--- มีผู้เห็นว่า "เพราะนิพพานที่ยังมีอุปาทินั้น (สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ) เป็นนิพพานทีาต้องทำความเพียรอยู่ " ใช่หรือไม่?

กระทู้สนทนา
ต่อจากความเห็นย่อย  ของกระทู้นี้
https://ppantip.com/topic/37679709/comment8-18

        นำมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่ เพื่อให้สะดวก ในการพูดคุยกว่าความเห็นย่อย(ที่ต้องกดเข้าไปดูหลายครั้ง  และเพืรอไม่ให้รบกวนประเด็นของกระทู้เดิม

----------------------

ความคิดเห็นที่ 8-14
โฟกัสที่เนื้อหาการคุยของเราดีกว่า  ...

.....
.....

สมาชิกหมายเลข 4540746  



------  ความคิดเห็นที่ 8-8
ความคิดเห็นที่ 8-6
...
ตอบกลับ
0 0  
สมาชิกหมายเลข 4540746  
32 นาทีที่แล้ว

--   1. ความคิดเห็นที่ 8-4

ไม่น่าเชื่อถือ ขนาดในพระสูตรยังชี้นำเลยว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือการตาย ....
0 0  
สมาชิกหมายเลข 4540746  
1 ชั่วโมงที่แล้ว

----  พระสูตรอะไร  ตรงไหนครับ

วงกลม  
2 ชั่วโมงที่แล้ว


             2.  สมาชิกหมายเลข 4540746  บอกว่าอ้างพระสูตร  แต่ใช้ข้อความที่ตนเองใช้เอง และไม่แสดงการอ้างอิงที่จะให้คนอื่นตรวจสอบว่า คือพระสูตรอะไร  ข้อความถูกต้องหรือไม่
                
              ได้ลองค้นหาดู   ที่พบคำว่า ปรินิพพานเฉพาะตน   และข้อความต่อมาเหมือนกัน   เหมือน ที่สมาชิกหมายเลข 4540746 อ้างถึง

           ท่านอธิบายความหมายไว้  สมาชิกหมายเลข 4540746 ลองอ่านดูเอง ว่าหมายความว่าอย่างไร

         ถ้า สมาชิกหมายเลข 4540746  รู้ชื่อพระสูตรที่ต้องการอ้าง และให้คนอื่นตรวจสอบได้  ก็บอกมาก็แล้วกัน



http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=2166&Z=2278
            ...
...
...

             [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่
ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น เมื่อไม่ทำ
เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่
สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุนั้นถ้า
เสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนา
นั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึด
ถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา
ก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยอทุกขมสุข-
*เวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า
เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เรา
เสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว
จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้นเบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะ
ความแตกแห่งกาย ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=188


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่