ก่อนอื่นขอสวัสดีปีใหม่ไทย ปี๋ใหม่เมือง กับสมาชิกพี่น้อง เพื่อนพ้อง และลูกหลาน ชาวก้นครัวทุก ๆ ท่าน
เวลามีเทศกาลงานบุญใหญ่ ๆ ทีไร แกงฮังเลจะเป็นอีกแกงหนึ่งที่ได้รับความนิยมจัดทำเพื่อเป็นอาหารคาว
สำหรับไปทำบุญที่วัด ยิ่งเป็นท้องถิ่นที่สล่าปู่อยู่จะแกงฮังเลกันแทบทุกบ้าน อาจเป็นเพราะแกงฮังเลมีที่มา
ดั้งเดิมมาจากพม่า ท้องถิ่นสล่าปู่ซึ่งพี่น้องบางส่วนจะเป็นไทยใหญ่ ก็เลยเหมารวมรับเอาอิทธิพลจากพม่ามา
สล่าปู่เคยเสนอไปบ้างแล้วเกี่ยวกับแกงฮังเลและขอบอกว่าการทำแกงฮังเลของเมืองเหนือโดยทั่วไปอาจมี
ความแตกต่างกันกันไปบ้างเล็ก ๆ น้อย ตามที่เคยปฏิบัติกันมาบ้างท้องที่อาจใส่ถั่วลิสงคั่วหรือกระเทียมดอง
หรือการปรุงแบบอื่น ๆ ที่แตกต่างออกไป ซึ่งไม่ถือว่าผิดว่าถูก อยู่ที่ความเคยชินหรือความชอบ
วันนี้ได้โอกาสเหมาะที่จะนำเครื่องแกง ผงมัสซาร่า หรือที่สล่าปู่มักจะเรียกมะส่าหล่ามาตลอด ซึ่งถือว่าเป็น
ของพม่าแท้ ๆ มาทดลองแกง ซึ่งผงเครื่องแกงนี้ได้รับอนุเคราะห์จาก อ.swin ซึ่งซื้อมาจากประเทศพม่า
ส่งมาให้สล่าปู่ทดสอบฝีมือ ลองแกงหรือทำกับข้าวที่ออกแนวไทยใหญ่
นี่เลยครับของแท้ ตัวหนังสืออ่านไม่ออกสักตัวเลย
ปีนี้แกงไม่มากไม่น้อย ซื้อสามชั้นซึ่งเป็นสามชั้นส่วนท้อง 3.5 ก.ก. หั่นเป็นชิ้นขนาดพอเหมาะประมาณ1 นิ้ว x 1 นิ้ว
น้ำพริกฮังเล สล่าปู่จะใช้แค่หอมแดง กระเทียม พริกแห้งเม็ดใหญ่ กะปิ ใช้วิธีปั่นละเอียด น้ำพริกละเอียดจะได้น้ำแกงสีสวย
เอาน้ำพริก เครื่องแกง ขมิ้นผง ลงคลุกกับเนื้อหมู หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
วันนี้ลงกระทะทองเหลือง ไม่มีเหตุผลอื่นใดนอกจากต้องการเรื่องการส่งผ่านความร้อนเวลาเคี่ยวนาน ๆ
หอมแดง ขิงซอย ชุดแรกใส่ลงไปก่อน
เทคนิคและวิธีการมันเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ไม่มีสิ้นสุด การแกงฮังเลวันนี้สล่าปู่จะใช้วิธีที่เคยไปเห็นพี่น้อง
ไทยใหญ่แกงหม้อใหญ่เลี้ยงในงานศพที่อ.ขุนยวม คือเขาจะใช้ไฟอ่อนมากในการเคี่ยวแบบว่ายอมที่จะใช้
เวลานานเพื่อสยบความอร่อย
จากน้ำขลุกขลิก เปิดไฟอ่อนมากรวนผัดน้ำ น้ำในเนื้อหมูจะออกมาเพิ่ม เคี่ยวไปเรื่อย ๆ หมั่นคนไม่ให้ติดก้นหม้อ
จากที่เคยแกงใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง วันนี้อย่างนานน่าจะเกิน 5 ชั่วโมง กลิ่นตลบอบอวนไปหมด ยิ่งตอน
ที่น้ำงวดน้ำมันจากหมูจะออกมา หอมแดงที่ใส่ไปชุดแรกช่วยให้น้ำแกงเข้มข้น ถึงตอนนี้ต้องหมั่นคนและเติมน้ำที
ละน้อยประมาณ 1 แก้ว แต่เติมบ่อย ๆ
การแกงแบบยอมเสียเวลาช่วยให้เนื้อเปื่อยนุ่ม เข้าเนื้อดีมาก ชิมดูก็รู้ว่าแตกต่างจากที่เคยแกงมาทุกครั้ง หลังจาก
เปื่อยนุ่มได้ที่ ปรุงเปรี้ยวสล่าปู่ใช้กระท้อนซอยตากแห้งกับน้ำมะขามเปียกร่วมกัน หวานจากน้ำตาลปึก ใส่ขิงซอย
กับหอมแดง กระเทียมไทยปอกเปลือกชุดที่ 2 ลงไป รอเปื่อยอีกครั้ง ปิดไฟ
เปลี่ยนถ่ายลงหม้อ มีคนเคยบอกว่าแกงที่มีรสเปรี้ยวไม่ควรแช่ในกระทะทองเหลืองนาน ๆ
จากการเคี่ยวอย่างนาน ทำให้น้ำมันจากมันหมูออกมาอย่างเยอะซึ่งมันจะเข้าล๊อคว่าอาหารของพม่า ไม่ว่าแกงหรืออุ๊บ
จะต้องมีน้ำมันอย่างเยอะ (อ. swin เคยบอกไว้ว่าคนพม่ากินแกงที่มีน้ำมันเยอะเท่าไหร่บ่งบอกถึงฐานะเลยนะครับ)
น้ำมันแบบที่เราเห็นแล้วรู้สึกสยอง แต่ว่าถ้าใครลองเอาน้ำแกงรวมน้ำมันคลุกข้าวสวยกินดู จะติดใจในความเค็ม ๆ มัน
กลายเป็นงั้นเสียอีก
ดูโฉม ฮังเลเครื่องแกงพม่า ว่าน่ากินหรือขอบายครับ
โชคดีมีชัย สุขกายสุขใจในวันสงกรานต์นะครับ ขอมอบมะลิขาวสะอาดแทนใจแด่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้
สวัสดีครับ
"แกงฮังเล" อาหารคู่เทศกาลงานบุญของคนเมืองเหนือ
เวลามีเทศกาลงานบุญใหญ่ ๆ ทีไร แกงฮังเลจะเป็นอีกแกงหนึ่งที่ได้รับความนิยมจัดทำเพื่อเป็นอาหารคาว
สำหรับไปทำบุญที่วัด ยิ่งเป็นท้องถิ่นที่สล่าปู่อยู่จะแกงฮังเลกันแทบทุกบ้าน อาจเป็นเพราะแกงฮังเลมีที่มา
ดั้งเดิมมาจากพม่า ท้องถิ่นสล่าปู่ซึ่งพี่น้องบางส่วนจะเป็นไทยใหญ่ ก็เลยเหมารวมรับเอาอิทธิพลจากพม่ามา
สล่าปู่เคยเสนอไปบ้างแล้วเกี่ยวกับแกงฮังเลและขอบอกว่าการทำแกงฮังเลของเมืองเหนือโดยทั่วไปอาจมี
ความแตกต่างกันกันไปบ้างเล็ก ๆ น้อย ตามที่เคยปฏิบัติกันมาบ้างท้องที่อาจใส่ถั่วลิสงคั่วหรือกระเทียมดอง
หรือการปรุงแบบอื่น ๆ ที่แตกต่างออกไป ซึ่งไม่ถือว่าผิดว่าถูก อยู่ที่ความเคยชินหรือความชอบ
วันนี้ได้โอกาสเหมาะที่จะนำเครื่องแกง ผงมัสซาร่า หรือที่สล่าปู่มักจะเรียกมะส่าหล่ามาตลอด ซึ่งถือว่าเป็น
ของพม่าแท้ ๆ มาทดลองแกง ซึ่งผงเครื่องแกงนี้ได้รับอนุเคราะห์จาก อ.swin ซึ่งซื้อมาจากประเทศพม่า
ส่งมาให้สล่าปู่ทดสอบฝีมือ ลองแกงหรือทำกับข้าวที่ออกแนวไทยใหญ่
นี่เลยครับของแท้ ตัวหนังสืออ่านไม่ออกสักตัวเลย
ปีนี้แกงไม่มากไม่น้อย ซื้อสามชั้นซึ่งเป็นสามชั้นส่วนท้อง 3.5 ก.ก. หั่นเป็นชิ้นขนาดพอเหมาะประมาณ1 นิ้ว x 1 นิ้ว
น้ำพริกฮังเล สล่าปู่จะใช้แค่หอมแดง กระเทียม พริกแห้งเม็ดใหญ่ กะปิ ใช้วิธีปั่นละเอียด น้ำพริกละเอียดจะได้น้ำแกงสีสวย
เอาน้ำพริก เครื่องแกง ขมิ้นผง ลงคลุกกับเนื้อหมู หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
วันนี้ลงกระทะทองเหลือง ไม่มีเหตุผลอื่นใดนอกจากต้องการเรื่องการส่งผ่านความร้อนเวลาเคี่ยวนาน ๆ
หอมแดง ขิงซอย ชุดแรกใส่ลงไปก่อน
เทคนิคและวิธีการมันเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ไม่มีสิ้นสุด การแกงฮังเลวันนี้สล่าปู่จะใช้วิธีที่เคยไปเห็นพี่น้อง
ไทยใหญ่แกงหม้อใหญ่เลี้ยงในงานศพที่อ.ขุนยวม คือเขาจะใช้ไฟอ่อนมากในการเคี่ยวแบบว่ายอมที่จะใช้
เวลานานเพื่อสยบความอร่อย
จากน้ำขลุกขลิก เปิดไฟอ่อนมากรวนผัดน้ำ น้ำในเนื้อหมูจะออกมาเพิ่ม เคี่ยวไปเรื่อย ๆ หมั่นคนไม่ให้ติดก้นหม้อ
จากที่เคยแกงใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง วันนี้อย่างนานน่าจะเกิน 5 ชั่วโมง กลิ่นตลบอบอวนไปหมด ยิ่งตอน
ที่น้ำงวดน้ำมันจากหมูจะออกมา หอมแดงที่ใส่ไปชุดแรกช่วยให้น้ำแกงเข้มข้น ถึงตอนนี้ต้องหมั่นคนและเติมน้ำที
ละน้อยประมาณ 1 แก้ว แต่เติมบ่อย ๆ
การแกงแบบยอมเสียเวลาช่วยให้เนื้อเปื่อยนุ่ม เข้าเนื้อดีมาก ชิมดูก็รู้ว่าแตกต่างจากที่เคยแกงมาทุกครั้ง หลังจาก
เปื่อยนุ่มได้ที่ ปรุงเปรี้ยวสล่าปู่ใช้กระท้อนซอยตากแห้งกับน้ำมะขามเปียกร่วมกัน หวานจากน้ำตาลปึก ใส่ขิงซอย
กับหอมแดง กระเทียมไทยปอกเปลือกชุดที่ 2 ลงไป รอเปื่อยอีกครั้ง ปิดไฟ
เปลี่ยนถ่ายลงหม้อ มีคนเคยบอกว่าแกงที่มีรสเปรี้ยวไม่ควรแช่ในกระทะทองเหลืองนาน ๆ
จากการเคี่ยวอย่างนาน ทำให้น้ำมันจากมันหมูออกมาอย่างเยอะซึ่งมันจะเข้าล๊อคว่าอาหารของพม่า ไม่ว่าแกงหรืออุ๊บ
จะต้องมีน้ำมันอย่างเยอะ (อ. swin เคยบอกไว้ว่าคนพม่ากินแกงที่มีน้ำมันเยอะเท่าไหร่บ่งบอกถึงฐานะเลยนะครับ)
น้ำมันแบบที่เราเห็นแล้วรู้สึกสยอง แต่ว่าถ้าใครลองเอาน้ำแกงรวมน้ำมันคลุกข้าวสวยกินดู จะติดใจในความเค็ม ๆ มัน
กลายเป็นงั้นเสียอีก
ดูโฉม ฮังเลเครื่องแกงพม่า ว่าน่ากินหรือขอบายครับ
โชคดีมีชัย สุขกายสุขใจในวันสงกรานต์นะครับ ขอมอบมะลิขาวสะอาดแทนใจแด่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้
สวัสดีครับ