ว่าด้วยการพิจารณาโดยวิธีที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน

๕. อุปปริกขสูตร 

         ว่าด้วยการพิจารณาโดยวิธีที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน (ไม่ใช่ของเราเพียงอาศัยสิ่งปัจจัยปรุงแต่งของกรรมสังขาร)
     {๒๗๔}  [๙๔]    แท้จริง    พระสูตรนี้    พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว    พระสูตรนี้    พระอรหันต์ 
กล่าวไว้แล้ว    เข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้



“ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุควรพิจารณาโดยประการที่วิญญาณ(จิต)ของตนไม่ฟุ้งซ่าน 
ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก(ผัสสะ 5...มีรูปเป็นต้น)    
ไม่ติดอยู่ภายใน (ใจ มีธรรมารมณ์.หรือการนึกคิดเป็นต้น)   จึงไม่หวาดสะดุ้งเพราะไม่ยึดติดใน 
อารมณ์ต่าง  ๆ (อุปาทาน)



ภิกษุทั้งหลาย    ครั้นวิญญาณไม่ฟุ้งซ่าน    ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก  ( นั้นย่อม*แปรปรวน*ชึ่งไปเป็นอย่างอื่นได้
ธาตุ6..วิญญาณชั่ว เช่นอากาศเป็นต้น)ไม่ติด 
อยู่ภายใน (วิปัสสนูปกิเลส.. นิมิตต่างๆ เช่นหลงสุขเป็นต้น)   
เมื่อภิกษุไม่หวาดสะดุ้ง    เพราะไม่ยึดมั่นอารมณ์ต่าง  ๆ    เหตุแห่งทุกข์คือชาติ 
และความเกิดทุกข์คือชราและมรณะ    ก็จะเกิดมีไม่ได้อีกต่อไป” 
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว    ในพระสูตรนั้น    จึงตรัส 
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า 
                                                  ภิกษุละกิเลส(กรรม)เครื่องข้อง    ๗    ประการ๑    ได้ 
                                      ตัดตัณหาที่นำไปสู่ภพได้เด็ดขาด 
                                      มีสงสารคือชาติ ชรา มรณาฯหมดสิ้นแล้ว 
                                      ย่อมไม่มีภพใหม่ 
            แม้เนื้อความนี้    พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล 
               อุปปริกขสูตรที่ ๕ จบ 
  
 
๑ กิเลสเครื่องข้อง  ๗  ประการ  คือ  (๑)  ตัณหา  (๒)  ทิฏฐิ  (๓)  มานะ  (๔)  โกธะ  (๕)  อวิชชา  (๖)  กิเลส 
   (๗)  ทุจริต  (ขุ.อิติ.อ.  ๙๔/๓๔๐)

 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่