เล่าชีวิคการปฏิบัติธรรมและสภาวธรรมในรูปกลอนที่กระชับเรื่องสภาวะ ที่เคยเกรินไว้ในกระทู้ http://ppantip.com/topic/31142793

คือจะสานต่อจากกระทู้  http://ppantip.com/topic/31142793   ที่เคยเสนอไว้ในเรื่องเล่าชีวิตการปฏิบัติธรรมและสภาวธรรม ในรูปกลอน 6 คำ ให้สมบูรณ์ (แต่บังอันก็ ถึง 8-9-10 คำทีเดียว)

    และผมเห็นแล้วว่าในเเรื่องที่จะเขียนเป็นกลอนเล่าเรื่องต่างๆ ที่เป็นเรื่องยาวโดยมีรายละิเอียดพร้อมนั้นเป็นเรื่องยากมากๆ ที่เดียว กวีโบรานที่ท่านแต่งเล่าไว้นั้น นับว่าท่านเก่งจริงๆ

    สำหรับผมนั้นคงแค่ งูๆ ปลาๆ  ทั้งการใช้คำและการสัมผัสยังอยู่ในชั้นอนุบาล และคงไม่สามารถเล่าลงในเรื่องรายละิเอียด เพราะโอ้... ชั่งมีข้อมูลมากยิ่ง และยังต้องจัดรูปให้เ็ป็นกลอนอีก คงลำบากมากยิ่งที่เดียว แต่เมื่อได้เกรินไว้แล้วในกระทู้เก่าก็จะทำให้พอเสร็จ โดยไม่มีสัมผัสระหว่างบาท และย่อเน้นเรื่องให้สั้น ส่วนในเรื่องสภาวะธรรมสำคัญจริงที่ปรากฏ ก็จะเน้นกระชับให้ชัดตามจริงที่สุด


            ตอนที่ 1.
(พ.ศ.2514)
วัยเยาว์ประสงค์ความรู้         จึงต้องสู้วิบากกรรม
ด้วยการเรียนโดนปิดกั่น        เป็นกรรมตามกฎหมาย
จึงยกเอาพระพุทธนำ           อธิฐานซ้ำมิคลาย
สร้างปัญญาเป็นจุดหมาย      ถึงชีวาวายไม่หวั่น

(พ.ศ. 2523)
ความกดดันเพิ่มทุกวี่วัน        จากพ่อฉันและขาดสิทธิ์
ได้เรียนด้วยช่องอันน้อยนิด   ไม่มีสิทธิ์เป็นนักศึกษา
ทุกข์คืบคลานตามเวลา        หวดผวาเป็นหนักหนา                                  
ยังตั้งมั่นสร้างปัญญา           ใครใครว่าไม่หวั่นไหว

มีสติกับลมหายใจ                   ใจไขว่ธรรมมีศีล 8
รักษาจิตไม่ผิดแปลก               มิให้แตกกลายเป็นบ้า
เมื่อสุดทางการศึกษา              เป็นเวลา 3 ปี ที่บากหน้า
อาจผวาเสียใจจนบ้า               เมื่อสุดคว้ามิได้รับปริญญา                  

(พ.ศ. 2526)
ด้วยกุศลบุญนำพา                 ศรัทธาความดีจึงนำทาง
ได้ปฏิบัติธรรมถากถาง             อันเป็นทางแห่งพระธรรม
บังเกิดซึ่งญาณและฌาน           สุดประมาณในสภาวธรรม
เกิดวิปัสสณูหลงธรรม              น้อมนำตนเพื่อบวชเรียน

ปลงผมเป็นนาคไม่ได้บวช         ชั่งเจ็บปวดใจหนักหนา
เห็นทุกข์ที่กระหน่ำมา               ยังพาเป็นทุกข์ดักดาน
รู้ตัวหลงวิปัสสณูญาณ              ทุกข์ประจานใจรนราน
มีสติเตือนตนอยู่ไม่นาน            บังเกิดฌานญาณสูงขึ้นไป                        

เมื่อได้บวชสมดังใจ                 แต่ไม่ไกลไปจากมาร
รองเจ้าอาวาสกลับมินาน          พูดประจานถ้าอยู่ไม่ให้บวช
นี้และหนอวิบากกรรม               กระหน่ำช้ำไม่ให้ชวด
กรรมตามติดเหมือนติดจรวด      กระหน่ำนวดให้ลาสิขา              

แต่พระท่านอื่นไม่สนใจ              กลับใส่ใจคิดส่งเสริม
จึงปฏิบัติธรรมดังเช่นเดิม           ทุกข์กลับเพิ่มในใจท่าน
เวียนมาเช้าก่อนออกพรรษา        ท่านเดินหา ยามกลับรับทาน
ท่านขอร้อง “สึกเถิดท่าน”          จึงให้ทาน ณ. ตรงนั้น

ขึ้นกรุงเทพปฏิบัติธรรม              เห็นทุกข์นำ สติไม่คลาด
ภาวนามีศีลไม่ขาด                   ด้วยขยาดในวิบากกรรม                            
ทิ้งโลกปฏิบัติธรรมยิ่ง                ทิ้งทุกสิ่งแม้กายเพื่อธรรม            
ญาณเจริญขึ้นตามธรรม             กำหนดกรรมฐานอย่างยิ่ง

เขียนกลอนบอกสภาวะ              อันธรรมะที่บังเกิด                  
“ยินหนอ” เป็นฐานมิเลยเถิด        ความชาเกิดทั่วร่างถึงหู
กายนั้นสละแล้วแม้พิการ            ให้ธรรมภิบาลไม่หดหู่
จึงกำหนดภาวนาอยู่                  ชักชั่วครู่ ลงภวังค์

ในภวังค์ ยังกำหนดรู้                 ยังคงอยู่กับคำภาวนา
ยินหนอ เพียง 3 ครา                ทันใดหนาดับสิ้นไปทันที
ในความดับนั้นดับยิ่ง                หมดทุกสิ่งมิได้มี
เมื่อปรากฏก็ทันที                    สติมีรู้ชัดทั้งกายใจ

จากนั้นสติละเอียดยิ่ง                กำหนดสิ่งใดก็ชัดเจน          
กำหนด “หนอ” มิเบี่ยงเบน         ซึ่งชัดเจนในทุกเวลา
มีสติสัมปชัญญะตามกำหนด       ซึ่งหมดจดไม่ขาดจากภาวนา
ภาวนาจนหลับนั้นหนา               เมื่อตื่นมาก็กำหนด เองทันที

เป็นเช่นนี้กว่า 7 วัน                  เช้าวันหนึ่งนั้นก็พลัน
แค่จิตไหวกำหนดทัน                ภาวนาพลันดำเนินไป
ยินหนอ ยินหนอ สติชัด             ใจสลัดตื่นรู้ภายใน
จึงกำหนดเพ่งขึ้นไป                  สติใส กลับเจ็บจุดกำหนด

เจ็บยิ่งแต่ยังภาวนา                  มินำพายอมสละแม้ชีวิต
เกิดสว่างใสขึ้นในจิต                เป็นนิมิตดังดาวประกายพรึก
เจ็บนั้นทุกข์เจียนตาย                ก็ไม่คลายกำหนดลงลึก
ภาวนาเร็วยิ่งเกินคาดนึก             ลาดลงลึกเหมือนตายจาก

ก็ไม่พรากจากภาวนา                เหมือนชีวาหมดสิ้นไป
จิตเกิดหน่วงคงที่สดใส             ภาวนาไปราบเรียบยิ่ง
แล้วจิตเกิด-ดับ ขาดตอน           แสงตัดทอนขาดจริงๆ
ทุกข์ก็ดับจิตก็ดับทุกสิ่ง             เห็นชัดยิ่ง 7-8 ครั้ง
  
เห็นอนิจจังและทุกขัง              ที่ประดังเข้ามาเกิดดับ
ชั่งละเอียดสุดคณานับ             แล้วขยับตกจากที่สูง
ละลิ่วลงมาแล้วสิ้นไป              หมดสิ่งใดใด คล้ายศูนย์
แล้วจิตเกิดขึ้นจากศูนย์            อย่างบริบูรณ์และสดใส
                                                
มีแต่สุขไม่มีอื่นปน                 ไม่สับสนมีสติใส
มีความแจ้งชัดภายใน             จิตนิ่งใสเกิดสุขในฌาน
จิตก็อุทานขึ้นมา                    นี้นั้นหนามรรคผลนิพพาน                      
ความเป็นตนเกิดขึ้นค้าน          สุขทุกด้านนี้คือพรหม.

หลังจากนั้นดวงจิตไหว            แล้วเคลื่อนไปดังอยู่ท้องเรือ
ที่โดนคลื่นแก่วง ไหวครือ         อยู่ในเรือนกายแห่งตน
แล้วค่อยขยายชัดทั่วร่าง           สติสว่างชัดไม่สับสน
กายใจมีสุขมิมีสิ่งใดปน            รู้ว่าตนพ้นแล้วจากคนบ้า
      
เมื่อสละแล้วแม้ชีวิต                ธรรมอันวิจิตรจึงบังเกิด    
พ้นแล้วที่จะบ้าเลยเถิด             ธรรมบังเกิดเห็นแจ้งทุกข์
เป็นผู้พ้นแม้มีวิบาก                 ที่ยังลากให้ต้องทุกข์              
แล้วได้ปริญญาในที่สุด            แต่ยังทุกข์ ด้วยกิเลสเหลืออยู่.
  

                         ตอนที่ 2
ปฏิบัติธรรมมีการงาน              ธรรมประสานอย่างลงตัว                                            
ใจอยากบวชแต่ยังกลัว            ฐานะตัวดังผ่านมา
แต่เป็นสุขเพราะยังโสด           ทำประโยชน์ตนเรื่อยมา  
มีอาชีพติวนักศึกษา               จึงมีเวลาปฏิบัติธรรม

ได้ทรัพย์มาก็ทำบุญ               ไม่กักตุนเพื่อสะสม
ชักนำเพื่อนเข้าอบรม             นำบุคคลปฏิบัติธรรม
ผ่านไป 3 ปีจึงพบรัก              เป็นกับดัก ไปตามกรรม
ตามธรรมชาติน้อมนำ            ให้ดำเนินไปตามโลก        

ทุกข์สับสนเริ่มเข้ามา              ต้องรักษาสร้างครอบครัว
แต่ฐานะยังมืดมัว                   ต่ำสุดขั้วชนชั้นสาม  
งานมั่นคง ย่อมไม่มี                ติดอยู่ที่แฟนยังเรียนราม            
ยามตกงานทุกข์ติดตาม           แฟนจบราม พร้อมตั้งครรภ์.

กลับใต้พึ่งแม่ปลูกเห็ดขาย         เหนื่อยแทบตายได้เพียงน้อย
ได้ต่อวันต่ำกว่าครึ่งร้อย             แต่ไม่ถอยเพื่อครอบครัว
แล้วความทุกข์กลับยิ่งเพิ่ม          ถูกช้ำเติม แยกครอบครัว
ผ่านไปเกือบปีชั่งมืดมัว              จึงพาตัว ตายดาบหน้า

เข้ากรุงเทพเงินสองพัน             ต้องกัดฟันต้องอดทน
เป็นติวเตอร์แต่มีคนน้อย            ต้องค่อยร้อย ค่อยเริ่มใหม่                  
เมื่อชื่อเสียงยังจุดไม่ติด            จึงมืดมิด เป็นเรื่องใหญ่
ด้วยบุญเพื่อนเพื่อนไว้ใจ           จึงให้ไปเฝ้าโรงเรียนคอม.
  
หลังจากนั้นเริ่มสร้างตัว            รวมครอบครัวอยู่ด้วยกัน          
ด้วยเห็นทุกข์ใจยังรั้น               ยังกระสันเพื่อไปบวช        
เมื่อสับสนจึงภาวนา                ให้ปัญญานั้นสำรวจ
ให้ธรรมปฏิบัตินั้นตรวจ             ธรรมยิ่งยวดจะตัดสิน    

ภาวนาคลานี้จะไม่เข้ม             จะไม่เร่งเหมือนผ่านมา
ไม่แข็งกล้าตลอดเวลา             ภาวนาเพียงเป็นปัจจุบัน    
มีใจเป็นหนึ่งแต่ปล่อยวาง         เพื่อเป็นทางไม่กดดัน
สักแต่รู้เป็นปัจจุบัน                  ถึงจุดพลันว่างอย่างยิ่ง.

เป็นอุปสมานุตสติ                    เกินคาดคิดไม่รู้มาก่อน
ว่าสภาวธรรมนี้มีสอน                มีบางตอนในไตรปิฏก
เข้าสู่ความว่างสามครา              ใจจึงคลายการกำหนด
เลิกทิ้งครอบครัวตามใจประชด     ใจจึงลดที่จะหนีบวช

                              ตอนที่ 3
เริ่มสร้างฐานะครอบครัว          แต่ยังมืดมั่วทางกฎหมาย
ถึงมีรายได้ต่ำมากมาย            แต่ไม่คลายไม่ท้อใจ                                          
แม้งานการก็ต้องทำ                แต่ธรรมนั้นปฏิบัติไป
งานกับธรรมควบคู่กันไป          จึงมีใจเห็นทุกข์อยู่เนื่องๆ

ปฏิบัติจนเกิดฌานสี่                ทิ้งกายใจที่มีกิเลสหนา  
มีสติสดใสเป็นอุเบกขา            เข้าอยู่หลายคราจึงวางไป
วิปัสสนาเริ่มขึ้นวนใหม่            เห็นทุกข์ใหญ่ กำหนดภายใน
รักษาครอบครัวแต่ไม่ใส่ใจ       ใจนั้นใฝ่ปฏิบัติธรรม

กาลนั้นไม่ใช่ครู่เดียว                 แต่ท่องเทียวอยู่ถึง 5 ปี
นิพพิทาญาณมากมี                  มีจิตที่เบื่อหน่ายเหลื่อคณา
ต้องแห้งเหี่ยวอยู่หลายเดือน       ใจก็เตือนให้หลีกให้พ้นนักหนา
จึงกำหนดยิ่งมินำพา                 แม้ภรรยาและลูกรอบกาย

แต่ไม่ได้หมายที่จะบวช             เพียงผนวกปฏิบัติธรรมยิ่ง
ไม่สนใจสิ่งรอบข้างทุกสิ่ง          ภาวนายิ่งจนเครียดไป
เมื่อมีสติรู้ตัว                           ว่าใจมั่วแต่เพ่งเกินไป                      
จึงคลายใจยังกำหนดไป            จากนั้นใจรวม สติใสวูบดิ่งไป.

เกิดปัญญาทางธรรมหลายนัย       แต่ยังไกล แจ้งชัดความดับทุกข์
ยังไม่ชัดแจ้งยิ่งถึงที่สุด              ยังไม่สุดดังยุคในครั้งแรก
แต่ทุกข์นั้นปลดลงได้มาก           ปัญญาลากให้อยู่มีผิดแปลก                
ความคิดอารมณ์ผลิแตก             มิผิดแปลกดำเนินไปกับโลก

(พ.ศ.2537)
หลังจากนั้นพ้นวิบากกรรม          บุญชักนำให้ได้สัญชาติไทย
จึงพลิกฐานะครอบครัวใหม่         ตำแหน่งใหญ่ เป็นผู้บริหาร
แต่ธรรมปฏิบัติยังดำเนินไป         จึงไม่ไกลไปจากฌานและญาณ
เกิดรู้เห็นอนาคตด้วยฌาน           น่าพิสดารเกินวิสัย.

                             ตอนที่ 4  มีต่อ...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่