หมูฮ้องอีกครั้ง ประจำปี 2557
หมูฮ้องเป็นอาหารที่ทำบ่อย และมีการปรับปรุงสูตรไปตลอดเวลา ตามที่ได้ข้อมุลใหม่ หรือ อาหารที่ใกล้เคียงกัน
หมูฮ้อง อาหารดังของเมืองภูเก็ต มาจากชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพเข้ามาอยู่ที่ภูเก็ต
นี้ต้นกำเนิดมาจากเมืองจีน เริ่มมาจากหมูสามชั้นต้มซีอิ้วที่ไปมีชื่อเสียงที่เมืองหางโจว ชาวจีนเรียกว่า Dongpo Pork
ชาวจีนก็มีการเดินทางค้าขายและอพยพไปอยู่ประเทศต่างๆ ก็ได้นำเมนูนี้ติดตัวไปทานด้วย พอไปถึงแต่ละประเทศก็มีการปรับเมนูตามท้องถิ่น ต่อมาชาวเมืองท้องถิ่นก็พัฒนาเมนูไปอีกตามอิทธิพลของรสอาหารที่ชาวท้องถิ่นชอบ
ที่ฟิลิปปินส์จะใส่น้ำส้มลงไปด้วย เรียกว่า Humba รสเปรี้ยวนี้ได้มาจากชาวเสปน
สิงห์โปร์ ปีนัง มะละกา เมียนม่า มี การเพิ่ม รสเปรี้ยวด้วยส้มมะขาว พร้อมกับใส่กะปิลงไป ส่วนไทยใหญ่จะใช้มะม่วงดิบสำหรับรสเปรี้ยว
เวียดนาม จะใช้น้ำปลาแทนซีอิ้ว
หมูฮ้องนี้เท่าที่ค้นคว้าดูจะมีอยู่ 2 ที่เท่านั้น คือที่ ปีนัง และ ภูเก็ต ปีนังเรียกว่า HONG BAK ภูเก็ตเรียกหมูฮ้อง ในอดีต ภูเก็ตจะมีการติดต่อค้าขายกับปีนัง เพราะว่าปีนังเป็นแหล่งสินค้าสำหรับการทำเหมืองแร่ดีบุก อาหารที่ภูเก็ตหลายประเภทน่าจะรับจากปีนัง และปีนังก็รับอาหารมาจากภูเก็ตเหมือนกัน
ที่ปีนังจะมีหมูสามชั้นต้มซีอิ้วและหมูฮ้อง สิ่งที่แตกต่างกันคือ หมูฮ้องจะใส่เครื่องเทศลงไปด้วย เครื่องเทศได้แก่ เม็ดผักชี เปราะหอม
ที่น่าสังเกตุอีกอย่างคือ หมูพะโล้ (Five spices braised pork) ก็แตกต่างกับหมูซีอิ้ว ตรงที่ใส่เครื่องเทศ ได้แก่ ผงพะโล้ ที่เป็นการผสมเครื่องเทศ 5 ประเภทเข้าด้วยกัน โปยกั้ก กานพลู อบเชย พริกหอม (ชวงเจีย) และ เทียนข้าวเปลือก
โดยสรุป หมูต้มซีอิ้วที่ใส่เครื่องเทศ คงแยกกันเป็น 2 แนว คือ หมูพะโล้ และ หมูฮ้อง แตกต่างกันที่เครื่องเทศ
วันอาทิตย์ก็ทำหมูฮ้องทาน
ดัดแปลงสูตรโดยใส่เหล้าจีนลงไปด้วย แบบหมู Dongpo เมืองหางโจว
เครื่องปรุง
- หมูสามชั้น 1 กก.
- หอมแดง 300 กรัม
- กระเทียม 75 กรัม
- รากผักชี (แทนลูกผักชี)
- เปราะหอม 15 กรัม
- เหล้าจีน 250 ซซ.
- เต้าเจี้ยว
- ซีอิ้วดำ
หมูสามชั้น หั่นแบบชิ้นใหญ่
หอมแดง กระเทียม ช่วงนี้หอมแดงราคาถูก 30 บาท/กก. ปลายปี 2556 หอมแดงขึ้นราคาไปสูงสุดที่ 120 บาท/กก.
เปราะหอม(แห้ง) ซื้อมาจากร้านขายยาจีนที่ตลาดเก่า
ใช้ซีอิ้วดำตรารถยนต์จากภูเก็ต
เหล้าจีน อย่างดี ซื้อมาจากตลาดเก่า ขวดละ 270 บาท
เอาหอมแดง กระเทียม ไปสับใน Food Processor
หอมแดงกระเทียมสับ ไปผัดกับน้ำมันในหม้อก้นหนาๆ แนะนำให้ใช้หม้อก้นหนาเพราะว่าต้องเคี่ยวไฟอ่อนจนหมูเปื่อย หม้อก้นหนาจะทำให้การกระจากความร้อนดีกว่า ไม่มี hot spot.
ผัดหอมแดงกระเทียมไฟอ่อนๆ ไปประมาณ 5 นาที
ใส่เปราะหอม
รากผักชี (หรือ ใช้ลูกผักชีป่นแทน)
ใส่หมูสามชั้นลงไป ทอดให้ผิวสุก
เติมเหล้าจีนลงไป 1 ถ้วย (250 ซซ.) ซีอิ้วดำ ปรุงรสเค็มด้วยเต้าเจี้ยว
เติมน้ำให้ท่วมหมู พอเดือด หรี่ไฟ เคี่ยวไปจนหมูเปื่อย ประมาณ 90 นาที
มีหนังหมูต้มเปื่อยอยู่ เลยใส่ลงไปด้วย
ทานกับข้าวสวยร้อนๆ เลิศ
ท่านผู้ใหญ่ วัยรุ่น ชอบกันทุกคน
สวัสดี
หมูฮ้อง 2557
หมูฮ้องอีกครั้ง ประจำปี 2557
หมูฮ้องเป็นอาหารที่ทำบ่อย และมีการปรับปรุงสูตรไปตลอดเวลา ตามที่ได้ข้อมุลใหม่ หรือ อาหารที่ใกล้เคียงกัน
หมูฮ้อง อาหารดังของเมืองภูเก็ต มาจากชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพเข้ามาอยู่ที่ภูเก็ต
นี้ต้นกำเนิดมาจากเมืองจีน เริ่มมาจากหมูสามชั้นต้มซีอิ้วที่ไปมีชื่อเสียงที่เมืองหางโจว ชาวจีนเรียกว่า Dongpo Pork
ชาวจีนก็มีการเดินทางค้าขายและอพยพไปอยู่ประเทศต่างๆ ก็ได้นำเมนูนี้ติดตัวไปทานด้วย พอไปถึงแต่ละประเทศก็มีการปรับเมนูตามท้องถิ่น ต่อมาชาวเมืองท้องถิ่นก็พัฒนาเมนูไปอีกตามอิทธิพลของรสอาหารที่ชาวท้องถิ่นชอบ
ที่ฟิลิปปินส์จะใส่น้ำส้มลงไปด้วย เรียกว่า Humba รสเปรี้ยวนี้ได้มาจากชาวเสปน
สิงห์โปร์ ปีนัง มะละกา เมียนม่า มี การเพิ่ม รสเปรี้ยวด้วยส้มมะขาว พร้อมกับใส่กะปิลงไป ส่วนไทยใหญ่จะใช้มะม่วงดิบสำหรับรสเปรี้ยว
เวียดนาม จะใช้น้ำปลาแทนซีอิ้ว
หมูฮ้องนี้เท่าที่ค้นคว้าดูจะมีอยู่ 2 ที่เท่านั้น คือที่ ปีนัง และ ภูเก็ต ปีนังเรียกว่า HONG BAK ภูเก็ตเรียกหมูฮ้อง ในอดีต ภูเก็ตจะมีการติดต่อค้าขายกับปีนัง เพราะว่าปีนังเป็นแหล่งสินค้าสำหรับการทำเหมืองแร่ดีบุก อาหารที่ภูเก็ตหลายประเภทน่าจะรับจากปีนัง และปีนังก็รับอาหารมาจากภูเก็ตเหมือนกัน
ที่ปีนังจะมีหมูสามชั้นต้มซีอิ้วและหมูฮ้อง สิ่งที่แตกต่างกันคือ หมูฮ้องจะใส่เครื่องเทศลงไปด้วย เครื่องเทศได้แก่ เม็ดผักชี เปราะหอม
ที่น่าสังเกตุอีกอย่างคือ หมูพะโล้ (Five spices braised pork) ก็แตกต่างกับหมูซีอิ้ว ตรงที่ใส่เครื่องเทศ ได้แก่ ผงพะโล้ ที่เป็นการผสมเครื่องเทศ 5 ประเภทเข้าด้วยกัน โปยกั้ก กานพลู อบเชย พริกหอม (ชวงเจีย) และ เทียนข้าวเปลือก
โดยสรุป หมูต้มซีอิ้วที่ใส่เครื่องเทศ คงแยกกันเป็น 2 แนว คือ หมูพะโล้ และ หมูฮ้อง แตกต่างกันที่เครื่องเทศ
วันอาทิตย์ก็ทำหมูฮ้องทาน
ดัดแปลงสูตรโดยใส่เหล้าจีนลงไปด้วย แบบหมู Dongpo เมืองหางโจว
เครื่องปรุง
- หมูสามชั้น 1 กก.
- หอมแดง 300 กรัม
- กระเทียม 75 กรัม
- รากผักชี (แทนลูกผักชี)
- เปราะหอม 15 กรัม
- เหล้าจีน 250 ซซ.
- เต้าเจี้ยว
- ซีอิ้วดำ
หมูสามชั้น หั่นแบบชิ้นใหญ่
หอมแดง กระเทียม ช่วงนี้หอมแดงราคาถูก 30 บาท/กก. ปลายปี 2556 หอมแดงขึ้นราคาไปสูงสุดที่ 120 บาท/กก.
เปราะหอม(แห้ง) ซื้อมาจากร้านขายยาจีนที่ตลาดเก่า
ใช้ซีอิ้วดำตรารถยนต์จากภูเก็ต
เหล้าจีน อย่างดี ซื้อมาจากตลาดเก่า ขวดละ 270 บาท
เอาหอมแดง กระเทียม ไปสับใน Food Processor
หอมแดงกระเทียมสับ ไปผัดกับน้ำมันในหม้อก้นหนาๆ แนะนำให้ใช้หม้อก้นหนาเพราะว่าต้องเคี่ยวไฟอ่อนจนหมูเปื่อย หม้อก้นหนาจะทำให้การกระจากความร้อนดีกว่า ไม่มี hot spot.
ผัดหอมแดงกระเทียมไฟอ่อนๆ ไปประมาณ 5 นาที
ใส่เปราะหอม
รากผักชี (หรือ ใช้ลูกผักชีป่นแทน)
ใส่หมูสามชั้นลงไป ทอดให้ผิวสุก
เติมเหล้าจีนลงไป 1 ถ้วย (250 ซซ.) ซีอิ้วดำ ปรุงรสเค็มด้วยเต้าเจี้ยว
เติมน้ำให้ท่วมหมู พอเดือด หรี่ไฟ เคี่ยวไปจนหมูเปื่อย ประมาณ 90 นาที
มีหนังหมูต้มเปื่อยอยู่ เลยใส่ลงไปด้วย
ทานกับข้าวสวยร้อนๆ เลิศ
ท่านผู้ใหญ่ วัยรุ่น ชอบกันทุกคน
สวัสดี