รักชนก ถามกลับปลัดแรงงาน หลังยันสปส.ดูงาน ไม่กระทบผู้ประกันตน ข้องใจเสนอเลิกเลือกตั้งบอร์ด
https://www.matichon.co.th/politics/news_5053486
รักชนก ถามกลับปลัดแรงงาน หลังยันสปส.ดูงาน ไม่กระทบผู้ประกันตน ข้องใจเสนอเลิกเลือกตั้งบอร์ด
จากกรณี น.ส.
รักชนก ศรีนอก ส.ส.กทม. ในฐานะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ โพสต์เฟซบุ๊ก สรุปงานกิจกรรม Hack งบประกันสังคม ระบุถึงงบประกันสังคม ว่ามีการบริหารจัดการบางส่วนไม่โปร่งใส มีทริปดูงาน ใช้งบ 2.2 ล้านบาท งบคอลเซ็นเตอร์เอง ใช้จ่ายหลัก 100 ล้านทุกปี เป็นค่าเช่าระบบ 50 ล้าน แต่ไม่เคยมีผู้ใดรับสาย
และยังตั้งคำถามถึง ค่าตอบแทนประจำปี ปี 65-66 ปีละ 100 ล้านบาท เหมาะสมกับโบนัสหรือไม่ ทั้ง ยังมีรายจ่าย ค่าจัดทำปฏิทิน มีการจัดซื้อแบบเฉพาะเจาะจงหลัก “ล้
านล้านบาท” ในหลายปีที่ผ่านมา
ต่อมา นาย
บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ให้สัมภาษณ์ “มติชน” ว่ากรณีดังกล่าวไม่กระทบกับผู้ประกันตน เนื่องจากผู้ประกันตนต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่ได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และ ใช้งบประมาณทำกิจกรรมต่างๆ เป็นผลตอบแทนตามที่ สปส.ได้มาเพื่อใช้จ่ายให้ตามระเบียบ ขอให้ทาง สปส.ได้ออกมาชี้แจงเรื่องกองทุน
ล่าสุด
รักชนก ได้โพสต์ถามถึงปลัดกระทรวงแรงงาน ว่า
ขอตอบและถามท่านปลัดกระทรวงแรงงาน ที่สั่งสำนักงานประกันสังคมชี้แจงปมงบไม่โปร่งใส
1) ในเมื่อปลัดแรงงาน สั่งสำนักงานประกันสังคมชี้แจง ก็ขอเรียกร้องให้เปิดเผยรายชื่อ ผู้ร่วมทริป ว่ามีใครร่วมทริปดูงานนี้บ้าง แต่ละคนบินชั้นไหน กำหนดการดูงานเป็นอย่างไร สุดท้ายแล้วได้องค์ความรู้อะไรกลับมา และจะนำไปสู่การปรับปรุงเรื่องอะไรบ้าง ที่สำคัญตัวท่านปลัดได้ไปร่วมทริปนั่งเฟิร์สคลาสไปดูงานด้วยหรือไม่? ท่านได้องค์ความรู้อะไรกลับมาปรับปรุง การบริหารสำนักงานประกันสังคมบ้าง?
2)การใช้งบประมาณเหล่านี้ ไม่กระทบกับผู้ประกันตนไม่เป็นความจริง งบประมาณดำเนินการของสำนักงานประกันสังคม ก็หักจากเงินสมทบของผู้ประกันตน โดยดึงมาใช้ได้สูงสุด 10% หรือใช้ได้สูงสุดกว่า 20,000 ล้านต่อปี แล้วแต่ว่าเงินเข้ากองทุนปีนั้นเท่าไหร่ ถ้าดูจากสติถิ งบส่วนนี้เพิ่มขึ้นเร็วอย่างน่าสงสัย
ปี 63 4,000 ล้าน
ปี 64 5,281 ล้าน
ปี 65 5,332 ล้าน
ปี 66 6,614 ล้าน
ในห้วงเวลาแค่ 4 ปี เพิ่มขึ้น 66% ถ้าเทียบกับงบประมาณแผ่นดินระยะเวลาเท่ากันเพิ่มแค่ 5% เท่านั้นเอง แล้วตัวเลขนี้มันจะไปหยุดที่ไหน เพราะยิ่งเอาเงินส่วนนี้ออกมาถลุงใช้มากเท่าไหร่ ก็แปลว่าเงินที่เอาไปลงทุนเพื่อให้เงินของผู้ประกันตนงอกเงยหรือสร้างสิทธิประโยชน์ยิ่งน้อยลงเท่านั้น และถ้าดูจากสถิติการจัดซื้อจัดจ้าง ตัวสำนักงานมีการจัดซื้อจัดจ้างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวนมากและบางโครงการทำแบบเดิมทุกปี ตั้งใจเอื้อประโยชน์ให้ใครหรือไม่? ส่วนอันที่ประมูลแข่งราคา ราคาก็ชิดกันจนน่าตั้งข้อสงสัยว่ามีการฮั้วกันหรือไม่? งบประมาณที่ใช้ไม่สมเหตุสมผล ไม่คุ้มค่า และไม่โปร่งใส มันก็เงินผู้ประกันตนทั้งนั้น
3) ปัญหาเหล่านี้เป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง ถึงสำนักงานไม่ทำปฏิทิน ไม่บินเฟิร์สคลาส ไม่ทำแอพพ์แพง ก็หาทางเอาไปทำอย่างอื่นได้อยู่ดี ซึ่งมีงบประมาณอีกหลายโครงการที่ผู้ประกันตนไม่มีโอกาสได้รับรู้
ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดที่สุดคือ ประกันสังคมทั้งในส่วนของบอร์ดและสำนักงาน ต้องเปิดเผยข้อมูลงบประมาณทุกโครงการทุกบาททุกสตางค์ให้โปร่งใส ผู้ประกันตนอยากดูข้อมูลเมื่อไหร่ต้องดูได้ เพราะมันคือเงินพวกเค้า
4) อันนี้สำคัญมาก* มีข่าวว่ากระทรวงแรงงานเอง ได้เสนอให้มีแก้ไขกฎหมายประกันสังคม ซึ่งมีเนื้อหายกเลิกการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ทั้งสัดส่วนผู้ประกันตนและสัดส่วนนายจ้าง เป็นความจริงหรือไม่? มีเหตุผลและความจำเป็นอะไรถึงต้องยกเลิกมันกระทบกับความมั่นคงในกระเป๋าของใครหรือเปล่า แล้วในฐานะประธานบอร์ดประกันสังคม ที่มาจากสัดส่วนกฎหมายกำหนด ไม่ได้ถูกเลือกตั้งมา ท่านมีความเห็นข้อเรื่อง การยกเลิกการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมนี้อย่างไร ?
https://www.facebook.com/nanaicez112/posts/pfbid0ypAV1FAm2cictAeRN3gSJTZy3sTroN8afFjcB7YJbMcBLxJzHM7GayzbktFi8Tdel
สภาสูงเดือดแน่ ! "สว.อังคณา" ชงญัตติป่วยทิพย์ "ชั้น 14" พรุ่งนี้ ลั่นสิทธิการรักษา "ผู้ต้องขัง" ต้องเท่าเทียม
https://siamrath.co.th/n/601685
วันที่ 17 ก.พ.68 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในวันที่ 18 ก.พ.นี้ ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 16 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่สอง) เวลา 09.30น. มีวาระที่น่าสนใจ เป็นเรื่องที่เสนอใหม่ ลำดับที่ 6.2 ญัตติ เรื่องขอให้วุฒิสภาพิจารณาหาแนวทางปฏิบัติในการให้สิทธิแก่ผู้ต้องขังที่จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน โดยนาง
อังคณา นีละไพจิตร สว. เป็นผู้เสนอ มี สว.ผู้รับรองญัตติ 4 คน ได้แก่ นาวาตรี
วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ นาย
ธนกร ถาวรชินโชติ นาย
โชติชัย บัวดิษ นาย
เทวฤทธิ์ มณีฉาย นาย
เดชา นุตาลัย
โดย นาง
อังคณา ระบุในเอกสารญัตติ ว่า ตามที่ปรากฏในสื่อทั่วไปว่า เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครได้มีการนำตัวผู้ต้องขังคนสำคัญส่งไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลตำรวจ เนื่องจากแพทย์มีความเห็นว่าผู้ต้องขังดังกล่าวป่วยเป็นโรคหัวใจ ซึ่งต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อชีวิตอีกทั้งต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ยังขาดเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีศักยภาพโดยโรงพยาบาลตำรวจได้รับตัวผู้ต้องขังคนสำคัญดังกล่าวไว้เพื่อทำการรักษา ซึ่งกรมราชทัณฑ์รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องได้ชี้แจงต่อสังคมว่าการส่งตัวผู้ต้องขังคนสำคัญไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจนั้น เป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ยังมีข้อกังขาว่า ผู้ต้องขังคนสำคัญนี้ป่วยจริงหรือไม่ หรือป่วยเป็นโรคอะไร มีการผ่าตัดหรือไม่ และโรงพยาบาลดำเนินการรักษาอย่างไร จึงต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจเป็นเวลานาน รวมถึงได้นอนพักรักษาที่ ชั้น 14 ซึ่งเป็นหอผู้ป่วยระดับสูงของโรงพยาบาลตำรวจจริงหรือไม่ และไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้สังคมเกิดความสงสัยเพิ่มมากขึ้น
นาง
อังคณา ระบุต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เห็นว่า โทษจำคุกเป็นการกันผู้กระทำความผิดออกจากสังคมชั่วคราวเพื่อให้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และปรับพฤติกรรมให้สามารถกลับมาอยู่ร่วมในสังคมได้ และเมื่อเป็นนักโทษจากการกระทำความผิดย่อมต้องถูกตัดสิทธิและเสรีภาพหลายประการ ไม่สามารถใช้ใด้อย่างเต็มที่เหมือนคนทั่วไป แต่ผู้ต้องขังคนสำคัญดังกล่าวกลับได้รับสิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่พิเศษกว่าผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม จึงสมควรที่วุฒิสภาจะได้มีการอภิปรายระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางปฏิบัติในการให้สิทธิแก่ผู้ต้องขังที่จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกันและเสนอไปยังรัฐบาลเพื่อพิจารณาดำเนินการ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าจึงขอเสนอญัตติตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2562 ข้อ 35 เพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาได้พิจารณาญัตติดังกล่าว และมีมติส่งข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำหรับเหตุผลและรายละเอียดเพิ่มเติม จะชี้แจงในที่ประชุมวุฒิสภาต่อไป
บุกศาลากลางพิจิตรร้องรัฐบาลช่วยพยุงราคาข้าว
https://www.innnews.co.th/news/local/news_842767/
ชาวนาเมืองชาละวันกว่า2พันคนรวมตัวบุกศาลากลางพิจิตรยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบาลช่วยพยุงราคาข้าว
นางสาว
ธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร , นาย
พรชัย อินทร์สุข ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และตัวแทน ส.ส.พิจิตร เขต 1 จากพรรคภูมิใจไทย รวมถึงส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันรับหนังสือร้องทุกข์ของชาวนาจากลุ่มน้ำน่าน-ลุ่มน้ำยม ที่มาจาก 12 อำเภอของจังหวัดพิจิตร จำนวนกว่า 2,000 คน ที่มาเปิดเวทีชุมนุมภายในศาลากลางจังหวัดพิจิตร ซึ่งฝ่ายปกครองได้จัดพื้นที่และอำนวยความสะดวกให้ โดยแกนนำชาวนาซึ่งประกอบด้วย นาย
ประกาศิต แจ่มจำรัส , นาย
มนูญ มณีโชติ , นาย
ณรงค์ อิ่มฤทัย ซึ่งเป็นตัวแทน แกนนำกลุ่มเครือข่าย คนทำนาจังหวัดพิจิตร โดยได้ชุมนุมอย่างสงบไม่มีการปิดถนนหรือก่อความวุ่นวายแต่อย่างใด โดยชาวนาได้ตั้งขบวนและเปิดเวทีปราศรัยย่อยระบายถึงความเดือดร้อนและข้อเสนอ 3 ข้อ เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยุงราคาข้าวเปลือกเกี่ยวสดความชื้น 25%อยู่ในราคา 10,000 บาท
2. ขอให้รัฐบาลควบคุมราคาต้นทุนด้านการผลิตเรื่องปุ๋ย/ยาฆ่าแมลงกำจัดวัชพืชและน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
3. ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือในการไม่เผาตอซังข้าวโดยช่วยเหลือชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่รัฐบาลจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อเป็นค่าไถกลบหรือช่วงเวลาที่รอการย่อยสลายของฟางข้าว
ในส่วนของ นางสาว
หน่อย ขำชัย อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 116 หมู่ 8 ต.รังนก อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนของชาวนาที่ร่วมชุมนุมในครั้งนี้เล่าถึงความเดือดร้อนของชาวนาในทุกวันนี้ว่า เดือดร้อนมากเนื่องจากราคาข้าวเปลือกตกต่ำเกี่ยวสดขายได้แค่ตันละ 6,000-7,000 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงต้นปีอากาศหนาวทำให้เกิดโรคแมลงบั่วระบาดเกษตรกรบางรายต้องไถต้นข้าวทิ้งก็ขาดทุนไปครั้งหนึ่งแล้ว พอทำนาแก้ตัวรอบสองก็เจอราคาข้าวตกต่ำแต่ปัจจัยการผลิตกับมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งหามาตรการพยุงราคาข้าวให้ได้ตามนโยบายที่หาเสียงไว้
ปิดตลาดหุ้นไทยร่วง 15.62 จุด หลังเผชิญแรงขาย เดลต้า-เอโอที กูรู ประเมินดัชนียังไม่หลุดระดับ 1,200
https://www.matichon.co.th/economy/news_5053772
ปิดตลาดหุ้นไทยร่วง 15.62 จุด หลังเผชิญแรงขาย เดลต้า-เอโอที กูรู ประเมินดัชนียังไม่หลุดระดับ 1,200
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานภาวการซื้อขายหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า วันนี้หุ้นเคลื่อนไหวในแดนลบ โดยเปิดตลาดภาคเช้ามาที่ระดับ 1,272.10 จุด ก่อนปิดตลาดภาคบ่ายที่ระดับ 1,256.48 จุด ปรับลดลง 15.62 จุด หรือลบ 1.23% โดยดัชนีทำจุดสูงสุดที่ระดับ 1,256.48 จุด และทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 1,236.80 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 56,346.06 ล้านบาท โดยในการซื้อขายภาคเช้า ดัชนีปรับลดลงไปกว่า 35 จุด
นาย
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทย ดัชนีเปิดกระโดดลงทดสอบ 1,236 จุด ก่อนมีแรงซื้อเข้ามาช่วยในช่วงท้ายตลาด โดยแรงกดดันหลักมาจากแรงขายของเดลต้า และเอโอที รวมถึงสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานจีดีพีไทยไตรมาส 4/2567 ที่ออกมาโตต่ำคาดการณ์ไว้ ทำให้เซกเตอร์กลุ่มที่หนุนดัชนี คือ กลุ่มกลุ่มธนาคาร ค้าปลีก โดยประเมินว่า ดัชนียังน่าจะยืนเหนือระดับ 1,200 จุดได้แบบไม่หลุดระดับดังกล่าวในสัปดาห์นี้ เพราะมีหุ้นกลุ่มที่ช่วยพยุงดัชนีในภาพรวมด้วยเช่นกัน โดยให้กรอบการเคลื่อนไหว ข้างล่างระดับ 1,220 จุด และ 1,200 จุด ด้านบนระดับ 1,270 และ 1,283 จุด
JJNY : 5in1 รักชนกถามกลับ│สภาสูงเดือดแน่ !│บุกศาลากลางพิจิตรร้องรัฐ│ปิดตลาดหุ้นไทยร่วง│เกาหลีใต้แบนดาวน์โหลด ‘DeepSeek’
https://www.matichon.co.th/politics/news_5053486
จากกรณี น.ส.รักชนก ศรีนอก ส.ส.กทม. ในฐานะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ โพสต์เฟซบุ๊ก สรุปงานกิจกรรม Hack งบประกันสังคม ระบุถึงงบประกันสังคม ว่ามีการบริหารจัดการบางส่วนไม่โปร่งใส มีทริปดูงาน ใช้งบ 2.2 ล้านบาท งบคอลเซ็นเตอร์เอง ใช้จ่ายหลัก 100 ล้านทุกปี เป็นค่าเช่าระบบ 50 ล้าน แต่ไม่เคยมีผู้ใดรับสาย
และยังตั้งคำถามถึง ค่าตอบแทนประจำปี ปี 65-66 ปีละ 100 ล้านบาท เหมาะสมกับโบนัสหรือไม่ ทั้ง ยังมีรายจ่าย ค่าจัดทำปฏิทิน มีการจัดซื้อแบบเฉพาะเจาะจงหลัก “ล้านล้านบาท” ในหลายปีที่ผ่านมา
ต่อมา นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ให้สัมภาษณ์ “มติชน” ว่ากรณีดังกล่าวไม่กระทบกับผู้ประกันตน เนื่องจากผู้ประกันตนต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่ได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และ ใช้งบประมาณทำกิจกรรมต่างๆ เป็นผลตอบแทนตามที่ สปส.ได้มาเพื่อใช้จ่ายให้ตามระเบียบ ขอให้ทาง สปส.ได้ออกมาชี้แจงเรื่องกองทุน
ล่าสุด รักชนก ได้โพสต์ถามถึงปลัดกระทรวงแรงงาน ว่า
ขอตอบและถามท่านปลัดกระทรวงแรงงาน ที่สั่งสำนักงานประกันสังคมชี้แจงปมงบไม่โปร่งใส
1) ในเมื่อปลัดแรงงาน สั่งสำนักงานประกันสังคมชี้แจง ก็ขอเรียกร้องให้เปิดเผยรายชื่อ ผู้ร่วมทริป ว่ามีใครร่วมทริปดูงานนี้บ้าง แต่ละคนบินชั้นไหน กำหนดการดูงานเป็นอย่างไร สุดท้ายแล้วได้องค์ความรู้อะไรกลับมา และจะนำไปสู่การปรับปรุงเรื่องอะไรบ้าง ที่สำคัญตัวท่านปลัดได้ไปร่วมทริปนั่งเฟิร์สคลาสไปดูงานด้วยหรือไม่? ท่านได้องค์ความรู้อะไรกลับมาปรับปรุง การบริหารสำนักงานประกันสังคมบ้าง?
2)การใช้งบประมาณเหล่านี้ ไม่กระทบกับผู้ประกันตนไม่เป็นความจริง งบประมาณดำเนินการของสำนักงานประกันสังคม ก็หักจากเงินสมทบของผู้ประกันตน โดยดึงมาใช้ได้สูงสุด 10% หรือใช้ได้สูงสุดกว่า 20,000 ล้านต่อปี แล้วแต่ว่าเงินเข้ากองทุนปีนั้นเท่าไหร่ ถ้าดูจากสติถิ งบส่วนนี้เพิ่มขึ้นเร็วอย่างน่าสงสัย
ปี 63 4,000 ล้าน
ปี 64 5,281 ล้าน
ปี 65 5,332 ล้าน
ปี 66 6,614 ล้าน
ในห้วงเวลาแค่ 4 ปี เพิ่มขึ้น 66% ถ้าเทียบกับงบประมาณแผ่นดินระยะเวลาเท่ากันเพิ่มแค่ 5% เท่านั้นเอง แล้วตัวเลขนี้มันจะไปหยุดที่ไหน เพราะยิ่งเอาเงินส่วนนี้ออกมาถลุงใช้มากเท่าไหร่ ก็แปลว่าเงินที่เอาไปลงทุนเพื่อให้เงินของผู้ประกันตนงอกเงยหรือสร้างสิทธิประโยชน์ยิ่งน้อยลงเท่านั้น และถ้าดูจากสถิติการจัดซื้อจัดจ้าง ตัวสำนักงานมีการจัดซื้อจัดจ้างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวนมากและบางโครงการทำแบบเดิมทุกปี ตั้งใจเอื้อประโยชน์ให้ใครหรือไม่? ส่วนอันที่ประมูลแข่งราคา ราคาก็ชิดกันจนน่าตั้งข้อสงสัยว่ามีการฮั้วกันหรือไม่? งบประมาณที่ใช้ไม่สมเหตุสมผล ไม่คุ้มค่า และไม่โปร่งใส มันก็เงินผู้ประกันตนทั้งนั้น
3) ปัญหาเหล่านี้เป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง ถึงสำนักงานไม่ทำปฏิทิน ไม่บินเฟิร์สคลาส ไม่ทำแอพพ์แพง ก็หาทางเอาไปทำอย่างอื่นได้อยู่ดี ซึ่งมีงบประมาณอีกหลายโครงการที่ผู้ประกันตนไม่มีโอกาสได้รับรู้
ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดที่สุดคือ ประกันสังคมทั้งในส่วนของบอร์ดและสำนักงาน ต้องเปิดเผยข้อมูลงบประมาณทุกโครงการทุกบาททุกสตางค์ให้โปร่งใส ผู้ประกันตนอยากดูข้อมูลเมื่อไหร่ต้องดูได้ เพราะมันคือเงินพวกเค้า
4) อันนี้สำคัญมาก* มีข่าวว่ากระทรวงแรงงานเอง ได้เสนอให้มีแก้ไขกฎหมายประกันสังคม ซึ่งมีเนื้อหายกเลิกการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ทั้งสัดส่วนผู้ประกันตนและสัดส่วนนายจ้าง เป็นความจริงหรือไม่? มีเหตุผลและความจำเป็นอะไรถึงต้องยกเลิกมันกระทบกับความมั่นคงในกระเป๋าของใครหรือเปล่า แล้วในฐานะประธานบอร์ดประกันสังคม ที่มาจากสัดส่วนกฎหมายกำหนด ไม่ได้ถูกเลือกตั้งมา ท่านมีความเห็นข้อเรื่อง การยกเลิกการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมนี้อย่างไร ?
https://www.facebook.com/nanaicez112/posts/pfbid0ypAV1FAm2cictAeRN3gSJTZy3sTroN8afFjcB7YJbMcBLxJzHM7GayzbktFi8Tdel
สภาสูงเดือดแน่ ! "สว.อังคณา" ชงญัตติป่วยทิพย์ "ชั้น 14" พรุ่งนี้ ลั่นสิทธิการรักษา "ผู้ต้องขัง" ต้องเท่าเทียม
https://siamrath.co.th/n/601685
วันที่ 17 ก.พ.68 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในวันที่ 18 ก.พ.นี้ ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 16 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่สอง) เวลา 09.30น. มีวาระที่น่าสนใจ เป็นเรื่องที่เสนอใหม่ ลำดับที่ 6.2 ญัตติ เรื่องขอให้วุฒิสภาพิจารณาหาแนวทางปฏิบัติในการให้สิทธิแก่ผู้ต้องขังที่จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน โดยนางอังคณา นีละไพจิตร สว. เป็นผู้เสนอ มี สว.ผู้รับรองญัตติ 4 คน ได้แก่ นาวาตรี วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ นายธนกร ถาวรชินโชติ นายโชติชัย บัวดิษ นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย นายเดชา นุตาลัย
โดย นางอังคณา ระบุในเอกสารญัตติ ว่า ตามที่ปรากฏในสื่อทั่วไปว่า เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครได้มีการนำตัวผู้ต้องขังคนสำคัญส่งไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลตำรวจ เนื่องจากแพทย์มีความเห็นว่าผู้ต้องขังดังกล่าวป่วยเป็นโรคหัวใจ ซึ่งต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อชีวิตอีกทั้งต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ยังขาดเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีศักยภาพโดยโรงพยาบาลตำรวจได้รับตัวผู้ต้องขังคนสำคัญดังกล่าวไว้เพื่อทำการรักษา ซึ่งกรมราชทัณฑ์รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องได้ชี้แจงต่อสังคมว่าการส่งตัวผู้ต้องขังคนสำคัญไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจนั้น เป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ยังมีข้อกังขาว่า ผู้ต้องขังคนสำคัญนี้ป่วยจริงหรือไม่ หรือป่วยเป็นโรคอะไร มีการผ่าตัดหรือไม่ และโรงพยาบาลดำเนินการรักษาอย่างไร จึงต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจเป็นเวลานาน รวมถึงได้นอนพักรักษาที่ ชั้น 14 ซึ่งเป็นหอผู้ป่วยระดับสูงของโรงพยาบาลตำรวจจริงหรือไม่ และไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้สังคมเกิดความสงสัยเพิ่มมากขึ้น
นางอังคณา ระบุต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เห็นว่า โทษจำคุกเป็นการกันผู้กระทำความผิดออกจากสังคมชั่วคราวเพื่อให้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และปรับพฤติกรรมให้สามารถกลับมาอยู่ร่วมในสังคมได้ และเมื่อเป็นนักโทษจากการกระทำความผิดย่อมต้องถูกตัดสิทธิและเสรีภาพหลายประการ ไม่สามารถใช้ใด้อย่างเต็มที่เหมือนคนทั่วไป แต่ผู้ต้องขังคนสำคัญดังกล่าวกลับได้รับสิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่พิเศษกว่าผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม จึงสมควรที่วุฒิสภาจะได้มีการอภิปรายระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางปฏิบัติในการให้สิทธิแก่ผู้ต้องขังที่จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกันและเสนอไปยังรัฐบาลเพื่อพิจารณาดำเนินการ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าจึงขอเสนอญัตติตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2562 ข้อ 35 เพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาได้พิจารณาญัตติดังกล่าว และมีมติส่งข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำหรับเหตุผลและรายละเอียดเพิ่มเติม จะชี้แจงในที่ประชุมวุฒิสภาต่อไป
บุกศาลากลางพิจิตรร้องรัฐบาลช่วยพยุงราคาข้าว
https://www.innnews.co.th/news/local/news_842767/
ชาวนาเมืองชาละวันกว่า2พันคนรวมตัวบุกศาลากลางพิจิตรยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบาลช่วยพยุงราคาข้าว
นางสาวธนียา นัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร , นายพรชัย อินทร์สุข ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และตัวแทน ส.ส.พิจิตร เขต 1 จากพรรคภูมิใจไทย รวมถึงส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันรับหนังสือร้องทุกข์ของชาวนาจากลุ่มน้ำน่าน-ลุ่มน้ำยม ที่มาจาก 12 อำเภอของจังหวัดพิจิตร จำนวนกว่า 2,000 คน ที่มาเปิดเวทีชุมนุมภายในศาลากลางจังหวัดพิจิตร ซึ่งฝ่ายปกครองได้จัดพื้นที่และอำนวยความสะดวกให้ โดยแกนนำชาวนาซึ่งประกอบด้วย นายประกาศิต แจ่มจำรัส , นายมนูญ มณีโชติ , นายณรงค์ อิ่มฤทัย ซึ่งเป็นตัวแทน แกนนำกลุ่มเครือข่าย คนทำนาจังหวัดพิจิตร โดยได้ชุมนุมอย่างสงบไม่มีการปิดถนนหรือก่อความวุ่นวายแต่อย่างใด โดยชาวนาได้ตั้งขบวนและเปิดเวทีปราศรัยย่อยระบายถึงความเดือดร้อนและข้อเสนอ 3 ข้อ เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยุงราคาข้าวเปลือกเกี่ยวสดความชื้น 25%อยู่ในราคา 10,000 บาท
2. ขอให้รัฐบาลควบคุมราคาต้นทุนด้านการผลิตเรื่องปุ๋ย/ยาฆ่าแมลงกำจัดวัชพืชและน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
3. ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือในการไม่เผาตอซังข้าวโดยช่วยเหลือชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่รัฐบาลจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อเป็นค่าไถกลบหรือช่วงเวลาที่รอการย่อยสลายของฟางข้าว
ในส่วนของ นางสาวหน่อย ขำชัย อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 116 หมู่ 8 ต.รังนก อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนของชาวนาที่ร่วมชุมนุมในครั้งนี้เล่าถึงความเดือดร้อนของชาวนาในทุกวันนี้ว่า เดือดร้อนมากเนื่องจากราคาข้าวเปลือกตกต่ำเกี่ยวสดขายได้แค่ตันละ 6,000-7,000 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงต้นปีอากาศหนาวทำให้เกิดโรคแมลงบั่วระบาดเกษตรกรบางรายต้องไถต้นข้าวทิ้งก็ขาดทุนไปครั้งหนึ่งแล้ว พอทำนาแก้ตัวรอบสองก็เจอราคาข้าวตกต่ำแต่ปัจจัยการผลิตกับมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งหามาตรการพยุงราคาข้าวให้ได้ตามนโยบายที่หาเสียงไว้
ปิดตลาดหุ้นไทยร่วง 15.62 จุด หลังเผชิญแรงขาย เดลต้า-เอโอที กูรู ประเมินดัชนียังไม่หลุดระดับ 1,200
https://www.matichon.co.th/economy/news_5053772
ปิดตลาดหุ้นไทยร่วง 15.62 จุด หลังเผชิญแรงขาย เดลต้า-เอโอที กูรู ประเมินดัชนียังไม่หลุดระดับ 1,200
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานภาวการซื้อขายหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า วันนี้หุ้นเคลื่อนไหวในแดนลบ โดยเปิดตลาดภาคเช้ามาที่ระดับ 1,272.10 จุด ก่อนปิดตลาดภาคบ่ายที่ระดับ 1,256.48 จุด ปรับลดลง 15.62 จุด หรือลบ 1.23% โดยดัชนีทำจุดสูงสุดที่ระดับ 1,256.48 จุด และทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 1,236.80 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 56,346.06 ล้านบาท โดยในการซื้อขายภาคเช้า ดัชนีปรับลดลงไปกว่า 35 จุด
นายฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทย ดัชนีเปิดกระโดดลงทดสอบ 1,236 จุด ก่อนมีแรงซื้อเข้ามาช่วยในช่วงท้ายตลาด โดยแรงกดดันหลักมาจากแรงขายของเดลต้า และเอโอที รวมถึงสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานจีดีพีไทยไตรมาส 4/2567 ที่ออกมาโตต่ำคาดการณ์ไว้ ทำให้เซกเตอร์กลุ่มที่หนุนดัชนี คือ กลุ่มกลุ่มธนาคาร ค้าปลีก โดยประเมินว่า ดัชนียังน่าจะยืนเหนือระดับ 1,200 จุดได้แบบไม่หลุดระดับดังกล่าวในสัปดาห์นี้ เพราะมีหุ้นกลุ่มที่ช่วยพยุงดัชนีในภาพรวมด้วยเช่นกัน โดยให้กรอบการเคลื่อนไหว ข้างล่างระดับ 1,220 จุด และ 1,200 จุด ด้านบนระดับ 1,270 และ 1,283 จุด