อดีตที่ปรึกษาประธานศาลรธน.เสนอตัดเนื้อหากม. 3 วรรคท้าย ม.190 เเนะลดทอนอำนาจศาลรธน
การประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ซึ่งมีนายกฤช อาทิตย์แก้ว สว.กำแพงเพชร ทำหน้าที่ประธานการประชุม ทั้งนี้กมธ. ได้เชิญนายวิสูตร ตุวยานนท์ ศาสตราจารย์พิเศษประจำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ม.ศรีปทุม และอดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศโปรตุเกส รวมถึงเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ เข้าชี้แจงต่อ กมธ. และให้มุมมองต่อ มาตรา 190
นายวิสูตร กล่าวว่า เมื่อพิจารณาดูในเนื้อหาของมาตรา 190 เห็นว่า มีความจำเป็นต้องตัด 3 วรรคท้ายในมาตรา 190 ออกจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้เหลือเพียง 3 วรรคแรก คือ วรรค 1 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น ๆ กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ วรรค 2 หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และวรรค 3 ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้นเพื่อขอความเห็นชอบ
นายวิสูตร กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องตัดบทบัญญัติในวรรคที่ 2 ให้สั้นลงจากเดิม เป็นเพราะเห็นว่าข้อความในวรรค 2 ที่ระบุว่า "หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณ” นั้นเปิดให้มีการตีความกว้างไร้ขอบเขตจำกัด และส่งผลให้มีหนังสือสัญญาเข้าสู่สภามากเกินไป โดย 1 เดือนมีกว่าถึง 80 ฉบับ อย่างไรก็ตามกรณีที่มีข้อกังวลว่าหากตัดคำว่า 'ความมั่นคงเศรษฐกิจ' ออกอาจไม่ครอบคลุมถึงข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ ที่รัฐบาลดำเนินการกับต่างชาติ จึงเห็นว่าในส่วนนี้อาจยังคงไว้ซึ่งบทบัญญัติที่ว่า “ผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง" ไว้ได้
"ความมั่นคงทางเศรษฐกิจอาจยังคงไว้ แต่ที่ควรตัดออกอย่างยิ่ง คือ ‘กระทบต่อความมั่นคงทางสังคม’ เพราะกินความหมายกว้างขวางมาก คำว่าผลกระทบไม่ว่าจะในทางดีขึ้นหรือเลวลงล้วนเป็นผลกระทบทั้งนั้น ดังนั้นไม่ว่าจะทำให้ เศรษฐกิจเลวลงหรือดีขึ้น ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น หรือ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ล้วนเข้าข่ายข้อยกเว้นให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน ถ้ายังคงข้อความนี้ไว้จะทำให้การทำสนธิสัญญาแทบทุกฉบับต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อนเสมอ" นายวิสูตร กล่าว
นายวิสูตร เสนอว่า ควรตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษที่มีนักเชี่ยวชาญด้านกฎหมายทั้งในและระหว่างประเทศเพื่อกลั่นกรองว่าหนังสือสัญญาใดเข้าเกณฑ์วรรคสองของมาตรา 190 ที่จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาหรือไม่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศของฝ่ายบริหาร ทั้งนี้หากเห็นว่ามีรายละเอียดที่ขยายความเพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้อาจร่างกฎหมายลูกเพิ่มเติมได้ แต่ไม่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ นายวิสูตร กล่าวยืนยัน ในข้อความที่ระบุ วรรค 6 ตามมาตรา 190 ที่ระบุว่า “ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยชี้ขาด” นั้นควรตัดออกทั้งหมด สืบเนื่องจากปัญหาในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีจัดทำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาว่าต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาก่อน ในสมัยที่นายนพดล ปัทมะ เป็นอดีตรมว.ต่างประเทศ โดยครั้งนั้นตนในฐานะที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญได้คัดค้านการวินิจฉัยดังกล่าว เพราะเห็นว่าการที่ศาลวินิจฉัยว่า “อาจทำให้เสียอธิปไตยบางส่วน” ขัดกับหลักการของศาลที่หากวินิจฉัยตัดสิทธิผู้อื่นนั้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด กลายเป็นว่าแทนที่ศาลจะทำหน้าที่ตีความกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ศาลกลับไปร่างกฎหมายใหม่เสียเอง
"ถ้าลักษณะนี้บอกได้เลยว่า ไม่มีข้าราชการประจำคนไหนกล้าทำงาน เพราะอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ขณะนั้นตีความตามหลักกฎหมายชัดเจนแล้ว แต่ศาลกลับวินิจฉัยสวนทาง ผมเองในฐานะที่ปรึกษาของประธานได้คัดค้านแล้ว แต่เขาบอกว่าเป็นเพียงที่ปรึกษาไม่ใช่ตุลาการไม่มีสิทธิตัดสิน จากนั้นผมจึงขอลาออกจากตำแหน่ง" นายวิสูตรกล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20130425/502359/วิสูตรเสนอตัดเนื้อหากม.-3-วรรคท้ายม.190.html
ทำงานสำคัญแบบไม่ฟังใคร แม้แต่ที่ปรึกษาของตัวเองท้วงติง จะเอาตามธงที่ปักไว้ ล้ำเส้นจนคนใกล้ตัวยังทนไม่ไหว
กรรมการให้คะแนนกับกรรมการบนเวทีชกกันแล้วครับ
การประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ซึ่งมีนายกฤช อาทิตย์แก้ว สว.กำแพงเพชร ทำหน้าที่ประธานการประชุม ทั้งนี้กมธ. ได้เชิญนายวิสูตร ตุวยานนท์ ศาสตราจารย์พิเศษประจำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ม.ศรีปทุม และอดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศโปรตุเกส รวมถึงเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ เข้าชี้แจงต่อ กมธ. และให้มุมมองต่อ มาตรา 190
นายวิสูตร กล่าวว่า เมื่อพิจารณาดูในเนื้อหาของมาตรา 190 เห็นว่า มีความจำเป็นต้องตัด 3 วรรคท้ายในมาตรา 190 ออกจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้เหลือเพียง 3 วรรคแรก คือ วรรค 1 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น ๆ กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ วรรค 2 หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และวรรค 3 ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้นเพื่อขอความเห็นชอบ
นายวิสูตร กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องตัดบทบัญญัติในวรรคที่ 2 ให้สั้นลงจากเดิม เป็นเพราะเห็นว่าข้อความในวรรค 2 ที่ระบุว่า "หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณ” นั้นเปิดให้มีการตีความกว้างไร้ขอบเขตจำกัด และส่งผลให้มีหนังสือสัญญาเข้าสู่สภามากเกินไป โดย 1 เดือนมีกว่าถึง 80 ฉบับ อย่างไรก็ตามกรณีที่มีข้อกังวลว่าหากตัดคำว่า 'ความมั่นคงเศรษฐกิจ' ออกอาจไม่ครอบคลุมถึงข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ ที่รัฐบาลดำเนินการกับต่างชาติ จึงเห็นว่าในส่วนนี้อาจยังคงไว้ซึ่งบทบัญญัติที่ว่า “ผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง" ไว้ได้
"ความมั่นคงทางเศรษฐกิจอาจยังคงไว้ แต่ที่ควรตัดออกอย่างยิ่ง คือ ‘กระทบต่อความมั่นคงทางสังคม’ เพราะกินความหมายกว้างขวางมาก คำว่าผลกระทบไม่ว่าจะในทางดีขึ้นหรือเลวลงล้วนเป็นผลกระทบทั้งนั้น ดังนั้นไม่ว่าจะทำให้ เศรษฐกิจเลวลงหรือดีขึ้น ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น หรือ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ล้วนเข้าข่ายข้อยกเว้นให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน ถ้ายังคงข้อความนี้ไว้จะทำให้การทำสนธิสัญญาแทบทุกฉบับต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อนเสมอ" นายวิสูตร กล่าว
นายวิสูตร เสนอว่า ควรตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษที่มีนักเชี่ยวชาญด้านกฎหมายทั้งในและระหว่างประเทศเพื่อกลั่นกรองว่าหนังสือสัญญาใดเข้าเกณฑ์วรรคสองของมาตรา 190 ที่จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาหรือไม่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศของฝ่ายบริหาร ทั้งนี้หากเห็นว่ามีรายละเอียดที่ขยายความเพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้อาจร่างกฎหมายลูกเพิ่มเติมได้ แต่ไม่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ นายวิสูตร กล่าวยืนยัน ในข้อความที่ระบุ วรรค 6 ตามมาตรา 190 ที่ระบุว่า “ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยชี้ขาด” นั้นควรตัดออกทั้งหมด สืบเนื่องจากปัญหาในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีจัดทำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาว่าต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาก่อน ในสมัยที่นายนพดล ปัทมะ เป็นอดีตรมว.ต่างประเทศ โดยครั้งนั้นตนในฐานะที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญได้คัดค้านการวินิจฉัยดังกล่าว เพราะเห็นว่าการที่ศาลวินิจฉัยว่า “อาจทำให้เสียอธิปไตยบางส่วน” ขัดกับหลักการของศาลที่หากวินิจฉัยตัดสิทธิผู้อื่นนั้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด กลายเป็นว่าแทนที่ศาลจะทำหน้าที่ตีความกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ศาลกลับไปร่างกฎหมายใหม่เสียเอง
"ถ้าลักษณะนี้บอกได้เลยว่า ไม่มีข้าราชการประจำคนไหนกล้าทำงาน เพราะอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ขณะนั้นตีความตามหลักกฎหมายชัดเจนแล้ว แต่ศาลกลับวินิจฉัยสวนทาง ผมเองในฐานะที่ปรึกษาของประธานได้คัดค้านแล้ว แต่เขาบอกว่าเป็นเพียงที่ปรึกษาไม่ใช่ตุลาการไม่มีสิทธิตัดสิน จากนั้นผมจึงขอลาออกจากตำแหน่ง" นายวิสูตรกล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20130425/502359/วิสูตรเสนอตัดเนื้อหากม.-3-วรรคท้ายม.190.html
ทำงานสำคัญแบบไม่ฟังใคร แม้แต่ที่ปรึกษาของตัวเองท้วงติง จะเอาตามธงที่ปักไว้ ล้ำเส้นจนคนใกล้ตัวยังทนไม่ไหว