JJNY : เรียกร้อง ‘จำนำข้าว-เยียวยาไร่ละ 300’│พรรค ปชน.ซัด ล่ม 2 วันติด│อัดรบ.บริหารตามมีตามเกิด│พายุหิมะถล่มชายฝั่งสหรัฐ

ราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาเมืองเก่า บุกศาลากลางทวงข้อเรียกร้อง ‘จำนำข้าว-เยียวยาไร่ละ 300’
https://www.matichon.co.th/region/news_5048731
 
 
ชาวนาบุกศาลากลางอยุธยาทวงถามข้อเรียกร้องจำนำข้าว – เยียวยาไร่ละ 300 บาท ขู่ปิดถนนสายเอเชีย
 
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มชาวนา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม  สุพรรณบุรี ปทุมธานี ช่วยกันตั้งเต็นท์ ติดตั้งรถเครื่องเสียง นำรถเทเลอร์เป็นเวทีปราศรัย พร้อมกับคิดตั้งป้าย แบะเริ่มปราศรัย มีกลุ่มชาวนาทยอยเดินทางมาร่วมการชุมนุม
 
โดยมี นาย ฐิติวัฒน์ กลีบมาลัย นายพยงค์ แสงทอง เป็นตัวแทนชาวนา และกลุ่มชาวนา ผลัดกันขึ้นปราศรัย ถึงความเดือดร้อนจากราคาตกต่ำ เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ
 
นายพยงค์ แสงทอง แกนนำขาวนา กล่าวว่า กลุ่มชาวนาจากหลายจังหวัดที่เดินทางมาเร็ววันนี้มาติดตามทวงถามการได้มีการยื่นหนังสือข้อเรียกร้องของชาวนาเมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา ที่ศูนย์ราชการจังหวัดและได้ไปยื่นข้อเรียกร้องที่รัฐสภา และกระทรวงพาณิชย์
 
เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ทำนา โดยกำหนดราคาประกันข้าวที่ 11,000 บาทต่อตัน และกำหนดปริมาณรับประกันราคาไม่เกิน 50 ตันต่อรายหรือดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในราคารับจำนำข้าว 11,000 บาทต่อตัน สำหรับเกษตรกรรายละ 50 ตัน เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของชาวนาและยังส่งผลให้เกษตรกรผู้ทำนามีรายได้ที่มั่นคงและสามารถดำรงชีพได้อย่างยั่งยืนโดยไม่กระทบต่อกลไกทางการตลาดของการส่งออกข้าวของไทย
 
ขอให้รัฐบาลเยียวยาเกษตรกรผู้ทำนาในพื้นที่รับน้ำ โดยจัดสรรเงินชดเชยจำนวน 300 บาทต่อไร่ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือนในแต่ละปี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเป็นพื้นที่รับ น้ำของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ต้องมีต้นทุนการยังชีพที่สูงขึ้นเมื่อต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับภาวะน้ำ ท่วมขังยาวนานถึง 2 – 3 เดือนในทุกๆปี
 
ซึ่งกำหนดเวลาได้คืนยอดเรียกร้องไว้คือต้องได้รับคำตอบภายใน7 วัน แต่ทางกลุ่มชาวนายังไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาลความเดือดร้อนของชาวนา ในวันนี้เราจึงต้องมา มาชุมนุมกันเพื่อแสดงออกกดดันให้รัฐบาลว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาอย่างไรให้กับชาวนาเพราะขณะนี้โรงสีก็ไม่กล้าที่จะรับซื้อข้าวจากชาวนาแล้วเพราะไม่มั่นใจรัฐบาล ราคาจะตกต่ำลงเรื่อยเรื่อยฝากถึงรัฐบาลจะทำอะไรให้รีบทำขณะนี้ชาวนาทนไม่ไหวแล้วจึขนาดนี้ข้าวที่เกี่ยวไปแล้วและกำลังจะเกี่ยวราคาข้าวตกต่ำเพียง 6,000 ถึง 7,000 บาท
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าแกนนำชาวนาได้ มีการปรึกษากันตกลงกันว่าจะให้ทางรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาให้คำตอบกับชาวนาที่ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาชาวนาจะไม่เดินทางไปไหนแล้วหากไม่ได้รับคำตอบการช่วยเหลือเป็นที่น่าพอใจกลุ่มชาวนาจะทำการปิดถนนสายเอเซียทันที
 
โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งในเครื่องแบบ นอกเครื่องแบบดูแลความปลอดภัย สังเกตการณ์



พรรคประชาชน ซัด ประชุมร่วมแก้ รธน. ล่ม 2 วันติด เกิดจาก ภท-พท ขัดแย้ง จี้นายกฯใช้อำนาจยุบสภา
https://ch3plus.com/news/political/morning/433083

“ณัฐพงษ์ –พริษฐ์” นำ สส. พรรคประชาชน แถลงซัดผิดหวัง ปัญหาประชุมพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญ ล่ม 2 วันติด เป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างภูมิใจไทยกับพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่ข้อกังวลทางกฎหมายที่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ จี้ “นายกฯ” ในฐานะผู้นำรัฐบาลแก้ไม่ได้ควรจะยุบสภา
 
พรรคประชาชน นำโดย นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา พร้อมด้วยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส. ระบบบัญชีรายชื่อ นำ สส . แถลงข่าวภายหลังที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาล่ม องค์ประชุมไม่ครบ วาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1)
 
นายณัฐพงษ์ กล่าวว่าพรรคประชาชนรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะวาระการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันนี้แทบจะเป็นด่านสุดท้ายที่คิดว่าสามารถเดินหน้าแก้ไข พอจะมีโอกาสได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันการเลือกตั้งปี 2570 พวกเราเชื่อว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้สามารถเดินอย่างตรงไปตรงมาได้ ไม่จำเป็นต้องเดินอ้อม เพราะพวกเราไม่เชื่อว่าการเดินอ้อมอย่างที่เป็นอยู่จะนำไปสู่ทางที่ประชาชนต้องการ
 
ช่วงระหว่างพักการประชุม วิปสองฝ่ายหารือร่วมกันโดยฝั่งรัฐบาลมีความกังวลเรื่องข้อกฎหมายที่อาจพัวพันถึงขั้นฟ้องร้อง ภายหลังประชุมพบว่าฝ่ายรัฐบาลยังเดินหน้าให้มีการนับองค์ประชุมจนนำไปสู่สภาฯ ล่ม แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าเราจะพยามเดินอ้อมอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ สิ่งที่พวกเราเชื่อว่าเป็นทางออกคือ การเดินหน้าตรง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ประเทศไทยยังขาดอยู่ 3 เรื่อง
 
1. การขาดเจตจำนงทางการเมือง พรรคเพื่อไทยควรพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลอย่างจริงจัง ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญควรถูกเสนอเข้ามาเป็นร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่ใช่เสนอร่างของพรรคเพื่อไทยแค่ร่างเดียว จึงทำให้การประชุมทั้งสองวันต้องพบกับเหตุการณ์ที่เป็นอยู่คือ ไม่ได้รับเสียงสนับสนุน โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยระบุว่านางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่เคยเข้าหารือเรื่องนี้กับพรรคภูมิใจไทยเลย เหตุผลที่บอกว่าจำเป็นต้องเดินอ้อมเพื่อให้สภาฯ ล่ม เป็นเพียงข้ออ้างที่พรรคเพื่อไทยใช้อธิบายสถานการณ์เฉพาะหน้า เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นพรรคเพื่อไทยไม่คิดว่าจะแพ้เสียงโหวตจาก สว.ตั้งรับไม่ทัน จึงต้องหาคำอธิบาย
 
2.การขาดความเป็นนิติรัฐ สมาชิกรัฐสภาให้ความเห็นว่า กังวลจะมีการยื่นร้องและมีผูกพันทางกฎหมาย เรื่องนี้ควรหารือแต่ไม่เปิดโอกาสให้หารือในที่ประชุม ทั้งที่สภาฯ เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่สุด อยากชี้ให้สังคมเห็นว่าประเทศเราขาดความเป็นนิติรัฐ ไม่ได้ปกครองโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด แต่อยู่ภายใต้การปกครองของศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญใหญ่กว่ากฎหมายสูงสุดของประเทศ
สุดท้ายจะทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนก็ต้องวิ่งไปถามศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า ระบบนิติรัฐของไทยในปัจจุบันมีปัญหา จำเป็นจะต้องเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้
 
3. การไม่เคารพเสียงของประชาชน ทุกพรรคในช่วงหาเสียงเลือกตั้งมีข้อเสนอแบบเดียวกันคือ จะเร่งเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นนโยบายที่พรรคร่วมรัฐบาลได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ดังนั้นวิธีหาทางออกเรื่องนี้ นายกฯ ในฐานะผู้นำรัฐบาลมีความจริงจังเดินหน้าเรื่องนี้ นายกฯ มีอำนาจสูงสุดยุบสภา สามารถเจรจาคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล แสดงเจตจำนงที่ชัดเจน ยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยเคารพเสียงประชาชน ถ้าไม่สามารถผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกฯ มีอำนาจยุบสภาฯ เพื่อคืนสิทธิให้กับประชาชน
 
ด้านนายพริษฐ์ กล่าวว่าการจะบอกว่าพรรคใดจริงจังจริงใจกว่ากันในการแก้รัฐธรรมนูญ ประชาชนที่ติดตามอยู่ 1-2 ปีที่ผ่านมาจะตัดสินใจได้ พรรคประชาชนยืนยันว่าเราต้องการผลักดันแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพื่อให้เรามีระบบการเมืองที่ดีขึ้น ให้สภาฯ แก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างตรงจุดรวดเร็วขึ้น
 
ตนเองเข้าใจว่าการแก้รัฐธรรมนูญให้สำเร็จ รัฐธรรมนูญกำหนดชัดเจนว่า จะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจาก สส.และเสียง 1 ใน 3 ของ สว. พรรคเพื่อไทยให้เหตุผลว่าอาจไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเพียงพอ โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย และ สว.ที่หลายคนวิเคราะห์ว่ามีชุดความคิดคล้ายกับพรรคภูมิใจไทย โดยพรรคเพื่อไทยให้เหตุผลถึงสาเหตุที่พรรคภูมิใจไทย และ สว.กลุ่มนี้มีแนวโน้มลงมติไม่เห็นชอบ เพราะมีข้อกังวลข้อกฎหมาย จึงอยากชวนสังคมตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นเพราะข้อกังวลทางกฎหมาย หรือความขัดแย้งทางการเมือง
 
สาเหตุที่แท้จริงคือข้อกังวลทางกฎหมาย พรรคประชาชนยืนยันว่าสิ่งที่ รัฐสภาดำเนินการอยู่ไม่ได้ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 หากวันนี้เดินหน้าประชุมก็จะเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมกันชี้แจงต่อสังคม และชี้แจงต่อ สว.ว่าทำไมร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชนไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เข้าใจว่าเป็นสิทธิของ สส.และ สว.ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่ในมุมพรรคประชาชน ตั้งข้อสังเกตว่า หากส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอะไรรับประกันว่า เมื่อยื่นเรื่องตีความแล้วจะได้คำตอบที่ต้องการ เพราะมีการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วถึง 2 ครั้งเมื่อปี 2564 และปี 2567 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัย เพราะบอกไว้ในคำวินิจฉัยปี 2564 ชัดเจนแล้ว
 
นายพริษฐ์ กล่าวถึงสาเหตุที่ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคภูมิใจไทย และ สว.ไม่ใช่ข้อกังวลทางกฎหมาย หรือความไม่ชัดเจนของศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเพราะพรรคภูมิใจไทย และ สว.ไม่ลงมติเห็นชอบกับการส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าพรรคเพื่อไทยบอกว่า การมีความชัดเจน จะทำให้พรรคภูมิใจไทยและ สว.สนับสนุน แต่เหตุใดจึงไม่มาลงมติเห็นชอบเมื่อวานนี้เพื่อส่งเรื่อง นี่เป็นหลักฐานที่ประจักษ์และต้นตอที่ไม่ได้รับเสียงสนับสนุน ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลใหม่คือความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคภูมิใจไทย ไม่ใช่เฉพาะเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ยังมีร่าง พ.ร.บ.กลาโหม นิรโทษกรรม เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพลกซ์ การขึ้นค่าแรง และกัญชา และคอลเซ็นเตอร์
 
ดังนั้นการจะแก้ปัญหาทางการเมือง ทางออกไม่ได้อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่อยู่ที่นายกฯ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารและหัวหน้ารัฐบาลผสม ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างของพรรคร่วมรัฐบาลให้ประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้านายกฯ ไม่สามารถเป็นเจ้าภาพและแก้ปัญหาความเห็นแตกต่างระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลได้ ก็ไม่สามารถใช้อำนาจนายกฯ เพื่อบรรลุเป้าหมายได้ ควรจะคืนอำนาจให้กับพี่น้องประชาชน และยุบสภา
 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคเพื่อไทยฝากถามว่า ถ้าไม่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ พรรคประชาชนจะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร นายณัฐพงษ์ ยืนยันคำเดิมว่า คำชี้แจงของพรรคเพื่อไทยเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เนื่องจากพรรคเพื่อไทยไม่ได้คาดคิดว่าจะแพ้ญัตติส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นถ้าพรรคเพื่อไทยมีเจตจำนงผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง ต้องเจรจากับพรรคร่วมกับรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย รวมถึงเสนอร่างนี้เข้าเป็นร่างของ ครม.ตั้งแต่แรก
 
เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นถึงรอยร้าว ความไม่ลงรอยระหว่างพรรครัฐบาลด้วยกันเอง ดังนั้นการแก้ไขเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเทคนิคหรือข้อกฎหมาย แต่เป็นเรื่องทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง นายกฯ ต้องแก้ไขสถานการณ์เรื่องนี้
 
เมื่อถามว่าสถานการณ์ขณะนี้สุกงอมถึงขั้นยุบสภาใช่หรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่าถ้าทุกพรรคมีจุยืนชัดเจนเคารพเสียงประชาชน และเป็นนโยบายที่ทุกพรรคแถลงร่วมกันต่อรัฐสภา นายกฯ ในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารไม่สามารถผลักดันนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาได้ ไม่สามารถควบคุมเสียงของพรรคร่วมรัฐบาล มีกลไกเดียวที่ใช้ควบคุมพรรคร่วมรัฐบาลได้ ก็คือ ยุบสภา
 
นายพริษฐ์ กล่าวเสริมถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยฝากมาว่าเราเห็นถึงเหตุผลและความจำเป็นในการยุติการประชุม ถ้ากังวลว่าหากมีการเข้าญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พอมีการลงมติแล้วเสียงสนับสนุนจะไม่เพียงพอก็ไม่เป็นประเด็น เพราะเราสามารถเดินหน้าอภิปรายต่อได้ เราชี้แจงผ่านกลไกของวิปไปแล้วว่าหากมีความกังวลใจก็หารือเพื่อเลื่อนการลงมติได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่