กลอน ผู้มีปัญญาทึบปฏิเสธ ทุกสิ่งว่า ไม่มี ไปเสีย และ กลอนผู้เห็นผิดว่า เที่ยง

กระทู้สนทนา
กลอน ผู้มีปัญญาทึบปฏิเสธ ทุกสิ่งว่า "ไม่มี" ไปเสีย   และ กลอนผู้เห็นผิดว่า "เที่ยง"      

ส่วนที่ เห็นว่าทุกสิ่ง "ไม่มี"

คำว่า "อนัตตา" พาวนให้ผู้หลง       เห็นผิดปลงใจคิดว่า "ไม่มี"
ปฏิเสธทุกสิ่ง แม้ธรรมดีดี               ที่พระทรงศรีตรัสสอนไว้ดีแล้ว
กลายเป็นผู้ปัญญาบอดแต่ตาใส       เห็นผิดไปเลยจากธรรมดังแก้ว
ด้วยธรรม 2 มีมาแต่เดิมแล้ว          1.เป็นดังแก้ว คืออสังขตธรรม

2.นั้นหมองคล้ำ คือสังขตธรรม       ทั้ง 2 ธรรมนั้น "มี" ไม่ใช่ "ไม่มี"
แต่ผู้ขาดปัญญา หลงไปไม่ใยดี       เป็นผู้ที่เลยไป จากธรรมพุทธองค์
พระพุทธเจ้าทรงสอน "อนัตตา"       ให้พิจารณา "นั้นไม่ใช่ตน"
ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่สับสน          เกิดธรรมดลปัญญาแจ้งพระนิพพาน      

เป็นผู้มีปัญญาแจ้งในธรรม 2          ตามคำสอน จึงละกิเลสในสันดาน
แต่ผู้ปัญญาทึบกลับสืบสาน             เห็นพิศดาร ว่าทุกสิ่ง "ไม่มี" เอย.


ส่วนที่ 2 เห็นว่าเที่ยง

วงปฏิจะ นั้นสืบทอดกันเกิด               ซึ่งบังเกิดเป็นปัจจัยสืบเนื่องกัน
ทยอย เกิด-ดับ อยู่เป็นเช่นนั้น            ผลักดันกันปรากฏดังมายา
ซึ่งก็เป็นอนิจจังไม่เที่ยงหนอ             เพียงแต่ก่อเกิดตั้งอยู่แล้วลับลา
ผู้ที่เห็นว่า "เทียง" ย่อมขาดปัญญา      เหมือนแสวงหา แก่นของต้นกล้วย
      
แม้แต่ร่างกายก็ไม่เทียงผันแปร            และใจก็แปลกแท้ ยังแปรผัน
กายและใจ ไม่เที่ยงอย่างเห็นเห็นกัน    แต่บางคนนั้นกลับว่าเที่ยงในทิฏฐิ
จึงเป็นผู้ขาดปัญญาเหลือขนาด          จินตนาวาด ว่าเที่ยงในความคิด
เป็นทิฏธิปักแน่นในความเห็นผิด          เป็นผู้ติดกับดักแห่งวัฏฏสงสารเอย.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่