หากดูเงื่อนไข การขอประชามติ มี 3 กรณี
1.กรณีการออกเสียงประชามติที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ (มาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญ)
การออกเสียงประชามติในกรณีนี้จะต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงทำประชามติ และจะต้องมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
2.กรณีการออกเสียงประชามติเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี (มาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญ)
การออกเสียงประชามติในกรณีนี้ ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ
3.กรณีการออกเสียงประชามติตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 165 (2) ของรัฐธรรมนูญ)
การออกเสียงประชามติในกรณีนี้ ให้ถือจำนวนคะแนนเสียงตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ แต่ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติจำนวนคะแนนเสียงไว้ ให้นำความในข้อ 1 และ 2 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้ขอทำประชามติ มีเพียงรัฐบาล หรือ ตามกฎหมายกำหนด
มาดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ไม่มีกฎหมายข้อใดบัญญัติให้ต้องทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ การแก้ไขเป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภาเท่านั้น ขืนรัฐบาลขอให้ทำประชามติเพื่อหาข้อยุติตามเหตุข้อ 1.(ม.165-1) ที่ต้องใช้เสียงผู้มาลงคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง รัฐบาลก็จะโดนสมาชิกรัฐสภาฟ้องร้องเอาผิดฐานละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเอง เพราะฉะนั้นจะต้องทำประชามติเพื่อเป็นคำปรึกษาแก่รัฐบาล หรือ สมาชิกรัฐสภาเท่านั้น ตามเหตุผลข้อ 2. ถึงจะไม่ผิดรัฐธรรมนูญ โดยหากเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเห็นด้วยให้แก้ไข หรือ ไม่เห็นด้วย สมาชิกรัฐสภาก็ยังมีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ดี เพียงแต่หากผลออกมาให้แก้ไขได้ รัฐบาลอาจนำไปเป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้ผู้คิดจะต่อต้านคัดค้านสร้างความวุ่นวายได้
ส่วนที่มีบางคนเริ่มออกมารณรงค์ไม่ให้ออกไปใช้สิทธิ ก็ทำได้ตอนนี้ แต่พอมีการออก พรก.ประชามติออกมาแล้ว ก็ระวังจะผิดกฎหมาย ฐานหลอกลวงไม่ให้ออกไปสิทธิด้วยละ่กัน เพราะจะอ้างว่าการแก้ไขทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง ในขณะที่ยังไม่มี สสร และยังไม่เห็นร่างแก้ไขเลย จะอ้างได้อย่างไร คุณสดศรีถึงได้ออกมาเตือน เอาไว้ สสร. ยกร่างออกมาแล้วไม่เห็นด้วยจะเชิญชวนให้นอนหลับทับสิทธิด้วยเหตุใดใด ก็อาจจะพอฟังขึ้น มีหลักฐานไปอ้างกับศาลได้บ้าง ตามรายละเอียดข้างล่างนี้
มาตรา 43 ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
(3) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง หรือเพื่อให้สำคัญผิดในวัน เวลา ที่ออกเสียง หรือวิธีการลงคะแนนออกเสียง
ผู้ใดกระทำตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท และผู้กระทำตาม (5) หรือ (6) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด ไม่เกินห้าปีด้วยก็ได้
ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ แค่เพียงให้คำปรึกษา ไม่ใช่ข้อยุติ
1.กรณีการออกเสียงประชามติที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ (มาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญ)
การออกเสียงประชามติในกรณีนี้จะต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงทำประชามติ และจะต้องมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
2.กรณีการออกเสียงประชามติเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี (มาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญ)
การออกเสียงประชามติในกรณีนี้ ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ
3.กรณีการออกเสียงประชามติตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 165 (2) ของรัฐธรรมนูญ)
การออกเสียงประชามติในกรณีนี้ ให้ถือจำนวนคะแนนเสียงตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ แต่ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติจำนวนคะแนนเสียงไว้ ให้นำความในข้อ 1 และ 2 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้ขอทำประชามติ มีเพียงรัฐบาล หรือ ตามกฎหมายกำหนด
มาดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ไม่มีกฎหมายข้อใดบัญญัติให้ต้องทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ การแก้ไขเป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภาเท่านั้น ขืนรัฐบาลขอให้ทำประชามติเพื่อหาข้อยุติตามเหตุข้อ 1.(ม.165-1) ที่ต้องใช้เสียงผู้มาลงคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง รัฐบาลก็จะโดนสมาชิกรัฐสภาฟ้องร้องเอาผิดฐานละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเอง เพราะฉะนั้นจะต้องทำประชามติเพื่อเป็นคำปรึกษาแก่รัฐบาล หรือ สมาชิกรัฐสภาเท่านั้น ตามเหตุผลข้อ 2. ถึงจะไม่ผิดรัฐธรรมนูญ โดยหากเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเห็นด้วยให้แก้ไข หรือ ไม่เห็นด้วย สมาชิกรัฐสภาก็ยังมีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ดี เพียงแต่หากผลออกมาให้แก้ไขได้ รัฐบาลอาจนำไปเป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้ผู้คิดจะต่อต้านคัดค้านสร้างความวุ่นวายได้
ส่วนที่มีบางคนเริ่มออกมารณรงค์ไม่ให้ออกไปใช้สิทธิ ก็ทำได้ตอนนี้ แต่พอมีการออก พรก.ประชามติออกมาแล้ว ก็ระวังจะผิดกฎหมาย ฐานหลอกลวงไม่ให้ออกไปสิทธิด้วยละ่กัน เพราะจะอ้างว่าการแก้ไขทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง ในขณะที่ยังไม่มี สสร และยังไม่เห็นร่างแก้ไขเลย จะอ้างได้อย่างไร คุณสดศรีถึงได้ออกมาเตือน เอาไว้ สสร. ยกร่างออกมาแล้วไม่เห็นด้วยจะเชิญชวนให้นอนหลับทับสิทธิด้วยเหตุใดใด ก็อาจจะพอฟังขึ้น มีหลักฐานไปอ้างกับศาลได้บ้าง ตามรายละเอียดข้างล่างนี้
มาตรา 43 ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
(3) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง หรือเพื่อให้สำคัญผิดในวัน เวลา ที่ออกเสียง หรือวิธีการลงคะแนนออกเสียง
ผู้ใดกระทำตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท และผู้กระทำตาม (5) หรือ (6) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด ไม่เกินห้าปีด้วยก็ได้