.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ธชัคคสูตรที่ ๓
(บางส่วน)
[๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้ไปในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเข้าไปในตน
อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง
พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่ รวมเป็นบุรุษบุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค***
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า
เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป ฯ
[๘๖๖] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี
อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี พึงระลึกถึง
พระสัมพุทธเจ้าเถิด ความ
กลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึง
พระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้น
เธอทั้งหลายพึงระลึกถึง
พระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อัน
พระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึง
พระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึง
พระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญ
เขตอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี
ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย ฯ
☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
พระศาสดาทรงแสดงฐานะ ๖
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ พุทฺธคตา สติ.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ ธมฺมคตา สติ.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ สงฺฆคตา สติ.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ กายคตา สติ.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ อหึสาย รโต มโน.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ ภาวนาย รโต มโน.
1สติของชนเหล่าใด ไปแล้ว
ในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
2สติของชนเหล่าใด ไปแล้ว
ในพระธรรมเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
3สติของชนเหล่าใด ไปแล้ว
ในพระสงฆ์เป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
4สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในกายเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
5ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในอันไม่เบียดเบียน
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
6ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในภาวนา
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
๛ มหาบพิตร พุทธานุสสติอย่างเดียวเท่านั้น เป็นคุณชาติเครื่องรักษาก็หามิได้ ๛
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ธชัคคสูตรที่ ๓
(บางส่วน)
[๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้ไปในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเข้าไปในตน
อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง
พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่ รวมเป็นบุรุษบุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค***
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า
เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป ฯ
[๘๖๖] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี
อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด ความ
กลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึง
พระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้น
เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อัน
พระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึง
พระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญ
เขตอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี
ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=7046&Z=7112&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=863
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[863-866] http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=15&A=863&Z=866
"มหาบพิตร พุทธานุสสติอย่างเดียวเท่านั้น เป็นคุณชาติเครื่องรักษาก็หามิได้
ก็จิตอันชนเหล่าใดอบรมดีแล้วโดยฐานะ ๖.
กิจด้วยอันรักษาและป้องกันอย่างอื่น หรือด้วยมนต์และโอสถ ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงฐานะ ๖ ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ พุทฺธคตา สติ.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ ธมฺมคตา สติ.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ สงฺฆคตา สติ.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ กายคตา สติ.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ อหึสาย รโต มโน.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ ภาวนาย รโต มโน.
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
2สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
3สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
4สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในกายเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
5ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในอันไม่เบียดเบียน
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
6ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในภาวนา
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=31&p=5
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1035&Z=1079