กลอนที่ 1. แต่งปัจจุบัน เรื่องหาสิ่งจริงแท้ไม่ได้ในธรรมชาติที่เป็น สังขตธรรม
กายก็ไม่ใช่ของเรา แม้ใจเรา นั้นไม่ใช่เรา.
แม้ถือว่าเป็นเราเขา เมื่อยึดเอา ก็ไม่เที่ยงแท้
เมื่อหลงอยู่เพราะไม่รู้ จึงเข้าสู่สุขทุกข์ ที่ผันแปร
สืบเนื่องอยู่สุดทางแก้ ด้วยพ่ายแพ้ กิเลสอยู่เนื่องๆ
กลอนที่ 2. แต่งเมื่อปี 2550 เรื่องการเข้าใจผิดในเรื่อง อนัตตา
เข้าใจผิด ในอนัตตา หลงไปว่า ไม่มีตน
รู้เถิด เข้าใจสับสน เป็นการพ้น เลยความจริง
ด้วยขันธ์ ย่อมเกิดดับ เปลี่ยนสลับ เป็นอย่างยิ่ง
กลับกลายเป็นได้หลายสิ่ง แต่ที่จริง ไม่ใช่ตัวตน
กลอนที่ 3. แต่งเมื่อปี 2550 เรื่อง สติ สมาธิ ปัญญา
สตินั้นควรฝึกฝน พัฒนาจนเป็นปัจจุบัน
จนจิตรู้อย่างเท่าทัน จับรูปนามนั้น ทันใด
สมาธิหยุดให้เป็นหนึ่ง สงบตรึง เกิดญาณ ภายใน
ปัญญาตัดไม่เหลือใย ผ่องอำไพ เมื่อถึงธรรม
---
สติ มีหน้าที่ จับ
สมาธิ มีหน้าที่ หยุด
ปัญญา มีหน้าที่ ตัด
ตามพระไตรปิฎกและอรรถกถา
---
กลอนที่ 4. แต่งเมื่อปี 2550 เรื่อง รู้จริง คืออริยสัจ 4
รู้จริง คือรู้จักทุกข์ รู้ให้สุดจนถึงเหตุ
รู้ดับทุกข์ที่อาเพศ รู้ทางดับเหตุแห่งทุกข์เอย.
หมายเหตุ ยังมีกลอน 6 ที่เพิ่งเขียนเกี่ยวกับตนเองตอนยังเรียนและปฏิบัติธรรมเมื่อวัยหนุ่ม แต่กลัวจะเลี้ยน เพราะผมแต่งยังไม่ถูกและการสัมผัสก็ยังแพล่งๆ อยู่มาก จึงละไว้ก่อน
เสนอกลอนธรรม ที่พึงเขียนเพราะเหตุจากกระทู้หนึ่งปัจจุบัน และของเก่าเมื่อปี 2550 บางส่วน เป็นการ บันเทิงธรรม
กายก็ไม่ใช่ของเรา แม้ใจเรา นั้นไม่ใช่เรา.
แม้ถือว่าเป็นเราเขา เมื่อยึดเอา ก็ไม่เที่ยงแท้
เมื่อหลงอยู่เพราะไม่รู้ จึงเข้าสู่สุขทุกข์ ที่ผันแปร
สืบเนื่องอยู่สุดทางแก้ ด้วยพ่ายแพ้ กิเลสอยู่เนื่องๆ
กลอนที่ 2. แต่งเมื่อปี 2550 เรื่องการเข้าใจผิดในเรื่อง อนัตตา
เข้าใจผิด ในอนัตตา หลงไปว่า ไม่มีตน
รู้เถิด เข้าใจสับสน เป็นการพ้น เลยความจริง
ด้วยขันธ์ ย่อมเกิดดับ เปลี่ยนสลับ เป็นอย่างยิ่ง
กลับกลายเป็นได้หลายสิ่ง แต่ที่จริง ไม่ใช่ตัวตน
กลอนที่ 3. แต่งเมื่อปี 2550 เรื่อง สติ สมาธิ ปัญญา
สตินั้นควรฝึกฝน พัฒนาจนเป็นปัจจุบัน
จนจิตรู้อย่างเท่าทัน จับรูปนามนั้น ทันใด
สมาธิหยุดให้เป็นหนึ่ง สงบตรึง เกิดญาณ ภายใน
ปัญญาตัดไม่เหลือใย ผ่องอำไพ เมื่อถึงธรรม
---
สติ มีหน้าที่ จับ
สมาธิ มีหน้าที่ หยุด
ปัญญา มีหน้าที่ ตัด
ตามพระไตรปิฎกและอรรถกถา
---
กลอนที่ 4. แต่งเมื่อปี 2550 เรื่อง รู้จริง คืออริยสัจ 4
รู้จริง คือรู้จักทุกข์ รู้ให้สุดจนถึงเหตุ
รู้ดับทุกข์ที่อาเพศ รู้ทางดับเหตุแห่งทุกข์เอย.
หมายเหตุ ยังมีกลอน 6 ที่เพิ่งเขียนเกี่ยวกับตนเองตอนยังเรียนและปฏิบัติธรรมเมื่อวัยหนุ่ม แต่กลัวจะเลี้ยน เพราะผมแต่งยังไม่ถูกและการสัมผัสก็ยังแพล่งๆ อยู่มาก จึงละไว้ก่อน