JJNY : ยิ่งชีพ ย้อนอดีต ปี’63 ร่างแก้ รธน.│สภาป่วนแต่เช้า!│Nissan ปิดโรงงานผลิตรถยนต์│สหรัฐจะเพิ่มการขายอาวุธให้อินเดีย

ยิ่งชีพ ย้อนอดีต ปี’63 เพื่อไทย โหวตหนุน ร่างแก้ รธน. ฉบับปชช. แม้ไม่ล็อกหมวด1-2.
https://www.matichon.co.th/politics/news_5048578
 
ยิ่งชีพ ย้อนอดีต ปี’63 เพื่อไทย โหวตหนุน ร่างแก้ รธน. ฉบับปชช. แม้ไม่ล็อกหมวด1-2
 
09.40 น. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่..)พ.ศ….(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 การประชุมร่วมรัฐสภา ต่อจากเมื่อวันที่ 13 ก.พ.เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ ทำให้ไม่สามารถพิจารณาได้
 
โดยนายพริษฐ์ อภิปรายว่า เมื่อมีข้อมูลเช่นนี้จากซีกรัฐบาลก็ได้มีการหารือกันว่าพอจะเป็นไปได้หรือไม่ว่า เราจะเดินหน้าหาเรื่องนี้เกินไปและไม่เร่งนับองค์ประชุม ขอให้พักอีก 10 นาที
 
โดยนายวัชระพล ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย  กล่าวเสนอขอให้นับองค์ประชุมโดยการเสียบบัตร แทนการขานชื่อ ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ กดออดเรียกสมาชิกเพื่อจะขอมติว่า จะตรวจสอบองค์ประชุมด้วยวิธีการขานหรือเสียบบัตร
 
ผลปรากฏว่า มีองค์ประชุมจำนวน 175 คน ถือว่า ไม่ครบองค์ประชุม ขณะที่มียอดผู้เข้าประชุม 620 คน ทั้งนี้นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน พยายามที่จะขอให้นับใหม่ แต่ไม่เป็นผล ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ แจ้งว่าเมื่อองค์ประชุมไม่ครบขอปิดการประชุม และปิดในเวลา 10.47 น.
 
ล่าสุด นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าว ระบุว่า 

“จะขอย้อนความจำว่าในปี 2563 ประชาชนเข้าชื่อกัน 100,732 ชื่อ ยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ยกเลิกอำนาจที่ไม่ชอบธรรมของคสช. และเสนอการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
 
ตอนนั้นเรารู้อยู่แล้วว่า ยากมากที่ส.ว.จะไม่โหวตให้ แต่เราก็เสนอแนะเราก็ผลักดันเต็มที่ด้วยเหตุและผล ก็ดีใจที่ได้ส.ว. มา 3 เสียง ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน สุดท้ายถึงวันนี้ก็ยังไม่เคยคุยกับเค้าว่าทำไมถึงโหวตให้ แต่มันก็ยังได้อะไรมาบ้างนะ
 
ตอนนั้น พรรคเพื่อไทยมีความเห็นต่างจากเราอยู่ เพราะร่างที่เราเสนอไม่มีการล็อกหมวด 1-2 แต่พรรคเพื่อไทยต้องการล็อก จากกระแสเสียงของประชาชนทำให้พรรคเพื่อไทยไตร่ตรองเรื่องนี้อยู่นาน
 
สุดท้ายทั้งพรรคก็ตัดสินใจโหวตให้ แม้รู้อยู่แล้วว่าเสียงส.ส. ก็ไม่ถึงอยู่ดี ตอนนั้นไม่มีไอเดียเรื่อง “ยื้อ” ไปก่อนเพื่อให้วาระยังไม่ตก ทุกคน “ทำเต็มที่” ผมรู้สึกชื่นชมทุกฝ่ายและรู้สึกภาคภูมิใจครับ”

https://www.facebook.com/pow.ilaw/posts/pfbid0mQyGTXhywnB1ZuDKJamD7ErgsReT47gmxwDJSSTYW1j4hWpSqzcyHuFmCAaScjtl
 


สภาป่วนแต่เช้า! ถกแก้รธน.วันที่2ไม่คืบ ประท้วงวุ่น ชงนับองค์ประชุม สุดท้ายต้องพัก
https://www.khaosod.co.th/politics/news_9633288

สภาป่วนแต่เช้า! ถกแก้รัฐธรรมนูญวันที่ 2 ไม่คืบ หมอชลน่าน เสนอนับองค์ประชุม สส.ประท้วงวุ่นทำ”วันนอร์”วีน หากไม่หยุดจะให้ จนท.มาเอาออกไป สุดท้ายพักการประชุมก่อน
 
เมื่อเวลา 09.40 น. วันที่ 14 ก.พ.2568 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่..)พ.ศ….(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) ของนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน และคณะเป็นผู้เสนอ และร่างของนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ ต่อจากเมื่อวันที่ 13 ก.พ.เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ ทำให้ไม่สามารถพิจารณาได้
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวันมูหะมัดนอร์ ได้แจ้งก่อนเข้าวาระว่าได้กำหนดเวลาพิจารณาทั้งหมด 19 ชั่วโมง โดยวิปแต่ละฝ่ายได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว จึงอนุญาตให้นายพริษฐ์ อภิปรายในฐานะผู้เสนอญัตติ ซึ่งนายพริษฐ์ กำลังเริ่มอภิปราย
 
แต่นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นขอหารือ แต่ยังไม่ทันพูดนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน ก็ประท้วงประธานรัฐ ในการควบคุมการประชุมเช่นกัน เพราะขณะนี้นายพริษฐ์ ได้เข้าสู่ระเบียบวาระแล้ว ถ้าสมาชิกหารือควรจะรอให้นายพริษฐ์ เสนอญัตติให้จบก่อน
 
นายวันมูหะมัดนอร์ ชี้แจงกับ นพ.ชลน่านว่า เข้าระเบียบวาระแล้ว ดังนั้นหลังจากนายพริษฐ์ อภิปรายจบ เดี๋ยวจะให้พูด แต่ไม่ใช่หารือเรื่องอื่น หากหารือเรื่องอื่น รัฐธรรมนูญจะตก ตนจึงไม่อนุญาต
 
แต่นพ.ชลน่าน ขอใช้สิทธิ์ประท้วงการทำหน้าที่ของประธานรัฐสภา และเพื่อนสมาชิกรัฐสภา ว่าตนไม่เชื่อในข้อบังคับที่ประธานจะเข้าสู่ระเบียบวาระในขณะที่ เพราะตนเชื่อว่าองค์ประชุมที่จะเข้าสู่ระเบียบวาระได้
 
ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ ตัดบท พร้อมกล่าวว่า ตามข้อบังคับระบุว่าหากสมาชิกมาลงชื่อครบองค์ประชุมแล้วก็ต้องดำเนินการประชุมไป ซึ่งขณะนี้มาร่วมลงชื่อเกินองค์ประชุมแล้ว ตนก็เปิดประชุม ไม่ทราบว่าผิดข้อบังคับข้อใด
 
นพ.ชลน่าน จึงแจ้งว่า เป็นไปตามข้อบังคับอย่างนั้นจริงๆ แต่เมื่อเปิดประชุมได้แล้วการจะพิจารณาเรื่องใดๆโดยเฉพาะเรื่องสำคัญ องค์ประชุมที่อยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ต้องคบด้วย เพราะฉะนั้นตนขอประท้วงและให้ประธานวินิจฉัย
 
แต่นายวันมูหะมัดนอร์ ชี้แจงสวนขึ้นว่า สมัยนายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา เคยมีการเสนอเรื่องอย่างนี้แล้วซึ่งประธานได้วินิจฉัยว่าเมื่อองค์ประชุมครบก็เปิดประชุมได้แต่ถ้าดำเนินการประชุมในระหว่างนั้นสมาชิกเห็นว่าองค์ประชุมไม่ครบก็ใช้สิทธิ์นับองค์ประชุมได้ แต่หน้าที่ประธานเมื่อองค์ประชุมครบจำนวนก็ต้องเปิดประะชุมตามระเบียบวาระ และถ้านายพริษฐ์ เสนอไปจะจบหรือไม่จบท่านสามารถใช้สิทธิ์ แต่ถ้าท่านไม่ใช้สิทธิ์นับองค์ประชุมตุ่นถือว่าตนดำเนินการตามข้อบังคับแล้ว ยืนยันว่าตนทำหน้าที่ตามข้อบังคับ
 
แต่นพ.ชลน่าน ไม่ยอม พร้อมกล่าวว่าถ้าตนไม่อย่างนี้ก็ไม่มีโอกาสได้พูดเลย ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ เพราะฉะนั้นตนขอเสนอให้ตรวจสอบองค์ประชุม ก่อนที่ผู้เสนอจะอภิปรายตามระเบียบวาระ
 
นายวันมูหะมัดนอร์ จึงแจ้งว่า นพ.ชลน่านเสนอให้นับองค์ประชุม และมีผู้รับรองถูกต้อง ทำให้นายปกรณ์วุฒิ ประท้วงว่า ประท้วง ให้ควบคุมการประชุม เพราะประธานได้วินิจฉัยไปแล้วว่านายพริษฐ์เข้าสู่ญัตติไปแล้ว แต่นพ.ชลน่านใช้สิทธิ์ประท้วง ทั้งที่ประธานได้วินิจฉัยไปแล้ว
 
ดังนั้น สิ่งที่ นพ.ชลน่านพูด ชัดเจนว่าจงใจที่จะทำผิดข้องบังคับ เพื่อที่จะเสนอญัตติแทรกเข้ามา จึงขอให้ประธานวินิจฉัยว่าได้เข้าสู่ญัตติไปแล้ว ไม่มีสมาชิกมีสิทธิ์ที่ตจะเสนอญัตติใดๆแทรก แต่นพ.ชลน่าน ยืนยันสิ่งที่ตนเสนอถูกต้องตามที่ประธานวินิจฉัย
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยความวุ่นวาย เพราะ นายพริษฐ์ ได้พยายามอธิบายที่จะเดินหน้าแถลงเสนอญัตติ ว่าในสส.พรรคเพื่อไทยได้ประท้วงและขอให้นับองค์ประชุมก่อนเสนอญัตติ
 
โดยนายวันมูหะมัดนอร์ วินิจฉัยว่า แม้ว่าจะให้แถลงญัตติแล้ว แต่เมื่อมีการเสนอให้ตรวจสอบองค์ประชุมสามารถทำได้ และประธานต้องดำเนินการนับองค์ประชุม โดยไม่มีเหตุผลอะไร เพราะการเสนอนับองค์ประชุมเป็นเอกสิทธิ์ พร้อมกับเรียน สมาชิกรัฐสภากดบัตรแสดงตน
 
เจตนาผมเมื่อองค์ประชุมครบต้องเปิดการประชุม เป็นไปตามข้อบังคับ หากมีสมาชิกขอนับองค์ประชุมตรวจสอบองค์ประชุม ผมต้องดำเนินการ เพราะเป็นเอกสิทธิ์ ระหว่างนับองค์ประชุมต้องทำให้จบก่อนดำเนินการต่อไปได้” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว
 
ทั้งนี้ มีสมาชิกรัฐสภายกมือประท้วงจำนวนมาก แต่นายวันมูหะมัดนอร์ ไม่อนุญาตพร้อมบอกว่า จะให้สิทธิประท้วงทุกคน แต่หลังจากที่นับองค์ประชุมแล้วเสร็จ และได้ปิดไมโครโฟนของสมาชิกรัฐสภา
 
ก่อนอธิบายว่า ตนไม่มีเจตนาว่าจะทำให้ประชุมได้หรือไม่ แต่ประชาชนจะตัดสินเองว่าการลงมตินั้นสมควรหรือไม่ ตนไม่มีอำนาจอะไร ต้องดำเนินการไปตามข้อบังคับ ไม่เช่นนั้นภาพประท้วงจะออกไปข้างนอก ภาพของสภาจะเสีย ต้องดำเนินการตามวาระ ทั้งนี้ผมขออธิบายถึงเหตุผลที่ต้องบรรจุวาระหลังจากที่มีการเสนอญัตติ ผมได้เสนอให้ที่ปรึกษากฎหมายของประธานสภาฯ
 
ทั้งนี้ ระหว่างนั้นห้องประชุมเป็นไปอย่างวุ่นวาย มีสมาชิกรัฐสภาตะโกนประท้วงนายวันมูหะมัดนอร์ จนทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวขึ้นว่า “หากไม่อยู่ในระเบียบต้องให้เจ้าหน้าที่มาเชิญ มาว่าผมเข้าข้างฝ่ายรัฐบาลหรือ ขอให้ประธานวิปแต่ละฝ่ายดำเนินการ”
 
นายพริษฐ์ ขอหารือว่า การเสนอนับองค์ประชุมที่ผ่านมามีการให้หารือ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้ให้สิทธิเพื่ออธิบายให้กับสมาชิกรัฐสภาที่เสนอขอนับองค์ประชุมได้รับทราบ
 
ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ ชี้แจงว่า “หากองค์ประชุมไม่ครบ ขอให้ไปแถลงกับสื่อมวลชน ผมเข้าใจคุณพริษฐ์ ถึงบรรจุ คุณไม่ต้องส่ายหัว หากผมไม่จริงใจ ก็จะไม่บรรจุ ผมให้ความสำคัญกับคุณ แต่คุณไม่ให้ความสำคัญกับประธานเลย เราจะดื้อเอาตามใจของแต่ละคนไม่ได้ ท่านคงไม่ใส่ร้ายผมว่าไม่เป็นกลาง หากไม่กลางคงไม่บรจุวาระ
 
ต่อมาเวลา 10.05 น. น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว. เสนอให้นำองค์ประชุมโดยการขานชื่อ ทำให้ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า การนับองค์ประชุมด้วยการขานชื่อ เป็นไปตามข้อบังคับ แต่ข้อบังคับข้อที่ 56 กำหนดว่าการนับองค์ด้วยการขานชื่อ ต้องให้รัฐสภาอนุมัติ หากรับญัตติดังกล่าวต้องถามให้สมาชิกรัฐสภาอนุญาตและต้องตรวจสอบองค์ประชุม
 
ทำให้นายปกรณ์วุฒิ ขอให้พักการประชุมเพื่อให้ทุกฝ่ายหารือร่วมกัน ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ จึงสั่งให้พักการประชุม 20 นาที ในเวลา 10.10 น. หลังจากที่ประชุมได้เปิดประชุมไปเพียง 30 นาที


 
Nissan ปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกในไทย กำลังผลิตหาย 2.2 แสนคัน.
https://www.matichon.co.th/economy/auto/news_5048655

นิสสัน ปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกในไทย กำลังผลิตหาย 2.2 แสนคัน
 
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก นายมาโกโตะ อูชิดะ ประธานและซีอีโอของนิสสัน (Makoto Uchida-President and CEO) ออกมาประกาศความคืบหน้า ว่านิสสันมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนลงประมาณ 400,000 ล้านเยนนั้น ในปีงบประมาณ 2026
 
หนึ่งในแผนงานเป็นการรวมสายการผลิต ปรับรูปแบบการทำงานแบบกะ และการโอนงาน โดยเริ่มจากโรงงาน 3 แห่งในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2025 ได้แก่ โรงงานที่เมือง Smyrna และเมือง Canton ในสหรัฐอเมริกา และรวมถึงโรงงานในประเทศไทยนั้น

ล่าสุดแหล่งข่าวจาก บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าสำหรับประกาศปิดโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทยนั้น คือ โรงงานแห่งที่ 1 หรือโรงงานแห่งแรก โดยนิสสันเตรียมปรับเปลี่ยนจากโรงงานผลิตรถยนต์ไปเป็นการใช้พื้นที่สำหรับเป็นโรงงานเพื่อผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แทน

สำหรับโรงงานที่ 1 เดิมผลิตรถยนต์ ได้แก่ เทียน่า, เอ็กซ์เทรล, ซิลฟี่, โน๊ต, มาร์ช และอัลเมร่า (โมเดลแรก) ซึ่งเป็นกลุ่มรถยนต์ที่รุ่นที่ไม่ได้จำหน่ายในประเทศไทยแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่