เหตุการณ์เมื่อปี2564 ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ "ต้อง"
.....ให้ประชาชนลงประชามติก่อนว่า ‘ประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่’ และ ‘เห็นชอบหรือไม่กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนเท่านั้น!!!!
ต่อมา........
ในช่วงปี2565-2567 มีความพยายามผลักดันให้เกิดการแก้ไขมาตราต่างๆ เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้ง สสร. ขึ้นมาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่สำเร็จ
ถ้าหากเราจะพูดถึงต้นเหตุและที่มาของรัฐธรรมนูญ 2560 หลายคนคงจะเข้าใจดีว่าชนวนเหตุมาจากการรัฐประหารในปี 2557 นำมาซึ่งการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2559 และนี่คือสารตั้งต้นของเรื่องราวยุ่งเหยิงในทุกวันนี้ เป็นมรดกของ คสช. เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาทั้งเรื่องอำนาจ สว. ที่มากล้น องค์กรอิสระที่ไม่อิสระ การยับยั้งกลไกกระจายอำนาจของท้องถิ่น ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญคือ คณะผู้เขียนรัฐธรรมนูญ 2560 วางกลไกไว้ซับซ้อนชนิดที่การแก้ไขหรือเขียนใหม่แทบเป็นไปไม่ได้
ความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญมีมาเรื่อยๆ ล่าสุดคือการประชุมร่วมกันของรัฐสภาทั้ง สส. และ สว. วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ ที่มีไฮไลต์คือการโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 เพื่อเปิดทางเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มายกร่างฉบับใหม่ ซึ่งมีทั้งร่างจากพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน แต่เริ่มประชุมวันแรกก็มีเรื่องว้าวุ่นเกิดขึ้นจาก สส.บางพรรค และ สว.บางกลุ่ม จนสภาล่มไป
หนทางอันขรุขระของรัฐธรรมนูญใหม่
........ในปี 2563 ทั้งพรรคการเมืองและภาคประชาชนยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายฉบับ โดยหลักๆ แล้วเกิดจากแรงกดดันทางการเมืองจากกลุ่มประชาชนและฝ่ายค้านในขณะนั้น นับเป็นปีแรกที่เริ่มต้นกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นรูปธรรม
23-24 กันยายน 2563 - หลังจากเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำโดยรัฐบาล (พรรคพลังประชารัฐ) 1 ร่าง ฝ่ายค้าน 5 ร่าง และประชาชน 1 ร่าง แต่ท้ายที่สุดสภาไม่ได้ลงมติรับหลักการ แต่กลับมีการลงมติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาญัตติแก้รัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ พรรคฝ่ายค้านคัดค้านไม่เข้าร่วม กมธ. ชุดที่ตั้งขึ้น มีเพียงแค่ สว. และ สส. จากฝั่งรัฐบาลเข้าร่วม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนของ คสช. ทั้งสิ้น
จนถึงปี 2564
9 กุมภาพันธ์ 2564 - ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ และ สว. สมชาย แสวงการ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภามีอำนาจหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่
11 มีนาคม 2564 - ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อนว่า
1) ‘ประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่’
2) ‘เห็นชอบหรือไม่กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่’
ซึ่งกฎหมายประชามติระบุว่า หากมีรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ขึ้นมาใหม่ กฎหมายประชามติจะต้องออกใหม่ตามมาด้วย จะใช้กฎหมายประชามติปี 2550 หรือปีก่อนๆ ไม่ได้
17 มีนาคม 2564 - รัฐสภาลงคะแนนเสียงมติวาระสาม ปรากฏว่า สว. ส่วนใหญ่ไม่ลงคะแนนเสียงและงดออกเสียง มีเพียงสองคนคือ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ พิศาล มาณวพัฒน์ ที่ลงมติเห็นชอบ
6 เมษายน 2564 - รัฐสภาโหวตคว่ำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
15 มิถุนายน 2564 - พรรคเพื่อไทย แถลงข่าวถึงประเด็นการยื่นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ว่า การแก้ไขมาตรา 256 ทำเพื่อให้ สสร. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยกเว้นในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์
20 มิถุนายน 2564 - พรรคก้าวไกล แถลงข่าวประกาศจุดยืนไม่เห็นด้วยกับพรรคเพื่อไทย กรณีเสนอการจำกัดอำนาจ สสร. ห้ามแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 เนื่องจากมองว่ารัฐสภามีอำนาจในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด
23 มิถุนายน 2564 รัฐสภาประชุมร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม รวม 13 ฉบับ เป็นของพรรคพลังประชารัฐ 1 ฉบับ เพื่อไทย 4 ฉบับ และพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรคอีก 8 ฉบับ ในบรรดาร่างทั้งหมด มีผ่านแค่ร่างเดียว คือ ‘ร่างที่ 13’ ซึ่งแก้ไขระบบ สส. ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ มาตรา 83, 91 เป็นที่มาของการมี สส.เขต 400 คน และ สส.บัญชีรายชื่อ 100 คน
ขณะที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางถึงที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องใช้การโหวตของ สว. ตามบทเฉพาะกาล หลายพรรคจึงอภิปรายเรื่องการแก้ไขมาตรา 272 เพื่อปิดสวิตช์ สว. แต่ก็ถูก สว. แต่งตั้ง 250 คนคัดค้าน
..............
แก้รัฐธรรมนูญครั้งใหม่ ประเด็นไหนใครใคร่แก้?
2565
7 กันยายน 2565 - รัฐสภามีมติไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีการเสนอร่างแก้ไขทั้งหมด 4 ฉบับ โดย 3 ฉบับมาจาก สส. พรรคเพื่อไทย และอีก 1 ฉบับมาจากภาคประชาชนที่รวบรวมรายชื่อกว่า 60,000 รายชื่อ
โดยร่างทั้งหมดมีเป้าหมายร่วมกันคือการยกเลิกมาตรา 272 ซึ่งให้อำนาจสว. จำนวน 250 คน ที่ คสช. แต่งตั้ง สามารถลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ สส. ได้
ผลที่ออกมาคือ
รับหลักการ 356 คะแนน (ส.ส. 333 คะแนน ส.ว. 23 คะแนน)
ไม่รับหลักการ 253 คะแนน (ส.ส. 102 คะแนน ส.ว. 151 คะแนน)
งดออกเสียง 53 คะแนน (ส.ส. 8 คะแนน ส.ว. 45 คะแนน)
รวม ส.ส. 443 คน และ ส.ว. 219 คน เป็น 662 คน
ที่ประชุมออกเสียงรับหลักการ 356 คะแนน ซึ่งน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา คือน้อยกว่า 364 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติ ‘ไม่รับหลักการ’
......
-ร่างแก้รัฐธรรมนูญ ‘NO 272’ โอกาสสุดท้ายตัดอำนาจ ส.ว.แต่งตั้ง เลือกนายกฯ
2566
20 มีนาคม 2566 - รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยุบสภาก่อนวันครบวาระที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรหมดลงเพียง 3 วัน
เมษายน 2566 - หลายพรรคการเมืองหาเสียงจากนโยบายเขียนรัฐธรรมนูญใหม่แทนฉบับ 2560 เช่น พรรคเพื่อไทย ประกาศให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของพรรค โดยจะต้องมีที่มาจาก สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง
พรรคก้าวไกล (ขณะนั้น) ประกาศไว้เป็นนโยบายหลัก โดยมีแนวทางคือ ‘ร่างใหม่’ ผ่าน สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
พรรคชาติไทยพัฒนา ประกาศเป็นนโยบายหลักเช่นกัน โดยยึดหลัก ‘บรรหารโมเดล’ แต่มีเงื่อนไขไม่แก้หมวด 1 และหมวด 2 ก่อนที่ภายหลังจะบอกว่า ‘ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน’
สิงหาคม 2566 - กลุ่มอำนาจเดิม หรือพรรคร่วมรัฐบาลเก่า อย่าง พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่ได้ประกาศให้การแก้รัฐธรรมนูญเป็นนโยบายหลัก แต่เมื่อรวมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยแล้วจึงมีความเห็นร่วมกันว่าต้องแก้ไข โดยมีเงื่อนไขต่างๆ ด้วย เช่น พรรคภูมิใจไทย ไม่แก้หมวด 1 และ 2 หรือ พรรคประชาธิปัตย์ มีจุดยืนให้มีสสร.เลือกตั้ง แต่ไม่ทั้งหมด
2567
23 เมษายน 2567 - คณะรัฐมนตรี (ครม.) นำโดย เศรษฐา ทวีสิน มีมติให้ทำประชามติ 3 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คือ
ครั้งที่ 1: เห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ครั้งที่ 2: เป็นการทำประชามติในขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ม.256 หรือเรื่อง สสร. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ครั้งที่ 3: เป็นการทำประชามติว่าประชาชนเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญที่ร่างแล้วหรือไม่
ทั้งนี้ มีข้อสรุปเรื่องคำถามของประชามติครั้งแรกคือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์”
แต่กระบวนการจะเริ่มได้ต้องแก้ พ.ร.บ.ประชามติฯ ก่อนทำประชามติครั้งที่ 1 แต่สภาไม่เห็นชอบร่างที่สว.แก้ไข จึงต้องแขวนไว้ 180 วัน
ถึงจะดำเนินการต่อได้ (ครบวันที่ 17 มิถุนายน 2568 )
11 พฤษภาคม 2567 - สว. 250 คนจากการแต่งตั้งของ คสช. ครบวาระ พ้นจากตำแหน่ง
29 มิถุนายน 2567 - ได้ สว.ชุดใหม่ 200 คน จากการเลือกกันเอง ท่ามกลางข้อสังเกตว่า ผู้ที่ได้รับเลือกเข้ามาจำนวนมากเป็น ‘สว.สีน้ำเงิน’
7 สิงหาคม 2567 - ศาลรัฐธรรมนูญมีวินิจฉัยให้ยุบพรรคก้าวไกล จากการหาเสียงเลือกตั้งว่าจะแก้ไขมาตรา 112 ทำให้เกิดกระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง
3 ตุลาคม 2567 - เครือข่ายภาคประชาชนในนามกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ (Con for All )เรียกร้องให้รัฐสภาเร่งทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด
21 พฤศจิกายน 2567 - พริษฐ์ วัชรสินธุ์ สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธาน กมธ.พัฒนาการเมืองฯ หารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องและได้ข้อสรุปว่า ประธานสภาฯ จะบรรจุวาระแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ม.256 และให้ทำประชามติแค่ 2 ครั้ง
..........
และล่าสุดปี2568
13 กุมภาพันธ์ 2568 - ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ‘ล่ม’ ระหว่างการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม. 256 เนื่องจาก สว.สีน้ำเงิน และ สส.พรรคภูมิใจไทยเดินออกจากที่ประชุม เนื่องจากเห็นว่าอาจขัดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ทำให้องค์ประชุมไม่ครบและเลื่อนพิจารณาเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568
บุณย์ธิดา สมชัย ในฐานะโฆษกพรรคภูมิใจไทย ร่วมแถลงถึงจุดยืนของพรรคพร้อมกับ สส. คนอื่นๆ ว่าพรรคเห็นด้วยในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่จะต้องขึ้นอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง ชอบธรรม และไม่สร้างปัญหาในอนาคต ยืนยันว่า 13 กุมภาพันธ์ เป็นการพิจารณาใน ม. 256 เพื่อการตั้ง สสร. และนำไปสู่การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
พรรคภูมิใจไทย เห็นร่วมกันว่าเป็นการขัดคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 เพราะหากจะแก้ไขเพื่อนำไปสู่การแก้ทั้งฉบับ หรือยกร่างใหม่ พรรคตีความคำวินิจฉัยของศาลว่า ต้องมีการทำประชามติถามความเห็นของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศเสียก่อน
ส่วนด้านพรรคเพื่อไทยมีการประเมินมาก่อนแล้วว่ามีโอกาสถูกตีตกสูง จึงแสวงหาวิธีให้ร่างยังอยู่ในสภา ไม่ถูกตีตก คือการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และระหว่างที่ศาลกำลังวินิจฉัย ร่างก็ยังอยู่ และหากวินิจฉัยออกมา พรรคก็มีโอกาสเดินหน้าต่อ แต่หากศาลวินิจฉัยว่าแก้ไม่ได้ สุทิน คลังแสง กล่าวว่า “ก็จะได้ชัดเจน” ด้วยเหตุนี้พรรคจึงสนับสนุนญัตติของ สว.นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. แต่ญัตติแพ้ต่อสภา
พรรคประชาชน โหวตไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเกรงว่าจะยิ่งทำให้กระบวนการล่าช้า แสดงตนเป็นองค์ประชุมให้พิจารณากันต่อ แต่ท้ายที่สุดองค์ประชุมไม่ครบจึงล่มไป
14 กุมภาพันธ์ 2568 - ภาคประชาชนนัดรวมตัวกัน 10.00 น. หน้ารัฐสภา ติดตาม สส. และ สว. เข้าสภาแก้รัฐธรรมนูญ
........
มันจะจบแค่นี้หรือยังได้ไปต่อ?
หรือเราต้องอยู่กับรธน.60ต่อไปตลอดกาล
.....ให้ประชาชนลงประชามติก่อนว่า ‘ประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่’ และ ‘เห็นชอบหรือไม่กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนเท่านั้น!!!!
ต่อมา........
ในช่วงปี2565-2567 มีความพยายามผลักดันให้เกิดการแก้ไขมาตราต่างๆ เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้ง สสร. ขึ้นมาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่สำเร็จ
ถ้าหากเราจะพูดถึงต้นเหตุและที่มาของรัฐธรรมนูญ 2560 หลายคนคงจะเข้าใจดีว่าชนวนเหตุมาจากการรัฐประหารในปี 2557 นำมาซึ่งการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2559 และนี่คือสารตั้งต้นของเรื่องราวยุ่งเหยิงในทุกวันนี้ เป็นมรดกของ คสช. เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาทั้งเรื่องอำนาจ สว. ที่มากล้น องค์กรอิสระที่ไม่อิสระ การยับยั้งกลไกกระจายอำนาจของท้องถิ่น ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญคือ คณะผู้เขียนรัฐธรรมนูญ 2560 วางกลไกไว้ซับซ้อนชนิดที่การแก้ไขหรือเขียนใหม่แทบเป็นไปไม่ได้
ความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญมีมาเรื่อยๆ ล่าสุดคือการประชุมร่วมกันของรัฐสภาทั้ง สส. และ สว. วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ ที่มีไฮไลต์คือการโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 เพื่อเปิดทางเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มายกร่างฉบับใหม่ ซึ่งมีทั้งร่างจากพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน แต่เริ่มประชุมวันแรกก็มีเรื่องว้าวุ่นเกิดขึ้นจาก สส.บางพรรค และ สว.บางกลุ่ม จนสภาล่มไป
หนทางอันขรุขระของรัฐธรรมนูญใหม่
........ในปี 2563 ทั้งพรรคการเมืองและภาคประชาชนยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายฉบับ โดยหลักๆ แล้วเกิดจากแรงกดดันทางการเมืองจากกลุ่มประชาชนและฝ่ายค้านในขณะนั้น นับเป็นปีแรกที่เริ่มต้นกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นรูปธรรม
23-24 กันยายน 2563 - หลังจากเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำโดยรัฐบาล (พรรคพลังประชารัฐ) 1 ร่าง ฝ่ายค้าน 5 ร่าง และประชาชน 1 ร่าง แต่ท้ายที่สุดสภาไม่ได้ลงมติรับหลักการ แต่กลับมีการลงมติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาญัตติแก้รัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ พรรคฝ่ายค้านคัดค้านไม่เข้าร่วม กมธ. ชุดที่ตั้งขึ้น มีเพียงแค่ สว. และ สส. จากฝั่งรัฐบาลเข้าร่วม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนของ คสช. ทั้งสิ้น
จนถึงปี 2564
9 กุมภาพันธ์ 2564 - ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ และ สว. สมชาย แสวงการ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภามีอำนาจหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่
11 มีนาคม 2564 - ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อนว่า
1) ‘ประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่’
2) ‘เห็นชอบหรือไม่กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่’
ซึ่งกฎหมายประชามติระบุว่า หากมีรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ขึ้นมาใหม่ กฎหมายประชามติจะต้องออกใหม่ตามมาด้วย จะใช้กฎหมายประชามติปี 2550 หรือปีก่อนๆ ไม่ได้
17 มีนาคม 2564 - รัฐสภาลงคะแนนเสียงมติวาระสาม ปรากฏว่า สว. ส่วนใหญ่ไม่ลงคะแนนเสียงและงดออกเสียง มีเพียงสองคนคือ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ พิศาล มาณวพัฒน์ ที่ลงมติเห็นชอบ
6 เมษายน 2564 - รัฐสภาโหวตคว่ำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
15 มิถุนายน 2564 - พรรคเพื่อไทย แถลงข่าวถึงประเด็นการยื่นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ว่า การแก้ไขมาตรา 256 ทำเพื่อให้ สสร. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยกเว้นในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์
20 มิถุนายน 2564 - พรรคก้าวไกล แถลงข่าวประกาศจุดยืนไม่เห็นด้วยกับพรรคเพื่อไทย กรณีเสนอการจำกัดอำนาจ สสร. ห้ามแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 เนื่องจากมองว่ารัฐสภามีอำนาจในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด
23 มิถุนายน 2564 รัฐสภาประชุมร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม รวม 13 ฉบับ เป็นของพรรคพลังประชารัฐ 1 ฉบับ เพื่อไทย 4 ฉบับ และพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรคอีก 8 ฉบับ ในบรรดาร่างทั้งหมด มีผ่านแค่ร่างเดียว คือ ‘ร่างที่ 13’ ซึ่งแก้ไขระบบ สส. ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ มาตรา 83, 91 เป็นที่มาของการมี สส.เขต 400 คน และ สส.บัญชีรายชื่อ 100 คน
ขณะที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางถึงที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องใช้การโหวตของ สว. ตามบทเฉพาะกาล หลายพรรคจึงอภิปรายเรื่องการแก้ไขมาตรา 272 เพื่อปิดสวิตช์ สว. แต่ก็ถูก สว. แต่งตั้ง 250 คนคัดค้าน
..............
แก้รัฐธรรมนูญครั้งใหม่ ประเด็นไหนใครใคร่แก้?
2565
7 กันยายน 2565 - รัฐสภามีมติไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีการเสนอร่างแก้ไขทั้งหมด 4 ฉบับ โดย 3 ฉบับมาจาก สส. พรรคเพื่อไทย และอีก 1 ฉบับมาจากภาคประชาชนที่รวบรวมรายชื่อกว่า 60,000 รายชื่อ
โดยร่างทั้งหมดมีเป้าหมายร่วมกันคือการยกเลิกมาตรา 272 ซึ่งให้อำนาจสว. จำนวน 250 คน ที่ คสช. แต่งตั้ง สามารถลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ สส. ได้
ผลที่ออกมาคือ
รับหลักการ 356 คะแนน (ส.ส. 333 คะแนน ส.ว. 23 คะแนน)
ไม่รับหลักการ 253 คะแนน (ส.ส. 102 คะแนน ส.ว. 151 คะแนน)
งดออกเสียง 53 คะแนน (ส.ส. 8 คะแนน ส.ว. 45 คะแนน)
รวม ส.ส. 443 คน และ ส.ว. 219 คน เป็น 662 คน
ที่ประชุมออกเสียงรับหลักการ 356 คะแนน ซึ่งน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา คือน้อยกว่า 364 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติ ‘ไม่รับหลักการ’
......
-ร่างแก้รัฐธรรมนูญ ‘NO 272’ โอกาสสุดท้ายตัดอำนาจ ส.ว.แต่งตั้ง เลือกนายกฯ
2566
20 มีนาคม 2566 - รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยุบสภาก่อนวันครบวาระที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรหมดลงเพียง 3 วัน
เมษายน 2566 - หลายพรรคการเมืองหาเสียงจากนโยบายเขียนรัฐธรรมนูญใหม่แทนฉบับ 2560 เช่น พรรคเพื่อไทย ประกาศให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของพรรค โดยจะต้องมีที่มาจาก สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง
พรรคก้าวไกล (ขณะนั้น) ประกาศไว้เป็นนโยบายหลัก โดยมีแนวทางคือ ‘ร่างใหม่’ ผ่าน สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
พรรคชาติไทยพัฒนา ประกาศเป็นนโยบายหลักเช่นกัน โดยยึดหลัก ‘บรรหารโมเดล’ แต่มีเงื่อนไขไม่แก้หมวด 1 และหมวด 2 ก่อนที่ภายหลังจะบอกว่า ‘ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน’
สิงหาคม 2566 - กลุ่มอำนาจเดิม หรือพรรคร่วมรัฐบาลเก่า อย่าง พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่ได้ประกาศให้การแก้รัฐธรรมนูญเป็นนโยบายหลัก แต่เมื่อรวมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยแล้วจึงมีความเห็นร่วมกันว่าต้องแก้ไข โดยมีเงื่อนไขต่างๆ ด้วย เช่น พรรคภูมิใจไทย ไม่แก้หมวด 1 และ 2 หรือ พรรคประชาธิปัตย์ มีจุดยืนให้มีสสร.เลือกตั้ง แต่ไม่ทั้งหมด
2567
23 เมษายน 2567 - คณะรัฐมนตรี (ครม.) นำโดย เศรษฐา ทวีสิน มีมติให้ทำประชามติ 3 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คือ
ครั้งที่ 1: เห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ครั้งที่ 2: เป็นการทำประชามติในขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ม.256 หรือเรื่อง สสร. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ครั้งที่ 3: เป็นการทำประชามติว่าประชาชนเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญที่ร่างแล้วหรือไม่
ทั้งนี้ มีข้อสรุปเรื่องคำถามของประชามติครั้งแรกคือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์”
แต่กระบวนการจะเริ่มได้ต้องแก้ พ.ร.บ.ประชามติฯ ก่อนทำประชามติครั้งที่ 1 แต่สภาไม่เห็นชอบร่างที่สว.แก้ไข จึงต้องแขวนไว้ 180 วัน
ถึงจะดำเนินการต่อได้ (ครบวันที่ 17 มิถุนายน 2568 )
11 พฤษภาคม 2567 - สว. 250 คนจากการแต่งตั้งของ คสช. ครบวาระ พ้นจากตำแหน่ง
29 มิถุนายน 2567 - ได้ สว.ชุดใหม่ 200 คน จากการเลือกกันเอง ท่ามกลางข้อสังเกตว่า ผู้ที่ได้รับเลือกเข้ามาจำนวนมากเป็น ‘สว.สีน้ำเงิน’
7 สิงหาคม 2567 - ศาลรัฐธรรมนูญมีวินิจฉัยให้ยุบพรรคก้าวไกล จากการหาเสียงเลือกตั้งว่าจะแก้ไขมาตรา 112 ทำให้เกิดกระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง
3 ตุลาคม 2567 - เครือข่ายภาคประชาชนในนามกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ (Con for All )เรียกร้องให้รัฐสภาเร่งทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด
21 พฤศจิกายน 2567 - พริษฐ์ วัชรสินธุ์ สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธาน กมธ.พัฒนาการเมืองฯ หารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องและได้ข้อสรุปว่า ประธานสภาฯ จะบรรจุวาระแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ม.256 และให้ทำประชามติแค่ 2 ครั้ง
..........
และล่าสุดปี2568
13 กุมภาพันธ์ 2568 - ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ‘ล่ม’ ระหว่างการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม. 256 เนื่องจาก สว.สีน้ำเงิน และ สส.พรรคภูมิใจไทยเดินออกจากที่ประชุม เนื่องจากเห็นว่าอาจขัดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ทำให้องค์ประชุมไม่ครบและเลื่อนพิจารณาเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568
บุณย์ธิดา สมชัย ในฐานะโฆษกพรรคภูมิใจไทย ร่วมแถลงถึงจุดยืนของพรรคพร้อมกับ สส. คนอื่นๆ ว่าพรรคเห็นด้วยในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่จะต้องขึ้นอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง ชอบธรรม และไม่สร้างปัญหาในอนาคต ยืนยันว่า 13 กุมภาพันธ์ เป็นการพิจารณาใน ม. 256 เพื่อการตั้ง สสร. และนำไปสู่การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
พรรคภูมิใจไทย เห็นร่วมกันว่าเป็นการขัดคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 เพราะหากจะแก้ไขเพื่อนำไปสู่การแก้ทั้งฉบับ หรือยกร่างใหม่ พรรคตีความคำวินิจฉัยของศาลว่า ต้องมีการทำประชามติถามความเห็นของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศเสียก่อน
ส่วนด้านพรรคเพื่อไทยมีการประเมินมาก่อนแล้วว่ามีโอกาสถูกตีตกสูง จึงแสวงหาวิธีให้ร่างยังอยู่ในสภา ไม่ถูกตีตก คือการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และระหว่างที่ศาลกำลังวินิจฉัย ร่างก็ยังอยู่ และหากวินิจฉัยออกมา พรรคก็มีโอกาสเดินหน้าต่อ แต่หากศาลวินิจฉัยว่าแก้ไม่ได้ สุทิน คลังแสง กล่าวว่า “ก็จะได้ชัดเจน” ด้วยเหตุนี้พรรคจึงสนับสนุนญัตติของ สว.นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. แต่ญัตติแพ้ต่อสภา
พรรคประชาชน โหวตไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเกรงว่าจะยิ่งทำให้กระบวนการล่าช้า แสดงตนเป็นองค์ประชุมให้พิจารณากันต่อ แต่ท้ายที่สุดองค์ประชุมไม่ครบจึงล่มไป
14 กุมภาพันธ์ 2568 - ภาคประชาชนนัดรวมตัวกัน 10.00 น. หน้ารัฐสภา ติดตาม สส. และ สว. เข้าสภาแก้รัฐธรรมนูญ
........
มันจะจบแค่นี้หรือยังได้ไปต่อ?