัติอย่างสมบูรณ์นะครับ
--สำหรับนิทาน หรือ เหตุเกิดของพระสูตรนี้ก็เกิดเนื่องจากมีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า สาติเกวัฏฏะบุตร นา พระสาติผู้เป็นบุตรของชาวประมงมาชวชได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เกิดทิฏฐิคือความเห็นผิดขึ้น เป็นลักษณะ สัสสตทิฏฐิ คือ เห็นผิดว่า เรานั้นได้รู้ทั่วถึง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงเอาไว้เรียบร้อยแล้ว สรุปใจความได้ว่า วิญญานนี้ท่องเที่ยววนเวียนไปไม่ใช่อันอื่น อันนี้ก็เป็นลักษณะของสัสสตทิฏฐิ นา โดยเฉพาะพวกที่เรียนเรื่องที่พระพุทธเจ้าสอนเรื่องกรรมเรื่องผลของกรรมเรื่องเวียนว่ายตายเกิดเนี่ย หากไม่เข้าใจให้ดีนะครับ มักจะเป็นสัสสตทิฏฐิ
-แต่ทีนี้ท่านมีความยึดถือหนักแน่นเพิ่มขึ้นมาด้วยว่า เรารู้ทั่วถึงคำสอนอันนี้หนักหน่อย นะ ถ้าเห็นผิดแต่ว่าไม่ถึงกับยึดถือว่าได้รู้ทั่วถึงคำสอน ก็ค่อยๆเรียนไปค่อยๆปล่อยความเห็นผิดไปก็ไม่เป็นไร แต่นี่ท่านมีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า เราได้รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงเอาไว้แล้ว แล้วก็สรุปเอาว่า วิญญานเท่านั้นท่องเที่ยววนเวียนไปในวัฏฏะสงสารไม่ใช่อื่น อย่างนี้ก็เป็นสัสสตทิฏฐิขึ้น นะครับ
--ทีนี้ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนั้น ก็เห็นว่าท่านมีความเห็นผิด เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงสอนธรรมะทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นฝ่ายสังขารเนี่ยพูดเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม ก็คือเป็นธรรมมะที่เกิดขึ้นจากการอิงอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น เป็นไปในลักษณะเป็นกระแส เป็น กระบวนการ นะ
--ไม่ว่าพระองค์จะแสดงอะไรที่เป็นชื่อของธรรมมะฝ่ายสังขตธรรมนี้ล้วนแสดงในลักษณะที่เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งนั้น
--เช่นมาพูดเรื่องรูป เช่นพูดเรื่องธาตุดิน อย่างนี้ก็แสดงในลักษณะที่มันเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม คือ ไม่ใช่พูดถึงธาตุดินอย่างเดียว พูดถึงน้ำไฟลมแล้วก็ธาตุอื่นๆที่ผสมรวมอยู่ด้วย รวมถึงพูดถึงนามธรรมที่เป็นตัวผสมมันอยู่ด้วย เพราะว่าถ้าไม่มีขันธ์ 5 ไม่มีรูป ไม่มีนาม ธาตุ 4 มันก็ไม่มี อย่างนี้เป็นต้น
--หรือพูดถึงเวทนา พูดถึงความรู้สึกสุขทุกข์พวกนี้ ก็ไม่ได้พูดถึงลักษณะที่มันเป็นตัวตน หรือเป็นของลอยๆอยู่ แต่พูดในลักษณะที่ว่ามันเป็น
ปฏิจจสมุปปันนธรรม
--แม้กระทั่งวิญญานนี้ก็เหมือนกัน พูดถึงตัววิญญาน จักขุวิญญานเป็นต้น ก็ไม่ได้พูดในลักษณะที่มันเป็นตัวตน พูดในลักษณะที่มันเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม ๆ ก็คือ ธรรมะที่มันอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขั้น และเหตุปัจจัยก็มีหลายเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยที่ครบถ้วนสมบูรณ์ก็คือ กระบวนการปฏิจจสมุปบาท มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของกระแสในเหตุปัจจัยเท่านั้นเอง อันนี้ ทำนองนี้
--ภิกษุทั้งหลายท่านก็ศึกษาธรรมมะแล้วก็เข้าใจเรื่องนี้ดี นะ ตามบาลีที่ท่านแสดงข้อสรุปไว้ตามที่พระพุทธองค์แสดงไว้ก็คือ
อญฺญตฺร ปจฺจยา
เว้นจากปัจจัยแล้ว
นตฺถิ วิญฺญาณสฺส สมฺภโวติ ฯ
การเกิดขึ้นแห่งวิญญานย่อมไม่มี
--ก็รวมถึงปราศจากปัจจัยแล้วการเกิดขึ้นของรูปก็ไม่มี
--ก็รวมถึงปราศจากปัจจัยแล้วการเกิดขึ้นของสุขก็ไม่มี
--ก็รวมถึงปราศจากปัจจัยแล้วการเกิดขึ้นของทุกข์ก็ไม่มี
--ก็รวมถึงปราศจากปัจจัยแล้วการเกิดขึ้นของ ความคิด ความนึก ความง่วงเหงาหาวนอน อะไรพวกนี้ ก็ไม่มีทั้งนั้น
--บางท่านง่วงนอนถ้าปราศจากปัจจัยแล้วมันก็ไม่เกิดอะไรประมาณนั้น
-คิดมาก คิดน้อย ถ้าปราศจากปัจจัยแล้วมันก็ไม่มี
--ปัจจัยก็คือพวกมันทั้งหมดนั่นแหละรวมๆแล้วก็คือขันธ์ 5
--ปราศจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แล้ว ง่วงก็ไม่มี
--ดูเหมือนว่ามันไม่เกี่ยวกันนะ แต่มันเกี่ยวกัน นะครับ
--เพราะว่าง่วงนอนนี้ มันเกิดที่รูปก็คือที่ หะทะยะรูป หทยรูปมันอาศัยธาตุ 4 อยู่ ธาตุ 4 ก็คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นั่นหละ
--ดูเหมือนไม่เกี่ยวกันแต่ว่ามันเกี่ยว
--ที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวคือ เราไม่มีปัญญามองเห็นปัจจัยที่สมบูรณ์ของมัน
--ฉนั้นโดยกระบวนการของเหตุปัจจัย ในวัฏฏะสงสารก็เป็นไปตามกระบวนการความเป็นไปของกองทุกข์ คือ ขันธ์ 5 ล้วนๆนั่นเอง เพียงแต่จะยกอันไหนขึ้นมาแสดง
--การยกข้อธรรมหรือยกสภาวะขึ้นแสดง ก็เรียกว่า แสดงเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม นั่นเอง
--แม้แต่เรื่อง วิญญาน ก็เหมือนกัน อย่างนี้
--ภิกษุทั้งหลายท่านก็เข้าใจเรื่องนี้ดีชัดเจนอยู่แล้วก็เลยต้องการจะแก้ทิฏฐิของพระสาติเกวัฏฏะบุตรเนี่ย ก็เลยไปพูดคุยกัน นะ ทีนี้แทนที่จะแก้ได้ แทนที่จะช่วยเขา แต่ว่าหนักกว่าเดิมอีกยึดหนักกว่าเดิม นะ
--ทุกท่านก็ต้องระวังเหมือนกันเวลาจะช่วยชาวบ้าน ต้องดูว่าเขาต้องการให้ช่วยไม๊ น้า หรือเขาต้องการให้ช่วยเงียบๆ ช่วยให้ไปห่างๆหรือเปล่า ยังงี้
--เพราะว่าบางทีแทนที่ช่วยแล้วจะดีขึ้น หนักกว่าเดิมอีก พระสาติ หนักกว่าเดิมอาการหนักกว่าเดิม เพราะว่าเวลาคนที่เขาเห็นผิดยึดถือนี่ เวลาเราไปบอกความจริงเขา เขาก็หาเรื่องมายึดหนักกว่าเดิมก็มี กลายเป็นแทนที่จะผ่อนคลาย แทนที่จะให้อนิจจจังช่วยเขา ให้ลดความยึดถือ เขากลับยึดหนักกว่าเดิมก็มีอย่างนี้ ทำนองนี้นะครับ อันนี้มันก็เป็นลักษณะของทิฏฐินั่นเอง ลักษณะของความเห็นผิดนะครับ
--ลักษณะของทิฏฐิก็คือ มันก็จะถูกอยู่คนเดียวในโลกในจักรวาลนั่นแหละ นาก็คือ การที่รู้สึกว่า เราถูกอยู่คนเดียว อะไรพวกนี้ เป็นลักษณะของทิฏฐิ
--การรู้สึกว่าถูกอยู่คนเดียวก็คือผิดอยู่คนเดียวนั่นแหละ ผิดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
--ถ้ายังมีอาการที่เรียกว่าไม่ยึดถือหนักนัก ท่านก็จะรู้สึกว่าเออเราก็มีส่วนถูกมีส่วนผิดเขาก็มีส่วนถูกมีส่วนผิดอะไรพวกนี้ยังพอแก้ได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าโอ้เราถูกอยู่คนเดียว อันนี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นเปล่า อันนี้หนักแหละ จริงๆนะถ้าเป็นคนระดับหัวหน้า ระดับเจ้าลัทธิ ศึกษามาเยอะเวลาที่ยึดมันจะยึดหนัก เพราะว่าความรู้มันมากนะ
--พอความรู้มันมากคนอื่นก็ความรู้น้อยกว่าอะไรประมาณนี้10.05
มหาตัณหาสังขยสูตร ๒ วิญญาณเกิดเพราะอาศัยปัจจัย, อ.สุภีร์ ทุมทอง-บ้านพุทธธรรมสวนหลวง-๒๐
https://www.youtube.com/watch?v=Mv1P1YKM5eE
------
--คราวนี้ก็มาเรียนพระสูตรต่อคราวที่แล้วนะครับ สำหรับพระสูตรที่เรียนกันอยู่ในช่วงนี้ ชื่อว่ามหาตัณหาสังขยสูตรจากคัมภีร์มัชธิมนิกายมูลปัณณาสก์
--พระไตรปิฎกเล่มที่ 12
--สำหรับ มหาตัณหาสังขยสูตร ก็เป็นพระสูตรที่แสดงเกี่ยวกับภาวะอันเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาซึ่งเป็นพระสูตรขนาดยาวมีเนื้อหาโดยละเอียด
--คำว่า มหา แปลว่า ยาวหรือว่าละเอียด หรือ ครอบคลุม สมบูรณ์นั่นเอง
--ครอบคลุมทั้งด้านโดยสภาวะ แล้วก็โดยการปฏิบัติเพื่อให้ถึงภาวะนั้น
--ตัณหาสังขย ก็คือ ภาวะอันเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา ก็คือ พระนิพพาน นั่นเอง -- สังขย แปลว่า สิ้นไป หมดสิ้นไป
--ตัณหา ก็เป็นชื่อของกิเลสอันเป็นเหตุของทุกข์นั่นเองนะ
--ความสิ้นของตัณหา ตัณหาไม่มี ตัณหาไม่เกิดก็คือ หรือ ทุกข์ไม่เกิดนั่นเอง
--ทุกข์ไม่มี ทุกข์ไม่เกิด ความไม่เป็นไปของทุกข์ และความไม่เป็นไปของเหตุเกิดทุกข์ ก็คือ พระนิพพาน
--เป็นภาวะอันเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา หรือจะเรียกว่าเป็นภาวะอันเป็นที่สิ้นทุกข์ ทุกขนิโรธะ ยังงี้ก็ได้
--พูดแบบอริยสัจจะ ก็คือ เป็นทุกขะนิโรธะ
--แต่ทีนี้ทุกข์มันเกิดเพราะเหตุคือ ตัณหา
--การที่ทุกข์จะไม่มี ตัณหาก็ต้องไม่มี
--ทีนี้ตัณหานี้ มันก็เกิดจากอวิชชา ตัณหาจะไม่มีจะไม่เกิดก็ต้องหมดอวิชชา คือมีวิชชา ขั้นมา
--อวิชชา ก็คือ ความไม่รู้อริยสัจจ์ 4
--คนที่จะหมดตัณหาก็คือคนที่มีวิชชา คือ รู้สัจจะ 4 จะรู้สัจจะ 4 เต็มที่สมบูรณ์ก็จะทำให้ตัณหาไม่มีตัณหาไม่เกิด
--ทีนี้การที่จะรู้อริยสัจจะ 4 อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากว่าความไม่รู้อริยสัจจะ 4 คือ อวิชชา เนี่ย การจะรู้อย่างสมบูรณ์ก็ต้องรู้ให้ถึงอวิชชา ก็คือ รู้ถึงเหตุของอวิชชาด้วย ก็คือให้รู้ถึง อาสวะ อีกต่อนึง อย่างนี้ทำนองนี้ ก็เลยหลายชั้นอยู่
--ซึ่งผู้ที่สามารถแสดงได้ลึกซึ้งขนาดนี้ก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้าของเรานั่นเองนะครับ
--แต่ว่าพระสูตรนี้จะแสดงภาวะอันเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา ก็คือ พระนิพพาน แต่ว่าแสดงทั้งโดยสภาวะให้เรารู้จัก เริ่มต้นจากให้รู้จักขันธ์ 5 รู้จักขันธ์ 5 เป็นไปตามเงื่อนไขปัจจัย เงื่อนไขอะไรทำให้ขันธ์ 5 เป็นไป เงื่อนไขอะไรทำให้ขันธ์ 5 หมดไป แล้วก็บอกข้อปฏิบัติอย่างสมบูรณ์นะครับ
--สำหรับนิทาน หรือ เหตุเกิดของพระสูตรนี้ก็เกิดเนื่องจากมีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า สาติเกวัฏฏะบุตร นา พระสาติผู้เป็นบุตรของชาวประมงมาชวชได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เกิดทิฏฐิคือความเห็นผิดขึ้น เป็นลักษณะ สัสสตทิฏฐิ คือ เห็นผิดว่า เรานั้นได้รู้ทั่วถึง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงเอาไว้เรียบร้อยแล้ว สรุปใจความได้ว่า วิญญานนี้ท่องเที่ยววนเวียนไปไม่ใช่อันอื่น อันนี้ก็เป็นลักษณะของสัสสตทิฏฐิ นา โดยเฉพาะพวกที่เรียนเรื่องที่พระพุทธเจ้าสอนเรื่องกรรมเรื่องผลของกรรมเรื่องเวียนว่ายตายเกิดเนี่ย หากไม่เข้าใจให้ดีนะครับ มักจะเป็นสัสสตทิฏฐิ
-แต่ทีนี้ท่านมีความยึดถือหนักแน่นเพิ่มขึ้นมาด้วยว่า เรารู้ทั่วถึงคำสอนอันนี้หนักหน่อย นะ ถ้าเห็นผิดแต่ว่าไม่ถึงกับยึดถือว่าได้รู้ทั่วถึงคำสอน ก็ค่อยๆเรียนไปค่อยๆปล่อยความเห็นผิดไปก็ไม่เป็นไร แต่นี่ท่านมีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า เราได้รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงเอาไว้แล้ว แล้วก็สรุปเอาว่า วิญญานเท่านั้นท่องเที่ยววนเวียนไปในวัฏฏะสงสารไม่ใช่อื่น อย่างนี้ก็เป็นสัสสตทิฏฐิขึ้น นะครับ
--ทีนี้ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนั้น ก็เห็นว่าท่านมีความเห็นผิด เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงสอนธรรมะทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นฝ่ายสังขารเนี่ยพูดเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม ก็คือเป็นธรรมมะที่เกิดขึ้นจากการอิงอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น เป็นไปในลักษณะเป็นกระแส เป็น กระบวนการ นะ
--ไม่ว่าพระองค์จะแสดงอะไรที่เป็นชื่อของธรรมมะฝ่ายสังขตธรรมนี้ล้วนแสดงในลักษณะที่เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งนั้น
--เช่นมาพูดเรื่องรูป เช่นพูดเรื่องธาตุดิน อย่างนี้ก็แสดงในลักษณะที่มันเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม คือ ไม่ใช่พูดถึงธาตุดินอย่างเดียว พูดถึงน้ำไฟลมแล้วก็ธาตุอื่นๆที่ผสมรวมอยู่ด้วย รวมถึงพูดถึงนามธรรมที่เป็นตัวผสมมันอยู่ด้วย เพราะว่าถ้าไม่มีขันธ์ 5 ไม่มีรูป ไม่มีนาม ธาตุ 4 มันก็ไม่มี อย่างนี้เป็นต้น
--หรือพูดถึงเวทนา พูดถึงความรู้สึกสุขทุกข์พวกนี้ ก็ไม่ได้พูดถึงลักษณะที่มันเป็นตัวตน หรือเป็นของลอยๆอยู่ แต่พูดในลักษณะที่ว่ามันเป็น
ปฏิจจสมุปปันนธรรม
--แม้กระทั่งวิญญานนี้ก็เหมือนกัน พูดถึงตัววิญญาน จักขุวิญญานเป็นต้น ก็ไม่ได้พูดในลักษณะที่มันเป็นตัวตน พูดในลักษณะที่มันเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม ๆ ก็คือ ธรรมะที่มันอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขั้น และเหตุปัจจัยก็มีหลายเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยที่ครบถ้วนสมบูรณ์ก็คือ กระบวนการปฏิจจสมุปบาท มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของกระแสในเหตุปัจจัยเท่านั้นเอง อันนี้ ทำนองนี้
--ภิกษุทั้งหลายท่านก็ศึกษาธรรมมะแล้วก็เข้าใจเรื่องนี้ดี นะ ตามบาลีที่ท่านแสดงข้อสรุปไว้ตามที่พระพุทธองค์แสดงไว้ก็คือ
อญฺญตฺร ปจฺจยา
เว้นจากปัจจัยแล้ว
นตฺถิ วิญฺญาณสฺส สมฺภโวติ ฯ
การเกิดขึ้นแห่งวิญญานย่อมไม่มี
--ก็รวมถึงปราศจากปัจจัยแล้วการเกิดขึ้นของรูปก็ไม่มี
--ก็รวมถึงปราศจากปัจจัยแล้วการเกิดขึ้นของสุขก็ไม่มี
--ก็รวมถึงปราศจากปัจจัยแล้วการเกิดขึ้นของทุกข์ก็ไม่มี
--ก็รวมถึงปราศจากปัจจัยแล้วการเกิดขึ้นของ ความคิด ความนึก ความง่วงเหงาหาวนอน อะไรพวกนี้ ก็ไม่มีทั้งนั้น
--บางท่านง่วงนอนถ้าปราศจากปัจจัยแล้วมันก็ไม่เกิดอะไรประมาณนั้น
-คิดมาก คิดน้อย ถ้าปราศจากปัจจัยแล้วมันก็ไม่มี
--ปัจจัยก็คือพวกมันทั้งหมดนั่นแหละรวมๆแล้วก็คือขันธ์ 5
--ปราศจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แล้ว ง่วงก็ไม่มี
--ดูเหมือนว่ามันไม่เกี่ยวกันนะ แต่มันเกี่ยวกัน นะครับ
--เพราะว่าง่วงนอนนี้ มันเกิดที่รูปก็คือที่ หะทะยะรูป หทยรูปมันอาศัยธาตุ 4 อยู่ ธาตุ 4 ก็คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นั่นหละ
--ดูเหมือนไม่เกี่ยวกันแต่ว่ามันเกี่ยว
--ที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวคือ เราไม่มีปัญญามองเห็นปัจจัยที่สมบูรณ์ของมัน
--ฉนั้นโดยกระบวนการของเหตุปัจจัย ในวัฏฏะสงสารก็เป็นไปตามกระบวนการความเป็นไปของกองทุกข์ คือ ขันธ์ 5 ล้วนๆนั่นเอง เพียงแต่จะยกอันไหนขึ้นมาแสดง
--การยกข้อธรรมหรือยกสภาวะขึ้นแสดง ก็เรียกว่า แสดงเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม นั่นเอง
--แม้แต่เรื่อง วิญญาน ก็เหมือนกัน อย่างนี้
--ภิกษุทั้งหลายท่านก็เข้าใจเรื่องนี้ดีชัดเจนอยู่แล้วก็เลยต้องการจะแก้ทิฏฐิของพระสาติเกวัฏฏะบุตรเนี่ย ก็เลยไปพูดคุยกัน นะ ทีนี้แทนที่จะแก้ได้ แทนที่จะช่วยเขา แต่ว่าหนักกว่าเดิมอีกยึดหนักกว่าเดิม นะ
--ทุกท่านก็ต้องระวังเหมือนกันเวลาจะช่วยชาวบ้าน ต้องดูว่าเขาต้องการให้ช่วยไม๊ น้า หรือเขาต้องการให้ช่วยเงียบๆ ช่วยให้ไปห่างๆหรือเปล่า ยังงี้
--เพราะว่าบางทีแทนที่ช่วยแล้วจะดีขึ้น หนักกว่าเดิมอีก พระสาติ หนักกว่าเดิมอาการหนักกว่าเดิม เพราะว่าเวลาคนที่เขาเห็นผิดยึดถือนี่ เวลาเราไปบอกความจริงเขา เขาก็หาเรื่องมายึดหนักกว่าเดิมก็มี กลายเป็นแทนที่จะผ่อนคลาย แทนที่จะให้อนิจจจังช่วยเขา ให้ลดความยึดถือ เขากลับยึดหนักกว่าเดิมก็มีอย่างนี้ ทำนองนี้นะครับ อันนี้มันก็เป็นลักษณะของทิฏฐินั่นเอง ลักษณะของความเห็นผิดนะครับ
--ลักษณะของทิฏฐิก็คือ มันก็จะถูกอยู่คนเดียวในโลกในจักรวาลนั่นแหละ นาก็คือ การที่รู้สึกว่า เราถูกอยู่คนเดียว อะไรพวกนี้ เป็นลักษณะของทิฏฐิ
--การรู้สึกว่าถูกอยู่คนเดียวก็คือผิดอยู่คนเดียวนั่นแหละ ผิดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
--ถ้ายังมีอาการที่เรียกว่าไม่ยึดถือหนักนัก ท่านก็จะรู้สึกว่าเออเราก็มีส่วนถูกมีส่วนผิดเขาก็มีส่วนถูกมีส่วนผิดอะไรพวกนี้ยังพอแก้ได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าโอ้เราถูกอยู่คนเดียว อันนี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นเปล่า อันนี้หนักแหละ จริงๆนะถ้าเป็นคนระดับหัวหน้า ระดับเจ้าลัทธิ ศึกษามาเยอะเวลาที่ยึดมันจะยึดหนัก เพราะว่าความรู้มันมากนะ
--พอความรู้มันมากคนอื่นก็ความรู้น้อยกว่าอะไรประมาณนี้10.05