ตลก สนับสนุน การใช้สิทธิ ของม๊อบ กปปส ว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย
เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่เอกสาร ข่าวระบุว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคำร้องที่ประธานสภาผู้แทนรษษฎร ส่งความเห็นของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่โดยศาลได้พิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งให้มีการไต่สวนพยานในวันที่ 8 ม.ค. เวลา 10.00 น.เป็นต้นไปและให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตญ์ ในฐานผู้เสนอความเห็น นายนริศร ทองธิราช อดีตส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล น.ส.สุภา ปิยะจิติต นายทะนง พิทยะ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล จัดทำชี้แจงและมาให้ถ้อยคำต่อศาลในวันดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ยังมีมติไม่รับคำร้องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย นายกิตติ อธินันท์ นายวิชาญ นุ่มมาก ยื่นคำร้องรวม 7 คำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำบุกยึดสถานที่ราชการ เสนอตั้งสภาประชาชน ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากการรักษาการ ให้หัวหน้าส่วนราชการมารายงานตัว ของของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชน เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุช หรือกปปส. และการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ที่จัดชุมนุมสนับสนุนการชุมนุมของกปปส. เข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครองและกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การชุมนุมของกปปส.ตามคำร้องเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพกระทำในนามประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ โดยมีเหตุสืบเนื่องมากจากการต่อต้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เป็นเพียงการเรียกร้อง แสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก ยังไม่มีมูลกรณีเป็นการกระทำล้มล้างการปกครอง
ส่วนกรณีการออกหมายจับนายสุเทพ และพวกเป็นเรื่องที่ผู้ต้องรับผิดชอบในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และยังมีคำสั่งในคดีที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และสมาชิกรัฐสภา 381 คน ร่วมกันดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่จำกัดอำนาจรัฐสภาในให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศของฝ่ายบริหาร ว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครองและกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ โดยให้คู่กรณีมาฟังคำวินิจฉัยคดีในวันพุธที่ 8 ม.ค. เวลา 15.00 น.
สนับสนุน กปปส อย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่เอกสาร ข่าวระบุว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคำร้องที่ประธานสภาผู้แทนรษษฎร ส่งความเห็นของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่โดยศาลได้พิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งให้มีการไต่สวนพยานในวันที่ 8 ม.ค. เวลา 10.00 น.เป็นต้นไปและให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตญ์ ในฐานผู้เสนอความเห็น นายนริศร ทองธิราช อดีตส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล น.ส.สุภา ปิยะจิติต นายทะนง พิทยะ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล จัดทำชี้แจงและมาให้ถ้อยคำต่อศาลในวันดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ยังมีมติไม่รับคำร้องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย นายกิตติ อธินันท์ นายวิชาญ นุ่มมาก ยื่นคำร้องรวม 7 คำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำบุกยึดสถานที่ราชการ เสนอตั้งสภาประชาชน ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากการรักษาการ ให้หัวหน้าส่วนราชการมารายงานตัว ของของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชน เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุช หรือกปปส. และการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ที่จัดชุมนุมสนับสนุนการชุมนุมของกปปส. เข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครองและกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การชุมนุมของกปปส.ตามคำร้องเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพกระทำในนามประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ โดยมีเหตุสืบเนื่องมากจากการต่อต้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เป็นเพียงการเรียกร้อง แสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก ยังไม่มีมูลกรณีเป็นการกระทำล้มล้างการปกครอง
ส่วนกรณีการออกหมายจับนายสุเทพ และพวกเป็นเรื่องที่ผู้ต้องรับผิดชอบในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และยังมีคำสั่งในคดีที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และสมาชิกรัฐสภา 381 คน ร่วมกันดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่จำกัดอำนาจรัฐสภาในให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศของฝ่ายบริหาร ว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครองและกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ โดยให้คู่กรณีมาฟังคำวินิจฉัยคดีในวันพุธที่ 8 ม.ค. เวลา 15.00 น.