>>>กล่าวอย่างไร จึงจะชื่อว่า ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรม แท้ ๆ เท่านั้น<<<
๙. อรณวิภังคสูตร (๑๓๙)
[๖๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
…ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลายพวกเธอจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๖๕๔] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน พึงรู้จักการยกยอและการตำหนิ
ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น พึงรู้ตัดสินความสุข
ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขภายใน ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า
พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท
ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญเสีย นี้อุเทศแห่งอรณวิภังค์ ฯ
[๖๕๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุข โดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์
นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจมีความเร่าร้อน
เป็นความปฏิบัติผิด
การไม่ตามประกอบ
ความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน
เป็นความปฏิบัติชอบ
ความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์
นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจมีความเร่าร้อน
เป็นความปฏิบัติผิด
การไม่ตามประกอบ
ความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์
นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน
เป็นความปฏิบัติชอบ
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
[๖๕๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น เราอาศัยมรรคมีองค์ ๘อันประเสริฐดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
[๖๕๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงรู้จัก การยกยอ และ การตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเป็น
การยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม คือ
เมื่อกล่าวว่า
ชนเหล่าใดตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่า
ตำหนิชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า
ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความ ประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจไม่มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า
ยกยอชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า
ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่า
ตำหนิชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า
ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจไม่มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า
ยกยอชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้ว
ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่า
ตำหนิชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ละสัญโญชน์ในภพได้แล้วชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า
ยกยอชนพวกหนึ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
เป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม ฯ
[๖๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร
ไม่ เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ คือ
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด
กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรม มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้
ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรม ไม่มีทุกข์ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน
เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า
แสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่าชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มี ความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด
กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบ นี้แล เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้
ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
กล่าวอยู่ว่า อันความไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้
ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้ว
ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด
กล่าวอยู่ว่า เมื่อยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละไม่ได้ ดังนี้
ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
กล่าวอยู่ว่า ก็เมื่อละสัญโญชน์ในภพได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละได้ ดังนี้
ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล
ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงรู้จัก การยกยอและการตำหนิ ครั้นรู้แล้วไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/read/?14/653-658
ขอสมาชิกทุกท่านจงเจริญในะรรม ของพระศาสดา
กล่าวอย่างไร จึงจะชื่อว่า ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ เท่านั้น
๙. อรณวิภังคสูตร (๑๓๙)
[๖๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
…ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลายพวกเธอจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๖๕๔] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน พึงรู้จักการยกยอและการตำหนิ
ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น พึงรู้ตัดสินความสุข
ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขภายใน ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า
พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท
ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญเสีย นี้อุเทศแห่งอรณวิภังค์ ฯ
[๖๕๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุข โดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจมีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด
การไม่ตามประกอบ ความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ
ความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจมีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด
การไม่ตามประกอบ ความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
[๖๕๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น เราอาศัยมรรคมีองค์ ๘อันประเสริฐดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
[๖๕๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จัก การยกยอ และ การตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเป็น การยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม คือ
เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่า ตำหนิชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความ ประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า ยกยอชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่า ตำหนิชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า ยกยอชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่า ตำหนิชนพวกหนึ่ง
เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ละสัญโญชน์ในภพได้แล้วชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า ยกยอชนพวกหนึ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล เป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม ฯ
[๖๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ไม่ เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ คือ
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด
กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรม มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรม ไม่มีทุกข์ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า แสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่าชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มี ความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด
กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบ นี้แล เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
กล่าวอยู่ว่า อันความไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด
กล่าวอยู่ว่า เมื่อยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
กล่าวอยู่ว่า ก็เมื่อละสัญโญชน์ในภพได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จัก การยกยอและการตำหนิ ครั้นรู้แล้วไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/read/?14/653-658
ขอสมาชิกทุกท่านจงเจริญในะรรม ของพระศาสดา