ประชามติ ผ่านหรือไม่ผ่าน มีเงื่อนไขอย่างไร ?

กระทู้สนทนา
หลังจากได้ติดตามฟังข่าวเรื่องของการทำประชามติ ที่มีข่าวออกทางสื่อต่างๆ มาว่า ประชามติจะผ่านได้นั้น ต้องมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง นั่นหมายความว่า หากประชาชนกรชาวไทยที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงทั้งประเทศมี 46 ล้านคน(โดยประมาณ) หากประชามติจะผ่าน จะต้องมีคนลงคะแนนเสียงเห็นชอบกับประชามติฉบับนั้น มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง หรือเกินกว่า 23 ล้านเสียง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะคนไทยไม่ค่อยกระตือรือร้นที่จะออกมาลงคะแนนเสียงกันเท่าไรนัก จะมีคนออกมาลงคะแนนเสียงถึง 20 ล้านคนหรือเปล่า ยังไม่แน่ใจกันเลย

จำได้ว่า ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ปี 2552 รัฐบาลต้องการทำประชามติอะไรสักอย่าง แต่เจอข้อจำกัดของมาตรา 165 ในรัฐธรรมนูญ 2550 จะทำให้การทำประชามติไม่มีทางผ่านได้เลย จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าด้วยการลงประชามติ โดยออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญปี 2552  

ในมาตรา 9 ของ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ บอกว่า

"การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ ต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียง ในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น

การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงในการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ

การออกเสียงตามที่มีกฎหมายบัญญัติตามมาตรา ๑๖๕ (๒) ของรัฐธรรมนูญให้ถือจำนวนคะแนนเสียงตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ แต่ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติจำนวนคะแนนเสียงไว้ให้นำความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม"  

ที่มา :  http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538974560&Ntype=19

ใครมีความคิดเห็นประการใดก็เชิญแนะนำกันมานะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่