บทนำ
พระตถาคตแสดงพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ย่อมไม่ขัดแย้งกัน
เมื่อมีภิกษุรูปใดก็ตาม ตีความพระสูตรให้แปลกออกไปจากเดิม
ความหมายของธรรมที่ตีความออกมาแล้วขัดแย้งกัน ควรตรวจสอบความถูกต้องของการตีความนั้น
ผู้รวบรวม ได้เคยอ่านการตีความพระอรหันต์ จากลายมือของพุทธทาส ข้อความว่า
ภาพที่ 1 ลายมือพุทธทาส เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ พระอภิธรรม และ สอุปาทเสสนิพพาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในกระทู้นี้ ผู้รวบรวมมุ่งเน้นไปที่การอธิบายความหมาย สอุปาทิเสสนิพพาน
พินัยกรรม (โดยพุทธทาส)
พระอรหันต์ ที่ยังมีรู้สึก สุขทุกข์ โสมนัส หัวเราะได้ ยังเพียงบรรลุ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ตามนัย อิติ.วุ.)
ยังไม่มีปรมานุตตรสุญญตา อินทรีย์ยังไม่ถูกกำจัดโดยสิ้นเชิง ยังโสมนัส โทมนัสได้
ยังไม่เหนือของคู่ ยังไม่เป็นอัพยากฤต ยังบัญญัติได้
สูตรที่อ้างอิงคือ นิพพานธาตุสุตร [ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ]
ต่อมา พบข้อความเขียนด้วยลายมือ ในหนังสือ ชื่อ "เทศนาชุดสุดท้ายของพุทธทาส หัวใจนิพพาน"
พบคำที่อธิบายภาพที่ 1
และคำอธิบาย สอุปาทิเสสนิพพาน ในหน้า ๖๒ อธิบายสอุปาทิเสสนิพพาน (คลิกดูจากภาพที่ซ่อนไว้)
ภาพที่ 2
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การเขียนอธิบาย นิพพาน ที่มาในสัลลสูตร คลิกดูภาพ
ภาพที่ 3
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขเพิ่มเติม : พุทธทาสเขียนไว้ว่า อริยสาวกเสวยทุกขเวทนาแต่ทางกาย (ศรดอกเดียว)
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
1. นิพพานธาตุสูตร
[๔๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้
นิพพานธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ เพราะ
อินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป
ภิกษุนั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของภิกษุนั้น เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=10384&w=%CD%D4%B9%B7%C3%D5%C2%EC_%F5
แก้ไขเพิ่มเติม อ่านอรรถกถาที่นี่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


ปจฺจนุโภติ หมายถึง จึงประสบ ได้แก่ ย่อมเสวย คือได้
ตำว่า เสวยสุขและทุกข์อยู่ (สุขทุกฺขํ ปฏิสํเวเทติ) ได้แก่ เสวยสุขและทุกข์ที่เป็นวิบาก คือได้ด้วยทวาร (อินทรีย์ ๕) เหล่านั้น

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
2. สัลลสูตร
ว่าด้วยลูกศร
[๒๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
อริยสาวกผู้ได้สดับก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ในชน ๒ จำพวกนั้น มีอะไรเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน
เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้ง
หลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนาถูกต้อง
ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก
เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการเพราะลูกศร คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
แม้ฉันใด
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร
ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
อนึ่ง เขาถูกทุกขเวทนานั้นแลถูกต้องแล้ว ย่อมขัดเคือง ปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
ย่อมไหลไปตามเขาผู้ขัดเคืองในเพราะทุกขเวทนา เขาถูกทุกขเวทนาถูกต้องแล้วก็ยังเพลิดเพลินกามสุข
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนั้นไม่รู้ชัดเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนานอกจากกามสุข
เมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยในสุขเวทนานั้นย่อมไหลไปตาม
เขาย่อมไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาย่อมไหลไปตามเขา
เสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ (ด้วยกิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น
เสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ (ด้วยกิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น
และเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส’
เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วน
อริยสาวกผู้ได้สดับถูกทุกขเวทนาถูกต้อง
ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ
นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ไม่ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒
เมื่อเป็นเช่นนี้บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียวแม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง
เขาย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ
อ่านเพิ่มเติมที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=7699
วิเคราะห์การอธิบาย
นิพพานธาตุสูตร และ สัลลสูตร มีความมหมายไม่ขัดแย้งกัน
กล่าวคือ พระอรหันต์ประเภท สอุปาทิเสสนิพพาน และ พระอริยสาวกผู้ได้สดับ (ในสูตรนี้หมายถึงพระอรหันต์ประเภทสอุปาทิเสสนิพพาน)
ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกัน มีการเสวยเวทนาเช่นเดียวกัน
เพียงแต่แตกต่างกันที่ ในสัลลสูตร นั้น พระตถาคตทรงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอริยะสาวก
วิเคราะห์ 1.
ความเห็นพุทธทาส จากภาพ ที่อยู่ส่วนบนของกระทู้นี้
ภาพลายมือพุทธทาสที่กล่าวถึง นิพพานธาตุสูตร นั้น อธิบายไม่ตรงกับความหมายของพระอรหันต์
ในพระสูตร พระตถาคต กล่าวถึงอินทรีย์ ๕
เฉพาะอินทรีย์ ๕ ไม่สามารถเสวยเวทนาโสมนัส และ โทมนัส ซึ่งต้องเกิดที่ใจ (อินทรีย ๖)
และ แม้ว่าเป็นอินทรีย์ ๖ พระอรหันต์ย่อมไม่เสวยอารมณ์โทมนัสทางใจ แต่พุทธทาส เขียนว่า ยังมีโสมนัสและโทมนัส (จึงผิด)
การแสดงความเห็นดังกล่าวจึงขัดแย้งกับพระสูตรต่อมาที่พุทธทาสเขียนไว้ด้วยลายมือตนเอง คือ สัลลสูตร
นอกจากจะตีความผิดพลาดแล้ว ยังเป็นการยัดคำปลอมคือ อินทรีย์ ๖ ใส่ในการอธิบายพระสูตร

แก้ไขเพิ่มเติม
ความเห็นของพุทธทาสขัดแย้งกัน หมายถึง
ภาพซ้ายมือ นิพพานธาตุสูตร พระอรหันต์ มีโทมนัส VS ภาพขวามือ สัลลสูตร พระอรหันต์ ไม่มีโทมนัส
วิเคราะห์ 2.
ภาพเปรียบเทียบ การแสดงความเห็นของพุทธทาส ขัดแย้งกับพระสูตร
การอธิบาย คำที่พุทธทาสเขียนไว้ว่า อินทรีย์ ๕ หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นถูกต้องแล้ว
อินทรีย์ ๖ หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ถูกต้องเช่นกัน
แต่การที่พุทธทาสเขียนว่า
อินทรีย์อะไรก็ได้ จึงผิดไปจากพระสูตร
พระสูตรหมายถึงเพียงอินทรีย์ ๕ ไม่ใช่อินทรีย์ ๖ (คือไม่รวม ใจ)
ทำให้พุทธทาสตีความไปว่า พระอรหันต์ยังคงเสวยอารมณ์เวทนาทางใจ คือยังมีโสมนัส (ถูก) โทมนัส (ผิด)
เรื่องแบบนี้ ผู้ที่เรียนอภิธรรมชั้นต้น (จูฬตรี ก็สามารถอธิบายได้ถูกต้อง)
วิเคราะห์ 3
ภาพเปรียบเทียบ พุทธทาสเขียนบันทึก อธิบายสัลลสูตร ถูกต้องตรงตามนัยของพระอริยะสาวก ซึ่ง ไม่เสวยเวทนาทางใจ ไม่โทมนัส
และการอธิบายแบบนี้ จะไม่ขัดแย้งกันกับ นิพพานธาตุสูตร
เรียนเพื่อนสมาชิก : ปรับปรุงแก้ไขภาพและข้อความ การตั้งกระทู้นี้ มีความมุ่งหมายสื่อให้เห็นว่า
1. นิพพานธาตุสูตร พระตถาคตกล่าวถึงการรับรู้อารมณ์ผ่านทางอินทรีย์ ๕ (ไม่ใช่อินทรีย์ ๖)
2. สัลลสูตร แสดง พระอริยสาวก เมื่อสัมผัสกับทุกข์ เช่นทุกข์ทางกาย ก็เสวยเวทนาทางกาย ไม่เสวยเวทนาทางใจ
3. ชี้ชัดให้เห็นว่า พระอรหันต์ประเภทสอุปาทิเสสนิพพาน ปราศจากโทมนัส (สิ้นไปแล้วซึ่งโทสะ)
จิตพระอรหันต์ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ มีความสุขอย่างยิ่งเพราะปลอดไร้ซึ่งกิเลสตัณหารบกวน
ข้อคิดเห็นของผู้รวบรวม
แม้ว่าพุทธทาส บวชนาน เขียนหนังสือมาก ค้นคว้ามาก ก็ยังมีโอกาสที่จะตีความอธิบายความหมายบาลีพุทธพจน์ผิดพลาด
พุทธทาสกล่าวตู่พระธรรมของพระตถาคตไว้มาก กล่าวเท็จกล่าวหาผู้อื่นไว้มาก
ดังนั้น การที่จะเชื่อพุทธทาสในเรื่องอะไรก็ตาม ต้องพิจารณาให้มาก ใช้หลักมหาปเทส ๔ ให้มาก
ขอให้ผู้ร่วมศึกษา ร่วมวิเคราะห์อิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย อิงหลักฐาน
ขอบคุณครับ
พุทธทาส:พระอรหันต์ที่ยังมีรู้สึก สุขทุกข์ โสมนัส..(ตามนัย อิติ.วุ) ยังโสมนัส โทมนัสได้ // คำสอนนี้ผิดไปจากพระไตรปิฎก
พระตถาคตแสดงพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ย่อมไม่ขัดแย้งกัน
เมื่อมีภิกษุรูปใดก็ตาม ตีความพระสูตรให้แปลกออกไปจากเดิม
ความหมายของธรรมที่ตีความออกมาแล้วขัดแย้งกัน ควรตรวจสอบความถูกต้องของการตีความนั้น
ผู้รวบรวม ได้เคยอ่านการตีความพระอรหันต์ จากลายมือของพุทธทาส ข้อความว่า
ภาพที่ 1 ลายมือพุทธทาส เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ พระอภิธรรม และ สอุปาทเสสนิพพาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในกระทู้นี้ ผู้รวบรวมมุ่งเน้นไปที่การอธิบายความหมาย สอุปาทิเสสนิพพาน
พินัยกรรม (โดยพุทธทาส)
พระอรหันต์ ที่ยังมีรู้สึก สุขทุกข์ โสมนัส หัวเราะได้ ยังเพียงบรรลุ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ตามนัย อิติ.วุ.)
ยังไม่มีปรมานุตตรสุญญตา อินทรีย์ยังไม่ถูกกำจัดโดยสิ้นเชิง ยังโสมนัส โทมนัสได้
ยังไม่เหนือของคู่ ยังไม่เป็นอัพยากฤต ยังบัญญัติได้
สูตรที่อ้างอิงคือ นิพพานธาตุสุตร [ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ]
ต่อมา พบข้อความเขียนด้วยลายมือ ในหนังสือ ชื่อ "เทศนาชุดสุดท้ายของพุทธทาส หัวใจนิพพาน"
พบคำที่อธิบายภาพที่ 1
และคำอธิบาย สอุปาทิเสสนิพพาน ในหน้า ๖๒ อธิบายสอุปาทิเสสนิพพาน (คลิกดูจากภาพที่ซ่อนไว้)
ภาพที่ 2
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การเขียนอธิบาย นิพพาน ที่มาในสัลลสูตร คลิกดูภาพ
ภาพที่ 3
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
1. นิพพานธาตุสูตร
[๔๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้
นิพพานธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ เพราะอินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป
ภิกษุนั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของภิกษุนั้น เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=10384&w=%CD%D4%B9%B7%C3%D5%C2%EC_%F5
แก้ไขเพิ่มเติม อ่านอรรถกถาที่นี่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
2. สัลลสูตร
ว่าด้วยลูกศร
[๒๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
อริยสาวกผู้ได้สดับก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ในชน ๒ จำพวกนั้น มีอะไรเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน
เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้ง
หลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนาถูกต้อง
ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก
เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการเพราะลูกศร คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
แม้ฉันใด
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร
ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
อนึ่ง เขาถูกทุกขเวทนานั้นแลถูกต้องแล้ว ย่อมขัดเคือง ปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
ย่อมไหลไปตามเขาผู้ขัดเคืองในเพราะทุกขเวทนา เขาถูกทุกขเวทนาถูกต้องแล้วก็ยังเพลิดเพลินกามสุข
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนั้นไม่รู้ชัดเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนานอกจากกามสุข
เมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยในสุขเวทนานั้นย่อมไหลไปตาม
เขาย่อมไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาย่อมไหลไปตามเขา
เสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ (ด้วยกิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น
เสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ (ด้วยกิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น
และเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส’
เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับถูกทุกขเวทนาถูกต้อง
ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ
นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ไม่ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒
เมื่อเป็นเช่นนี้บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียวแม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง
เขาย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ
อ่านเพิ่มเติมที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=7699
วิเคราะห์การอธิบาย
นิพพานธาตุสูตร และ สัลลสูตร มีความมหมายไม่ขัดแย้งกัน
กล่าวคือ พระอรหันต์ประเภท สอุปาทิเสสนิพพาน และ พระอริยสาวกผู้ได้สดับ (ในสูตรนี้หมายถึงพระอรหันต์ประเภทสอุปาทิเสสนิพพาน)
ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกัน มีการเสวยเวทนาเช่นเดียวกัน
เพียงแต่แตกต่างกันที่ ในสัลลสูตร นั้น พระตถาคตทรงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอริยะสาวก
วิเคราะห์ 1.
ความเห็นพุทธทาส จากภาพ ที่อยู่ส่วนบนของกระทู้นี้
ภาพลายมือพุทธทาสที่กล่าวถึง นิพพานธาตุสูตร นั้น อธิบายไม่ตรงกับความหมายของพระอรหันต์
ในพระสูตร พระตถาคต กล่าวถึงอินทรีย์ ๕
เฉพาะอินทรีย์ ๕ ไม่สามารถเสวยเวทนาโสมนัส และ โทมนัส ซึ่งต้องเกิดที่ใจ (อินทรีย ๖)
และ แม้ว่าเป็นอินทรีย์ ๖ พระอรหันต์ย่อมไม่เสวยอารมณ์โทมนัสทางใจ แต่พุทธทาส เขียนว่า ยังมีโสมนัสและโทมนัส (จึงผิด)
การแสดงความเห็นดังกล่าวจึงขัดแย้งกับพระสูตรต่อมาที่พุทธทาสเขียนไว้ด้วยลายมือตนเอง คือ สัลลสูตร
นอกจากจะตีความผิดพลาดแล้ว ยังเป็นการยัดคำปลอมคือ อินทรีย์ ๖ ใส่ในการอธิบายพระสูตร
แก้ไขเพิ่มเติม ความเห็นของพุทธทาสขัดแย้งกัน หมายถึง
ภาพซ้ายมือ นิพพานธาตุสูตร พระอรหันต์ มีโทมนัส VS ภาพขวามือ สัลลสูตร พระอรหันต์ ไม่มีโทมนัส
วิเคราะห์ 2.
ภาพเปรียบเทียบ การแสดงความเห็นของพุทธทาส ขัดแย้งกับพระสูตร
การอธิบาย คำที่พุทธทาสเขียนไว้ว่า อินทรีย์ ๕ หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นถูกต้องแล้ว
อินทรีย์ ๖ หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ถูกต้องเช่นกัน
แต่การที่พุทธทาสเขียนว่า อินทรีย์อะไรก็ได้ จึงผิดไปจากพระสูตร
พระสูตรหมายถึงเพียงอินทรีย์ ๕ ไม่ใช่อินทรีย์ ๖ (คือไม่รวม ใจ)
ทำให้พุทธทาสตีความไปว่า พระอรหันต์ยังคงเสวยอารมณ์เวทนาทางใจ คือยังมีโสมนัส (ถูก) โทมนัส (ผิด)
เรื่องแบบนี้ ผู้ที่เรียนอภิธรรมชั้นต้น (จูฬตรี ก็สามารถอธิบายได้ถูกต้อง)
วิเคราะห์ 3
ภาพเปรียบเทียบ พุทธทาสเขียนบันทึก อธิบายสัลลสูตร ถูกต้องตรงตามนัยของพระอริยะสาวก ซึ่ง ไม่เสวยเวทนาทางใจ ไม่โทมนัส
และการอธิบายแบบนี้ จะไม่ขัดแย้งกันกับ นิพพานธาตุสูตร
เรียนเพื่อนสมาชิก : ปรับปรุงแก้ไขภาพและข้อความ การตั้งกระทู้นี้ มีความมุ่งหมายสื่อให้เห็นว่า
1. นิพพานธาตุสูตร พระตถาคตกล่าวถึงการรับรู้อารมณ์ผ่านทางอินทรีย์ ๕ (ไม่ใช่อินทรีย์ ๖)
2. สัลลสูตร แสดง พระอริยสาวก เมื่อสัมผัสกับทุกข์ เช่นทุกข์ทางกาย ก็เสวยเวทนาทางกาย ไม่เสวยเวทนาทางใจ
3. ชี้ชัดให้เห็นว่า พระอรหันต์ประเภทสอุปาทิเสสนิพพาน ปราศจากโทมนัส (สิ้นไปแล้วซึ่งโทสะ)
จิตพระอรหันต์ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ มีความสุขอย่างยิ่งเพราะปลอดไร้ซึ่งกิเลสตัณหารบกวน
ข้อคิดเห็นของผู้รวบรวม
แม้ว่าพุทธทาส บวชนาน เขียนหนังสือมาก ค้นคว้ามาก ก็ยังมีโอกาสที่จะตีความอธิบายความหมายบาลีพุทธพจน์ผิดพลาด
พุทธทาสกล่าวตู่พระธรรมของพระตถาคตไว้มาก กล่าวเท็จกล่าวหาผู้อื่นไว้มาก
ดังนั้น การที่จะเชื่อพุทธทาสในเรื่องอะไรก็ตาม ต้องพิจารณาให้มาก ใช้หลักมหาปเทส ๔ ให้มาก
ขอให้ผู้ร่วมศึกษา ร่วมวิเคราะห์อิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย อิงหลักฐาน
ขอบคุณครับ