ปิยวิปโยค คือ การพลัดพรากจากคนหรือสัตว์หรือสิ่งที่รัก เป็นความทุกข์แท้ที่มีอยู่จริง ในอริยสัจ เป็นของมีจริง เป็นเรื่องจริงจัง ของรักของหายคนตายก็เป็นทุกข์ แค่กลัวว่าจะหายจะตายก็ใจหวิวทรมาน เราผู้จะต้องตายแล้ว พลัดพรากจากคนที่เรารัก หรือแม้ยังไม่ตาย ก็มีเหตุมากมายให้ไม่ได้พบคนรัก นี้เราก็เป็นทุกข์ ทุกข์อย่างนี้ เกิดเพราะยึดมั่น เพราะหากไม่มีความยึดมั่นเสียแล้ว แม้ิสิ่งนั้นจะหาย แม้คนนั้นจะตาย ก็ไม่มีความทุกข์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นอุปาทาน การละล้มอุปาทานนั้นต้องใช้ปัญญาพิจารณา 3 อย่างคือ เห็นความไม่ยั่งยืน เห็นความบีบคั้นในการตั้งอยู่ และเห็นความไม่เป็นตัวตนที่ใครจะถือเอาว่าเป็นฉัน เป็นของฉัน แม้จะถือเอาว่าเป็นของฉัน มันก็ไม่ได้เป็นของฉันตามที่ถืออยู่นั่นเอง หรือที่เรียกว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นกลวิธีคิดในไตรลักษณ์ทั้งสามประการ มนุษย์และสรรพสัตว์ต่างอยู่บนกอง
- ทุกคนเกิดมาบนกองดิน
- ทำมาหากินบนกองทุกข์
- แบ่งปันสร้างกุศลให้ทานด้วยกองทรัพย์
- ทุกขณะกำลังเดินสู่กองฟอน
- ตายแล้วนอนอยู่กองไฟ
**** ครั้นเผาไหม้แล้วก็เหลือแต่กองกระดูก ***
ไตรลักษณ์ทั้งสามประการนั้น พบเจอเพราะกรรมเก่า ทำเอาด้วยกรรมใหม่ พบเจออะไรดีไม่ดีนั้นเป็นผลของกรรมเก่า แต่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำดีทำไม่ดี ให้ไปพบเจออะไรดีไม่ดีอีกในข้างหน้านั้น เป็นกรรมใหม่ หรือกรรมปัจจุบัน
คนไม่มีใครเก่งเกินกรรม ซึ่งความเป็นไปของสัตว์ในวงเวียนของกรรมนั้นมีอนิยมัตตธรรมที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ 5 ประการ คือ
1. ไม่มีใครรู้ว่าจะมีชีวิตยืนยาวเท่าไร
2. ไม่่ีมีใครรู้ว่าจะเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร
3. ไม่มีใครรู้ว่าจะตายเมื่อไหร่ ปีไหน ตอนเช้า กลางวัน เย็น หรือดึก
4. ไม่มีใครรู้ว่าจะตายที่ไหน นอกบ้าน ในบ้าน กลางตลาด กลางถนน
5. ไม่มีใครรู้ว่าตายแล้วจะไปเกิดที่ไหน และเป็นอะไร
ไตรลักษณ์เป็นแว่นวิเศษ ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ เมื่อพิจารณาตามนี้ ได้เต็มแท้ จิตจะไม่ยึดติดในชีวิต ไม่ยึดติดในความไม่มีโรค จะรู้ตัวว่าต้องแก่ ต้องผุพัง ทั้งสิ่งที่ยึดว่าตน ว่าของตน จะไม่มุ่งหวังกาลข้างหน้า ปัจจุบันจะอยู่อย่างมีสติ และไม่ลอยไปกับสิ่งที่ไม่เป็นจริงตามที่ตัณหาวาดภาพไว้ให้สิ่งที่สั้นเพียงขณะจิตเดียวและไม่มีสาระ กลายเป็นสิ่งที่น่าโหยหา เป็นจริงเป็นจัง จะไม่อยากอยู่ร่วม อยุ่ด้วยกับสิ่งนั้นอย่างถาวร ชั่วนิรันดร์เหมือนความฝันอีก แต่เต็มใจอยู่กับความจริง เพราะรู้แล้วว่า เรื่องทั้งหมด มันแค่หนึ่งขณะจิต ไม่ต่อยอดก็จบ
การอยู่กับความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ดีที่สุด และการอยู่กับความเป็นจริงโดยไม่ติดกับสิิ่่งที่เป็น ใจเราก็จะเป็นอิสระ
(คัดลอกและเรียบเรียงเพิ่มจากกระดาษแผ่นหนึ่งในกองกระดาษที่ห้อง)
จะรั้น หรือ จะรู้
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นอุปาทาน การละล้มอุปาทานนั้นต้องใช้ปัญญาพิจารณา 3 อย่างคือ เห็นความไม่ยั่งยืน เห็นความบีบคั้นในการตั้งอยู่ และเห็นความไม่เป็นตัวตนที่ใครจะถือเอาว่าเป็นฉัน เป็นของฉัน แม้จะถือเอาว่าเป็นของฉัน มันก็ไม่ได้เป็นของฉันตามที่ถืออยู่นั่นเอง หรือที่เรียกว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นกลวิธีคิดในไตรลักษณ์ทั้งสามประการ มนุษย์และสรรพสัตว์ต่างอยู่บนกอง
- ทุกคนเกิดมาบนกองดิน
- ทำมาหากินบนกองทุกข์
- แบ่งปันสร้างกุศลให้ทานด้วยกองทรัพย์
- ทุกขณะกำลังเดินสู่กองฟอน
- ตายแล้วนอนอยู่กองไฟ
**** ครั้นเผาไหม้แล้วก็เหลือแต่กองกระดูก ***
ไตรลักษณ์ทั้งสามประการนั้น พบเจอเพราะกรรมเก่า ทำเอาด้วยกรรมใหม่ พบเจออะไรดีไม่ดีนั้นเป็นผลของกรรมเก่า แต่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำดีทำไม่ดี ให้ไปพบเจออะไรดีไม่ดีอีกในข้างหน้านั้น เป็นกรรมใหม่ หรือกรรมปัจจุบัน
คนไม่มีใครเก่งเกินกรรม ซึ่งความเป็นไปของสัตว์ในวงเวียนของกรรมนั้นมีอนิยมัตตธรรมที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ 5 ประการ คือ
1. ไม่มีใครรู้ว่าจะมีชีวิตยืนยาวเท่าไร
2. ไม่่ีมีใครรู้ว่าจะเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร
3. ไม่มีใครรู้ว่าจะตายเมื่อไหร่ ปีไหน ตอนเช้า กลางวัน เย็น หรือดึก
4. ไม่มีใครรู้ว่าจะตายที่ไหน นอกบ้าน ในบ้าน กลางตลาด กลางถนน
5. ไม่มีใครรู้ว่าตายแล้วจะไปเกิดที่ไหน และเป็นอะไร
ไตรลักษณ์เป็นแว่นวิเศษ ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ เมื่อพิจารณาตามนี้ ได้เต็มแท้ จิตจะไม่ยึดติดในชีวิต ไม่ยึดติดในความไม่มีโรค จะรู้ตัวว่าต้องแก่ ต้องผุพัง ทั้งสิ่งที่ยึดว่าตน ว่าของตน จะไม่มุ่งหวังกาลข้างหน้า ปัจจุบันจะอยู่อย่างมีสติ และไม่ลอยไปกับสิ่งที่ไม่เป็นจริงตามที่ตัณหาวาดภาพไว้ให้สิ่งที่สั้นเพียงขณะจิตเดียวและไม่มีสาระ กลายเป็นสิ่งที่น่าโหยหา เป็นจริงเป็นจัง จะไม่อยากอยู่ร่วม อยุ่ด้วยกับสิ่งนั้นอย่างถาวร ชั่วนิรันดร์เหมือนความฝันอีก แต่เต็มใจอยู่กับความจริง เพราะรู้แล้วว่า เรื่องทั้งหมด มันแค่หนึ่งขณะจิต ไม่ต่อยอดก็จบ
การอยู่กับความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ดีที่สุด และการอยู่กับความเป็นจริงโดยไม่ติดกับสิิ่่งที่เป็น ใจเราก็จะเป็นอิสระ
(คัดลอกและเรียบเรียงเพิ่มจากกระดาษแผ่นหนึ่งในกองกระดาษที่ห้อง)