โดย : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
ดิฉันไปเข้าเรียนหลักสูตรธรรมศาสตร์เพื่อสังคมด้วยความที่อยากเรียนรู้เรื่องบ้านเมืองมากขึ้น
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางหลักสูตรได้จัดให้มีหัวข้อ “ประชามติกับสังคมไทย” โดยศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดี ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เกียรติมาเป็นผู้บรรยาย
ศ.ดร.นครินทร์เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งมีระบุในมาตรา 165 เกี่ยวกับสิทธิในการลงประชามติของประชาชน โดยเราได้เคยใช้ไปเพียงครั้งเดียวในการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 นี้นี่เอง
อาจารย์เปรียบเทียบการลงประชามติของสมาพันธรัฐสวิส หรือสวิตเซอร์แลนด์ โดยนำสถิติการลงประชามติของเขามาให้ดูว่าตั้งแต่ปี 1848 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011 คนสวิสได้ลงประชามติมาแล้ว 554 ครั้ง (หากนับถึงเดือนตุลาคม 2556 เท่ากับ 576 ครั้ง)
โดยมีเรื่องที่ลงประชามติผ่าน 275 เรื่อง ไม่ผ่าน 279 เรื่อง และหากตัดเฉพาะช่วงเวลาที่ใกล้ๆนี้มาศึกษาดู คือตั้งแต่ปี 1981 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2011 หรือประมาณ 30 ปี มีการลงประชามติไป 255 ครั้ง ผ่าน 122 ครั้ง และไม่ผ่าน 133 ครั้ง
การลงประชามติ คือการให้ประชาชนตัดสินในเรื่องสำคัญ ถือเป็นประชาธิปไตยทางตรง แสดงว่าอำนาจเป็นของประชาชน และความรับผิดชอบเป็นของประชาชน สามารถใช้ควบคู่ไปกับระบบตัวแทน คือการเลือก สส.ได้
ในสวิตเซอร์แลนด์ การลงประชามติมี 2 ประเภท คือ ภาคบังคับ หรือ Mandatory/Compulsory Referendums จะเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องลงประชามติเสมอ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือบางมาตรา การเข้าทำสัญญา FTA กับประเทศหรือกลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่ง การเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินใหม่ (เช่น ยูโร) ซึ่งสามารถเสนอโดยสภา หรือโดยประชาชนเข้าชื่อกันเกินกว่า 100,000 คนก็ได้มีกรอบดำเนินการ 18 เดือน
ประเภทที่สองเป็นการลงประชามติแบบทางเลือก (Optional Referendums) กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาแห่งสมาพันธ์แล้ว จะยังไม่มีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมาย จะต้องรอให้ครบ 90 วันเสียก่อน ในระหว่างนั้นประชาชนจะมีสิทธิคัดค้าน โดยจะต้องเข้าชื่อร่วมกัน ไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อให้มีการจัดทำประชามติ
โดยหากไม่มีการเสนอขอก็สามารถผ่านเป็นกฎหมายได้เลย โดยหากเป็นกฎหมายธรรมดา เสนอโดยประชาชน 50,000 คน และดำเนินการภายใน 90 วัน ส่วนกฎหมายฉุกเฉินจะมีเงื่อนเวลาบังคับและมีการระบุวัน
สำหรับประเทศไทย มาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้นอยู่ในหมวดที่ 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ไม่ได้อยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยระบุดังนี้
“มาตรา 165 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในเหตุดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงผลประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีการออกเสียงประชามติได้ (2) ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ
การออกเสียงประชามติตาม (1) หรือ (2) อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หรือเป็นการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ
การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือเกี่ยวกับตัวบุคคล หรือคณะบุคคลจะกระทำมิได้
ก่อนการออกเสียงประชามติรัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ และให้บุคคลฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน
หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการออกเสียงประชามติ ระยะเวลาในการดำเนินการ และจำนวนเสียงประชามติเพื่อมีข้อยุติ”
ศ.ดร.นครินทร์ชี้ให้เห็นว่า การลงประชามติในประเทศไทย ต้องริเริ่มโดยนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
ดิฉันเขียนบทความในวันนี้ เพื่อเสนอทางออกให้กับรัฐบาลในการดำเนินการเกี่ยวข้องกับสี่เรื่องหลักที่เป็นผลประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน และยังเป็นปัญหาคาใจประชาชนในทุกวันนี้คือ
1.การจำนำข้าว ที่ใช้งบประมาณเลยเถิดบานปลายไปมากมายไม่มีที่สิ้นสุด บิดเบือนกลไกตลาด และทำให้ข้าวไทยสูญเสียความน่าเชื่อถือในตลาดโลก แม้จะมีผู้ได้ประโยชน์ แต่ประโยชน์นั้นได้มาไม่คุ้มค่า
ดิฉันจำได้ว่าเคยไปบรรยายเรื่องแนวโน้มการลงทุนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 ที่วิทยาลัยตลาดทุน ในช่วงนั้นกำลังมีการหาเสียงเลือกตั้งกัน ยังไม่ทราบว่าพรรคไหนจะได้จัดตั้งรัฐบาล ดิฉันได้ฝากกับนักศึกษาไว้ว่าในฐานะที่ท่านนักศึกษาเหล่านั้นมีส่วนต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
นโยบายเรื่องข้าวนี้ ดิฉันเชื่อว่าการชดเชยแบบที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่นเหมาะสมกว่า เพราะไม่บิดเบือนกลไกตลาด และการจำนำ(ที่จริงเป็นการรับซื้อในราคาสูง) เป็นการดำเนินการที่มีโอกาสรั่วไหล มีช่องโหว่ได้มาก
2.การทำโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งใช้เงินมหาศาล และน้อยประเทศมากที่ใช้จนคุ้มทุน เนื่องจากต้องมีสัดส่วนประชากรที่สามารถใช้บริการได้หนาแน่นถึงระดับหนึ่ง (critical mass)
3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราอุตส่าห์จัดลงประชามติครั้งแรกเพื่อรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หากจะมีการแก้ไขก็ควรจะให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเป็นผู้ออกเสียงว่าจะรับหรือไม่รับข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในแต่ละมาตราที่จะแก้ จึงจะถือเป็นการเคารพในสิทธิของประชาชน
4.การทำสนธิสัญญา หรือความตกลงเปิดเสรีการค้าและบริการ กับประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น EU การเข้าร่วม TPA ฯลฯ
ในฐานะผู้หญิงคนหนึ่ง ดิฉันอยากจะกราบเรียนฯพณฯนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยว่า “กล้าๆหน่อยค่ะ เสนอจัดลงประชามติเลย”
หากผ่านให้ทำหรือทำต่อ ก็จะไม่มีใครมากล่าวหาท่านได้อีกว่า นำเงินของประเทศไปผลาญใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนส่วนน้อย ทำร้ายอุตสาหกรรมข้าวไทย ลงทุนในโครงการขี่ช้างจับตั๊กแตน หรือฝืนแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง หรือกล่าวหาว่าทำสัญญา FTA โดยไม่มีการถือเอาประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นที่ตั้ง
หรือหากไม่ผ่านให้ทำหรือทำต่อ ก็จะไม่มีใครกล่าวหาว่าท่านผิดสัญญา ไม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ เพราะถือว่าประชาชนมีประชามติไม่ให้ทำหรือไม่ให้ทำต่อ
เท่านี้ ท่านก็จะได้ใจ ได้ความนิยมชมชื่นจากผู้คนมากมาย
ประชามติ (Referendum) ทางออกที่ควรพิจารณา
ดิฉันไปเข้าเรียนหลักสูตรธรรมศาสตร์เพื่อสังคมด้วยความที่อยากเรียนรู้เรื่องบ้านเมืองมากขึ้น
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางหลักสูตรได้จัดให้มีหัวข้อ “ประชามติกับสังคมไทย” โดยศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดี ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เกียรติมาเป็นผู้บรรยาย
ศ.ดร.นครินทร์เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งมีระบุในมาตรา 165 เกี่ยวกับสิทธิในการลงประชามติของประชาชน โดยเราได้เคยใช้ไปเพียงครั้งเดียวในการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 นี้นี่เอง
อาจารย์เปรียบเทียบการลงประชามติของสมาพันธรัฐสวิส หรือสวิตเซอร์แลนด์ โดยนำสถิติการลงประชามติของเขามาให้ดูว่าตั้งแต่ปี 1848 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011 คนสวิสได้ลงประชามติมาแล้ว 554 ครั้ง (หากนับถึงเดือนตุลาคม 2556 เท่ากับ 576 ครั้ง)
โดยมีเรื่องที่ลงประชามติผ่าน 275 เรื่อง ไม่ผ่าน 279 เรื่อง และหากตัดเฉพาะช่วงเวลาที่ใกล้ๆนี้มาศึกษาดู คือตั้งแต่ปี 1981 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2011 หรือประมาณ 30 ปี มีการลงประชามติไป 255 ครั้ง ผ่าน 122 ครั้ง และไม่ผ่าน 133 ครั้ง
การลงประชามติ คือการให้ประชาชนตัดสินในเรื่องสำคัญ ถือเป็นประชาธิปไตยทางตรง แสดงว่าอำนาจเป็นของประชาชน และความรับผิดชอบเป็นของประชาชน สามารถใช้ควบคู่ไปกับระบบตัวแทน คือการเลือก สส.ได้
ในสวิตเซอร์แลนด์ การลงประชามติมี 2 ประเภท คือ ภาคบังคับ หรือ Mandatory/Compulsory Referendums จะเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องลงประชามติเสมอ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือบางมาตรา การเข้าทำสัญญา FTA กับประเทศหรือกลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่ง การเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินใหม่ (เช่น ยูโร) ซึ่งสามารถเสนอโดยสภา หรือโดยประชาชนเข้าชื่อกันเกินกว่า 100,000 คนก็ได้มีกรอบดำเนินการ 18 เดือน
ประเภทที่สองเป็นการลงประชามติแบบทางเลือก (Optional Referendums) กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาแห่งสมาพันธ์แล้ว จะยังไม่มีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมาย จะต้องรอให้ครบ 90 วันเสียก่อน ในระหว่างนั้นประชาชนจะมีสิทธิคัดค้าน โดยจะต้องเข้าชื่อร่วมกัน ไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อให้มีการจัดทำประชามติ
โดยหากไม่มีการเสนอขอก็สามารถผ่านเป็นกฎหมายได้เลย โดยหากเป็นกฎหมายธรรมดา เสนอโดยประชาชน 50,000 คน และดำเนินการภายใน 90 วัน ส่วนกฎหมายฉุกเฉินจะมีเงื่อนเวลาบังคับและมีการระบุวัน
สำหรับประเทศไทย มาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้นอยู่ในหมวดที่ 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ไม่ได้อยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยระบุดังนี้
“มาตรา 165 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในเหตุดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงผลประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีการออกเสียงประชามติได้ (2) ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ
การออกเสียงประชามติตาม (1) หรือ (2) อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หรือเป็นการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ
การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือเกี่ยวกับตัวบุคคล หรือคณะบุคคลจะกระทำมิได้
ก่อนการออกเสียงประชามติรัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ และให้บุคคลฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน
หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการออกเสียงประชามติ ระยะเวลาในการดำเนินการ และจำนวนเสียงประชามติเพื่อมีข้อยุติ”
ศ.ดร.นครินทร์ชี้ให้เห็นว่า การลงประชามติในประเทศไทย ต้องริเริ่มโดยนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
ดิฉันเขียนบทความในวันนี้ เพื่อเสนอทางออกให้กับรัฐบาลในการดำเนินการเกี่ยวข้องกับสี่เรื่องหลักที่เป็นผลประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน และยังเป็นปัญหาคาใจประชาชนในทุกวันนี้คือ
1.การจำนำข้าว ที่ใช้งบประมาณเลยเถิดบานปลายไปมากมายไม่มีที่สิ้นสุด บิดเบือนกลไกตลาด และทำให้ข้าวไทยสูญเสียความน่าเชื่อถือในตลาดโลก แม้จะมีผู้ได้ประโยชน์ แต่ประโยชน์นั้นได้มาไม่คุ้มค่า
ดิฉันจำได้ว่าเคยไปบรรยายเรื่องแนวโน้มการลงทุนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 ที่วิทยาลัยตลาดทุน ในช่วงนั้นกำลังมีการหาเสียงเลือกตั้งกัน ยังไม่ทราบว่าพรรคไหนจะได้จัดตั้งรัฐบาล ดิฉันได้ฝากกับนักศึกษาไว้ว่าในฐานะที่ท่านนักศึกษาเหล่านั้นมีส่วนต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
นโยบายเรื่องข้าวนี้ ดิฉันเชื่อว่าการชดเชยแบบที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่นเหมาะสมกว่า เพราะไม่บิดเบือนกลไกตลาด และการจำนำ(ที่จริงเป็นการรับซื้อในราคาสูง) เป็นการดำเนินการที่มีโอกาสรั่วไหล มีช่องโหว่ได้มาก
2.การทำโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งใช้เงินมหาศาล และน้อยประเทศมากที่ใช้จนคุ้มทุน เนื่องจากต้องมีสัดส่วนประชากรที่สามารถใช้บริการได้หนาแน่นถึงระดับหนึ่ง (critical mass)
3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราอุตส่าห์จัดลงประชามติครั้งแรกเพื่อรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หากจะมีการแก้ไขก็ควรจะให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเป็นผู้ออกเสียงว่าจะรับหรือไม่รับข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในแต่ละมาตราที่จะแก้ จึงจะถือเป็นการเคารพในสิทธิของประชาชน
4.การทำสนธิสัญญา หรือความตกลงเปิดเสรีการค้าและบริการ กับประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น EU การเข้าร่วม TPA ฯลฯ
ในฐานะผู้หญิงคนหนึ่ง ดิฉันอยากจะกราบเรียนฯพณฯนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยว่า “กล้าๆหน่อยค่ะ เสนอจัดลงประชามติเลย”
หากผ่านให้ทำหรือทำต่อ ก็จะไม่มีใครมากล่าวหาท่านได้อีกว่า นำเงินของประเทศไปผลาญใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนส่วนน้อย ทำร้ายอุตสาหกรรมข้าวไทย ลงทุนในโครงการขี่ช้างจับตั๊กแตน หรือฝืนแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง หรือกล่าวหาว่าทำสัญญา FTA โดยไม่มีการถือเอาประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นที่ตั้ง
หรือหากไม่ผ่านให้ทำหรือทำต่อ ก็จะไม่มีใครกล่าวหาว่าท่านผิดสัญญา ไม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ เพราะถือว่าประชาชนมีประชามติไม่ให้ทำหรือไม่ให้ทำต่อ
เท่านี้ ท่านก็จะได้ใจ ได้ความนิยมชมชื่นจากผู้คนมากมาย