เรียนพระอาจารย์: เมื่อไม่ใช่เรา แล้ว สภาพธรรมใด ที่ไปพระนิพพาน? พระนิพพานไม่ใช่จิต, เจตสิก, รูป ใช่ไหมครับ?

เรียนพระอาจารย์ทุกท่าน:   เมื่อไม่ใช่เรา แล้ว สภาพธรรมใด ที่ไปพระนิพพาน?   พระนิพพานไม่ใช่จิต, เจตสิก, รูป ใช่ไหมครับ?


อ้างอิง 1:

นิพพาน ยังมีจิตอยู่ไหมครับ
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=18877

ความคิดเห็นที่ 4  
wannee.s
วันที่ 7 ส.ค. 2554 15:23

นิพพานเป็นนามธรรม    ไม่ใช่จิต  เจตสิก   รูป    นิพพานไม่เกิด   ไม่ดับ    นิพพานเที่ยง

และเป็นสุข    พระอริยบุคคลเท่านั้นที่จะประจักษ์แจ้งพระนิพพานได้    ปุถุชนยังไม่ไปถึง

พระนิพพาน    นอกจากอบรมเหตุ  คือการเจริญอริยมรรคมีองค์แปด  เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม

ก็ทำให้ข้ามพ้นจากความเป็นปุถุชน   สู่ความเป็นพระอริยบุคคลได้ค่ะ

_________________________________________________________________________________


อ้างอิง 2:
For รู้ชัด&รู้แจ้ง เรียนถามAllอาจารย์&พระอาจารย์ "กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลก็ได้ อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลก็ได้" อย่างไรครับ?
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3df775ca8a71f8a7&table=%2Fguru%2Fuser%3Fuserid%3D05738802721167187193%26tab%3Dwtmtoa

_________________________________________________________________________________


อ้างอิง 3:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5185&Z=5246

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

อักโกสกสูตรที่ ๒

[๖๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                      ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้น
                      แล้ว เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่
                      ที่ไหน
...

[๖๓๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อักโกสกภารทวาชพราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ
ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุ
ย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น


***** "ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ" *****
_________________________________________________________________________________


อ้างอิง 4:
ปกตูปนิสสยปัจจัย....กุศล เป็นปกตูปนิสยปัจจัยให้เกิด อกุศล
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=10066


ขอนอบน้อมแด่

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.



ข้อความบางตอนจากการถอดเทป


การบรรยายธรรม

โดย อาจารย์สุจินต์  บริหารวนเขตต์

ณ ตึกสภาการศึกษา

มหามกุฏราชวิทยาลัย


......................................



สำหรับ กุศล เป็นปัจจัยให้เกิด กุศล

คงไม่มีปัญหาอะไร

แต่ถ้าจะทราบว่า การที่จะให้กุศลเพิ่มพูนขึ้นได้

ก็จะต้องอบรมเจริญกุศล จนเป็นปกติ

จนเป็นสภาพธรรม ที่มีกำลัง

สามารถที่จะทำให้กุศลต่อๆไป เกิดขึ้น

เจริญขึ้นได้ และ เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ.

................................................



กุศล เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศล

เช่น โลภะเจตสิก สามารถพอใจ ในทุกสิ่งทุกอย่างได้

หรือ มานะเจตสิก  ความสำคัญตน ก็สามารถที่จะเกิดขึ้น

เพราะชาติสกุล ทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ หรือวิชาความรู้ ก็ได้.

............................................



เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญสติปัฏฐาน

จะทำให้รู้ลักษณะของจิตจริงๆว่า

ขณะใด.......อกุศล เกิด คั่น กุศล บ้าง.

...........................................



สำหรับกุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศลนั้น

ก็เพราะเหตุว่า อกุศล ยังไม่ได้ดับไป

เพราะฉะนั้น บางท่าน

เป็นผู้ที่มี สัทธา ในพระศาสนา

มีการศึกษาพระธรรม มีความรู้ในพระธรรมที่ได้ศึกษา

แต่ว่า เกิดมานะ คือ ความสำคัญตน

เพราะ กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศล.

..................................................



บางท่าน คิดว่าท่านเข้าใจพระธรรม

แจ่มแจ้งดีกว่าบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าจะเป็นความจริง

ก็ไม่ควรจะให้เกิด ความสำคัญตน ขึ้น

ไม่ควรที่จะให้เกิด การยกตน ด้วยโลภะ

หรือ ข่มบุคคลอื่น ด้วยโทสะ

นั่นคือ ลักษณะของ มานะ.

...............................................

ไม่ว่าจะเป็น กุศล ประเภทหนึ่ง ประเภทใดก็ตาม

เช่น การให้ทาน เมื่อให้แล้ว

บางท่าน ก็อาจจะยกตน ด้วยโลภะ

เมื่อพูดถึงทานกุศล ที่ตนได้กระทำแล้ว

เช่น เป็นกุศลที่ปราณีต เป็นกุศล ที่คนอื่นยากที่จะทำได้

ในขณะใดก็ตาม ที่มีการยกตน

ให้ทราบว่า ในขณะนั้นเป็นเพราะ โลภะ

โดยการมีสัทธา และกุศลนั่นเอง

เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย.

...................................................



หรือในขณะที่ข่มบุคคลอื่น

ขอให้สังเกต ลักษณะของจิต ในเวลาที่กำลังข่มบุคคลอื่น

ถ้าเป็นคนที่มีเมตตา ต่อบุคคลอื่น จะข่มบุคคลอื่นไม่ได้เลย

ไม่ว่า ด้วยการทำกุศลใดๆ หรือ ไม่ว่าด้วยสัทธาของตน

หรือ ด้วยสติปัญญาของตน ก็ตาม.

..................................................



แต่ขณะใดก็ตาม ที่มีการข่มบุคคลอื่น

แสดงว่า ตนเองรู้มากกว่า และบุคคลอื่น รู้น้อยกว่า

ในขณะนั้นให้ทราบว่า

แม้กุศล นั้นเอง ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย

ที่ทำให้เกิด อกุศล เช่นความสำคัญตน เกิดมานะขึ้นได้.




ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่

และสรรพสัตว์.

............................




***** "ต้องอบรมเจริญกุศล จนเป็นปกติ" *****

***** "ต้องอบรมเจริญกุศล จนเป็นปกติ" *****


***** "สำหรับกุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศลนั้น ก็เพราะเหตุว่า อกุศล ยังไม่ได้ดับไป" *****

***** "สำหรับกุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศลนั้น ก็เพราะเหตุว่า อกุศล ยังไม่ได้ดับไป" *****


_________________________________________________________________________________



อ้างอิง 5:
http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=24

นานาปัญหา  
โดย คณะสหายธรรม


๒๔. พระอรหันต์นิพพานแล้วเหลือแต่จิตบริสุทธิ์หรือ
     ถาม  ผมอยากทราบว่า ตามหลักอภิธรรมกล่าวว่าจิตกับวิญญาณขันธ์เป็นสิ่งเดียวกัน ใช่หรือไม่ครับ ถ้าใช่อย่างนั้น เวลาบรรลุเป็นพระอรหันต์ และดับขันธ์ปรินิพพานเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน ขันธ์ทั้ง ๕ ดับหมด ก็สูญหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างนะสิครับ หรือความจริงเป็นอย่างไร
     มีบางท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า จิตถูกหุ้มห่อด้วยขันธ์ทั้ง ๕ เป็นชั้นที่ ๑ และถูกหุ้มห่อด้วยวิบากเป็นชั้นที่ ๒ เมื่อทำลายกรรมและวิบากหมดแล้ว บรรลุเป็นอรหันต์เหลือแค่ขันธ์ ๕ ทรงอยู่อย่างบริสุทธิ์ ต่อเมื่อดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ขันธ์ทั้ง ๕ ก็ดับหมดเหลือแต่จิตล้วนๆ บริสุทธิ์ (เรียกว่า เกวล) ถึงบรมสันติสุขสถาพร ตลอดกาลนิรันดร
     ขอคำอธิบายจากคณะสหายธรรมด้วยว่า ความจริงแล้วเป็นอย่างไรกันแน่ในเรื่องนี้
บันทึก #2 18 มิ.ย. 2556, 21:26:05
ตอบ  ก่อนอื่นขอเรียนว่า หลักธรรมในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะหลักธรรมขั้นสูง คือมรรคผลนิพพานนั้น บางนิกายก็มีความเห็นแตกต่างไปจากนิกายเถรวาทที่เรานับถือกันอยู่ คำถามที่คุณตั้งมานั้นจะเป็นคำสอนของผู้ใดนิกายไหนคณะไม่อาจทราบได้ แต่คำสอนในนิกายเถรวาทไม่ใช่เช่นนั้น เพราะฉะนั้น คำตอบที่จะตอบต่อไปนี้จึงเป็นคำตอบที่ได้มาจากคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระอรหันต์สาวกและอรรถกถาในนิกายเถรวาทเท่านั้น
     ในพระอภิธรรม พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติชื่อของสภาพรู้ คือจิตไว้ถึง ๙ ชื่อดังนี้คือ
               ๑. จิต ๒. มนะ ๓. มานสะ
               ๔. หทยะ ๕. ปัณฑระ ๖. มนายตนะ
               ๗. มนินทรีย์ ๘. วิญญาณ ๙. วิญญาณขันธ์
     ซึ่งจะใช้ชื่อใดก็หมายความถึงจิตทั้งสิ้น ในบรรดาขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณขันธ์ก็คือจิตนั่นเอง
     ขันธ์ทั้ง ๕ นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ถ้าขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ดับไปแล้ว คือปรินิพพานแล้ว เหลือแต่จิตล้วนบริสุทธิ์ ก็แสดงว่าขันธ์ของพระอรหันต์ดับไปเพียง ๔ ขันธ์ วิญญาณขันธ์คือจิตมิได้ดับด้วยจึงยังคงเหลือบริสุทธิ์อยู่ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง จิตก็เที่ยง เพราะดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ นี่ก็ขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วจึงถูกต้องไปไม่ได้

     อนึ่ง ในพระอภิธรรมท่านแสดงว่านามขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เมื่อเกิดขึ้นต้องเกิดพร้อมกัน ๔ ขันธ์ และเมื่อดับก็ดับไปพร้อมกันทั้ง ๔ ขันธ์ ไม่ใช่ ๓ ขันธ์ดับ วิญญาณขันธ์ไม่ดับ เมื่อรูปกายอันเป็นรูปขันธ์แตกดับ นามขันธ์ทั้ง ๔ ก็อยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับด้วย และต้องแตกดับพร้อมกันทั้ง ๔ ขันธ์ด้วย ไม่ใช่ดับเพียง ๓ ขันธ์ เหลือวิญญาณขันธ์คือจิตไว้ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่ใช่ศาสนาพุทธในนิกายเถรวาท
     ธรรมดาขันธ์ ๕ เป็นสังขตธรรมหรือสังขารธรรม คือธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและมีสภาพเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ปราศจากเหตุปัจจัยแล้ว ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิด ขันธ์ ๕ ก็เกิด เมื่อหมดเหตุปัจจัย ขันธ์ ๕ ก็ดับ
     ดังที่ พระอัสสชิกล่าวแก่อุปติสสะปริพาชก ซึ่งภายหลังคือท่านพระสารีบุตร ว่า
     “ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสถึงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้”
     ด้วยเหตุนี้ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์เมื่อดับ คือปรินิพพานแล้ว เพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดแล้วจึงไม่เกิดอีก ไม่ว่าจะเป็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเหลือแต่จิตล้วนๆ บริสุทธิ์ ในเมื่อจิตก็คือวิญญาณขันธ์ เมื่อวิญญาณขันธ์ซึ่งรวมอยู่ในขันธ์ ๕ ดับ การจะเหลือแก่จิตบริสุทธิ์จึงเป็นไปไม่ได้

ใน พรหมชาลสูตร ที. สีลขันธวรรค ข้อ ๙๐ ตอนท้าย
      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ภิกษุว่า
      “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้วเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต”
      จากพระพุทธดำรัสนี้ก็แสดงชัดว่า ผู้ที่ทำลายตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดในภพต่างๆ ได้ขาดแล้ว เป็นพระอรหันต์แล้วยังมีชีวิตอยู่ เทวดาและมนุษย์ย่อมเห็นกายของพระอรหันต์ได้ แต่เมื่อพระอรหันต์สิ้นชีวิตแล้วคือปรินิพพานแล้ว เทวดาและมนุษย์ย่อมไม่เห็นกายของท่าน เพราะกายของท่านดับแล้วไม่เกิดอีกแล้ว
      อนึ่ง การดับของขันธ์ ๕ ท่านไม่เรียกว่าสูญ ในเมื่อขันธ์ ๕ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ดับไปก็เพราะสิ้นเหตุปัจจัย ท่านจึงเรียกการไม่ได้เกิดอีกของขันธ์ ๕ ว่า เพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะให้เกิด ขันธ์ ๕ ก็ไม่เกิด
      อีกอย่างหนึ่ง จุติของพระอรหันต์ท่านเรียกว่า จริมะจิต คือเป็นจิตดวงสุดท้ายในสังสารวัฏ สำหรับบุคคลที่ตายแล้วยังต้องเกิดอีก จิตดวงสุดท้ายในแต่ละชาติที่ตายนั้นเรียกว่า จุติจิต เพราะจุติจิตดับแล้วมีปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นในภพใหม่ชาติใหม่อีก ทั้งนี้บุคคลที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์นั้น ไม่ว่าจะเกิดมากี่ร้อย กี่พัน กี่แสน กี่โกฏิชาติ จิตก็เกิดดับติดต่อกันมาตลอดร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติ โกฏิชาติ คือจุติจิตดับแล้วปฏิสนธิจิตก็เกิดสืบต่อไปอีกทุกๆ ชาติ
      ต่อเมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วนั่นแหละ จุติของท่านจึงชื่อว่าจริมะจิต คือเป็นจิตดวงสุดท้ายของการเกิดมาในสังสารวัฏอันยาวนานนั้น เพราะไม่ปฏิสนธิจิตสืบต่ออีก เหมือนในชาติที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ นี่คือเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในเรื่องนี้และในนิกายเถรวาทนี้

_________________________________________________________________________________
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่