เมื่อเทียบกันแล้วจะเห็นได้ชัดว่า (ศาล รธน.ปี57) ไม่มีคำสั่งเป็นรายลักษณ์อักษรที่ว่า"ให้จัดเลือกตั้งใหม่"เหมือนคำวินิจฉัย ปี49 ทั้งที่คำร้องของผู้ร้องก็ขอเหมือนกันคือ (ขอให้เพิกถอนการเลือกตั้ง และให้จัดมีการเลือกตั้งใหม่)
คำวินิจฉัยปี49
http://www.jabchai.com/main/news_view.php?id=848
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 6 ชี้ว่า การเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
วันนี้ (8พ.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 กรณีการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยให้เพิกถอนการเลือกตั้ง และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยมี4ประเด็นสำคัญคือ
1.กกต.ให้ความเห็นเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งในพระราชกฤษฎีกายุบสภาโดยไม่เหมาะสมและไม่เที่ยงธรรม ซึ่งเมื่อมีการกำหนดวันเลือกตั้ง 2 เมษายน ซึ่งห่างจากวันยุบสภาเพียง 35 วันเท่านั้น ทั้งๆ ที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 กำหนดกรอบระยะเวลาการจัดเลือกตั้งไว้ให้ดำเนินการภายใน 60 วันนับแต่วันยุบสภา ซึ่งแสดงเจตนารมณ์ในการให้มีเวลาที่พอเพียงสำหรับจัดเลือกตั้งโดยไม่มีการกำหนดล่วงหน้ามาก่อน ซึ่งการให้ความเห็นดังกล่าวของ กกต.แม้จะอยู่ภายใต้กรอบมาตรา 116 แต่เป็นการดำเนินการที่ไม่เที่ยงธรรม เอื้อประโยชน์แก่พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจยุบสภา ซึ่งขัดกับหลักความเป็นกลางทางการเมืองของ กกต. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 และขัดหลักการจัดเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมตามมาตรา 144
2.การเลือกตั้ง 2 เมษายน กกต.ได้กำหนดการจัดคูหาในลักษณะที่บุคคลภายนอกสามารถสังเกตเห็นได้ว่าผู้เลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้งหมายเลขใด อันเป็นการละเมิดหลักการลงคะแนนเลือกตั้งซึ่งต้องดำเนินการโดยลงคะแนนโดยตรงและลับ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 104 วรรค 3
3.ผลการสอบสวนของอนุกรรมการสอบสวนกรณีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่ส่งผู้สมัครในทุกเขตทุกจังหวัดว่าจ้างให้ผู้สมัครจากพรรคการเมืองขนาดเล็กหลายพรรคส่งผู้สมัครลงแข่งขันเลือกตั้งตามที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่กำหนดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีผู้สมัครคนเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง จนเป็นเหตุให้ กกต.มีมติร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองขนาดเล็กที่รับจ้างส่งผู้สมัคร และดำเนินคดีอาญากับหัวหน้าพรคการเมืองขนาดเล็กที่เกี่ยวข้อง พฤติการณ์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.แล้วยังละเมิดหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่กำหนดว่า พรรคการเมืองจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตได้เพียงคนเดียวในเขตเลือกตั้งนั้นๆ เพราะกรณีดังกล่าวหมายความว่า พรรคการเมืองขนาดใหญ่เป็นผู้ตัดสินใจและกำหนดและดำเนินการให้มีผู้สมัคร 2 คนนั่นเอง
4.การเลือกตั้งครั้งนี้ กกต.มีมติ สั่งการ ออกประกาศและออกคำสั่งในเรื่องต่างๆ การสืบสวนเพื่อวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งโดยไม่ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ หรือมิได้มีการปรึกษาหารือกันโดยกรรมการครบถ้วนตามจำนวนที่มีอยู่ รวมถึงการให้ความเห็นชอบกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ตามหลักเกณฑ์ของ พร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า กกต.มาตรา 10 ประกอบกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 145 (6) และขัดแย้งกับหลักการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรกลุ่มตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136
ต่อมาในเวลา 12.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลรัฐธรรมนูญมีมติด้วยคะแนน 8 ต่อ 6 วินิจฉัยว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้งใน 2 ประเด็น คือการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาจนนำไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 และการจัดคูหาเลือกตั้งโดยหันหลังให้คณะกรรมการมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญยังมีมติด้วยคะแนะเสียง 9 ต่อ 5 ให้การเลือกตั้งมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
สำหรับมติด้วยคะแนน 8 ต่อ 6 วินิจฉัยว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้งใน 2 ประเด็น คือการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เสียงข้างมากของตุลาการทั้ง8 คนมีดังนี้
1.นายผัน จันทรปาน
2.นายอภัย จันทนจุลกะ
3.นายมงคล สระฏัน
4.นายปรีชา เฉลิมวณิชย์
5.ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์
6.นายอุระ หวังอ้อมกลาง
7.นายจิระ บุญพจนสุนทร
8.นายนพดล เฮงเจริญ
เสียงข้างน้องของตุลาการทั้ง6ได้แก่
1.นายศักดิ์ เตชาชาญ
2.พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช
3.นายจุมพล ณ สงขลา
4.นายมานิต วิทยาเต็ม
5.นายสุวิทย์ ธีรพงษ์
6.นายสุธี สุทธิสมบูรณ์
ส่วนมติด้วยคะแนะเสียง 9 ต่อ 5 ให้การเลือกตั้งมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ สำหรับเสียงข้างมากของตุลาการทั้ง9 คนมีดังนี้
1.นายผัน จันทรปาน
2.นายอภัย จันทนจุลกะ
3.นายมงคล สระฏัน
4.นายปรีชา เฉลิมวณิชย์
5.ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์
6.นายอุระ หวังอ้อมกลาง
7.นายจิระ บุญพจนสุนทร
8.นายนพดล เฮงเจริญ
9.นายมานิต วิทยาเต็ม
เสียงข้างน้องของตุลาการทั้ง5ได้แก่
1.นายศักดิ์ เตชาชาญ
2.พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช
3.นายจุมพล ณ สงขลา
4.นายสุวิทย์ ธีรพงษ์
5นายอุระ หวังอ้อมกลาง
...................................................................
ส่วนอันนี้คือคำวินิจฉัย ปัจจุบัน ปี57
http://news.sanook.com/1521986/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-2%E0%B8%81.%E0%B8%9E.-%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0/
เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2ก.พ. โมฆะ
วันนี้ (21 มีนาคม 2557) ศาลรัฐธรรมนูญมีการพิจารณาอรรถคดีและมีผลการพิจารณาในคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) เสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ว่า การจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 28/2557)
คำร้องนี้ ผู้ร้องได้รับหนังสือร้องเรียนจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ
(1.) การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 มิได้กระทำขึ้นเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร จากกรณีที่มีการกำหนดให้เลือกตั้งใหม่ภายหลังวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 สำหรับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่มีปัญหาจำนวน 28 เขต ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าเป็นการเลือกตั้งที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 โดยชัดแจ้ง
(2) คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการรับสมัครรับเลือกตั้งทั่วไป โดยมิได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 ประกอบมาตรา 30 จากกรณีที่กำหนดให้พรรคการเมืองที่ประสงค์จะยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่สามารถเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ ให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐานที่กองบังคับการปราบปราม หรือสถานีตำรวจนครบาลดินแดงในเวลาก่อน 8.30 นาฬิกา เพื่อให้ได้สิทธิในการจับสลากหมายเลขผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้นๆ รวมถึงในการรับสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในหลายจังหวัด มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานที่รับสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าโดยเปิดเผย เป็นเหตุให้ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งไม่ทราบและไม่สามารถเดินทางไปสมัครรับเลือกตั้งในสถานที่ที่สมัครรับเลือกตั้งใหม่ได้ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า การดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ ขัดต่อหลักความเสมอภาค ไม่เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 และมาตรา 30 ทำให้กระบวนการเลือกตั้ง ครั้งนี้มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(3) คณะกรรมการการเลือกตั้ง ดำเนินการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งขัดต่อหลักการลงคะแนนลับ และทำให้การเลือกตั้งที่กำหนดขึ้นในภายหลังเป็นอันไร้ผล เพราะบัตรเลือกตั้งที่ได้จากการเลือกตั้งเป็นบัตรเสีย ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อหลักการลงคะแนนลับถือเป็นเรื่องร้ายแรง และกระทบต่อสิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก จึงมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 236(1) มาตรา 93 และมาตรา 30 และ
(4) คณะกรรมการการเลือกตั้งปล่อยปละละเลยให้มีการใช้อำนาจรัฐที่ก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรม จากกรณีที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียง โดยใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งละเลยต่อหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ปล่อยปละละเลยให้มีการใช้อำนาจรัฐในการออกประกาศและมีคำสั่งต่างๆที่ทำให้การจัดการเลือกตั้งไม่สามารถดำเนินไปได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรม
ผู้ร้องจึงเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 245 (1)ว่า การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามพระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญขอให้เพิกถอนการเลือกตั้งครั้งนี้ และให้มีการดำเนินการจัดการให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปขึ้นใหม่ให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อไป
ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีเหตุแห่งคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยก่อนว่าการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 ตามพระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นการเลือกตั้งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (6 ต่อ 3) สรุปได้ว่า การที่พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น เมื่อได้ดำเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว ปรากฏว่ายังไม่มีการจัดการเลือกตั้งสำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการสมัครรับเลือกตั้งมาก่อนเลยจึงถือได้ว่าในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้มีการเลือกตั้งทั่วราชอาณาจักร ส่วนการที่จะดำเนินการจัดการเลือกตั้งสำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง หลังวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น ก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน เป็นผลให้พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 108 วรรคสอง
.........................................
ข้อสังเกตุ ทำไม ศาล รธน.ชุดเก่ามี 14คน แต่ชุดปัจจุบันมี 9คน
สุดท้าย ทั้ง2คดีนี้ ส่วนตัวมองว่าไม่ถูกต้อง
ตกลงโมฆะการเลือกตั้งหรือไม่ "เทียบคดีสั่งโมฆะการเลือกตั้ง ปี49 กับปี57" คำร้องเหมือนกัน แต่คำวินิจฉัยปี57กลับคลุมเครือ
คำวินิจฉัยปี49
http://www.jabchai.com/main/news_view.php?id=848
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 6 ชี้ว่า การเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
วันนี้ (8พ.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 กรณีการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยให้เพิกถอนการเลือกตั้ง และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยมี4ประเด็นสำคัญคือ
1.กกต.ให้ความเห็นเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งในพระราชกฤษฎีกายุบสภาโดยไม่เหมาะสมและไม่เที่ยงธรรม ซึ่งเมื่อมีการกำหนดวันเลือกตั้ง 2 เมษายน ซึ่งห่างจากวันยุบสภาเพียง 35 วันเท่านั้น ทั้งๆ ที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 กำหนดกรอบระยะเวลาการจัดเลือกตั้งไว้ให้ดำเนินการภายใน 60 วันนับแต่วันยุบสภา ซึ่งแสดงเจตนารมณ์ในการให้มีเวลาที่พอเพียงสำหรับจัดเลือกตั้งโดยไม่มีการกำหนดล่วงหน้ามาก่อน ซึ่งการให้ความเห็นดังกล่าวของ กกต.แม้จะอยู่ภายใต้กรอบมาตรา 116 แต่เป็นการดำเนินการที่ไม่เที่ยงธรรม เอื้อประโยชน์แก่พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจยุบสภา ซึ่งขัดกับหลักความเป็นกลางทางการเมืองของ กกต. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 และขัดหลักการจัดเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมตามมาตรา 144
2.การเลือกตั้ง 2 เมษายน กกต.ได้กำหนดการจัดคูหาในลักษณะที่บุคคลภายนอกสามารถสังเกตเห็นได้ว่าผู้เลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้งหมายเลขใด อันเป็นการละเมิดหลักการลงคะแนนเลือกตั้งซึ่งต้องดำเนินการโดยลงคะแนนโดยตรงและลับ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 104 วรรค 3
3.ผลการสอบสวนของอนุกรรมการสอบสวนกรณีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่ส่งผู้สมัครในทุกเขตทุกจังหวัดว่าจ้างให้ผู้สมัครจากพรรคการเมืองขนาดเล็กหลายพรรคส่งผู้สมัครลงแข่งขันเลือกตั้งตามที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่กำหนดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีผู้สมัครคนเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง จนเป็นเหตุให้ กกต.มีมติร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองขนาดเล็กที่รับจ้างส่งผู้สมัคร และดำเนินคดีอาญากับหัวหน้าพรคการเมืองขนาดเล็กที่เกี่ยวข้อง พฤติการณ์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.แล้วยังละเมิดหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่กำหนดว่า พรรคการเมืองจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตได้เพียงคนเดียวในเขตเลือกตั้งนั้นๆ เพราะกรณีดังกล่าวหมายความว่า พรรคการเมืองขนาดใหญ่เป็นผู้ตัดสินใจและกำหนดและดำเนินการให้มีผู้สมัคร 2 คนนั่นเอง
4.การเลือกตั้งครั้งนี้ กกต.มีมติ สั่งการ ออกประกาศและออกคำสั่งในเรื่องต่างๆ การสืบสวนเพื่อวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งโดยไม่ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ หรือมิได้มีการปรึกษาหารือกันโดยกรรมการครบถ้วนตามจำนวนที่มีอยู่ รวมถึงการให้ความเห็นชอบกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ตามหลักเกณฑ์ของ พร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า กกต.มาตรา 10 ประกอบกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 145 (6) และขัดแย้งกับหลักการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรกลุ่มตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136
ต่อมาในเวลา 12.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลรัฐธรรมนูญมีมติด้วยคะแนน 8 ต่อ 6 วินิจฉัยว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้งใน 2 ประเด็น คือการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาจนนำไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 และการจัดคูหาเลือกตั้งโดยหันหลังให้คณะกรรมการมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญยังมีมติด้วยคะแนะเสียง 9 ต่อ 5 ให้การเลือกตั้งมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
สำหรับมติด้วยคะแนน 8 ต่อ 6 วินิจฉัยว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้งใน 2 ประเด็น คือการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เสียงข้างมากของตุลาการทั้ง8 คนมีดังนี้
1.นายผัน จันทรปาน
2.นายอภัย จันทนจุลกะ
3.นายมงคล สระฏัน
4.นายปรีชา เฉลิมวณิชย์
5.ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์
6.นายอุระ หวังอ้อมกลาง
7.นายจิระ บุญพจนสุนทร
8.นายนพดล เฮงเจริญ
เสียงข้างน้องของตุลาการทั้ง6ได้แก่
1.นายศักดิ์ เตชาชาญ
2.พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช
3.นายจุมพล ณ สงขลา
4.นายมานิต วิทยาเต็ม
5.นายสุวิทย์ ธีรพงษ์
6.นายสุธี สุทธิสมบูรณ์
ส่วนมติด้วยคะแนะเสียง 9 ต่อ 5 ให้การเลือกตั้งมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ สำหรับเสียงข้างมากของตุลาการทั้ง9 คนมีดังนี้
1.นายผัน จันทรปาน
2.นายอภัย จันทนจุลกะ
3.นายมงคล สระฏัน
4.นายปรีชา เฉลิมวณิชย์
5.ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์
6.นายอุระ หวังอ้อมกลาง
7.นายจิระ บุญพจนสุนทร
8.นายนพดล เฮงเจริญ
9.นายมานิต วิทยาเต็ม
เสียงข้างน้องของตุลาการทั้ง5ได้แก่
1.นายศักดิ์ เตชาชาญ
2.พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช
3.นายจุมพล ณ สงขลา
4.นายสุวิทย์ ธีรพงษ์
5นายอุระ หวังอ้อมกลาง
...................................................................
ส่วนอันนี้คือคำวินิจฉัย ปัจจุบัน ปี57
http://news.sanook.com/1521986/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-2%E0%B8%81.%E0%B8%9E.-%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0/
เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2ก.พ. โมฆะ
วันนี้ (21 มีนาคม 2557) ศาลรัฐธรรมนูญมีการพิจารณาอรรถคดีและมีผลการพิจารณาในคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) เสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ว่า การจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 28/2557)
คำร้องนี้ ผู้ร้องได้รับหนังสือร้องเรียนจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ
(1.) การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 มิได้กระทำขึ้นเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร จากกรณีที่มีการกำหนดให้เลือกตั้งใหม่ภายหลังวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 สำหรับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่มีปัญหาจำนวน 28 เขต ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าเป็นการเลือกตั้งที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 โดยชัดแจ้ง
(2) คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการรับสมัครรับเลือกตั้งทั่วไป โดยมิได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 ประกอบมาตรา 30 จากกรณีที่กำหนดให้พรรคการเมืองที่ประสงค์จะยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่สามารถเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ ให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐานที่กองบังคับการปราบปราม หรือสถานีตำรวจนครบาลดินแดงในเวลาก่อน 8.30 นาฬิกา เพื่อให้ได้สิทธิในการจับสลากหมายเลขผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้นๆ รวมถึงในการรับสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในหลายจังหวัด มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานที่รับสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าโดยเปิดเผย เป็นเหตุให้ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งไม่ทราบและไม่สามารถเดินทางไปสมัครรับเลือกตั้งในสถานที่ที่สมัครรับเลือกตั้งใหม่ได้ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า การดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ ขัดต่อหลักความเสมอภาค ไม่เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 และมาตรา 30 ทำให้กระบวนการเลือกตั้ง ครั้งนี้มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(3) คณะกรรมการการเลือกตั้ง ดำเนินการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งขัดต่อหลักการลงคะแนนลับ และทำให้การเลือกตั้งที่กำหนดขึ้นในภายหลังเป็นอันไร้ผล เพราะบัตรเลือกตั้งที่ได้จากการเลือกตั้งเป็นบัตรเสีย ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อหลักการลงคะแนนลับถือเป็นเรื่องร้ายแรง และกระทบต่อสิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก จึงมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 236(1) มาตรา 93 และมาตรา 30 และ
(4) คณะกรรมการการเลือกตั้งปล่อยปละละเลยให้มีการใช้อำนาจรัฐที่ก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรม จากกรณีที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียง โดยใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งละเลยต่อหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ปล่อยปละละเลยให้มีการใช้อำนาจรัฐในการออกประกาศและมีคำสั่งต่างๆที่ทำให้การจัดการเลือกตั้งไม่สามารถดำเนินไปได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรม
ผู้ร้องจึงเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 245 (1)ว่า การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามพระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญขอให้เพิกถอนการเลือกตั้งครั้งนี้ และให้มีการดำเนินการจัดการให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปขึ้นใหม่ให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อไป
ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีเหตุแห่งคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยก่อนว่าการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 ตามพระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นการเลือกตั้งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (6 ต่อ 3) สรุปได้ว่า การที่พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น เมื่อได้ดำเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว ปรากฏว่ายังไม่มีการจัดการเลือกตั้งสำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการสมัครรับเลือกตั้งมาก่อนเลยจึงถือได้ว่าในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้มีการเลือกตั้งทั่วราชอาณาจักร ส่วนการที่จะดำเนินการจัดการเลือกตั้งสำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง หลังวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น ก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน เป็นผลให้พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 108 วรรคสอง
.........................................
ข้อสังเกตุ ทำไม ศาล รธน.ชุดเก่ามี 14คน แต่ชุดปัจจุบันมี 9คน
สุดท้าย ทั้ง2คดีนี้ ส่วนตัวมองว่าไม่ถูกต้อง