เมื่ออายตนะมีอยู่ ผัสสะ เวทนา สัญญา (รวมไปถึง นันทิ ตัณหา) ก็ต้องมีเป็นธรรมดา แต่มันไม่ใช่ของพระอรหันต์ ไงครับท่าน

ที่จริงแล้ว คำถามในทำนองว่า พระอรหันต์ มีราคะ หรือเปล่า ? มีตัณหา โลภะ โทสะ ฯลฯ ไหม ? มันเป็นคำถามที่เป็นโมฆะในตัว นะครับท่าน
เพราะพระอรหันต์ ไม่มี ความยึดติดถือมั่นว่าอะไรๆเป็นตัวตนของตน แล้วนี่ครับ

ขันธ์ห้า มีอยู่หรือเปล่า ยกไว้ อายตนะ ผัสสะ เวทนา สัญญา ฯลฯ มีอยู่หรือเปล่า ยกไว้ ตัณหา ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ มีอยู่หรือเปล่า ยกไว้
เพราะไม่ว่า สิ่งเหล่านั้น จะมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ มันก็ไม่ได้เป็นของพระอรหันต์อยู่แล้วนี่ครับ

1 เมื่อบรรลุอรหันต์ พระพุทธเจ้าบอกว่า อายตนะยังมีอยู่ ยังสมบูรณ์อยู่ ก็ยังต้องรับรู้ เวทนาต่างๆต่อไป จนกว่าจะดับขันธปรินิพพาน นะครับท่าน

             [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่
ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น เมื่อไม่ทำ
เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่
สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุนั้นถ้า
เสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนา
นั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึด
ถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา
ก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยอทุกขมสุข-
*เวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า
เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เรา
เสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว
จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้นเบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะ
ความแตกแห่งกาย ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=2166&Z=2278

2 ทีนี้ เมื่อมีอายตนะสมบูรณ์ดีอยู่ มันก็ต้องเกิดดับ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ตามกฏปฏิจจสมุปบาท ครับท่าน
พระพุทธเจ้า ตรัสถึงพระองค์เอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ เอาไว้ว่า ......

ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ
เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็น
ที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิกิจฉา
นุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3752&Z=3952&pagebreak=0

ข้อความตรงนี้ หมายถึง ทรงตัดภพชาติ ด้วยการดับนันทิ ครับท่าน คือ เกิดผัสสะ เกิด เวทนา สัญญา แต่ทรงดับ นันทิใน(ปปัญจะ)สัญญานั้นเสีย
จึงเป็นอันกำจัดอนุสัยทั้งหมด น่ะครับท่าน

3 มีข้อความที่ชัดเจน ขึ้นอีกดังนี้ว่า

             [๑๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิด
ขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุม
แห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่ง
ทุกข์ ฯ
             [๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัย
จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทว-
*ทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและ
โผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับ
แห่งทุกข์ ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1920&Z=1949&pagebreak=0

ประเด็นสำคัญของพระสูตรนี้ ก็คือ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา

เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ  ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ฯลฯ

สรุปก็คือ ตราบเท่าที่ ยังมีอายตนะอยู่ มันก็เกิดผัสสะ เป็นธรรมดา ครับท่าน
และเมื่อเกิดผัสสะ มันก็ต้องมี เวทนา สัญญา อยู่นั่นเอง ตรงนี้ มันเป็นธรรมชาติที่เหทือนกันทั้ง ปุถุชนและอรหันต์ครับท่าน
มันเป็นจุดวิกฤต เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ว่ากระบวนการถัดไป จะเป็นฝ่ายวัฏฏะ(เกิด) หรือ วิวัฏฏะ(ดับ)

4 พระพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า พระอรหันต์ เปรียบเหมือน การยกหม้อร้อนออกจาก เตาเผา แล้วเอาไปวางบนพื้น
หม้อ หมายถึง อายตนะ ครับท่าน เตาเผา หมายถึง ภพสาม ตรงนี้หมายความว่า เมื่อบรรลุอรหันต์ ก็เป็นอันตัดขาดจากภพสามแล้ว
แต่หม้อ ก็ยังร้อนอยู่ คืออายตนะนั้นยังเป็นของร้อน ไม่ใช่ว่าจะเย็นในทันทีที่ยกออกจากเตาเผา นะครับ

            [๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ
วางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป กระเบื้องหม้อยังเหลืออยู่ที่
พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏ
ทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทาง
ชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอัน
ตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น
เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=2166&Z=2278

5 ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวว่า แม้แต่พระอรหันต์ ท่านก็ยังพิจารณาอุปาทานขันธ์ห้าอยู่ ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นเครื่องอยู่ เพื่อเจริญสติสัมปชัญญะ น่ะครับท่าน

             [๓๑๗] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เล่า ควรกระทำธรรมเหล่าไหน
ไว้ในใจโดยแยบคาย?
             สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล
ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร
เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวนเป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่
ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้ว ย่อมไม่
มีแก่พระอรหันต์ และแม้ถึงธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะเท่านั้น.
จบ สูตรที่ ๑๑.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3765&Z=3792&pagebreak=0

6 ขออนุญาต สรุปอีกครั้งว่า ที่บอกว่า นั่นก็มีอยู่ นี่ก็มีอยู่ ผมหมายถึงว่า เมื่ออายตนะยังมีอยู่
กระบวนธรรมต่างๆ มันก็ย่อมเกิดดับไปตามเหตุปัจจัยของมันเป็นธรรมดา น่ะครับ
แต่ที่ควรสังเกต ก็คือ ผมไม่ได้บอกว่า อายตนะ เวทนา สัญญา นันทิ ตัณหา ฯลฯ ที่เกิดดับอยู่นั่น เป็นของพระอรหันต์ เลยนะครับท่าน

คือ มันก็เกิดดับไปตามเหตุปัจจัย โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของไงครับ
พระอรหันต์ ท่านก็แค่ รู้เฉยๆ ไม่ปรุงแต่งต่อไปจนเกิดภพชาติ .... ทุกข์ เท่านั้นเอง นะครับท่าน

กระทู้ อาจยาว รุงรัง ไปบ้าง แต่ผมต้องการเสนอหลักฐาน เพื่อยืนยันความเข้าใจของตน
ว่าไม่ได้คิดไปเอง หรือพูดเรื่อยเปื่อย ไม่อิงอรรถอิงธรรม น่ะครับ

อนุโมทนา ครับท่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่