การก้าวข้ามพ้นจากสภาวะ ภพภูมิแห่งสามัญมนุษย์ อันอาศัย
กายหยาบ หรือ
กายนอก(ตัวรถ) นั้น ด้วยวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แล้ว ย่อมสามารถก้าวข้ามพ้นจากภพภูมิปัจจุบัน ไปยังภพภูมิที่ปรารถนาได้ตามประสงค์ แต่มีหนทางเดียวไม่มีหนทางอื่นใด นั่นคือ การปฏิบัติตามแนวที่ได้สอนไปแต่ต้น โดยเฉพาะในส่วนของ "
กสิณ" เป็นการเปิดประตู ที่ปิดกั้นระหว่างมิติ คือ มิติแห่งมนุษยภูมิ กับ มิติที่พ้นจากสภาวะแห่งสามัญมนุษย์
คำถามว่า ...เหตุไฉน
กายหยาบ(กายเนื้อ) หรือ
กายสังขาร(กายนอก) จึงสามารถก้าวข้ามภพภูมิ ไปพร้อมกับกายในกาย(ใจ-มโน-มนัส) ได้
คำตอบ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก ภาคปฏิสัมภิทามรรค นั่นคือ
การรวมกายเนื้อ และ กายในกาย ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (ที่เราฝึกให้กายกับใจถึงพร้อม-และเอาอารมณ์นั้นแหละมาตั้งที่นิยะมะ)
เปรียบให้เข้าใจง่าย ๆ คือ
กายนอก(กายหยาบ-กายสังขาร)คือ
ตัวรถ วิ่งไปเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนขับ ซึ่งก็คือ
กายที่อยู่ภายใน ซึ่งเรียกว่า "
กายในกาย" จะเป็นตัวบังคับควบคุม กายนอก(ตัวรถ) ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางหรือเป้าหมายที่ปรารถนา เป้าหมายดังกล่าวนี้ คนขับรถ(ใจ) ได้กำหนดไว้แล้ว นั้นคือ "
การอธิษฐาน" นั่นคือการตั้งเป้าหมายว่าจะไปไหน
เมื่อได้เข้าสู่ระดับสมาธิแห่งอัปปนาในสภาวะกสิณ ดังได้กล่าวไปแล้ว เมื่อเกิดลักษณะอันปรากฏเป็นวงกลมหมุนวนเหมือนก้นหอย(Vortex) ซึ่งเปรียบเสมือนประตู หรือ ด่านกั้นปิดทาง ซึ่งธรรมดาจะไม่เปิดโดยปกติ ต้องมีรหัสผ่าน รหัสนั้นก็คืออารมณ์ปิติ+มนัสสิการ(วิวัฏนา) แปรเปลี่ยนสภาวะแห่งกายเนื้อและกายในกายเป็นหนึ่งเดียวกันคือกายพหิทธิ
ตรงนี้เกิดจากอำนาจสมาธิแห่งอธิษฐาน เป็นสภาวะจิตแห่งอัปปนาโดยเฉพาะเรียกว่า "
อภิญญาจิต" ซึ่งในทางฟิสิกส์ก็คือสภาวะการรวมMassกับPlasma เป็นหนึ่งเดียวกันกลายเป็นEnergy เรียกว่า Anti-Matter ซึ่งมีพลังและค่าความเร็วเป็นอนันต์ เร็วกว่าแสงหลายล้าน ๆๆๆ เท่า
ดังนั้นที่เราได้พบเห็นข้อมูลในพระไตรปิฏกว่า พระภิกษุธรรมดาที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ไปท่องเที่ยวเสวนาธรรมกับเทพยดา พรหม ด้วยกายเนื้อ เป็นเรื่องปกติ ก็ด้วยอาศัยสภาวะดังกล่าวนี้ ซึ่งไม่ขัดกับหลักควันตัมฟิสิกส์อีกด้วย น่าภูมิใจ ที่เราเป็นชาวพุทธ ได้ศึกษาศาสตร์ที่ล้ำยุค ล้ำสมัย แม้นักวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในโลกอย่างไอส์ไตน์ก็ยังทำไม่ได้
คำถามมีว่า อ้าว...ไหนสอนกันว่า พระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ให้ผู้ปฏิบัติแสดงฤทธิ์ไงล่ะ ยังงี้ฝึกกสิณเพื่อฤทธิ์ก็ผิดพุทธพจน์น่ะซิ ?
คำตอบต่อไปนี้ อาจกระเทือนใจผู้ที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์ทั้งหลายเป็นอย่างมาก ที่จะบอกว่า...ไม่รู้จริงแล้วยังเอาความโง่..มาสั่งสอนญาติโยมพุทธบริษัทให้หลงผิด...หากใครได้ยินอย่างนี้ ให้รู้เถิดว่า ผู้ที่พูดอยู่ตรงหน้านั้น..กล่าวตู่พุทธพจน์..กล่าวอ้างในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ...เป็นความเห็นส่วนตัวเขา..ซึ่งเรียกว่า "
ทฤษฏีหมาหางด้วน" !!
ได้กล่าวไปแล้วว่า "
ฤทธิ์ คือ รส ของสมาธิ รู้ได้ มีได้แต่ไม่ให้ติดในรส" พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้แสดงฤทธิ์เพื่อการค้า หรือ แสดงฤทธิ์เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์เลี้ยงชีพแบบนักมายากล ...แต่..ทรงให้แสดงฤทธิ์ให้ประจักษ์และสยบผู้ที่มีมิจฉาทิษฐิ ดังปรากฏในพระไตรปิฏกบาลี โสณโกฬิวิสวัตถุสูตร องฺ ฉตฺก 22/55/533 ความว่า
"...
เหล่ามัลลกษัตริย์๘๐๐ กล่าวคำผรุสวาทต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพุทธองค์ ไม่เชื่อว่ามีพระอรหันต์ ไม่เชื่อในฤทธิ์แห่งพระอริยบุคคล ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงให้พระสาคตะ แสดงอิทธิฤทธิ์อุตริมนุษยธรรม(ธรรมอันยิ่งเหนือมนุษย์ทั้งหลาย) พระสาคตะจึงแบ่งกายออกเป็นพระสาคตะหลายรูป โดยแต่ละรูปล้วนทำอากัปกิริยาต่างกัน บางรูปจงกรม บางรูปยืน บางรูปนั่ง บางรูปนอน บางรูปนั่งกลางไฟ บางรูปเหาะไปในอากาศ..."
ดังนั้น การแสดงฤทธิ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นในบางครั้งสำหรับผู้ปฏิบัติ เมื่อผจญกับเหล่ามารที่มาทำลาย กล่าวร้ายต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ย่อมเป็นหน้าที่อันต้องแสดงฤทธิ์สยบมิจฉาทิษฐิชนเหล่านั้น จึงขอให้สาธุชนผู้ใฝ่ในบุญกุศล จงได้เข้าใจให้แจ่มแจ้งในธรรม และนำไปเผยแผ่ได้อย่างถูกต่อง คำสรุปง่าย ๆ ก็คือ "
กินอาหารได้รส ปฏิบัติได้ฤทธิ " นี้เป็นสิ่งปกติ และเป็นสามัญผลอันผู้ปฏิบัติพึงมีพึงได้เป็นธรรมดา
การปฏิบัติกสิณ สิ่งสำคัญคือ "
อารมณ์อธิษฐาน" นั่นคือกำหนดเป้าหมายให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะเข้าสู่การทำ "กสิณ" โดยกำหนดเวลาที่จะถอยออกจากกสิณ(เลิกทำ) เพราะมิฉะนั้น จะเกิดอาการหลงภพ คือ หลงเวลา เนื่องจากเวลาในภพภูมิอื่นต่างจากมนุษยภูมิ เช่น เวลาในสวรรค์(เทวภูมิ) ๑ วัน เท่ากับ เวลาในโลกมนุษย์ (มนุษย์ภูมิ) ๑๐๐ ปี ดังนั้น หากไม่อธิษฐาน(กำหนดเป้าหมาย เวลาเริ่ม และ เลิก) จะเกิดปัญหาการหลงเวลา และหลงภพได้(อันนี้เกิดขึ้นจริง ๆ เกิดแล้วกลับภพเดิม หรือ ยุคเดิมไม่ได้ ต้องทนรับสภาพนั้นจนกว่าจะสิ้นอายุขัย)
ลักษณะของช่องทางที่กล่าวนั้น เมื่อแรกใหม่ ๆ ให้กำหนดระยะเวลา หรือ ยุคในมนุษยภูมิก่อน เช่น เราอยากรู้ความเป็นไปในสมัยพระนเรศวรว่าเป็นอย่างไร ก็ให้รู้ว่าเป็น พุทธศักราชอะไร และเราจะกลับมาในเวลาปัจจุบันวันที่เท่าไร (อารมณ์นี้มาจากการบังคับ หลับตื่น ซึ่งได้ฝึกกันไปแล้ว) การที่ให้ข้ามยุคสู่อดีตนั้นง่ายที่สุด เพราะอารมณ์อดีต ทางปฏิบัติเรียกว่า "
อตีตารมย์" มีผลแรง และเป็นธรรมชาติของเราอยู่แล้ว และทำได้ง่ายอีกทั้งการใช้อารมณ์อดีต ยังมีประโยชน์ในการเชื่อมต่อ "
บุญ" ในอดีตชาติได้อีกด้วย จึงแนะนำให้เริ่มจาก "
ยุคอดีต" ก่อน
...โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ชอบศึกษาวิชชาต่าง ๆ ความรู้ หรือ ครูบาอาจารย์ ในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมา ก็ให้ใช้ "อตีตารมย์" เป็นตัวนำ และเมื่อเกิดลักษณะดวงแสงสว่างที่หมุนวน และเปิดเป็นช่อง ให้กำหนด "
ใจ" ตรงลงไปตรงนั้น ไม่ต้องกลัว(คือ ตายเป็นตาย ก็เราถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาไปแล้วจะกลัวอะไร) และเมื่อกลับมา ก็ไม่จำเป็นต้องมาเล่าให้ใครฟัง นอกเสียจากผู้ที่เขาปฏิบัติแบบเดียวกับเรา และติดปัญหามาถาม ก็บอกเขาไปตามสมควร เพราะแค่คำถามเราก็รู้ว่า เขาปฏิบัติหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เขาถามว่า ดอยสุเทพมันอยู่ที่ปัตตานีใช่ไหม ? อย่างนี้ รู้เลยว่าถามอยากรู้ ก็ไม่ควรตอบ ไม่มีประโยชน์ใด ๆ โดยสิ้นเชิง....
ในการปฏิบัติกสิณขั้นต้น ๆ นี้ คือ การบังคับรูป อันเป็นไปด้วยธาตุทัง๔ ดังนั้น กระดาษใส่สีมีตัวเลข(ธนบัติ) หรือ ความเป็นเศรษฐี มียศฐาบรรดาศักดิ์ อสังหาริมทรัพย์ ล้วนเป็นรูป ที่สมมุติขึ้น ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติกสิณ ก็สามารถสมมุติสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ตามแต่ใจปรารถนา ซึ่งทำให้ห่างไกลจากความโลภ ความอยากได้ และเข้าใจแจ่มแจ้ง ถึงคำว่า "สมมุติ" ด้วยเหตุฉะนี้การฝึกกสิณ คือ การควบคุมธาตุทั้ง ๔ อันเรียกว่ามหาภูตรูป นั้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังมีพุทธพจน์ตรัสยืนยันไว้ ดังนี้
อุทฺธํ อโธ สพฺพธิ วิปฺปมุตโต อยํ อหสฺสมีติ อนานุปสฺสี
เอวํ วิมุตฺโต อุทตาริ โอฆํ อติณฺณปุพฺพํ อปุนนพฺภวายา ติ ฯ
ความว่า ธาตุนั้น มี ๓ ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ... ผู้ใดควบคุม แลหลุดพ้นแล้วในธาตุขั้นสูง(คือ รูปธาตุ และ อรูปธาตุ) ธาตุขั้นกลาง(กามธาตุ) แล ธาตุขั้นต่ำ(คือ มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ไฟ ดิน ลม น้ำ) ย่อมไม่เห็นว่า กายสังขารภายนอกเป็นอัตภาพ เป็นตัวตนแท้จริงของเรา ล้วนเป็นสมมุติ เมื่อเขาควบคุมธาตุทั้งปวงได้แล้ว เขาหลุดพ้นแล้วจากธาตุเหล่านี้ เขาย่อมข้ามห้วงกิเลสทั้งปวง ถึงความไม่เกิดอีก คือ นิพพาน ดังนี้..."
ดังนั้น...ท่านทั้งหลาย ที่ได้ศึกษา ปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อันได้รจนามาแต่ต้น จนถึงขั้นกสิณ อันเป็นขั้นแห่งอัปปนาสมาธิ สู่มโนทวารวิถี ย่อมก้าวพ้นแล้วจากสภาวะแห่งสามัญมนุษย์ ก้าวเข้าสู่มิติแห่งมโนทวารวิถี อันมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายอย่างเที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยน
.... และนับจากที่ได้ดวงแสงสว่างแห่งกสิณแล้ว ให้พึงฝึกฝน รักษา "นิมิต+อารมณ์" นี้ไว้ในอริยาบททั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็มิได้เลือนลางจางหายไป เมื่อกำหนดอารมณ์ ณ ที่ใด "ดวงแสงสว่าง" แห่งกสิณก็เกิดขึ้นตามใจประสงค์ ก็ให้ตั้ง "อธิษฐาน" โดยใช้มนสิการวิวัฏนา ฝึกแปรเปลี่ยนเปลี่ยนสรรพสิ่ง หรือ เหตุการณ์ให้เป็นไปตามปรารถนา ซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยพลังแห่งอัปปนาสมาธิ ดังได้กล่าวแต่ต้น
เมื่อปฏิบัติกสิณได้ถึงระดับอธิษฐานได้ตามปรารถนาแล้ว ถือว่า ได้บรรลุขั้นอัปปนาสมาธิระดับกลาง อันเป็นหนทางที่จะได้นำ "
ดวงแสงสว่าง" แห่ง "
กสิณ" ที่ได้อย่างชัดเจนนี้ เข้าสู่ "ปฏิสัมโพชฌงค์ ที่ในใต้น้ำต่อไป"....
..... การปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นับแต่ขั้นต้น จนถึงขั้นอัปนาสมาธิ ตามที่ได้วิสัชนามา ก็ถึงวาระสมควรแก่การปฏิบัติของผู้ใฝ่ในมหากุศลศัทธา จะได้เพิ่มพูนเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติของตน ให้แสดงผลได้ในปัจจุบัน ด้วยอำนาจแห่งพลังสมาธิอธิษฐาน ดังได้กล่าวมา
Secret Sutta
การก้าวข้ามพ้นจากสภาวะ ภพภูมิแห่งสามัญมนุษย์ อันอาศัยกายหยาบ หรือ กายนอก(ตัวรถ) นั้น ด้วยวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แล้ว ย่อมสามารถก้าวข้ามพ้นจากภพภูมิปัจจุบัน ไปยังภพภูมิที่ปรารถนาได้ตามประสงค์ แต่มีหนทางเดียวไม่มีหนทางอื่นใด นั่นคือ การปฏิบัติตามแนวที่ได้สอนไปแต่ต้น โดยเฉพาะในส่วนของ "กสิณ" เป็นการเปิดประตู ที่ปิดกั้นระหว่างมิติ คือ มิติแห่งมนุษยภูมิ กับ มิติที่พ้นจากสภาวะแห่งสามัญมนุษย์
คำถามว่า ...เหตุไฉนกายหยาบ(กายเนื้อ) หรือกายสังขาร(กายนอก) จึงสามารถก้าวข้ามภพภูมิ ไปพร้อมกับกายในกาย(ใจ-มโน-มนัส) ได้
คำตอบ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก ภาคปฏิสัมภิทามรรค นั่นคือ การรวมกายเนื้อ และ กายในกาย ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (ที่เราฝึกให้กายกับใจถึงพร้อม-และเอาอารมณ์นั้นแหละมาตั้งที่นิยะมะ)
เปรียบให้เข้าใจง่าย ๆ คือ กายนอก(กายหยาบ-กายสังขาร)คือตัวรถ วิ่งไปเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนขับ ซึ่งก็คือ กายที่อยู่ภายใน ซึ่งเรียกว่า "กายในกาย" จะเป็นตัวบังคับควบคุม กายนอก(ตัวรถ) ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางหรือเป้าหมายที่ปรารถนา เป้าหมายดังกล่าวนี้ คนขับรถ(ใจ) ได้กำหนดไว้แล้ว นั้นคือ "การอธิษฐาน" นั่นคือการตั้งเป้าหมายว่าจะไปไหน
เมื่อได้เข้าสู่ระดับสมาธิแห่งอัปปนาในสภาวะกสิณ ดังได้กล่าวไปแล้ว เมื่อเกิดลักษณะอันปรากฏเป็นวงกลมหมุนวนเหมือนก้นหอย(Vortex) ซึ่งเปรียบเสมือนประตู หรือ ด่านกั้นปิดทาง ซึ่งธรรมดาจะไม่เปิดโดยปกติ ต้องมีรหัสผ่าน รหัสนั้นก็คืออารมณ์ปิติ+มนัสสิการ(วิวัฏนา) แปรเปลี่ยนสภาวะแห่งกายเนื้อและกายในกายเป็นหนึ่งเดียวกันคือกายพหิทธิ
ตรงนี้เกิดจากอำนาจสมาธิแห่งอธิษฐาน เป็นสภาวะจิตแห่งอัปปนาโดยเฉพาะเรียกว่า "อภิญญาจิต" ซึ่งในทางฟิสิกส์ก็คือสภาวะการรวมMassกับPlasma เป็นหนึ่งเดียวกันกลายเป็นEnergy เรียกว่า Anti-Matter ซึ่งมีพลังและค่าความเร็วเป็นอนันต์ เร็วกว่าแสงหลายล้าน ๆๆๆ เท่า
ดังนั้นที่เราได้พบเห็นข้อมูลในพระไตรปิฏกว่า พระภิกษุธรรมดาที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ไปท่องเที่ยวเสวนาธรรมกับเทพยดา พรหม ด้วยกายเนื้อ เป็นเรื่องปกติ ก็ด้วยอาศัยสภาวะดังกล่าวนี้ ซึ่งไม่ขัดกับหลักควันตัมฟิสิกส์อีกด้วย น่าภูมิใจ ที่เราเป็นชาวพุทธ ได้ศึกษาศาสตร์ที่ล้ำยุค ล้ำสมัย แม้นักวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในโลกอย่างไอส์ไตน์ก็ยังทำไม่ได้
คำถามมีว่า อ้าว...ไหนสอนกันว่า พระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ให้ผู้ปฏิบัติแสดงฤทธิ์ไงล่ะ ยังงี้ฝึกกสิณเพื่อฤทธิ์ก็ผิดพุทธพจน์น่ะซิ ?
คำตอบต่อไปนี้ อาจกระเทือนใจผู้ที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์ทั้งหลายเป็นอย่างมาก ที่จะบอกว่า...ไม่รู้จริงแล้วยังเอาความโง่..มาสั่งสอนญาติโยมพุทธบริษัทให้หลงผิด...หากใครได้ยินอย่างนี้ ให้รู้เถิดว่า ผู้ที่พูดอยู่ตรงหน้านั้น..กล่าวตู่พุทธพจน์..กล่าวอ้างในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ...เป็นความเห็นส่วนตัวเขา..ซึ่งเรียกว่า "ทฤษฏีหมาหางด้วน" !!
ได้กล่าวไปแล้วว่า "ฤทธิ์ คือ รส ของสมาธิ รู้ได้ มีได้แต่ไม่ให้ติดในรส" พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้แสดงฤทธิ์เพื่อการค้า หรือ แสดงฤทธิ์เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์เลี้ยงชีพแบบนักมายากล ...แต่..ทรงให้แสดงฤทธิ์ให้ประจักษ์และสยบผู้ที่มีมิจฉาทิษฐิ ดังปรากฏในพระไตรปิฏกบาลี โสณโกฬิวิสวัตถุสูตร องฺ ฉตฺก 22/55/533 ความว่า
"...เหล่ามัลลกษัตริย์๘๐๐ กล่าวคำผรุสวาทต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพุทธองค์ ไม่เชื่อว่ามีพระอรหันต์ ไม่เชื่อในฤทธิ์แห่งพระอริยบุคคล ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงให้พระสาคตะ แสดงอิทธิฤทธิ์อุตริมนุษยธรรม(ธรรมอันยิ่งเหนือมนุษย์ทั้งหลาย) พระสาคตะจึงแบ่งกายออกเป็นพระสาคตะหลายรูป โดยแต่ละรูปล้วนทำอากัปกิริยาต่างกัน บางรูปจงกรม บางรูปยืน บางรูปนั่ง บางรูปนอน บางรูปนั่งกลางไฟ บางรูปเหาะไปในอากาศ..."
ดังนั้น การแสดงฤทธิ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นในบางครั้งสำหรับผู้ปฏิบัติ เมื่อผจญกับเหล่ามารที่มาทำลาย กล่าวร้ายต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ย่อมเป็นหน้าที่อันต้องแสดงฤทธิ์สยบมิจฉาทิษฐิชนเหล่านั้น จึงขอให้สาธุชนผู้ใฝ่ในบุญกุศล จงได้เข้าใจให้แจ่มแจ้งในธรรม และนำไปเผยแผ่ได้อย่างถูกต่อง คำสรุปง่าย ๆ ก็คือ " กินอาหารได้รส ปฏิบัติได้ฤทธิ " นี้เป็นสิ่งปกติ และเป็นสามัญผลอันผู้ปฏิบัติพึงมีพึงได้เป็นธรรมดา
การปฏิบัติกสิณ สิ่งสำคัญคือ "อารมณ์อธิษฐาน" นั่นคือกำหนดเป้าหมายให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะเข้าสู่การทำ "กสิณ" โดยกำหนดเวลาที่จะถอยออกจากกสิณ(เลิกทำ) เพราะมิฉะนั้น จะเกิดอาการหลงภพ คือ หลงเวลา เนื่องจากเวลาในภพภูมิอื่นต่างจากมนุษยภูมิ เช่น เวลาในสวรรค์(เทวภูมิ) ๑ วัน เท่ากับ เวลาในโลกมนุษย์ (มนุษย์ภูมิ) ๑๐๐ ปี ดังนั้น หากไม่อธิษฐาน(กำหนดเป้าหมาย เวลาเริ่ม และ เลิก) จะเกิดปัญหาการหลงเวลา และหลงภพได้(อันนี้เกิดขึ้นจริง ๆ เกิดแล้วกลับภพเดิม หรือ ยุคเดิมไม่ได้ ต้องทนรับสภาพนั้นจนกว่าจะสิ้นอายุขัย)
ลักษณะของช่องทางที่กล่าวนั้น เมื่อแรกใหม่ ๆ ให้กำหนดระยะเวลา หรือ ยุคในมนุษยภูมิก่อน เช่น เราอยากรู้ความเป็นไปในสมัยพระนเรศวรว่าเป็นอย่างไร ก็ให้รู้ว่าเป็น พุทธศักราชอะไร และเราจะกลับมาในเวลาปัจจุบันวันที่เท่าไร (อารมณ์นี้มาจากการบังคับ หลับตื่น ซึ่งได้ฝึกกันไปแล้ว) การที่ให้ข้ามยุคสู่อดีตนั้นง่ายที่สุด เพราะอารมณ์อดีต ทางปฏิบัติเรียกว่า "อตีตารมย์" มีผลแรง และเป็นธรรมชาติของเราอยู่แล้ว และทำได้ง่ายอีกทั้งการใช้อารมณ์อดีต ยังมีประโยชน์ในการเชื่อมต่อ "บุญ" ในอดีตชาติได้อีกด้วย จึงแนะนำให้เริ่มจาก "ยุคอดีต" ก่อน
...โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ชอบศึกษาวิชชาต่าง ๆ ความรู้ หรือ ครูบาอาจารย์ ในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมา ก็ให้ใช้ "อตีตารมย์" เป็นตัวนำ และเมื่อเกิดลักษณะดวงแสงสว่างที่หมุนวน และเปิดเป็นช่อง ให้กำหนด "ใจ" ตรงลงไปตรงนั้น ไม่ต้องกลัว(คือ ตายเป็นตาย ก็เราถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาไปแล้วจะกลัวอะไร) และเมื่อกลับมา ก็ไม่จำเป็นต้องมาเล่าให้ใครฟัง นอกเสียจากผู้ที่เขาปฏิบัติแบบเดียวกับเรา และติดปัญหามาถาม ก็บอกเขาไปตามสมควร เพราะแค่คำถามเราก็รู้ว่า เขาปฏิบัติหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เขาถามว่า ดอยสุเทพมันอยู่ที่ปัตตานีใช่ไหม ? อย่างนี้ รู้เลยว่าถามอยากรู้ ก็ไม่ควรตอบ ไม่มีประโยชน์ใด ๆ โดยสิ้นเชิง....
ในการปฏิบัติกสิณขั้นต้น ๆ นี้ คือ การบังคับรูป อันเป็นไปด้วยธาตุทัง๔ ดังนั้น กระดาษใส่สีมีตัวเลข(ธนบัติ) หรือ ความเป็นเศรษฐี มียศฐาบรรดาศักดิ์ อสังหาริมทรัพย์ ล้วนเป็นรูป ที่สมมุติขึ้น ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติกสิณ ก็สามารถสมมุติสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ตามแต่ใจปรารถนา ซึ่งทำให้ห่างไกลจากความโลภ ความอยากได้ และเข้าใจแจ่มแจ้ง ถึงคำว่า "สมมุติ" ด้วยเหตุฉะนี้การฝึกกสิณ คือ การควบคุมธาตุทั้ง ๔ อันเรียกว่ามหาภูตรูป นั้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังมีพุทธพจน์ตรัสยืนยันไว้ ดังนี้
อุทฺธํ อโธ สพฺพธิ วิปฺปมุตโต อยํ อหสฺสมีติ อนานุปสฺสี
เอวํ วิมุตฺโต อุทตาริ โอฆํ อติณฺณปุพฺพํ อปุนนพฺภวายา ติ ฯ
ความว่า ธาตุนั้น มี ๓ ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ... ผู้ใดควบคุม แลหลุดพ้นแล้วในธาตุขั้นสูง(คือ รูปธาตุ และ อรูปธาตุ) ธาตุขั้นกลาง(กามธาตุ) แล ธาตุขั้นต่ำ(คือ มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ไฟ ดิน ลม น้ำ) ย่อมไม่เห็นว่า กายสังขารภายนอกเป็นอัตภาพ เป็นตัวตนแท้จริงของเรา ล้วนเป็นสมมุติ เมื่อเขาควบคุมธาตุทั้งปวงได้แล้ว เขาหลุดพ้นแล้วจากธาตุเหล่านี้ เขาย่อมข้ามห้วงกิเลสทั้งปวง ถึงความไม่เกิดอีก คือ นิพพาน ดังนี้..."
ดังนั้น...ท่านทั้งหลาย ที่ได้ศึกษา ปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อันได้รจนามาแต่ต้น จนถึงขั้นกสิณ อันเป็นขั้นแห่งอัปปนาสมาธิ สู่มโนทวารวิถี ย่อมก้าวพ้นแล้วจากสภาวะแห่งสามัญมนุษย์ ก้าวเข้าสู่มิติแห่งมโนทวารวิถี อันมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายอย่างเที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยน
.... และนับจากที่ได้ดวงแสงสว่างแห่งกสิณแล้ว ให้พึงฝึกฝน รักษา "นิมิต+อารมณ์" นี้ไว้ในอริยาบททั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็มิได้เลือนลางจางหายไป เมื่อกำหนดอารมณ์ ณ ที่ใด "ดวงแสงสว่าง" แห่งกสิณก็เกิดขึ้นตามใจประสงค์ ก็ให้ตั้ง "อธิษฐาน" โดยใช้มนสิการวิวัฏนา ฝึกแปรเปลี่ยนเปลี่ยนสรรพสิ่ง หรือ เหตุการณ์ให้เป็นไปตามปรารถนา ซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยพลังแห่งอัปปนาสมาธิ ดังได้กล่าวแต่ต้น
เมื่อปฏิบัติกสิณได้ถึงระดับอธิษฐานได้ตามปรารถนาแล้ว ถือว่า ได้บรรลุขั้นอัปปนาสมาธิระดับกลาง อันเป็นหนทางที่จะได้นำ "ดวงแสงสว่าง" แห่ง "กสิณ" ที่ได้อย่างชัดเจนนี้ เข้าสู่ "ปฏิสัมโพชฌงค์ ที่ในใต้น้ำต่อไป"....
..... การปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นับแต่ขั้นต้น จนถึงขั้นอัปนาสมาธิ ตามที่ได้วิสัชนามา ก็ถึงวาระสมควรแก่การปฏิบัติของผู้ใฝ่ในมหากุศลศัทธา จะได้เพิ่มพูนเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติของตน ให้แสดงผลได้ในปัจจุบัน ด้วยอำนาจแห่งพลังสมาธิอธิษฐาน ดังได้กล่าวมา