ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก ประกอบกับราคาน้ำมัน ทองคำ และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ก็ยังอยู่ในแนวโน้มขาลงชัดเจน การลงทุนในหุ้นจึงกลายเป็นทางเลือกเดียวที่น่าสนใจในปีนี้ ทั้งนี้ ข้อมูลที่แสดงในตารางเป็นตัวเลขอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นหลักๆ ของโลกที่ผมคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้นปี แต่ขณะนี้เราเข้ามาสู่ไตรมาส 2 แล้ว จึงขอนำมาทบทวนเพื่อให้เห็นว่า ตลาดไหนที่ผมคาดการณ์ผิด ตลาดไหนที่คาดการณ์ถูก และแนวโน้มช่วงที่เหลือของปีครับ
1. ตลาดหุ้นสหรัฐฯ – อยู่ในขาขึ้นมายาวนานกว่า 5 ปี ซึ่งเป็นการขึ้นล่วงหน้าก่อนที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวจริงๆจังๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมได้คาดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ น่าจะใกล้จุดอิ่มตัวแล้ว ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมามากแล้วและปีนี้น่าจะไปต่อได้ยาก ซึ่งหลังจากผ่านไป 1 ไตรมาส ดัชนี S&P500 ก็เป็นไปอย่างที่คาด คือนิ่งสนิทอยู่กับที่ คาดว่าช่วงที่เหลือของปีนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ น่าจะมีจังหวะปรับฐานให้เราเข้าไปลงทุน แนะนำให้เลือกกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำระดับโลก และเป็นผู้จัดการกองทุนที่ถนัดการเลือกหุ้นรายตัวแบบ Bottom Up ครับ
2. ตลาดหุ้นยุโรป – เป็นหนึ่งในตลาดที่ผมคาดผิด คือเคยคาดว่าน่าจะขึ้นมาเยอะแล้ว และอาจจะไปต่อได้ไม่มาก แต่เมื่อผ่านไปไตรมาสแรก ตลาดหุ้นยุโรปบวกไปแล้ว 20% เชื่อว่าช่วงกลางปีนี้ ตลาดหุ้นยุโรปน่าจะมีจังหวะปรับฐานได้ โดยแนวโน้มระยะกลาง-ยาวยังไปได้ดี สาเหตุหลักมาจากการดำเนินนโยบาย QE จนทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลหลายประเทศติดลบ ในภาวะแบบนี้การลงทุนในหุ้นซึ่งให้ Dividend Yield ระดับ 3-4% จึงน่าสนใจมาก หลักคิดหนึ่งที่ผมแนะนำเสมอก็คือ โปรดอย่ามองว่า หุ้นยุโรป = เศรษฐกิจยุโรป เพราะมีบริษัทชั้นนำจำนวนมากที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นยุโรปแต่มีรายได้เกินครึ่งจากนอกทวีปยุโรป ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะมีทิศทางสดใสแม้ว่าเศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้น
3. ตลาดหุ้นญี่ปุ่น – ยังอยู่ในขาขึ้นต่อเนื่อง และเป็นตลาดหุ้นที่ผมชอบมากตั้งแต่ปีก่อน สาเหตุหลักที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นขึ้นมาแรงรอบนี้ เกิดจากรัฐบาลมีข้อแนะนำให้กองทุนบำนาญต่างๆ ของญี่ปุ่น เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและหลักทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ อย่าลืมว่ากองทุนบำนาญของญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Government Pension Investment Fund (GPIF) มีขนาดสินทรัพย์ 37 ล้านล้านบาท นับเป็นกองทุนบำนาญใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่กว่ากองทุนประกันสังคมถึง 30 เท่า ช่วงที่ผ่านมา กองทุนบำนาญของญี่ปุ่นเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งได้ดอกเบี้ยต่ำมาก รัฐบาลคงเล็งเห็นว่า หากเป็นเช่นนี้ต่อไป คงมีผลตอบแทนไม่เพียงพอรองรับภาระการจ่ายบำนาญในอนาคต จึงควรเพิ่มสัดส่วนหลักทรัพย์เสี่ยงให้มากขึ้น
4. ตลาดหุ้นจีน – เป็นตลาดที่ทำให้หลายคน “ตกรถไฟ” เมื่อปีที่แล้วซื้อขายกันที่ระดับ P/E ไม่ถึง 10 เท่า อยู่ดีๆก็พุ่งแรงจนผลตอบแทน 12 เดือนย้อนหลังสูงเกือบ 100% แต่มีหลายคนเตือนว่า ตลาดหุ้นจีนขึ้นมารอบนี้มี “กลิ่น” ของฟองสบู่ เพราะผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายย่อย (ตรงข้ามกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ขึ้นมาด้วยผู้ลงทุนสถาบัน) วันก่อน Bloomberg พาดหัวข่าวว่า “China’s Big Stock Market Rally is Being Fueled by High-School Dropouts” เพราะกว่า 2 ใน 3 ของนักลงทุนหน้าใหม่จบการศึกษาระดับมัธยมเท่านั้น ใครคิดจะลงทุนในหุ้นจีนช่วงนี้ คงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษครับ
5. ตลาดหุ้นไทย – หลังจากอยู่ในขาขึ้นมายาวนาน 6 ปีเต็ม จาก 400 จุด ขึ้นไปแตะ 1600 จุด ตลาดหุ้นไทยปีนี้มีแนวโน้มไม่สดใสนัก เท่าที่ฟังเสียงนักลงทุนต่างชาติหลายรายค่อนไปทาง underweight ตลาดหุ้นไทย เพราะระดับราคาหุ้นไม่ได้ถูกอีกต่อไป และแม้การเมืองจะค่อนข้างสงบนิ่ง แต่เศรษฐกิจไทยปีนี้ดูจะมีปัญหารุมเร้าหลายด้าน ทีมงานลงทุนของสำนักงานประกันสังคมคาดว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1400 – 1650 จุด และคาดว่าตลาดน่าจะมีโอกาสปรับฐานแรงในช่วงกลางปีครับ
โดยสรุปแล้ว แนวโน้มระยะกลาง - ยาว ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำติดดิน การลงทุนในหุ้นยังน่าจะเป็น “พระเอก” ต่อไปได้อีกสักระยะ แต่ด้วยระดับราคาที่ปรับขึ้นมามากแล้ว คำแนะนำของผมคือ อดทนรอจังหวะเข้าลงทุนในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง เลือกผู้จัดการกองทุนที่ถนัดการเลือกลงทุนแบบ Bottom Up เน้นลงทุนในบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
อย่าลืมว่าการลงทุนในหุ้นให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ต้องหัดลงทุนระยะยาว ตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไป และควรหัดเรียนรู้การลงทุนในตลาดต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงและแสวงหาดอกผลจากการลงทุนเพิ่มขึ้นครับ
ติดตามมุมมองการลงทุนและเคล็ดลับการออมได้ที่
https://www.facebook.com/SSOSavingsClub
วิน พรหมแพทย์, CFA
มุมมองตลาดหุ้นโลก ปี 2558 โดย วิน พรหมแพทย์, CFA
ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก ประกอบกับราคาน้ำมัน ทองคำ และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ก็ยังอยู่ในแนวโน้มขาลงชัดเจน การลงทุนในหุ้นจึงกลายเป็นทางเลือกเดียวที่น่าสนใจในปีนี้ ทั้งนี้ ข้อมูลที่แสดงในตารางเป็นตัวเลขอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นหลักๆ ของโลกที่ผมคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้นปี แต่ขณะนี้เราเข้ามาสู่ไตรมาส 2 แล้ว จึงขอนำมาทบทวนเพื่อให้เห็นว่า ตลาดไหนที่ผมคาดการณ์ผิด ตลาดไหนที่คาดการณ์ถูก และแนวโน้มช่วงที่เหลือของปีครับ
1. ตลาดหุ้นสหรัฐฯ – อยู่ในขาขึ้นมายาวนานกว่า 5 ปี ซึ่งเป็นการขึ้นล่วงหน้าก่อนที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวจริงๆจังๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมได้คาดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ น่าจะใกล้จุดอิ่มตัวแล้ว ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมามากแล้วและปีนี้น่าจะไปต่อได้ยาก ซึ่งหลังจากผ่านไป 1 ไตรมาส ดัชนี S&P500 ก็เป็นไปอย่างที่คาด คือนิ่งสนิทอยู่กับที่ คาดว่าช่วงที่เหลือของปีนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ น่าจะมีจังหวะปรับฐานให้เราเข้าไปลงทุน แนะนำให้เลือกกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำระดับโลก และเป็นผู้จัดการกองทุนที่ถนัดการเลือกหุ้นรายตัวแบบ Bottom Up ครับ
2. ตลาดหุ้นยุโรป – เป็นหนึ่งในตลาดที่ผมคาดผิด คือเคยคาดว่าน่าจะขึ้นมาเยอะแล้ว และอาจจะไปต่อได้ไม่มาก แต่เมื่อผ่านไปไตรมาสแรก ตลาดหุ้นยุโรปบวกไปแล้ว 20% เชื่อว่าช่วงกลางปีนี้ ตลาดหุ้นยุโรปน่าจะมีจังหวะปรับฐานได้ โดยแนวโน้มระยะกลาง-ยาวยังไปได้ดี สาเหตุหลักมาจากการดำเนินนโยบาย QE จนทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลหลายประเทศติดลบ ในภาวะแบบนี้การลงทุนในหุ้นซึ่งให้ Dividend Yield ระดับ 3-4% จึงน่าสนใจมาก หลักคิดหนึ่งที่ผมแนะนำเสมอก็คือ โปรดอย่ามองว่า หุ้นยุโรป = เศรษฐกิจยุโรป เพราะมีบริษัทชั้นนำจำนวนมากที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นยุโรปแต่มีรายได้เกินครึ่งจากนอกทวีปยุโรป ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะมีทิศทางสดใสแม้ว่าเศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้น
3. ตลาดหุ้นญี่ปุ่น – ยังอยู่ในขาขึ้นต่อเนื่อง และเป็นตลาดหุ้นที่ผมชอบมากตั้งแต่ปีก่อน สาเหตุหลักที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นขึ้นมาแรงรอบนี้ เกิดจากรัฐบาลมีข้อแนะนำให้กองทุนบำนาญต่างๆ ของญี่ปุ่น เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและหลักทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ อย่าลืมว่ากองทุนบำนาญของญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Government Pension Investment Fund (GPIF) มีขนาดสินทรัพย์ 37 ล้านล้านบาท นับเป็นกองทุนบำนาญใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่กว่ากองทุนประกันสังคมถึง 30 เท่า ช่วงที่ผ่านมา กองทุนบำนาญของญี่ปุ่นเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งได้ดอกเบี้ยต่ำมาก รัฐบาลคงเล็งเห็นว่า หากเป็นเช่นนี้ต่อไป คงมีผลตอบแทนไม่เพียงพอรองรับภาระการจ่ายบำนาญในอนาคต จึงควรเพิ่มสัดส่วนหลักทรัพย์เสี่ยงให้มากขึ้น
4. ตลาดหุ้นจีน – เป็นตลาดที่ทำให้หลายคน “ตกรถไฟ” เมื่อปีที่แล้วซื้อขายกันที่ระดับ P/E ไม่ถึง 10 เท่า อยู่ดีๆก็พุ่งแรงจนผลตอบแทน 12 เดือนย้อนหลังสูงเกือบ 100% แต่มีหลายคนเตือนว่า ตลาดหุ้นจีนขึ้นมารอบนี้มี “กลิ่น” ของฟองสบู่ เพราะผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายย่อย (ตรงข้ามกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ขึ้นมาด้วยผู้ลงทุนสถาบัน) วันก่อน Bloomberg พาดหัวข่าวว่า “China’s Big Stock Market Rally is Being Fueled by High-School Dropouts” เพราะกว่า 2 ใน 3 ของนักลงทุนหน้าใหม่จบการศึกษาระดับมัธยมเท่านั้น ใครคิดจะลงทุนในหุ้นจีนช่วงนี้ คงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษครับ
5. ตลาดหุ้นไทย – หลังจากอยู่ในขาขึ้นมายาวนาน 6 ปีเต็ม จาก 400 จุด ขึ้นไปแตะ 1600 จุด ตลาดหุ้นไทยปีนี้มีแนวโน้มไม่สดใสนัก เท่าที่ฟังเสียงนักลงทุนต่างชาติหลายรายค่อนไปทาง underweight ตลาดหุ้นไทย เพราะระดับราคาหุ้นไม่ได้ถูกอีกต่อไป และแม้การเมืองจะค่อนข้างสงบนิ่ง แต่เศรษฐกิจไทยปีนี้ดูจะมีปัญหารุมเร้าหลายด้าน ทีมงานลงทุนของสำนักงานประกันสังคมคาดว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1400 – 1650 จุด และคาดว่าตลาดน่าจะมีโอกาสปรับฐานแรงในช่วงกลางปีครับ
โดยสรุปแล้ว แนวโน้มระยะกลาง - ยาว ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำติดดิน การลงทุนในหุ้นยังน่าจะเป็น “พระเอก” ต่อไปได้อีกสักระยะ แต่ด้วยระดับราคาที่ปรับขึ้นมามากแล้ว คำแนะนำของผมคือ อดทนรอจังหวะเข้าลงทุนในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง เลือกผู้จัดการกองทุนที่ถนัดการเลือกลงทุนแบบ Bottom Up เน้นลงทุนในบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
อย่าลืมว่าการลงทุนในหุ้นให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ต้องหัดลงทุนระยะยาว ตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไป และควรหัดเรียนรู้การลงทุนในตลาดต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงและแสวงหาดอกผลจากการลงทุนเพิ่มขึ้นครับ
ติดตามมุมมองการลงทุนและเคล็ดลับการออมได้ที่
https://www.facebook.com/SSOSavingsClub
วิน พรหมแพทย์, CFA