ผู้จัดการกองทุนแนะกระจายความเสี่ยงลงทุนต่างประเทศ ชูญี่ปุ่นเด่นสุด ตามด้วยสหรัฐฯ ยุโรป จีน ส่วนหุ้นไทยไม่ไปไหน เจอมรสุมการเมืองกดดัน เศรษฐกิจโตต่ำกว่าคาด บลจ.กสิกรไทยฯ แนะลงทุนในหุ้น-ตราสารหนี้ ภูมิภาคต่างๆทั่วโลก บลจ.แมนูไลฟ์ มองดอกเบี้ยเริ่มเป็นขาขึ้นหนุนตลาดบอนด์เอเชียระยะสั้นน่าลงทุน
จากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ร้อนแรง"ฐานเศรษฐกิจ"ได้รวบรวมความเห็นและมุมมองต่อการลงทุนจากผู้จัดการลงทุน ซึ่งเป็นนักลงทุนสถาบัน ต่างแนะนำให้กระจายความเสี่ยงไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ
โดยนายสาห์รัช ชัฎสุวรรณ ผู้อำนวยการสายการตลาดธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า จากความไม่ชัดเจนทางการเมืองที่เกิดขึ้นประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของไทยโตต่ำกว่าคาด หากปัญหาการเมืองของไทยยังยืดเยื้อและคลุมเครือ อาจส่งผลกระทบเศรษฐกิจไม่โตตามคาดและลากยาวถึงปีหน้าแน่นอน
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมจึงแนะผู้ลงทุนกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นออกจากสภาวะถดถอย ล่าสุดตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น และบริษัทญี่ปุ่นเริ่มมีกำไรเหตุยอดขายโตจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ส่งผลให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
โดยปีนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นทำกำไรให้นักลงทุนดีที่สุดในโลกโดยดัชนีนิเกอิ 225 ที่เพิ่มขึ้นกว่า 37% นับตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่หุ้นไทยแทบไม่ไปไหน อย่างไรก็ดี จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ตั้งธงไว้ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจของตนอีกเกือบ 2 ปีที่เหลือ ทิสโก้ เวลธ์ จึงมองว่าดัชนีราคาหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้ โดยดูจากอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี(บุ๊กแวลู)ปัจจุบันอยู่ที่ 1.4-1.5 เท่า ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นโลก (MSCI World Index) ที่มีตลาดขนาดใหญ่ซึ่งพัฒนาแล้วเช่นสหรัฐฯและยุโรป ซึ่งอยู่ที่ 1.7 เท่า
"หากพิจารณาจากบุ๊กแวลูของตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นมาซื้อขายในระดับค่าเฉลี่ยก็ยังมีโอกาสที่หุ้นญี่ปุ่นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 20% จากระดับปัจจุบัน"
นายสาห์รัช กล่าวว่านอกจากนี้หากมองเม็ดเงินลงทุนจะเห็นว่าเงินลงทุนหรือ ฟันด์โฟลว์ส่วนใหญ่เริ่มไหลเข้าสู่ตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรปในบางประเทศ เป็นต้น เนื่องจากนักลงทุนมองปีหน้าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มนี้ น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากสหรัฐฯ เองก็เริ่มคิดที่จะชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องหรือคิวอี หากการจ้างงานฟื้นตัวต่อเนื่อง ดังนั้นเม็ดเงินลงทุนที่ไหลบ่าออกมาลงทุนในตลาดเกิดใหม่ทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรน่าจะไหลกลับออกไปอย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
นายต่อ อินทรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) กล่าวว่าตลาดหุ้นในปีหน้าที่น่าสนใจยังคงเป็นตลาด จีน สหรัฐฯ ยุโรปรวมทั้งตลาดเอเชียที่ยังมีการเติบโตที่สูง ซึ่งคาดว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯในปีหน้าอาจจะปรับตัวขึ้นสูง จากมาตรการคิวอี ที่อาจจะเริ่มลดลงในปีหน้า ดังนั้นจึงอาจมองการกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯมากขึ้น
ส่วนในภูมิภาคอาเซียนก็ยังมีการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะฟิลิปปินส์มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องการส่งออกที่ลดลง แต่มองว่าในปลายปีนี้จะเริ่มกลับมาดีขึ้น รวมถึงจากภาคการท่องเที่ยวที่จะเข้ามาตลอดทั้งปี
นายจงรัก รัตนเพียร ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทยฯ เปิดเผยว่า เพื่อสอดรับกับสภาพเศรษฐกิจ ความผันผวนของตลาดและสถานการณ์การลงทุนในช่วงนี้นักลงทุนสามารถลงทุนกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)สำหรับกองทุนภายใต้การบริหารของบริษัท อาทิ กองทุนเปิดเค หุ้นระยะยาว (KEQLTF) และกองทุนเปิดเค หุ้นระยะยาวปันผล (KDLTF) โดยทั้ง 2 กองมีนโยบายลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี ที่มีการกระจายการลงทุนในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และกองทุนเปิดเค โกลบอล แอลโลเคชั่น เพื่อการเลี้ยงชีพ (KGARMF)ซึ่งเน้นการกระจายการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,895 วันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
แนะจัดพอร์ตหนีการเมือง บลจ.ชวนไปนอก ชูหุ้น'ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ'เด่นสุด
จากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ร้อนแรง"ฐานเศรษฐกิจ"ได้รวบรวมความเห็นและมุมมองต่อการลงทุนจากผู้จัดการลงทุน ซึ่งเป็นนักลงทุนสถาบัน ต่างแนะนำให้กระจายความเสี่ยงไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ
โดยนายสาห์รัช ชัฎสุวรรณ ผู้อำนวยการสายการตลาดธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า จากความไม่ชัดเจนทางการเมืองที่เกิดขึ้นประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของไทยโตต่ำกว่าคาด หากปัญหาการเมืองของไทยยังยืดเยื้อและคลุมเครือ อาจส่งผลกระทบเศรษฐกิจไม่โตตามคาดและลากยาวถึงปีหน้าแน่นอน
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมจึงแนะผู้ลงทุนกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นออกจากสภาวะถดถอย ล่าสุดตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น และบริษัทญี่ปุ่นเริ่มมีกำไรเหตุยอดขายโตจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ส่งผลให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
โดยปีนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นทำกำไรให้นักลงทุนดีที่สุดในโลกโดยดัชนีนิเกอิ 225 ที่เพิ่มขึ้นกว่า 37% นับตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่หุ้นไทยแทบไม่ไปไหน อย่างไรก็ดี จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ตั้งธงไว้ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจของตนอีกเกือบ 2 ปีที่เหลือ ทิสโก้ เวลธ์ จึงมองว่าดัชนีราคาหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้ โดยดูจากอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี(บุ๊กแวลู)ปัจจุบันอยู่ที่ 1.4-1.5 เท่า ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นโลก (MSCI World Index) ที่มีตลาดขนาดใหญ่ซึ่งพัฒนาแล้วเช่นสหรัฐฯและยุโรป ซึ่งอยู่ที่ 1.7 เท่า
"หากพิจารณาจากบุ๊กแวลูของตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นมาซื้อขายในระดับค่าเฉลี่ยก็ยังมีโอกาสที่หุ้นญี่ปุ่นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 20% จากระดับปัจจุบัน"
นายสาห์รัช กล่าวว่านอกจากนี้หากมองเม็ดเงินลงทุนจะเห็นว่าเงินลงทุนหรือ ฟันด์โฟลว์ส่วนใหญ่เริ่มไหลเข้าสู่ตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรปในบางประเทศ เป็นต้น เนื่องจากนักลงทุนมองปีหน้าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มนี้ น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากสหรัฐฯ เองก็เริ่มคิดที่จะชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องหรือคิวอี หากการจ้างงานฟื้นตัวต่อเนื่อง ดังนั้นเม็ดเงินลงทุนที่ไหลบ่าออกมาลงทุนในตลาดเกิดใหม่ทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรน่าจะไหลกลับออกไปอย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
นายต่อ อินทรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) กล่าวว่าตลาดหุ้นในปีหน้าที่น่าสนใจยังคงเป็นตลาด จีน สหรัฐฯ ยุโรปรวมทั้งตลาดเอเชียที่ยังมีการเติบโตที่สูง ซึ่งคาดว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯในปีหน้าอาจจะปรับตัวขึ้นสูง จากมาตรการคิวอี ที่อาจจะเริ่มลดลงในปีหน้า ดังนั้นจึงอาจมองการกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯมากขึ้น
ส่วนในภูมิภาคอาเซียนก็ยังมีการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะฟิลิปปินส์มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องการส่งออกที่ลดลง แต่มองว่าในปลายปีนี้จะเริ่มกลับมาดีขึ้น รวมถึงจากภาคการท่องเที่ยวที่จะเข้ามาตลอดทั้งปี
นายจงรัก รัตนเพียร ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทยฯ เปิดเผยว่า เพื่อสอดรับกับสภาพเศรษฐกิจ ความผันผวนของตลาดและสถานการณ์การลงทุนในช่วงนี้นักลงทุนสามารถลงทุนกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)สำหรับกองทุนภายใต้การบริหารของบริษัท อาทิ กองทุนเปิดเค หุ้นระยะยาว (KEQLTF) และกองทุนเปิดเค หุ้นระยะยาวปันผล (KDLTF) โดยทั้ง 2 กองมีนโยบายลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี ที่มีการกระจายการลงทุนในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และกองทุนเปิดเค โกลบอล แอลโลเคชั่น เพื่อการเลี้ยงชีพ (KGARMF)ซึ่งเน้นการกระจายการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,895 วันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556