สล่าปู่มีโอกาสไปแอ่ว อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ด้วยจุดประสงค์หลักคือไปร่วมงานศพญาติผู้ใหญ่
ความที่เป็นคนก้นครัว เรื่องการเข้าไปเตร่ ๆ แถวโรงครัวย่อมไม่พลาดอยู่แล้ว ยิ่งทราบว่าจะมีเมนู
แกงฮังเล ทำให้ตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เพราะอ.ขุนยวมพี่น้องในพื้นที่จะเป็นไทยใหญ่กันเป็นส่วนใหญ่
แกงฮังเล ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางพม่า เพราะฉะนั้นถ้าพี่น้องไทยใหญ่
เป็นผู้ทำน่าจะถือว่าเป็นของที่ดั้งเดิมชวนให้ศึกษาหาความรู้ไม่น้อย
บอกกล่าวกันก่อนว่า ถึงแม้นจะเป็นท้องถิ่นไทยใหญ่ก็ตาม แต่วิธีการทำของแต่ละที่ แต่ละหมู่บ้านหรือ
ตัวบุคคล อาจมีความแตกต่างกันไปบ้างเล็ก ๆ น้อย อย่างที่สล่าปู่ได้ไปเห็นนี้ แม่ครัวใหญ่เป็นผู้หญิง
เขาเล่าว่าได้เรียนรู้วิธีการทำมาจากคุณพ่อเขาอีกที
การทำกับข้าวเลี้ยงแขกเวลามีงานจะต้องทำที่ละเยอะ ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการท้าทายฝีมือไม่น้อย ฮังเลครั้งนี้
ใช้หมู 90 ก.ก. เป็นสามชั้นหมดเลย
หมูหั่นเป็นชิ้นค่อนข้างใหญ่ เขาให้เหตุผลว่าเผื่อหดทีหลัง
เครื่องปรุงที่เตรียม มีน้ำพริกแกง กระเทียมปอกเปลือก หอมแดงซอย ขิงซอย มะส่าหล่า น้ำตาลทราย
มะขามเปียก เกลือ ซึ่งว่าไปแล้วก็ไม่หนีไปจากที่พวกเรารู้ ๆ กันสักเท่าไหร่
สล่าปู่เคยนำเสนอวิธีการทำแกงฮังเล ในส่วนที่ตัวเองทำไปบ้างแล้ว พอไปเห็นครั้งนี้ความรู้สึกบอกว่ามันแตก
ต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว
เริ่มจากการคลุกเครื่องแกง งานนี้เขาจะทำแบบม้วนเดียวจบเลย คือมีอะไรที่จะต้องใส่เขาใส่ไปทีเดียวเลย
ตามอัตราส่วนจากประสบการณ์ คลุกในกระทะไปเลย จะไม่มีการใส่ การปรุงเป็นตอน ๆ ไป
แล้วโปรดสังเกตการให้ความร้อน เขาจะก่อถ่านข้าง ๆ เตา ไม่ให้เตาได้รับความร้อนจากก้นกระทะโดยตรง
งานนี้ทายได้เลยว่าคงต้องใช้เวลาอย่างมาก แบบว่าอาศัยความใจเย็นสยบความอร่อยเป็นแน่แท้
ระหว่างนั้นก็จะคนเป็นระยะ ๆ ไป น้ำในเนื้อหมูจะเริ่มออก เขาก็จะเปลี่ยนกันเข้าคนหรือช่วยกันทีละ 2 คน
ทุก ๆ 10-15 นาที
ผู้หญิงในภาพนี่แหละครับแม่ครัวใหญ่ อัธยาศรัยไมตรีดีเยี่ยมเลยครับ มีการบอกว่าแกงหม้อนี้ถ้าสุกแล้ว หนูจะให้ลุงชิมเป็นคนแรกเลย
ขออนุญาตกดส่ง 1 ครั้งก่อนนะครับ เน็ทรวนมากแบบว่าอัพรูปไม่ได้เลย กลัวกระทู้หายครับ โปรดติดตามต่อไปตอนเน็ทเป็นใจครับ
เกาะขอบกระทะดู "แกงฮังเลสูตรไทยใหญ่" ที่ขุนยวม
ความที่เป็นคนก้นครัว เรื่องการเข้าไปเตร่ ๆ แถวโรงครัวย่อมไม่พลาดอยู่แล้ว ยิ่งทราบว่าจะมีเมนู
แกงฮังเล ทำให้ตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เพราะอ.ขุนยวมพี่น้องในพื้นที่จะเป็นไทยใหญ่กันเป็นส่วนใหญ่
แกงฮังเล ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางพม่า เพราะฉะนั้นถ้าพี่น้องไทยใหญ่
เป็นผู้ทำน่าจะถือว่าเป็นของที่ดั้งเดิมชวนให้ศึกษาหาความรู้ไม่น้อย
บอกกล่าวกันก่อนว่า ถึงแม้นจะเป็นท้องถิ่นไทยใหญ่ก็ตาม แต่วิธีการทำของแต่ละที่ แต่ละหมู่บ้านหรือ
ตัวบุคคล อาจมีความแตกต่างกันไปบ้างเล็ก ๆ น้อย อย่างที่สล่าปู่ได้ไปเห็นนี้ แม่ครัวใหญ่เป็นผู้หญิง
เขาเล่าว่าได้เรียนรู้วิธีการทำมาจากคุณพ่อเขาอีกที
การทำกับข้าวเลี้ยงแขกเวลามีงานจะต้องทำที่ละเยอะ ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการท้าทายฝีมือไม่น้อย ฮังเลครั้งนี้
ใช้หมู 90 ก.ก. เป็นสามชั้นหมดเลย
หมูหั่นเป็นชิ้นค่อนข้างใหญ่ เขาให้เหตุผลว่าเผื่อหดทีหลัง
เครื่องปรุงที่เตรียม มีน้ำพริกแกง กระเทียมปอกเปลือก หอมแดงซอย ขิงซอย มะส่าหล่า น้ำตาลทราย
มะขามเปียก เกลือ ซึ่งว่าไปแล้วก็ไม่หนีไปจากที่พวกเรารู้ ๆ กันสักเท่าไหร่
สล่าปู่เคยนำเสนอวิธีการทำแกงฮังเล ในส่วนที่ตัวเองทำไปบ้างแล้ว พอไปเห็นครั้งนี้ความรู้สึกบอกว่ามันแตก
ต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว
เริ่มจากการคลุกเครื่องแกง งานนี้เขาจะทำแบบม้วนเดียวจบเลย คือมีอะไรที่จะต้องใส่เขาใส่ไปทีเดียวเลย
ตามอัตราส่วนจากประสบการณ์ คลุกในกระทะไปเลย จะไม่มีการใส่ การปรุงเป็นตอน ๆ ไป
แล้วโปรดสังเกตการให้ความร้อน เขาจะก่อถ่านข้าง ๆ เตา ไม่ให้เตาได้รับความร้อนจากก้นกระทะโดยตรง
งานนี้ทายได้เลยว่าคงต้องใช้เวลาอย่างมาก แบบว่าอาศัยความใจเย็นสยบความอร่อยเป็นแน่แท้
ระหว่างนั้นก็จะคนเป็นระยะ ๆ ไป น้ำในเนื้อหมูจะเริ่มออก เขาก็จะเปลี่ยนกันเข้าคนหรือช่วยกันทีละ 2 คน
ทุก ๆ 10-15 นาที
ผู้หญิงในภาพนี่แหละครับแม่ครัวใหญ่ อัธยาศรัยไมตรีดีเยี่ยมเลยครับ มีการบอกว่าแกงหม้อนี้ถ้าสุกแล้ว หนูจะให้ลุงชิมเป็นคนแรกเลย
ขออนุญาตกดส่ง 1 ครั้งก่อนนะครับ เน็ทรวนมากแบบว่าอัพรูปไม่ได้เลย กลัวกระทู้หายครับ โปรดติดตามต่อไปตอนเน็ทเป็นใจครับ