(เนื้อหาบางส่วน)
จากพระธรรมเทศนา พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
โดยมากคนเรามักจะต้องการแต่ปัญญาและวิมุติ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่อาจจะเป็นไปได้ เอะอะ ก็อนิจจัง ทุกขัง อนัตตากันเสียเลยทีเดียว
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะปฏิเสธ อนิจจัง ของไม่เที่ยงนั้น พระองค์ได้ทำได้รู้จนปรากฏเห็นเป็นของเที่ยงเสียก่อน
ก่อนที่จะปฏิเสธ ทุกขัง พระองค์ก็ได้ทำทุกข์อันนั้น ให้เป็นสุขเสียก่อน
และก่อนที่จะปฏิเสธ อนัตตา ที่ไม่ใช่ตัวตนนั้น พระองค์ก็ได้ทำอนัตตาให้เป็นอัตตาขึ้นเสียก่อน
จึงได้เห็นของเที่ยงของจริงที่แอบอิงอยู่ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ได้รวบรวมยอดแห่งธรรมเหล่านั้นเข้ามาเป็นอันเดียว
เช่น ทำ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี้เป็นหมวดหนึ่งนับเป็นพวกเดียวกัน มีลักษณะเสมอกันหมดทั้งโลก
ส่วน นิจจัง สุขัง อัตตา นี้เป็นอีกหมวดหนึ่ง เป็นสังขารธรรม พระองค์ทรงปล่อยได้แล้วในส่วนสังขารโลกและสังขารธรรม
ไม่ข้องอยู่ในของเที่ยงและของไม่เที่ยง ไม่ข้องอยู่ในทุกข์และสุข ไม่ข้องอยู่ในอัตตาและอนัตตา
จึงได้นามว่า วิมุติ วิสุทธิ์ นิพพานไม่ต้องไปยึดสังขารธรรมและสังขารโลกทั้งหมด
นี้เป็นลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมา
แต่ปฏิปทาของพุทธบริษัททั้งหลาย ส่วนมากมักจะเป็นผู้รู้ก่อนเกิด เป็นผู้เลิศก่อนทำ ต้องการแต่ความละความพ้นกันฝ่ายเดียว
ถ้าละโดยปราศจากเหตุอันสมบูรณ์แล้วมันจะเลอะ ถ้าพ้นกันโดยปราศจากเหตุแล้วมันจะผิด
สำหรับคนผู้ปรารถนาดีอยากเป็นแต่คนดี เหตุประกอบของตนโดยอาการเช่นนี้มีแล้วหรือยัง
ถ้าหากว่าไม่ต้องการสร้างเหตุแห่งความละ ความพ้นโดยสมบูรณ์แล้ว พวกเราจะพ้นไปได้อย่างไร
พระพุทธเจ้า พระองค์ยังทรงแสดงไว้ว่า ศีล ปราบกิเลสอย่างหยาบที่เป็นวิติกมโทษที่เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา ออกเสียได้
สมาธิ ปราบกิเลสอย่างกลางมี กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนะมิทธะ อุทัจจะกุกกุจจะ วิจกิจฉา เป็นต้น
ส่วนปัญญาปราบกิเลสอย่างละเอียดมี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น
คนบางคนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม สามารถที่จะอธิบายข้ออรรถข้อธรรมได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
แต่กิเลสเพียงหยาบ ๆ อันเป็นคู่ปรับแห่งศีลแค่นี้ก็ยังละกันไม่ค่อยจะออก
นี่คงจะเป็นเพราะขาดความสมบูรณ์แห่งศีล สมาธิ ปัญญา กระมัง จึงได้เป็นไปอย่างนั้น
ศีลก็คงเป็นศีลอย่างเปลือก ๆ สมาธิก็คงเป็นสมาธิเปื้อนเปรอะ ปัญญาก็คงเป็นปัญญาอย่างเลอะเลือน
เคลือบเอาเสมอเหมือนกับด้วยบานกระจกที่ทาด้วยปรอทฉะนั้น จึงไม่สามารถเป็นเหตุให้สำเร็จความมุ่งหวังของพุทธบริษัทได้
ตกอยู่ในลักษณะ มีดที่คมนอกฝัก คือ ฉลาดในเชิงพูดเชิงคิด แต่ดวงจิตไม่มีสมาธิ
นี่เรียกว่า คมนอกฝัก ฟักไข่นอกรัง คือ แสวงหาความดีแต่ภายนอกไม่อบรมจิตของตนให้เป็นไปในทางสมาธิ ปักหลักกองทราย
คือ เที่ยวยึดถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่ตนมาเป็นสรณะที่พึ่งย่อมให้โทษ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ที่พึ่งอันเป็นแก่นสาร
ฉะนั้นจึงควรที่จะสร้างเหตุให้เป็นไปด้วยดี เพราะธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาเทมาแต่เหตุ ดังนี้
อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเส ตมตฺตนา
จงเตือนตน ฝึกฝนใจด้วยตนเอง จงเร่งคิดพิจารณา (อานาปา ฯ) ของตนด้วยตนเทอญ.
Ref.
http://www.yajai.com/cat-7/cat-9/18-2/
เป็นผู้รู้็ก่อนเกิด เป็นผู้เลิศก่อนทำ ?
จากพระธรรมเทศนา พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
โดยมากคนเรามักจะต้องการแต่ปัญญาและวิมุติ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่อาจจะเป็นไปได้ เอะอะ ก็อนิจจัง ทุกขัง อนัตตากันเสียเลยทีเดียว
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะปฏิเสธ อนิจจัง ของไม่เที่ยงนั้น พระองค์ได้ทำได้รู้จนปรากฏเห็นเป็นของเที่ยงเสียก่อน
ก่อนที่จะปฏิเสธ ทุกขัง พระองค์ก็ได้ทำทุกข์อันนั้น ให้เป็นสุขเสียก่อน
และก่อนที่จะปฏิเสธ อนัตตา ที่ไม่ใช่ตัวตนนั้น พระองค์ก็ได้ทำอนัตตาให้เป็นอัตตาขึ้นเสียก่อน
จึงได้เห็นของเที่ยงของจริงที่แอบอิงอยู่ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ได้รวบรวมยอดแห่งธรรมเหล่านั้นเข้ามาเป็นอันเดียว
เช่น ทำ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี้เป็นหมวดหนึ่งนับเป็นพวกเดียวกัน มีลักษณะเสมอกันหมดทั้งโลก
ส่วน นิจจัง สุขัง อัตตา นี้เป็นอีกหมวดหนึ่ง เป็นสังขารธรรม พระองค์ทรงปล่อยได้แล้วในส่วนสังขารโลกและสังขารธรรม
ไม่ข้องอยู่ในของเที่ยงและของไม่เที่ยง ไม่ข้องอยู่ในทุกข์และสุข ไม่ข้องอยู่ในอัตตาและอนัตตา
จึงได้นามว่า วิมุติ วิสุทธิ์ นิพพานไม่ต้องไปยึดสังขารธรรมและสังขารโลกทั้งหมด
นี้เป็นลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมา
แต่ปฏิปทาของพุทธบริษัททั้งหลาย ส่วนมากมักจะเป็นผู้รู้ก่อนเกิด เป็นผู้เลิศก่อนทำ ต้องการแต่ความละความพ้นกันฝ่ายเดียว
ถ้าละโดยปราศจากเหตุอันสมบูรณ์แล้วมันจะเลอะ ถ้าพ้นกันโดยปราศจากเหตุแล้วมันจะผิด
สำหรับคนผู้ปรารถนาดีอยากเป็นแต่คนดี เหตุประกอบของตนโดยอาการเช่นนี้มีแล้วหรือยัง
ถ้าหากว่าไม่ต้องการสร้างเหตุแห่งความละ ความพ้นโดยสมบูรณ์แล้ว พวกเราจะพ้นไปได้อย่างไร
พระพุทธเจ้า พระองค์ยังทรงแสดงไว้ว่า ศีล ปราบกิเลสอย่างหยาบที่เป็นวิติกมโทษที่เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา ออกเสียได้
สมาธิ ปราบกิเลสอย่างกลางมี กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนะมิทธะ อุทัจจะกุกกุจจะ วิจกิจฉา เป็นต้น
ส่วนปัญญาปราบกิเลสอย่างละเอียดมี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น
คนบางคนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม สามารถที่จะอธิบายข้ออรรถข้อธรรมได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
แต่กิเลสเพียงหยาบ ๆ อันเป็นคู่ปรับแห่งศีลแค่นี้ก็ยังละกันไม่ค่อยจะออก
นี่คงจะเป็นเพราะขาดความสมบูรณ์แห่งศีล สมาธิ ปัญญา กระมัง จึงได้เป็นไปอย่างนั้น
ศีลก็คงเป็นศีลอย่างเปลือก ๆ สมาธิก็คงเป็นสมาธิเปื้อนเปรอะ ปัญญาก็คงเป็นปัญญาอย่างเลอะเลือน
เคลือบเอาเสมอเหมือนกับด้วยบานกระจกที่ทาด้วยปรอทฉะนั้น จึงไม่สามารถเป็นเหตุให้สำเร็จความมุ่งหวังของพุทธบริษัทได้
ตกอยู่ในลักษณะ มีดที่คมนอกฝัก คือ ฉลาดในเชิงพูดเชิงคิด แต่ดวงจิตไม่มีสมาธิ
นี่เรียกว่า คมนอกฝัก ฟักไข่นอกรัง คือ แสวงหาความดีแต่ภายนอกไม่อบรมจิตของตนให้เป็นไปในทางสมาธิ ปักหลักกองทราย
คือ เที่ยวยึดถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่ตนมาเป็นสรณะที่พึ่งย่อมให้โทษ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ที่พึ่งอันเป็นแก่นสาร
ฉะนั้นจึงควรที่จะสร้างเหตุให้เป็นไปด้วยดี เพราะธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาเทมาแต่เหตุ ดังนี้
อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเส ตมตฺตนา
จงเตือนตน ฝึกฝนใจด้วยตนเอง จงเร่งคิดพิจารณา (อานาปา ฯ) ของตนด้วยตนเทอญ.
Ref.
http://www.yajai.com/cat-7/cat-9/18-2/