สอุปาทิเสสะบุคคล ต่างกับ สอุปาทิเสสนิพพาน อย่างไร.......สอุปาทิเสสนิพพาน ต่างกับ อนุปาทิเสสนิพพาน อย่างไร

สอุปาทิเสสะบุคคล ต่างกับ สอุปาทิเสสนิพพาน อย่างไร
1.ถ้าเป็น..บุคคล (บุคคลในที่นี้ เป็นสมมุติบัญญัติ)
สอุปาทิเสสะบุคคล = พระเสขะ (ยกเว้นพระอรหันต์)
อนุปาทิเสสบุคคล  = พระอเสขะ  (พระอรหันต์)
--------------------------------------------
@...อ้างอิง(1.1) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
@...อ้างอิง(1.2) สอุปาทิเสสสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=8018&Z=8096
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
----------------------------------------------------
2.ถ้าเป็นสภาวะ..นิพพาน 
สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ (ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ)
อนุปาทิเสสนิพพาน คือ  พระอรหันต์ที่สิ้นชีวิต (ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ)
--------------------------------------------
 @...อ้างอิง(2.1)  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
 @...อ้างอิง(2.2) ธาตุสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5242&Z=5274
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
-----------------------------------------------

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ต่างกันอย่างไร
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ@@...จาก ธาตุสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5242&Z=5274
จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ตรัสว่า" @ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ "
........@ .อรรถกถาธาตุสูตร.
บทว่า มนาปามนาปํ ได้แก่ อารมณ์มีรูปที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจเป็นต้น.
บทว่า ตสฺส ติฏฺฐนฺเตว ปญฺจินฺทริยานิ ความว่า อินทรีย์ ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นต้นของพระอรหันต์นั้น ยังตั้งอยู่ตราบเท่ากรรมอันเป็นเหตุให้เกิดในภพสุดท้าย ยังไม่สิ้นไป.
.......(จขกท...) ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์....หมายถึงท่านยังรับอารมณ์หรือ อายตนะภายนอกทั้ง6 (รูป เสียง กลิ่น...) ยังเสวยสุขและทุกข์ หมายถึงท่านรับอารมณ์ (ผัสสะ)แล้ว เวทนาเกิด แต่ไม่ไปปรุงแต่งเป็น ชอบหรือไม่ชอบ (ตัณหา) อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ตราบเท่ากรรมอันเป็นเหตุให้เกิดในภพสุดท้าย ยังไม่สิ้นไป

---------------------------
 อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ@@...จาก ธาตุสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5242&Z=5274
จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ตรัสว่า"ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบเวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"
.......@ .อรรถกถาธาตุสูตร.......บทว่า สพฺพเวทยิตานิ ได้แก่ เวทนาทั้งหมดมีสุขเวทนาเป็นต้น อัพยากตเวทนา กุสลากุสลเวทนา ท่านละได้ก่อนแล้ว.
......บทว่า อนภินนฺทิตานิ ได้แก่ อันกิเลสมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินไม่ได้แล้ว
......บทว่า สีติภวิสฺสนฺติ ได้แก่ จักเย็นด้วยความสงบส่วนเดียว ได้แก่ความสงบระงับความกระวนกระวายในสังขาร คือจักดับด้วยการดับอันไม่มีปฏิสนธิ. มิใช่เพียงเวทนาอย่างเดียวเท่านั้นจักดับ แม้ขันธ์ ๕ ทั้งหมดในสันดานของพระขีณาสพก็จักดับ.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่