จุติจิต ของพระอรหันต์

คำถาม จุติจิต ดวงสุดท้ายของจิตทั้งหมดของพระอรหันต์ กำลังเป็นไป จุติจิตนั้น ชื่อว่ากำลังเกิดเพราะถึงอุปาทขณะ มิใช่กำลังดับเพราะยังไม่ถึงภังคขณะ แต่จิตของพระอรหันต์เหล่านั้น ชื่อว่า จักดับเพราะถึงภังคขณะ ต่อจากนั้น จิตอื่น ชื่อว่าจักไม่เกิดขึ้นเพราะมิได้ทำปฏิสนธิ หมายถึงอย่างไรในทัศนะของท่าน?
ดังเนื้อความที่ยกมาข้างล่าง

..............................................................................................................................................................................................

บัณฑิตพึงทราบคำปุจฉาเป็นทวีคูณแต่ยมก     และอรรถเป็นทวี
คูณแต่ปุจฉานั้น.   ก็ในจิตตยมกนี้    มียมกหลายพัน   โดยเอาวาระทั้ง ๓
นี้   คูณด้วยบท  ๑๖  บท    ด้วยอำนาจสราคบทเป็นต้น    และคูณด้วย
๒๖๖  บท   ด้วยอำนาจกุศลบทเป็นต้น ฯ   ก็พระบาลีท่านย่อไว้ว่า   ตโต
ทิคุณา  ปุจฺฉา   ตโต   ทิคุณา   อตฺถา   จ   โหนฺติ    แปลว่า    ปุจฉา
ทวีคูณแต่ยมกนั้น    อรรถ   ( วิสัชนา )    ก็ทวีคูณแต่ปุจฉานั้น   ดังนี้
บัณฑิตพึงทราบการกำหนดบาลีในจิตตยมกนี้ก่อน      ดังพรรณนามา
ฉะนี้.

มาติกาฐปนวาระ  จบ

วิสัชนาวาระ   ( นิทเทส )

บัดนี้    เพื่อทรงวิสัชนาบทมาติกาโดยลำดับตามที่ตั้งไว้    พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงทรงเริ่ม  คำว่า   ยสฺส   จิตฺต   อุปฺปชฺชติ    น   นิรุชฺฌติ
ตสฺส  จิตฺต  นิรุชฺฌิสฺสติ   เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น   
บทว่า    อุปฺปชฺชติ    แปลว่า    กำลังเกิดเพราะถึงพร้อมด้วยอุปปาทขณะ.   
บทว่า   น   นิรุชฺฌติ   แปลว่า   มิใช่กำลังดับ เพราะยังไม่ถึงนิโรธขณะ.
สองบทว่า  ตสฺส   จิตฺตสฺส   ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า   จำเดิมแต่นั้น  จิตของบุคคลนั้น  จักดับ
จักไม่เกิดใช่ไหม  ดังนี้.   
สองบทว่า   เตส  จิตฺต  ความว่า  อุปปาทขณะ

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 861

แห่งจุติจิตของดวงสุดท้ายของจิตทั้งหมด   ของพระขีณาสพเหล่าใด  ผู้มี
วัฏฏทุกข์อันขาดแล้ว    กำลังเป็นไป    จุติจิตนั้นนั่นแหละ     ของพระ-
ขีณาสพเหล่านั้น   ชื่อว่า  กำลังเกิดเพราะถึงอุปาทะ  มิใช่กำลังดับเพราะ
ยังไม่ถึงภังคขณะ.
   แต่บัดนี้  จิตของพระขีณาสพเหล่านั้น  ชื่อว่า จักดับ
เพราะถึงภังคขณะ.   ต่อจากนั้น   จิตอื่น  ชื่อว่า  จักไม่เกิดขึ้นเพราะมิได้
ทำปฏิสนธิ.
  บทว่า   อิตเรส    ได้แก่    จิตของพระเสกขะและปุถุชน
ที่เหลือเว้นพระขีณาสพผู้ถึงพร้อมด้วยปัจฉิมจิต.   

สองบทว่า  นิรุชฺฌิสฺสติ  เจว  อุปฺปชฺชิสฺสติ   จ   ความว่า   จิตนั้นใด  ถึงอุปปาทขณะ
จิตนั้นนั่นแหละ  จักดับไป.  ส่วนจิตอื่น  จักเกิดด้วย  จักดับด้วย  ในอัตภาพนั้น  หรือว่าในอัตตภาพอื่น  
เพราะฉะนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาจิตของพระขีณาสพนั้นนั่นแหละ.  ในปุจฉาวิสัชนาที่ ๒
จึงตรัสว่า   อามันตา    ดังนี้.   

สองบทว่า   นุปฺปชฺชติ  นิรุชฺฌิสฺสติ
ได้แก่  ปัจฉิมจิตของพระอรหันต์ในภังคขณะบ้าง  จิตที่กำลังดับของบุคคล
ที่เหลือบ้าง.   ก็จำเดิมแต่จิตนั้นมา    ใคร ๆ อาจกล่าวว่า    จิตของพระ-
อรหันต์จักไม่ดับก่อน    แต่ไม่อาจกล่าวว่าจักเกิด.     ใคร ๆ อาจกล่าวว่า
จิตของบุคคลที่เหลือ   จักเกิด  จักไม่อาจกล่าว่า  จักไม่ดับ.  เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงทรงปฏิเสธว่า  โน   ดังนี้.

ในทุติยปัญหา  จิตของบุคคลใด   จักไม่ดับ   แต่จักเกิด  บุคคล
นั้นแหละมิได้มี  เพราะฉะนั้น    พระองค์จึงทรงห้ามด้วยคำว่า    นตฺถิ
( ปฏิกเขปวิสัชนา)   ดังนี้.

http://www.tripitaka91.com/91book/book83/851_900.htm#860
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่